มาขอรับบริการต้องยื่นบัตรอะไร หรือทำอย่างไร

ตอบ     การให้บริการของศูนย์ฯ 57 มี 2 กรณี

          1.กรณีผู้ป่วยรายใหม่ กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มเพื่อทำประวัติผู้ป่วยใหม่ (ประวัติ-ชื่อสกุล-ที่อยู่) เสร็จแล้วแนบเอกสาร บัตรประชาชน แบบฟอร์มเพื่อทำประวัติผู้ป่วยใหม่ และบัตรคิวผู้ป่วย ยื่นที่ห้อง 101 รอเรียกซักประวัติ อาการสำคัญ และเซ็นต์ยินยอมการรักษา

          2.กรณีผู้ป่วยรายเก่ามีบัตรแล้ว นำบัตรประจำตัวของศูนย์ฯ 57 และบัตรประชาชน แนบพร้อมบัตรคิว ยื่นที่ห้อง 101  รอเรียก ซักประวัติอาการสำคัญ

ตรวจสุขภาพเพียงขอใบรับรองแพทย์ ต้องทำอย่างไร

ตอบ     1. การขอใบรับรองแพทย์ ถ้าเป็นกรณีไม่เคยมาใช้บริการที่ศูนย์ฯ 57  ต้องทำประวัติผู้ป่วยใหม่ (เวชระเบียนผู้ป่วยใหม่) กรณีเคยมารับบริการแล้ว ให้ยื่นบัตรผู้ป่วยพร้อมบัตรประชาชน ยื่นบัตรคิวตามปกติ

           2. ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต

           3. รอเรียกซักประวัติ อาการ

           4. เข้าพบแพทย์

          5. ชำระเงิน (150 บาท)

          6. รับใบรับรองแพทย์ และกลับบ้านได้

          *หมายเหตุ ถ้าตรวจสารเพสติด ชำระเงินเพิ่ม 150 บาท, ตรวจการตั้งครรภ์ ชำระเงินเพิ่ม 70 บาท

ที่ศูนย์ฯ 57 มีให้บริการตรวจรักษาอะไรบ้าง และเปิดให้บริการช่วงเวลาไหน

ศูนย์ฯ 57 เปิดให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 20.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินโดยไม่หยุดพักเที่ยง

สามารถตรวจสอบสิทธิบัตรทองได้อย่างไร

สามารถตรวจสอบสิทธิบัตรทองโดย โทร 1330 หรือ เข้าเว็บไซต์ สปสช. ใช้เลขบัตรประชาชน 13 หลักในการตรวจสอบสิทธิ

ถ้ามีสิทธิบัตรทอง ควรทำอย่างไร

หากท่านใช้สิทธิบัตรทอง ควรปฏิบัติดังนี้

          1. สามารถไปใช้สิทธิบัตรทองได้ที่สถานพยาบาลที่ได้เลือกลำดับที่ 1 และปฏิบัติตามขั้นตอนของสถานพยาบาลนั้น

          2. นำบัตรประชาชนแสดงทุกครั้ง เมื่อรับบริการที่สถานบริการรักษาพยาบาล

          3. ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการ เช่น เจ้าหน้าที่ประจำแผนก พยาบาล

หากจะขอให้ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ตอบ     เอกสารที่ต้องนำมาด้วย (กรณีไม่เคยมารักษาที่ศูนย์ฯ 57)

          - บัตรประจำตัวประชาชน

          - นำประวัติการรักษาจากสถานบริการเดิม (กรณีมีนัดต่อเนื่อง ให้นำใบนัดของโรงพยาบาลมาด้วยทุกครั้ง) พร้อมกับนำยาที่รับประทานอยู่ มาให้แพทย์ดูเพื่อประกอบการเขียนใบส่งตัว

          *ออกใบส่งตัว ระหว่างเวลา 08.00 น. - 12.00 น. (ระหว่างเวลา 13.00 น. - 16.00 น. เป็นการบริการส่งเสริมสุขภาพ งดเว้นออกใบส่งตัว)*

