ประวัติตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)

         ตลาดนัดกรุงเทพมหานครเริ่มจัดขึ้นที่บริเวณท้องสนามหลวง  มีชื่อเรียกว่า “ตลาดนัดสนามหลวง”  พ.ศ. ๒๔๙๑  ในสมัย  จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ขณะนั้นรัฐบาลมีนโยบายให้มีตลาดนัดทุกจังหวัด และจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานครในสมัยนั้น) ได้เลือกสนามหลวงเป็นสถานที่จัดตลาดนัด ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๒ ทางราชการมีความจำเป็นจะต้องใช้สนามหลวงจึงย้ายตลาดนัดไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์  จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๐ รวมเป็นระยะเวลา ๘ ปี หลังจากนั้นได้ย้ายออกไปตั้งอยู่บริเวณสนามชัยเป็นการชั่วคราว  เมื่อวันที่  ๒๙  ธันวาคม  ๒๕๐๐  แต่เนื่องจากสนามชัยคับแคบไม่เหมาะสม จึงได้ย้ายตลาดนัดกลับไปอยู่ที่สนามหลวงเช่นเดิม ในวันที่  ๕ ธันวาคม ๒๕๐๑
           ต่ออมาในปี  พ.ศ. ๒๕๒๑  สมัย พล.อ.เกรียงศักดิ์  ชมะนันท์  เป็นนายกรัฐมนตรี  ได้มีนโยบายที่จะใช้สนามหลวงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และเป็นสถานที่จัดงานสมโภชน์  กรุงรัตนโกสินทร์  ๒๐๐  ปี  และเป็นสถานที่จัดงานรัฐพิธีต่าง ๆ  การรถไฟแห่งประเทศไทยได้มอบที่ดินย่านพหลโยธิน  ตอนต่อจากสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่กรุงเทพมหานคร  เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์ จำนวน  ๗๔.๕๗ไร่  ตามบัญชาของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี  เมื่อวันที่  ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๒๒   กรุงเทพมหานครใช้เงินงบประมาณจำนวน  ๒๔  ล้านบาท  ในการปรับพื้นที่  สร้างถนน  และก่อสร้างอาคารชั่วคราว  เพื่อให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยมาจำหน่ายสินค้า  ตามนโยบายการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย  และขณะเดียวกันก็พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาด้วยแต่ก็ได้รับการคัดค้านจากผู้ค้าตลอดมาจนกระทั่งสามารถดำเนินการได้สำเร็จเมื่อวันที่  ๒ มกราคม ๒๕๒๕  โดยใช้ชื่อว่า  “ตลาดนัดย่านพหลโยธิน”   ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น  “ตลาดนัดจตุจักร”  ให้สอดคล้องกับสวนสาธารณะจตุจักรในบริเวณใกล้เคียง   ซึ่งได้รับพระราชทานนาม  ตั้งแต่ปี  พ.ศ. ๒๕๓๐  จนถึงปัจจุบัน

 ประวัติตลาดนัดเมืองมีน
          ประวัติความเป็นมา เหตุผลและวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งตลาดนัดเมืองมีน  เนื่องจากตลาดนัดจตุจักร  ซึ่งเป็นศูนย์กลางจำหน่ายสินค้าราคาถูกของประเทศและเป็นตลาดแห่งเดียวของที่มีเนื้อที่ 68 ไร่ 95 ตารางวา  มีแผงค้า 8,672 แผง  และมีแผงค้าประมาณ 6,500 ราย  ในแต่ละสัปดาห์ จะมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศไปเที่ยวชมและคับแคบไปด้วยผู้ค้าประชาชน  ฉะนั้น  เพื่อสนองความต้องการของประชาชนในการชื้อสินค้าราคาถูก และส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะชาวกรุงเทพมหานครได้มีสถานที่สำหรับนำผลผลิตทางการเกษตรตลอดจนอุตสาหกรรมต่างๆ มาจำหน่าย ประกอบกับผู้ว่าราชการกรุงเทพ-มหานคร  มีนโยบายจะเปิดตลาดนัดบริเวณชานเมืองเพิ่มขึ้น  ทางด้านฝั่งธนบุรีหรือเขตรอบนอก  เช่น  เขตมีนบุรี เขตหนองจอก เขตลาดกระบัง เพื่อกระจายความเจริญออกไปกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหา-นครได้พยายามเสาะแสวงหาที่ดินที่เหมาะสมสำหรับจัดเป็นตลาดนัดในพื้นที่และจัดทำ LAY – OUT     แผงผังต่างๆ แล้วปรากฏว่าเส้นทางเข้า-ออกด้านถนนสีหบุรานุกิจ ปากทางเข้าเป็นสถานธนานุบาลของกรุงเทพมหานครเข้าไปเป็นตลาดของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร เลยเข้าไปจะเป็นที่ดินว่างเปล่าขนาด 13.7  ไร่  และที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินตามโฉนดเลขที่ 2407  ซึ่งนายเจิม นวลศรี  เจ้าของที่ดินยกให้สุขาภิบาลมีนบุรี  เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2506  