เทคนิคการใช้และการดูแลรักษาเครื่องแก้ววัดปริมาตร

วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560
image
             เครื่องแก้ววัดปริมาตรเป็นเครื่องมือวัดขั้นพื้นฐานที่มีความจำเป็นมากต่อการปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ผู้ใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตรต้องมีเทคนิคการใช้ที่ถูกต้องจึงจะมั่นใจในผลการวัดปริมาตรที่ใช้เครื่องแก้วดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้ใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตร ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องแก้วแบบต่างๆ การล้างเครื่องแก้วให้สะอาด เพื่อลดการปนเปื้อน การตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องแก้ว ดังนั้นการฝึกอบรมหลักสูตร เทคนิคการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องแก้ววัดปริมาตร จึงจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ผู้ปฎิบัติงานสามารถใช้เครื่องแก้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการแบ่งเป็น
  1. เครื่องแก้วใช้งานทั่วไป
  2. เครื่องแก้วที่ใช้เฉพาะทาง
  3. เครื่องแก้ววัดปริมาตรของเหลว
ลักษณะทั่วไป
  • มีขีดกำหนดปริมาตร หรือระบุปริมาตร ที่แน่นอนได้
  • มีกำนดค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดที่ยอมรับได้
การใช้งาน

        ​แบ่งตามวิธีสอบเทียบได้ 2 ชนิด
  1. เครื่องแก้วสำหรับบรรจุ (to contain) ใช้ตัวย่อ TC หรือ C หรือ In (ISO) เช่น ขวดวัดปริมาตร (Flask) เป็นตัววัดปริมาตรที่อยู่ภายใน
  2. เครื่องแก้วสำหรับถ่ายของเหลว (to delivery) ใช้ตัวย่อ TD หรือ D หรือ Ex (ISO) เช่น ปิเปต บิวเรต กระบอกตวง
ชั้นคุณภาพ (class of accuracy) ของเครื่องแก้ว
  • Class A เป็นเครื่องแก้วที่มีความแม่นสูง มีค่า tolerances ต่ำ ใช้สำหรับงานวิเคราะห์/ทดสอบที่ต้องการความแม่นสูง จะมีตัวอักษร A และมีค่าความผิดพลาดน้อยมีความแม่นยำสูง
  • Class B เป็นเครื่องแก้วที่มีความแม่นยำต่ำกว่า และมี tolerances เป็นสองเท่าของ Class A
  • General Purpose  เป็นเครื่องแก้วที่ไม่จัดรวมใน Class A และ Class B ความแม่นยำขึ้นอยู่กับ
วัตถูประสงค์การใช้งาน
           Special Tolerance :เป็นเครื่องแก้วที่กำหนดค่า ความคลาดเคลื่อน สำหรับใช้งานเฉพาะทาง

 
ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ของเครื่องแก้ว Class A ปริมาตร 25 มิลลิตร 

                                                     Item                                         Tolerance(+)
กระบอกตวง                                          0.30  ml
ขวดวัดปริมาตร                                     0.03  ml
บิวเรต                                                  0.03  ml
ปิเปตวัดปริมาตร                                    0.03  ml
ปิเปตชนิดมีขีดย่อยแบ่งปริมาตร              0.05  ml
Serological Pipette           (only class B& lower)
 

          แก้ว (Glass) แบ่งเป็น 2 แบบ (Type)
  •  Type I glass : Borosilicate glass หรือ alumino-borosilicate glass​
 Type I Class A : Borosilicate Glass
 Type I Class B :Alumino-borosilicate  glass
- ทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีและอุณหภูมิ
- ใช้มากในอุตสาหกรรมและห้องปฎิบัติการ
- ตัวอย่าง 2 ยี่ห้อ คือ Duranและ Pyrex
  • Type II glass :แก้วชนิด Soda Lime,Flintหรือ Soft glass
โปร่งแสง ผิวเรียบ ง่ายต่อการทำความสะอาด และทนทาน เป็นวัตถุดิบในการผลิตขวดบรรจุที่ไม่ทนต่อสารเคมีและความร้อน