ป่วยเป็นโรคเบาหวาน แพทย์นัด มาไม่ตรงนัดได้ไหม

ตอบ     แนะนำให้มาตรงนัด เนื่องจากในแต่ละวันจะมีการนัดหมายผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจำนวนที่พอเหมาะกับผ้ป่วยที่มารับบริการ หากผู้ป่วยมาไม่ตรงนัด ทำให้เพิ่มปริมาณผู้ป่วยในวันนั้นๆ ส่งผล ให้เกิดความแออัดต่อการให้บริการ และในการนัดหมายแต่ละครั้งก็มีความหมายต่อการวางแผนให้บริการ เพิ่มเติมที่เหมาะสมในแต่ะกลุ่ม เช่น การตรวจวัดสายตา, การตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน, การตรวจ สุขภาพช่องปากและฟัน เป็นต้น และการมาไม่ตรงนัดมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะขาดยา เพราะการนัดหมายแต่ละครั้งจะมีการคำนวนยาให้พอดีกับวันนัด

ทำไมผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางโรค ถึงไปรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลตามสิทธิไม่ได้

ตอบ     เนื่องจากผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง) ต้องใช้เวลาในการรักษาต่อเนื่อง

ระยะยาว เพื่อความสะดวกของตัวผู้ป่วยเองในการรักษาใกล้บ้าน ซึ่งปัจจุบันหน่วยบริการปฐมภูมิมีศักยภาพในการ รักษาใกล้เคียงกับโรงพยาบาล เพื่อเป็นการลดความแออัดของโรงพยาบาล สปสช. จึงมีนโยบายให้ผู้รับบริการที่

ใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิเป็นอันดับแรก ยกเว้น กรณีที่ต้องมีการ ตรวจพิเศษหรือมีอาการที่ซับซ้อน ต้องการการดูแลจากแพทย์เฉพาะทาง หน่วยบริการปฐมภูมิจะส่งตัวไปรักษาที่ โรงพยาบาลตามสิทธิ

วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ สามารถมาล้างแผลที่ศูนย์ฯ 57 ได้ไหม

ไม่ได้ เนื่องจากศูนย์ฯ 57 ให้บริการด้านการพยาบาล เช่น ทําแผล ฉีดยา วันจันทร์ – ศุกร์ 

เวลา 8.00 น. - 12.00 น. และเวลา 16.00 น. – 20.00 น. หยุดทำการวันเสาร - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ลืมนำใบนัดฉีดยามา แต่จําได้ว่าครบฉีดเดือนนี้ จะต้องทําอย่างไร

ตอบ     สามารถรับบริการได้ แต่ต้องรอเจ้าหน้าที่สืบค้นประวัติการฉีดยาใน OPD Card (ในกรณีที่ฉีดต่อเนื่องของศูนย์ฯ 57 ) ซึ่งอาจทําให้เกิดความล่าช้า ดังนั้น ควรนําใบนัดมาด้วยทุกครั้ง

ผู้ป่วยโดนรถเฉี่ยวชนหน้าศูนย์ฯ 57 มีบาดแผลบริเวณแขนและขา มาล้างแผลที่ศูนย์ฯ 57 ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร

    ตอบ กรณีอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน สามารถมาล้างแผลและปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

โดนสุนัขกัดที่ขาตอนเช้า ต้องการมาล้างแผล และฉีดวัคซีนที่ศูนย์ฯ 57 ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร

    ตอบ วันแรกที่โดนสุนัขกัด แพทย์จะสั่งฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าและวัคซีนป้องกันบาดทะยัก กรณีที่เป็นสิทธิบัตรทองในกทม. กรณีสิทธิข้าราชการ ไม่เสียค่าใช้จ่ายทุกเข็ม ประกันสังคมต้องชำระเงินเอง แล้วนําใบเสร็จไปเบิกประกันสังคม

กรณีบัตรทองต่างจังหวัดล้างแผลที่ถูกสุนัขกัด ไม่เสียค่าใช้จ่ายในวันแรก แต่วันต่อมาต้องเสียค่าล้างแผล ตามลักษณะของบาดแผล

ต้องการมาฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจําฤดูกาลที่ประกาศในโทรทัศน์ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร

    ตอบ ที่ศูนย์ฯ 57 มีบริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ได้รับการจัดสรรจาก สปสช สําหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัว 7 กลุ่มโรค ดังนี้ โรคหอบหืด, ปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคหัวใจ, โรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบําบัด, หลอดเลือดสมอง, ไตวาย และโรคเบาหวาน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ไม่มีบริการสําหรับบุคคลทั่วไป

จะมาเจาะเลือดตรวจไขมัน ต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือดกี่ชั่วโมง

    ตอบ งดอาหารและเครื่องดื่ม ก่อนเจาะเลือด 10 - 12 ชั่วโมง

จะมาตรวจสุขภาพ เจาะเลือด ต้องมาวันไหน และต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

    ตอบ ศูนย์ฯ 57 มีให้บริการตรวจเลือดเฉพาะทุกวันอังคาร เวลา 8.00 น. - 10.30 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และติดกับวันหยุดต่อเนื่อง ผู้รับบริการควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และสั่งตรวจเลือดก่อนทุกครั้ง

ค่าบริการเจาะเลือดเท่าไร

    ตอบ ค่าบริการเจาะเลือดแต่ละรายการไม่เท่ากัน ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นตั้งแต่ 50 - 2,000 บาท แล้วแต่ว่าแพทย์จะสั่งตรวจอะไรเพิ่มบ้าง

คนใข้สามารถนำแผงยามาซื้อยาได้เลย โดยที่ไม่ต้องพบแพทย์ได้หรือไม่

    ตอบ 1 ศูนย์ฯ 57 ไม่ขายยาให้คนไข้ เนื่องจากคนไข้ต้องพบแพทย์เพื่อให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น 

2 แต่สามารถซื้อยาสามัญตามรายการยาที่ติดอยู่ด้านหน้าห้องยาได้ และจะสอบถามอาการผู้รับบริการ ก่อนทุกครั้ง ถ้าอาการหนักหรือเป็นติดต่อมาเป็นระยะเวลานานควรพบแพทย์ก่อน

คนใข้สามารถนำแผงยาที่ได้รับจากโรงพยาบาลอื่นมาสอบถามที่ศูนย์ฯ 57 ว่ามียาชนิดนี้ไหม ได้หรือไม่

    ตอบ ได้ เนื่องจากที่ศูนย์ฯ 57 มีเภสัชกรประจำ โดยเภสัชกรจะดูชื่อยาที่แผงยาที่คนใข้นำมาถามก่อน ถ้ามียาชนิดเดียวกัน แต่แผงยาไม่เหมือนกันเนื่องจากเป็นยาคนละบริษัทแต่ตัวยาเดียวกัน ก็จะอธิบายให้คนเข้าใจ

จริงหรือไม่ที่ผู้ป่วยบัตรทองใช้ยาในประเทศ ผู้ป่วยสิทธิข้าราชการใช้ยานอกอย่างดี

ตอบ ไม่จริง เพราะแนวทางการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยทั่วไปทุกราย ขึ้นอยู่กับอาการและการวินิจฉัยของแพทย์ แพทย์จะจ่ายยาตรงตามอาการและให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ป่วยทุกราย ไม่ว่าจะใช้สิทธิอะไร

ฉีดวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก วันนี้แล้วจะมีไข้ไหม

    ตอบ ส่วนใหญ่ฉีดแล้วจะมีไข้ ถ้ามีไข้ควรเช็ดตัวลดไข้ ถ้าไข้ไม่ลดลงให้ทานยาลดไข้ตามแพทย์สั่ง

ครั้งที่แล้ว ฉีดยาแล้วเด็กปวดขาไม่ยอมเดิน ควรทำอย่างไร

ตอบ     หลังฉีดยาหากมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน ควรประคบเย็นบริเวณที่ฉีดยา และถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้น ให้ทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง หากทานแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์และให้แจ้งพยาบาลทราบเมื่อมารับบริการครั้งถัดไป

คลินิกสุขภาพเด็กดีเปิดให้บริการวันไหนบ้าง

    ตอบ วันอังคารและวันพฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา 13.00 น. - 16.00 น.