รวมจำนวน 27 ไร่  เนื้อที่ตลาดนัดเมืองมีน 13.70 ไร่ ตลาดนัดสุขาภิบาลประมาณ 13.30 ไร่  ห่างจากถนนสุวินทวงศ์จำนวน 60 เมตร  โดยมีที่ดินของเอกชนคั่นอยู่  ซึ่งเจ้าของที่ดินยินยอมยกที่ดินมูลค่า 3 ล้านบาท  ให้กรุงเทพมหานครทำถนนกว้าง 12 เมตร  ทำ LAT – OUT  โดยจำลองรูปคล้ายกับตลาดนัดจตุจักร  คือมีถนนโดยรอบตลาดนัด  พื้นที่ตรงกลางจัดเป็นพื้นที่สีเขียวใช้เป็นลานเร่ชั่วคราว บริเวณปากทางเข้าเป็นที่ตั้งของอาคารกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพ-มหานคร  มีสุขา 4 แห่ง  และมีการแบ่งพื้นที่การค้ามีสินค้า 8 ประเภท  มีจำนวน 1,340 กว่าแผงค้า  (ขนาดพื้นที่แผงค้าละ 5 ตารางเมตร หรือ 2.0 x 2.5 เมตร) โดยระยะแรกใช้เต็นท์ผ้าใบเป็นอาคารกันแดด กันฝน งบประมาณที่ดำเนินการถมที่,สร้างรั้ว,ติดตั้งน้ำประปา,ไฟฟ้า,โทรศัพท์,ก่อสร้างกองอำนวยการสุขาสาธารณะ และติดตั้งเต็นท์เป็นเงินงบประมาณ 13 – 15 ล้านบาท ระยะเวลาการก่อสร้างเริ่มดำเนินการก่อสร้างประมาณเดือน ตุลาคม 2532 กว่าจะสร้างเสร็จเรียบร้อยในระยะเวลาประมาณ 9 เดือน และจะเปิดตลาดนัดประมาณเดือนกรกฏาคม 2533  ซึ่งต่อมากรุงเทพมหานครได้ เรียกชื่อว่า “ตลาดนัดเมืองมีน”
           ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการจัดตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 5/2532  เมื่อวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2532 ตลาดนัดจตุจักร 2 (เมืองมีน)  ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตลาดนัดได้จากถนนสายหลัก 2 สายคือ ถนนสุวินทวงศ์และถนนสีหบุรานุกิจเริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 28 กรกฏาคม 2533  จำหน่ายสินค้าครบวงจรเหมือนตลาดนัดจตุจักร  รวมทั้งสิ้น 8 ประเภท  ได้แก่เสื้อผ้า ผัก-ผลไม้ สัตว์เลี้ยง อาหารสำเร็จรูป ต้นไม้ อาหารสำเร็จรูป ต้นไม้ อาหารปรุง อาหารสด  และสินค้าประเภทเบ็ดเตล็ดในระยะเริ่มแรกแผงค้ามีโครงสร้างเป็นเต็นท์ผ้าใบ  มีแผงค้าทั้งสิ้น 1,341 แผง ในปี พ.ศ. 2534  โดยมีการปรับปรุงแผงค้าโดยตัดสิทธิแผงค้าที่มีอยู่ในความดูแลของสำนักงานเขตออกไป  จึงเหลือแผงค้าตามสิทธิของประชาชนทั่วไปจำนวน 1,320 แผง  และได้มีการปรับปรุงและพัฒนาแผงค้าตลาดนัดจตุจักร 2 (เมืองมีน)  มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
             ซึ่งเดิมมีแผงจำนวน 1,314 แผง ณ ปัจจุบัน พ.ศ. 2560 ได้มีการปรับปรุงแผงค้า  โดยตัดสิทธิแผงค้าที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานเขตออกไป  จึงเหลือแผงค้าตามสิทธิของประชาชนทั่วไป  จำนวน 1,567  แผง  ดังนี้

  1. ประเภทผัก – ผลไม้                  จำนวน           223    แผง
  2. ประเภทเสื้อผ้า                          จำนวน           326    แผง
  3. ประเภทอาหารสำเร็จรูป               จำนวน             60    แผง
  4. ประเภทอาหารสด                      จำนวน             70    แผง
  5. ประเภทอาหารปรุง                     จำนวน           180    แผง
  6. ประเภทต้นไม้                           จำนวน           107    แผง
  7. ประเภทสัตว์มีชีวิต  ๆ                  จำนวน             85    แผง
  8. ประเภทเบ็ดเตล็ด                       จำนวน           515    แผง
  9. แผงค้ามีทะเบียน                        จำนวน           463    แผง
  10. แผงค้าว่าง                                จำนวน              52   แผง
  11. อุปกรณ์เลี้ยงปลา                       จำนวน                1   แผง
 โครงการขยายตลาดนัดจตุจักร 2 (เมืองมีน)