 Effect of temperature on solution volume
          ตัวอย่าง ปริมาตรของของเหลวงที่บรรจุในเครื่องแก้ววัดปริมาตร จะเปลี่ยนไป เมื่อบรรจุตัวทำละลาย และอุณภูมิที่แตกต่างไปจากสภาวะที่ใช้ในการสอบเทียบ
 
Solution composition Volumes (ml) Occupied at (Celcius)
15 20 25 30 35
1.0 N HCI 996.7 1000.0 1001.3 1002.8 1004.7
0.1 N HCI 997.1 1000.0 1001.2 1002.6 1003.8
Water 999.1 1000.0 1001.1 1002.5 1004.2
 
ข้อจำกัดของการใช้เครื่องแก้ว class A กับอุณหภูมิ
Volume/ML Temperature limits(Celcius)
10 <31
50 10-26
100 13-25
250 16-23
1000 17-22
 
ข้อจำกัดของการใช้เครื่องแก้ว class A กับอุณหภูมิ
  • เครื่องแก้วปริมาตร 100 มิลลิลิตร class A (100 ml+0.1%) สอบเทียบที่ 20 องศา
  • ปริมาตร 99.9 มิลลิลิตร  ถ้าบรรจุของเหลวภายใต้อุณหภูมิที่ 13 องศา
  • ปริมาตร 100 มิลลิลิตร ถ้าบรรจุของเหลวภายใต้อุณหภูมิที่ 20 องศา
  • ปริมาตร 100.1มิลลิลิตร ถ้าบรรจุของเหลวภายใคต้อุณหภูมิที่ 25 องศา
         ดังนั้น ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13 องศา หรือ สูงกว่า 25 องศา ปริมาตรของเหลวที่บรรจุนี้จะมีค่าเกินค่าที่ยอมรับได้ของเครื่องแก้ว

เครื่องแก้ววัดปริมาตรของเหลว
  • ขวดวัดปริมาตร (Volumetric Flask)
เป็นขวดที่มีฐานสามารถวางบนพื้นได้อย่างมั่นคง คอยาว มีขีดกำหนดปริมาตรบนคอขวด ใช้สำหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นที่แน่นอน (ชนิด TC) หรือถ่ายของเหลวที่ต้องการปริมาตรที่แน่นอนจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง (ชนิด TD) เช่น สารละลายมาตรฐาน สารละลายตัวอย่าง
  • ปิเปต (pipette)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวมีลักษณะเป็นท่อตรง ปลายท่อมีขนาดเล็ก มีขีดกำหนดปริมาตร แบ่งย่อยหลายขีด ใช้ในการถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง แบ่งเป็น 3 แบบ ตามลักษณะของขีดกำหนดปริมาตร
  • ปิเปตชนิดมีขีดย่อยแบ่งปริมาตร(Graduatedor Measuring Pipette)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวมีลักษณะเป็นท่อตรง ปลายท่อมีขนาดเล็ก มีขีดกำหนดปริมาตร แบ่งย่อยหลายขีด ใช้ในการถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง แบ่งเป็น 3 แบบ ตามลักษณะของขีดกำหนดปริมาตร
  • ปิเปตวัดปริมาณ (Volumetric or Transfer pipette)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวมีลักษณะเป็นท่อยาว ส่วนกลางเป็นกระเปาะ ด้านล่างและบนกระเปาะมีขนาดเล็ก มีขีดกำหนดปริมาตรขีดเดียวอยู่ด้านบนเหนือกระเปาะสามารถบรรจุของเหลวได้ปริมาตรมาก ส่วนที่อ่านปริมาตรมีขนาดเล็ก ทำให้ความคลาดเคลื่อนจากการอ่านค่าปริมาตรต่ำใช้ในการถ่าของเหสวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง ในกรณีที่ต้องการความสูง
  • บิวเรต(Buret)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวที่มีความแม่นสูง มีสต๊อปค๊อกสำหรับปิด-เปิด เพื่อควบคุมปริมาตรของเหลวให้ไหลออกทางปลายท่อตามต้องการ ใช้ในการไทเทรต (titration)
  • กระบอกตวง (Cylinder)
เป็นอุปกรณ์รูปทรงกะบอกมีฐานสำหรับวางบนพื้นได้ปากมีจงอยเพื่อให้ถ่ายของเหลวได้สะดวกใช้ในการถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง ในกรณีที่ไม่ต้องการความแม่นสูง(ชนิด TC) เช่นของเหลวที่ได้จากการกลั่น
 