- วันอังคารจะให้บริการฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 1  ปี 6 เดือน และ 4 ปี

- วันพฤหัสบดีจะให้บริการฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 9 เดือน, 1 ปี และ 2 ปี 6 เดือน

บุตรหลานมีไข้ ไอ จาม ตัวร้อน มีน้ำมูก สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม

    ตอบ ไม่ควร ผู้ปกครองควรให้บุตรหลานร่างกายแข็งแรงก่อนมารับวัคซีน หากบุตรหลานมีอาการป่วยควรเลื่อน รับวัคซีนออกไป จนกว่าร่างกายจะแข็งแรง

ศูนย์ฯ 57 รับฝากครรภ์วันไหน ต้องเตรียมอะไรมาบ้าง และต้องพาสามีมาด้วยไหม

ตอบ ศูนย์ฯ 57 รับฝากครรภ์ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ การมาฝากครรภ์ให้นำบัตรประชาชนมาด้วยทุกครั้ง เพื่อทำบัตร และต้องพาสามีมาด้วยเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก

ถ้าซื้อที่ตรวจครรภ์ และตรวจแล้วว่าท้อง สามารถมาฝากครรภ์ได้ไหม

ตอบ การฝากครรภ์ที่ศูนย์ฯ 57 ต้องมาตรวจการตั้งครรภ์อีกครั้งโดยการตรวจปัสสาวะว่ามีการตั้งครรภ์ แล้วทางศูนย์ฯ จะออกใบรับรองการตรวจครรภ์ให้

สามารถมาทำคลอดที่ศูนย์ฯ 57 ได้ไหม

ตอบ  ไม่ได้ ที่ศูนย์ฯ 57 ไม่มีการทำคลอด และรับฝากครรภ์ได้ จนถึงอายุครรภ์ 28 - 30 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะได้รับการส่งตัวไปโรงพยาบาลที่ต้องการ เพื่อการดูแลก่อนคลอด

ตรวจมะเร็งปากมดลูกวันไหน และเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

1.1 ศูนย์ฯ 57 ให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกในวันพุธ เวลา 13.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ

1.2 การเตรียมตัวมาตรวจมะเร็งปากมดลูก

- หลังหมดประจำเดือน 5 วัน นับจากวันสุดท้ายของการหมดประจำเดือน

- ห้ามสวนล้างช่องคลอด 1 - 2 วันก่อนตรวจ

- ห้ามเหน็บยาที่ช่องคลอด 1-2 วันก่อนตรวจ

- งดการมีเพศสัมพันธ์ 1 วันก่อนมาตรวจ

- ใส่กระโปรงหรือเตรียมผ้าถุงมาด้วย จะสะดวกต่อการตรวจ

ค่าตรวจมะเร็งปากมดลูกราคาเท่าไร

1 กรณีคนไทยที่มีเลขบัตรประชาชน 13 หลักทุกสิทธิ สามารถจองคิวผ่าน App เป๋าตังค์ หรือ Walk in ผ่าน Call Center ของศูนย์ฯ 

2 แต่ถ้าตรวจแล้วมีอาการผิดปกติ แพทย์สั่งยารับประทานหรือยาเหน็บ เสียเงินตามสิทธิการรักษา

มีการคุมกำเนิดชนิดฝังไหม

ตอบ ที่ศูนย์ฯ 57 มีการคุมกำเนิดวันพุธ เวลา 13.00 น. มีการคุมกำเนิดแบบยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาฉีดคุมกำเนิด, ยาฝังคุมกำเนิด (ต้องจองคิวล่วงหน้า)

ศูนย์ฯ 57 มีบริการผ่าฟันคุดหรือไม่

ตอบ มี แต่แนะนำให้ผู้มารับบริการเข้ามารับการตรวจประเมินเบื้องต้นก่อน ทันตแพทย์จะทำการประเมินความยาก – ง่าย รวมถึงจะแนะนำให้ผู้มารับบริการถ่ายภาพรังสีเพิ่มเติม ถ้าสามารถให้การรักษาได้ จะทำการนัดหมายให้มารับการรักษาต่อไป