          ดำเนินการก่อสร้างแผงค้าตลาดนัดเมืองมีน ตามโครงการขยายตลาดนัดจตุจักร 2 (เมืองมีน)เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2547 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการจัดตลาดนัดกรุงเทพมหานคร  ครั้งที่ 2/2545  เมื่อวันที่  26  มิถุนายน  2545  และครั้งที่  3/2545  เมื่อวันที่ 24  กันยายน  2545  บริเวณที่ดินของสำนักงานตลาดนัดกรุงเทพมหานคร  เนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ ด้านหน้าอาคารกองอำนวยการตลาดนัดจตุจักร 2 (เมืองมีน) ด้านถนนสีหบุรานุกิจ  โดยทำสัญญาว่าจ้างบริษัทสินชัยพงศ์ จำกัด เป็นผู้ก่อสร้างโครงการขยายตลาดนัดจตุจักร 2 (เมืองมีน) โดยใช้งบประมาณ 129 ล้านบาท โดยกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานครรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างงานด้านสาธารณูปโภคและงานก่อสร้างแผงค้าตลาดสด และศูนย์อาหาร จำนวน 420 แผงค้า เป็นเงิน 69,730,000.- บาท และผู้ค้าที่ได้รับสิทธิแผงค้าประเภทต้นไม้ และแผงค้าเบ็ดเตล็ด  รับผิดชอบค่าก่อสร้างในแผงค้าดังกล่าว เป็นเงิน 59,970,000.- บาท  กำหนดการก่อสร้างตามสัญญาแล้วเสร็จภายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2548 โครงการ
ดังกล่าวมีแผงค้ารวมทั้งสิ้น 1,520 แผงค้า ดังนี้
  1. แผงค้าประเภทตลาดสด                 จำนวน 332    แผง
  2. แผงค้าประเภทศูนย์อาหาร              จำนวน  88     แผง
  3. แผงค้าประเภทเบ็ดเตล็ด                 จำนวน  928    แผง
  4. แผงค้าประเภทต้นไม้                     จำนวน  172    แผง
           กองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร  ได้มีโครงการขยายตลาดนัดจตุจักร ๒ (เมืองมีน) โดยเช่าในที่ดินของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร  มีเนื้อที่ 13 ไร่ เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ  ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2549 โดยรูปแบบเป็นอาคาร 2 ชั้น และเปิดทุกวัน มีแผงค้ารวมจำนวน 1,427 แผงค้า ดังนี้
  1. ประเภทตลาดสด                         จำนวน    176  แผง
  2. ประเภทศูนย์อาหาร                      จำนวน     23  แผง
  3. ประเภทต้นไม้                             จำนวน    172  แผง
  4. ประเภทเบ็ดเตล็ด                         จำนวน  1,056 แผง
           ปัจจุบัน  มีการเพิกถอนสิทธิจากการไม่มาทำการค้า  และกองออำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร มีนโยบายปรับปรุงภูมิทัศน์ ในส่วนของโครงการขยาย
          สรุป  สถานะจำนวนแผงค้า  ณ  ปัจจุบัน  มีดังนี้
  1. ประเภทตลาดสด     คงเหลือ     176    แผงค้า  แบ่งเป็น
  • แผงค้ามีทะเบียน                       43    แผงค้า
  • แผงค้าว่าง                              89    แผงค้า
  • ทางเดิน                                 44    แผงค้า
  1. ประเภทศูนย์อาหาร  คงเหลือ       23    แผงค้า
  • แผงค้ามีทะเบียน                         6    แผงค้า
  • แผงค้าว่าง                               17     แผงค้า
  1. ประเภทต้นไม้         คงเหลือ     172    แผงค้า
  • แผงค้ามีทะเบียน                     150    แผงค้า
  • แผงค้าว่าง                              22    แผงค้า
  1. ประเภทเบ็ดเตล็ด                  1,056   แผงค้า
  • แผงค้ามีทะเบียน                     705    แผงค้า
  • แผงค้าว่าง                              91    แผงค้า
  • ทางเดิน                                 60    แผงค้า
 
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งตลาดนัดจตุจักร 2 (เมืองมีน)
  1. เพื่อสนองนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  ในการเปิดตลาดนัดบริเวณชานเมืองเพิ่มขึ้นทางด้านฝั่งธนบุรี  และพื้นที่เขตรอบนอก เช่น เขตมีนบุรี เขตหนองจอก เขตลาดกระบัง เพื่อกระจายความเจริญของกรุงเทพมหานครออกไป
  2. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการซื้อหาสินค้าราคาถูก โดยรวมสินค้าหลายประเภทไว้สถานที่เดียวกัน  ช่วยประหยัดเวลา และค่าพาหนะ
  3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีสถานที่สำหรับนำผลผลิตทางการเกษตร และอุตสาหกรรมต่าง ๆมาจำหน่ายในตลาดนัด เป็นการเพิ่มประสบการณ์ในอาชีพค้าขาย และเป็นการเพิ่มรายได้แก่ประชาชน
  4. เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนที่พักอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เขตชานเมืองของกรุงเทพมหานคร