 
ขวดแก้ววัดปริมาตร (Volumetric Flask)
  1. จุกเปิดขวด
  2. ขีดบอกปริมาตร
  3. ระดับชั้นคุณภาพ
  4. วัตถุประสงค์การใช้งาน
  5. อุณหภูมิอ้างอิง
  6. ความคลาดเคลื่อนของปริมาตร
  7. ความจุ

ปิเปตชนิดที่มีขีดแบ่งปริมาตร (Graduated OR Measuring Pipette)

1. Mohr Pipette มีขีดแบ่งปริมาตรบนตัวปิเปต แต่ไม่รวมปริมาตร ที่ส่วนปลสยปิเปต
มีความถูกต้องใกล้เคียง Volumetric pipette ใช้แทนกันได้ ถ้าจำเป็น
2. Serologicalpipette มีขีดแบ่งปริมาตรบนตัวปิเปตรวมทั้งปริมาตรบริเวณส่วนปลายปิเปตด้วยมีปากใหญ่กว่าMohr pipette สารละลายไหลออกเร็วกว่า ทำให้ความถูกต้องลดลง
3. Ostwaldpipette ปิเปตชนิดนี้เป็นชนิดพิเศษที่ผลิตขึ้นเพื่อวัดปริมาตรของของเหลวที่มีความหนืด เช่น เลือด ซี่รั่ม มีลักษณะคล้าย Volumetric pipetteแต่กะเปาะของปิเปตชนิดนี้อยู่ใกล้ปลายที่ปล่อยของเหลวออกมากกว่า ซึ่งจะช่วยลดความผิดผลาดอันอาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากความหนืดของของเหลว Ostwald pipetteเป็นชนิดที่ต้องเป่าออก ดังนั้นจะมีแถบหรือวงฝ้าทึบ อยู่ใกล้ปลายปากดูดสัญลักษณ์ไว้ เวลาถ่ายของเหลวออกควรให้ของเหลวไหลออกช้าที่สุดเท่าที่จะช้าได้ เพื่อให้ของเหลวเหลือในปิเปตน้อยที่สุด จึงจะได้ปริมาตรที่ใกล้เคียงความจริง

การใช้กระบอกตวง
         กระบอกตวงใช้ในการวัดปริมาตรของเหลวโดยยอมให้มีความคลาดเคลื่อนได้ถึง 1% เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป แต่ไม่ใช่สำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำสูง

รายละเอียดที่กำหนดในข้อกำหนดคุณลักษณะ
  • หน่วยวัดใช้เป็นลูกบาศก์เซ็นติเมตร(CM3)หรือมิลลิลิตร
  • อุณหภูมิอ้างอิง (reference temperature)เป็น อุณหภูมิที่เครื่อวแก้ววัดปริมาตรจะให้ปริมาตรตามกำหนด อาจใช้ที่ 20องศาเซลเซียส หรือ 27 องศาเซลเซียส
  • สมบัติของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องแก้ว ต้องเป็นแก้วที่มีความคงทนต่อสารเคมีและความร้อน
  • ขีดจำกัดค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาตร
  • ความเสถียรและรูปทรงที่สมบูรณ์ของเครื่องแก้ว
  • คุณลักษณะของจุกปิด(stoppers)และสต๊อปค๊อก(stopcocks)
  • ลักษณะของขีดกำหนดปริมาตร(graduated line)และตัวเลขแสดงปริมาตร
  • รายละเอียดที่เขียนบนเครื่องแก้ว(inscription)
  • รหัสสี (color-coding band)หรือแถบฝ้า(Frosting Band)
  • ใช้เครื่องแก้วตามวิธีสอบเทียบ เช่น​
- ขวดวัดปริมาตรชนิด TC ใช้เตรียมสารละลายแบบบรรจุ    
- ขวดวัดปริมาตรชนิด TD ใช้ถ่ายของเหลว
  • ใช้เครื่องแก้ว ClassA สำหรับเตรียมของเหลวที่ต้องการความถูกต้องสูงและต้องผ่านการสอบเทียบ หรือรับรองค่า
  • เลือกเครื่องแก้วปริมาตรที่เหมาะสมเช่นไทเทรปริมาตร 15-20ml ควรใช้บิวเรตขนาด 25 ml
  • การใช้ปิเปตให้สังเกตการระบุเทคนิคการถ่าของเหลว เช่น เวลา ที่ต้องรอ (Waiting time) การเป่าออก การล้าง
  • ไม่ควรให้ความร้อนโดยตรงกับเครื่องแก้ววัดปริมาตร ในการเตรียมสารละลาย หรือ การอบ
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานที่ใช้ความร้อนสูงเกิน 150
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องแก้วกับสารเคมีที่ทำลายผิวแก้ว เช่น HF H3PO4 NaOHและ KOHความเข้มข้นสูง
  • หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรแยกเครื่องแก้วที่ใช้งานกับสารเคมีดังกล่าว เพื่อให้สามารถสอบเทียบ หรือ ทวนสอบในช่วงเวลาที่เหมาะสม

การบำรุงรักษาเครื่องแก้ววัดปริมาตร

การล้างเครื่องแก้ว
  • ล้างเครื่องแก้วอย่างถูกวิธีไม่ขัดถูจนเป็นรอย
  • หากจำเป็นต้องใช้น้ำยาล้างเครื่องแก้วควรเลือกน้ำยาล้างเครื่องแก้วที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพและตรวจสอบความสะอาดก่อนการใช้งาน
  • เลือกอุปกรณืที่เหมาะสมในการล้างเตรื่องแก้ว
  • เครื่องแก้วที่ล้างไม่สะอาด
  • การเปียกน้ำไม่สม่ำเสมอมีหยดของเหลวติดข้างผิวแก้ว
  • ของเหลวสัมผัสผิวแก้วไม่สม่ำเสมอหรือไม่มีลักษณะเป็นส่วนโค้งหรือส่วนโค้งไม่เรียบ
  • เครื่องแก้วที่ล้างไม่สะอาดทำให้เกิดปัญหาวัดปริมาตรของเหลวไม่ถูกต้อง
  • อาจเกิดการปนเปื้อนเนื่องจากสารเคมีที่ติดอยู่ภายในเครื่องแก้ว
  • นำสารละลายที่อยู่ภายในเครื่องแก้วทิ้งออกให้หมด ตามวิธีทิ้งสารที่ถูกต้อง
  • ดึงป้ายหรือฉลากติดออก
  • ล้างด้วยแปรงโดยใช้สบู่หรือสารซักฟอกหรือสารละลายทำความสะอาดออกให้หมด
  • ล้างด้วยน้ำกลั่น1-2ครั้งถ้าเครื่องแก้วนั้นสะอาดอาจจะสังเตเห็นน้ำที่พื้นผิวเครื่องแก้วเปียกสม่ำเสมอ เป็นแบบเดียวกัน แต่ถ้าเครื่องแก้วยังไม่สะอาด จะสังเกตเห็นหยดน้ำมาเก ข้างขวกแก้วเท่านั้น
น้ำยาล้างเครื่องแก้ว (Cleaning Solution)
         เลือกใช้ตามชนิดสารมลทิน
  • Sodium dichromatic-sulfuric acid cleaning Solution
    • สารละลายอิ่มตัว K2 CR2 O7 : conc. H2 SO4= 1:1
    • สารละลายผสมของ 7% Na2 Cr2 O7 กับ 0.5%k2 Cr2 O7 ใน conc. H2 SO4
    • 30กรัม Na2 CR2 O7 ใน 1 ลิตร conc. H2 SO4
    • 92 กรัม กรัม Na2 CR2 O7.2H2O ในน้ำกลั่น 458 มิลลิลิตร และ 800 มิลลิลิตร H2 SO4
    • Nitric acid (50-50%)
    • 120 กรัม NaOHหรือ 150 กรัม KOHในน้ำ 120 มิลลิลิตร และเติม 95% ethyl alcohol เพื่อทำปริมาตรเป็น 1 ลิตร
    • 40% KOH in isopropyl alcohol (degreasing agent)
    • 3N HCL in methyl alcohol
    • 3% KMnO4 : 1M NaOH = 1:1