ศูนย์ฯ 57 มีบริการทำฟันปลอมหรือไม่

ตอบ ศูนย์ฯ 57 ไม่มีการให้บริการทำฟันปลอม แต่มีการให้บริการอุดฟัน ขูดหินน้ำลาย เพื่อเตรียมช่องปากให้ พร้อมก่อนทำฟันปลอม

กรณีบัตรทองศูนย์ฯ57 สามารถรับบริการอะไรบ้างโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ตอบ บริการที่ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มีบัตรทอง ศูนย์ฯ 57 มีดังนี้ ตรวจฟัน อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย รักษาโรคเหงือก ถอนฟัน ผ่าฟันคุดที่ไม่ซับซ้อน บริการฉุกเฉินได้ทุกกรณี (กรณีปวดจากรากฟัน จะทำการบำบัดระงับอาการปวดก่อนส่งต่อ รพ.)

ผู้ใช้บริการกลุ่มเป้าหมายใด สามารถขอความช่วยเหลือ นมผง/อาหารทางการแพทย์ได้บ้าง

ตอบ     กลุ่มเป้าหมายในงานสังคมสงเคราะห์ ได้แก่

1.1 เด็กอายุ 0 - 1 ปี, เด็กอายุ 6 เดือน - 3 ปี

1.2 สตรีมีครรภ์

1.3 ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง, เป็นโรคเรื้อรัง/รุนแรง/ติดเชื้อ, ขาดสารอาหาร

1.4 คนพิการ

1.5 ผู้ด้อยโอกาส

1.6 ผู้ติดสารเสพติด ผู้ป่วย+ผู้ติดเชื้อHIV/เอตส์

*ซึ่งมีปัญหาทางด้านโภชนาการ

ศูนย์บริการสาธารณสุข 57 บุญเรือง ล้ำเลิศ สามารถออกใบรับรองความพิการประเภทใดได้บ้าง

ตอบ ประเภทที่ 3 ทางการเคลื่อนไหวเท่านั้น เนื่องจากทางศูนย์ไม่มีแพทย์เฉพาะทางสำหรับประเมินคนพิการ

ประเภทอื่น

การเตรียมตัวก่อนรับวัคซีนในเด็กนักเรียน

ตอบ การฉีดวัคซีนในเด็กนักเรียน เช่น คอตีบ-บาดทะยัก (Td), หัด (MR), มะเร็งปากมดลูก (HPV) เด็กทุกคนที่จะได้รับวัคซีนต้องมีสุขภาพดี ไม่มีไข้ และผู้ปกครองให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร *ไม่มีค่าใช้จ่าย*

เด็กนักเรียนที่เป็นต่างด้าวสามารถฉีดวัคซีนได้ไหม

ตอบ  เด็กนักเรียนต่างด้าวสามารถฉีดวัคซีนได้ *ไม่มีค่าใช้จ่าย*

เด็กที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดแล้ว สามารถป่วยเป็นโรคหัดได้ไหม

ตอบ  ป่วยได้ แต่อาการจะไม่รุนแรงเท่ากับบุคคลที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) ต้องฉีดเด็กนักเรียนชั้นไหน?

ตอบ  ฉีดเฉพาะในเด็กนักเรียนหญิงชั้น ป.5 อายุระหว่าง 9-14 ปี ร.ร.ทุกสังกัด *ไม่มีค่าใช้จ่าย*

อาการอย่างไรจึงเรียกว่าโรคซึมเศร้า

ตอบ 1. ไม่สดชื่น ไม่สนุก หดหู่ เศร้าหมอง เบื่อหน่าย ท้อแท้ หงุดหงิดอ่อนไหวต่อคำพูด 

2. ไม่มีสมาธิทำงาน มองโลกในแง่ร้าย ขาดความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า อยากทำร้ายตัวเอง ไม่อยากมีชีวิตอยู่

3. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เคลื่อนไหวช้า ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ หลับไม่สนิท ไม่สนใจทำกิจกรรมที่ชอบ