การปฏิบัติหลังการล้างเครื่องแก้ว
  • ทำให้แห้ง ซึ่งวิธีการทำให้เครื่องแก้วแห้งมีหลายวิธี เช่น
  • ทำให้แห้งโดยใช้เปลวไฟจากตะเกียงบนเสน โดยนำอุปกรณ์เครื่องแก้วนั้นมาให้ความร้อนเบาๆโดยใช้เปลวไฟจากตะเกียงบนเสนจะทำให้เครื่องแก้วแห้งเร็วขึ้น
  • ทำให้แห้งในเตาอบ การทำเครื่องแก้วให้แห้งด้วยเตาอบจะเร็วกว่าปล่อยให้แห้งเองในอากาศ
  • ทำให้แห้งบนราวสำหรับวางเครื่องแก้ว เป็นการทำเครื่องแก้วให้แห้งดดยตั้งทิ้งไว้ในอากาศบนราว
  • ทำให้แห้งด้วยเอซีโตน(acetone) ดครื่องแก้วที่เปียกน้ำจะแห้งเร็วขึ้นเมื่อล้างด้วยแอซีโตนเพียงเล็กน้อย เพราะแอซีโตนระเหยง่ายจะช่วยดึงอากาศให้ผ่านเข้ามาในเครื่องแก้ว ทำให้เครื่องแก้วแห้งเร็วขึ้น

สาเหตุที่อาจทำให้ปริมาตรของเครื่องแก้วเปลี่ยนแปลง
  • สารมลทินล้างไม่ออก
  • มีรอยขีดข่วย เกิดจากการล้างไม่ถูกวิธี
  • มีรอยกัดกร่อนจากสารเคมี เช่น    HF,H3,PO4,ด่างแก่ที่ร้อน
  • เกิดการขยายตัวเนื่องจากใช้งานที่อุณหภูมิ (0.000025 ml/ml/1 C)
  • ความชื้นสัมพัทธ์ 50%(0.001-0.004 ml/l
  • ความดันบรรยากาศที่ 760 mmHg (0.014 ml/lความดันเพิ่มขึ้น 10 mmHg)
  • อัตราการปล่อยสารละลายออกจากเครื่องแก้วช้า-เร็ว เพียงไร
  • การเลือกใช้อุปกรณืวัดปริมาตรตรงตามความเหมาะสมหรือไม่

การเลือกใช้อุปกรณืวัดปริมาตร ต้องคำนึงถึง
1. ชนิดและอุปกรณ์ตัวอย่าง เช่น งานเลือดต้องใช้ Ostwald pipet 
2. ความละเอียด และความแม่นยำ เช่น volumetric pipet ขวดวัดปริมาตรละเอียดกว่ากระบอกตวง 
3. การใช้งานเช่น การเตรียมสารละลายมาตรฐาน (standard solution) ควรใช้ขวดวัดปริมาตรเป็นต้น การไทเทรตกรด-ด่าง ต้องใช้บิวเรตต์และขวดรูปชมพู่
4.ความปลอดภัย กรด-ด่าง หรือสารละลายที่มีไอระเหยรุนแรง ห้ามใช้ปากดูดต้องใช้ลูกยางเสมอ

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)
         การวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงชนิดของสารประกอบธาตุการวิเคราะห์ประเภทนี้ไม่คำนึงถึงปริมาณของสารประกอบหรือธาตุปริมาตรของสารละลายที่ใช้จึงไม่มีผลกับการวิเคราะห์มากนัก