เมื่อป่วยเป็นโรคซึมเศร้าต้องปฏิบัติตนอย่างไร

ตอบ 1. ไม่ปล่อยเวลาให้ว่าง กำหนดกิจกรรมที่ชอบและเคยทำในแต่ละวัน เพื่อลดอาการเบื่อหน่าย และอารมณ์เศร้า

2. หลีกเลี่ยงการพูดคุยเกี่ยวกับความคิดทางลบ หรือความรู้สึกที่จะทำให้เกิดอารมณ์เศร้า ให้คิดถึงเหตุการณ์ ที่มีความประทับใจ หรือมีความสุข และหาโอกาสที่จะให้เหตุการณ์ดีๆ เกิดขึ้นอีก

3. อย่าตัดสินใจเรื่องสำคัญต่อชีวิตในขณะที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า เช่น การลาออกจากงาน การอย่าร้างควรปรึกษาคนใกล้ชิดก่อนตัดสินใจ

4. การออกกำลังกายช่วยให้จิตใจคลายเศร้า อารมณ์แจ่มใส ควรออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่น เพื่อช่วยใน การเข้าสังคม จะทำให้ไม่เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว

5. กรณีอาการเศร้าไม่ดีขึ้น และมีอาการนานเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อรับการช่วยเหลือ เพื่อป้องกันปัญหาการทำร้ายตนเอง

ผู้ป่วยสามารถเข้ามารับบริการทางกายภาพบำบัด โดยตรงได้หรือไม่

 ตอบ ไม่ได้ ผู้ป่วยต้องรับการตรวจประเมินจากแพทย์ก่อน เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าสมควรได้รับการกายภาพเพื่อบำบัด จึงจะนัดเข้าคลินิก

การรักษาโดยการกายภาพฯสามารถทำได้คนละกี่ครั้ง

ตอบ ผู้ป่วย 1 คน ทำกายภาพฯ รอบละ 10 ครั้ง ต่อ การวินิจฉัยโรค ถ้าไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาตรวจวินิจฉัยซ้ำ กายภาพจะเปิดให้บริการในวัน จันทร์ - พุธ - ศุกร์

ผู้ป่วยประเภทไหนบ้างที่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการรักษาทางกายภาพบำบัด

ตอบ 1. ผู้ป่วยมะเร็ง/เนื้องอก

2. ผู้ป่วยที่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

3. ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดอุดตัน และยังไม่ได้รับการรักษา

4. ผู้ป่วยที่บกพร่องหรือสูญเสียความรู้สึก

5. ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในบริเวณที่ต้องรักษา

6. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารได้

 

ต้องการให้พยาบาลมาเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านต้องทำอย่างไร จำกัดสิทธิหรือไม่

ตอบ การเข้าไปดูแลที่บ้านไม่จำกัดสิทธิในการรักษา แต่ต้องอยู่ในพื้นที่แขวงหนองและแขวงดอกไม้ เขต

ประเวศ หากอยู่นอกเขตศูนย์ฯ จะประสานงานในการส่งต่อตามพื้นที่ช่องทางที่ศูนย์ฯจะทราบข้อมูลผู้ป่วย มีดังนี้

1. ระบบ BMA home ward referral system ของกองการพยาบาลสาธารณสุข

2. ข้อมูลการรับผู้ป่วยของ สปสช.

3. ได้รับแจ้งจาก รพ.

4. ได้รับแจ้งจากอาสาสมัครสาธารณสุข

5. ญาติผู้ป่วยมาแจ้งด้วยตนเองที่ศูนย์ฯ หรือทางโทรศัพท์ โดยพยาบาลครอบครัวจะโทรศัพท์นัดหมายก่อนเข้าเยี่ยม

6. ครอบครัวผู้ป่วยควรเตรียมประวัติการรักษา ยา บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรืออื่น ๆที่เกี่ยวข้อง

* ไม่มีค่าใช้จ่าย *

สิทธิการรักษาพยาบาลของคนไทยมีอะไรบ้าง

ตอบ  คนไทยทุกคนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลจากรัฐบาล 3 ระบบใหญ่ๆ ได้แก่

1. สิทธิสวัสดิการรักษาของข้าราชการ

2. สิทธิประกันสังคม

3. สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)