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Qualitative Analysis)
         การวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงปริมาณของสารที่เราสนใจในตัวอย่างที่เราวิเคราะห์เนื่องจากต้องรายงานผลเป็นตัวเลขดังนั้นปริมาตรของสารละลายที่ใช้ในการวิเคราะห์จึงมีกับความถูกต้องแม่นยำของผลการวิเคราะห์มาก

การใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตร
         แบ่งตามการสอบเทียบ และการใช้งาน 2 แบบ
  • ใช้งานแบบถ่ายของเหลว (to delivery) หมายถึง การใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตรที่มีสัญลักษณ์ TD หรือ D หรือ Ex
  • ใช้งานแบบบรรจุหรือเตรียมสารละลาย(tocontain) หมายถึงการใช้การเครื่องแก้ววัดปริมาตรที่มัสัญลักษณ์ TC หรือ C หรือ In

การอ่านปริมาตร
          ตำแหน่งของระดับสายตาในการอ่านปริมาตรมีความสำคัญต่อค่าที่ได้จากการอ่านปริมาตร
          1.ระดับสายตาเหนือmeniscusปริมาตรที่อ่านได้จะน้อยกว่าปริมาตรจริง
          2.ถ้าระดับสายตาอยู่ในระดับเดียวกันกับส่วนโค้งเว้าต่ำสุดของสารละลายปริมาตรที่อ่านได้จะมีค่าเท่ากับ
          3.ระดับสายตาอยู่ต่ำกว่า meniscus ปริมาตรที่อ่านได้จะมากกว่าปริมาตรจริง


การใช้บิวเรต
  • บิเรตต้องสะอาด สต๊อปค๊อก(stopcock) ไม่รั่ว และไม่อุดตันก่อนใช้ควรทาบริเวณ สต๊อปค๊อก ด้วยกรีส หรือวาสลีนบางๆ
  • ตรวจสอบการรั่วด้วยการบรรจุน้ำกลั่นจนถึงขีดศูนย์ ปิดสต๊อปค๊อกให้สนิท ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ปริมาตรน้ำกลั่นต้องไม่ลดลงเกินครึ่งขีดปริมาตรย่อย

การใช้ขวดวัดปริมาตร
         ขวดวัดปริมาตร ต้องสะอาดและแห้ง หรือกลั้วด้วยตัวทำลาย

การเตรียมสารละลายในขวดวัดปริมาตรเตรียมจากของแข็ง
  • ชั่งสารให้ได้น้ำหนักที่แน่นอน
  • ละลายในตัวทำละลายในบีกเกอร์เทลงในขวดวัดปริมาตร หรือเทของแข็งลงในขวดวัดปริมาตร
  • เติมตัวทำลายประมาณ ¾ ของขวด แกว่งขวดให้ของเหลวผสมเข้ากัน หรือจนของแข็งละลายหมด และอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิห้อง จากนั้นจึงปรับปริมาตรจนถึงขีดวัดปริมาตร
 
การเทสารละลายออกจากขวดวัดปริมาตร
  • ไม่เก็บสารละลายที่เตรียมได้ไว้ในขวดวัดปริมาตร
  • เนื่องจากปริมาตรที่อยู่ในขวดจะตรวกับปริมาตรที่ระบุไว้ที่ขวด เมื่อเทสารละลายออกมาสารละลายที่ได้จะมีปริมาตรน้อยกว่าที่ระบุ
  • ค่อยเทสารละลายออกจากขวดวัดปริมาตรลงในภาชนะเก็บที่เหมาะสม โดยระวังไม่ให้เกิดฟองอากาศขณะเท

การเทสารละลายออกจากขวดวัดปริมาตร TD
  • ไม่ใช้เครื่งแก้ว TDในการเตรียมาสารละลาย
  • ใช้ TD สำหรับถ่ายสารละลายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเท่านั้น
  • เนื่องจากปริมาตรที่อยู่ในขวด จะเกินปริมาตรที่ระบุไว้ที่ขวด เมื่อเทสารละลายออกมา สารละลายที่ได้จะมีปริมาตรตามที่ระบุ
  • ค่อยๆเทสารละลายออกจากขวดวัดปริมาตรลงในภาชนะเก็บที่เหมาะสมโดยระวังไม่ให้เกิดฟองอากาศขณะเท
  • เมื่อสารละลายออกหมด จับขวดคว่ำในแนวตั้งค้างไว้ 30 วินาที แล้วจึงแตะปากขวดกับภาชนะรองรับ

การใช้กะบอกตวง
  • เทสารละลายจากบีกเกอร์ลงไปในกระบอกตวง ให้ menischus อยู่ต่ำกว่าขีดบอกปริมาตร
  • ใช้ปิเปตหรือหลอดหยดช่วยในการปรับปริมาตรให้ menischus อยู่ตรงกับขีดบอกปริมาตร

การถ่ายสารละลายออกกระบอกตวงชนิด TD
  • เทสารละลายออกจากกระบอกตวงอย่างระมัดระวัง จนกระทั่ง สารละลายออกหมด
  • จับกระบอกตวงคว่ำในแนวตั้งค้างไว้ 30 วินาที
  • แตะปากกระบอกตวงกับภาชนะรองรับเพื่อกำจัดหยดน้ำที่ปากขวดวัดปริมาตรหรือกระบอกตวง

การควบคุมคุณภาพเครื่องวัด
          ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาตรของเครื่องแก้ววัดปริมาตร
  • ความสะอาดของเครื่องแก้ววัดปริมาตร
  • การใช้งานและลักษณะงานที่ใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตร
  • ทักษะของผู้ใช้งาน
  • สารเคมี สารละลายที่ใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตร
  • อุณหภูมิ ความชื้น และความดันบรรยากาศ
  • การจัดเก็บและจัดการเครื่องแก้ววัดปริมาตร​

การสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตร
  • การสอบเทียบ หมายถึง  ชุดของการดำเนินการเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่ชี้บอกโดยเครื่องมือวัดหรือระบบการวัด หรือค่าแสดงโดยเครื่องวัดที่เป็นวัสดุกับค่าสมนัยที่รู้ของปริมาณที่วัดภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้
  • กระบวนการในการตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือวัด โดยการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน​

การทวนสอบเครื่องแก้ววัดปริมาตร
  • การทวนสอบ หมายถึง การยืนยันโดยการตรวจสอบและมีหลักฐานแสดงว่าเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุ

การจัดเครื่องแก้วในห้องปฎิบัติการ
  • จัดทำบัญชีรายชื่อเครื่องแก้วในห้องปฎิบัติการว่ามีเครื่องแก้วใดบ้างมีอยู่จำนวนเท่าใด
  • จัดเก็บเครื่องแก้วแต่ละชนิด แต่ละประเภท และทำป้ายบอกชัดเจน
  • ตรวจเช็คความสมบูรณ์ ความสะอาดของเครื่องแก้ว ถ้าพบเครื่องแก้วบิ่น แตก ร้าว สกปรก ต้องแยกออก แล้วจัดการเครื่องแก้วนั้นอย่างเกมาะสม
  • ใช้งานเครื่องแก้วให้ถูกประเภท และวัตถุประสงค์
  • เครื่องแก้ววัดปริมาตรทุกประเภท เมื่อล้างเสร็จแล้ว ห้ามทำให้แห้งด้วยการนำไปอบในตู้อบ
  • แยกเครื่องแก้วที่ใช้งานเฉพาะทาง ออกจากเครื่องแก้วที่ใช้งานอื่นๆและห้ามปะปนกัน
 
ที่มา :  รายงานการฝึกอบรม หลักสูตรเทคนิคการใช้และการดูแลรักษาเครื่องแก้ววัดปริมาตร  

เรียบเรียงโดย :   
นางสาวสุมาลี ศุมานนท์  ตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญงาน
นางเกษร เต็มเจริญ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญงาน

 
จัดโดย :  สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ  กรมวิทยาศาสตร์บริการ