จะตรวจสอบสิทธิ์บัตรทองได้อย่างไร

ตอบ ตรวจสอบสิทธิ โทร 1330 หรือศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่งของกรุงเทพมหานคร

ถ้ามีสิทธิบัตรทองควรทำอย่างไร

ตอบ หากท่านใช้สิทธิบัตรทอง ควรปฏิบัติ ดังนี้

1. ไปใช้สิทธิกับสถานพยาบาลที่ได้เลือกและปฏิบัติตามขั้นตอนของสถานพยาบาลนั้นๆ

2. นำบัตรประจำตัวประชาชน แสดงทุกครั้งเมื่อรับบริการที่สถานบริการรักษาพยาบาล

3. ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้การรักษา เช่น การมาตรวจ ตามนัด การรับประทานยาต่อเนื่อง

Care Giver (CG) หมายถึงอะไร

ตอบ     ผู้ที่ดูแลผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่บ้าน หรือใครบางคนที่ให้การดูแลญาติหรือเพื่อนที่เจ็บป่วย หรือทุพพลภาพ โดยผ่านการอบรมจากสถาบันที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง

ถ้าต้องการอบรมการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่บ้าน ควรจะไปอบรมที่ไหนได้บ้าง

ตอบ     ปัจจุบัน สำนักอนามัย โดยกองการพยาบาลสาธารณสุขได้จัดทำโครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแกนนำผู้ดูแล เพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน สนใจสอบถามได้ที่งานอนามัยชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง ของกรุงเทพมหานคร

อาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร (อสส.) คือ ใคร และอาสาสมัครสาธารณสุขควรมีคุณสมบัติอย่างไร

ตอบ  อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสส. หมายถึง บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย โดยต้องผ่านการอบรมภาคบังคับตามหลักสูตรที่สำนักอนามัยกำหนด และสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการพัฒนา สุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน ตามความรู้และบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

คุณสมบัติ

1. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

2. พักอาศัยอยู่เป็นประจำในชุมชนที่ประสงค์จะเป็น อสส ไม่น้อยกว่า 6 เดือน

3. มีความรู้ ความสามารถอ่านออกเขียนได้

4. สมัครใจ และเสียสละเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานสาธารณสุข

5. ประสงค์จะเข้าร่วม หรือเคยเข้าร่วมการดำเนินงานสาธารณสุขและต้องการพัฒนาชุมชนของตนเอง

6. มีความประพฤติอยู่ในกรอบของศีลธรรมอันดีงาม ประชาชนในชุมชนให้การยอมรับ นับถือ

7. มีสุขภาพดี ทั้งกายและใจ และมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพที่เป็นแบบอย่าง

8. มีเวลาให้กับการทำงาน ในบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร

โรคอัลไซเมอร์ หมายถึง โรคอะไร มีวิธีป้องกันอย่างไร

ตอบ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นโรคที่เกิดจากการตายของเซลล์สมองทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลง เริ่มจากความจำแย่ลง หลงลืม จนมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทำให้พฤติกรรม บุคลิกภาพ และอารมณ์เปลี่ยนไป

การป้องกัน

- การฝึกบริหารสมอง

- การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง

- การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การมีกิจกรรมทางกายให้เกิดการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ

- ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง เช่น การสูบบุหรี่ 

การดื่มสุรา การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น

- จัดการความเครียด และอาการเศร้าหมอง เช่น นั่งสมาธิ ฝึกหายใจ ฟังเพลง เป็นต้น

เริ่มมีอาการปวดเข่า โดยเฉพาะเวลานั่งยองๆ แล้วลุกขึ้น จะมีวิธีป้องกันอย่างไรเพื่อป้องกันโรคเข่าเสื่อม

ตอบ     โรคเข่าเสื่อมมักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่วนอื่น ๆ ของเข่า การป้องกันโดยปฏิบัติ ดังนี้

          - ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน

- ไม่ควรนั่งในท่างอเข่า เช่น พับเพียบ ขัดสมาธิ คุกเข่า นั่งยองๆ เป็นต้น ควรนั่งบนเก้าอี้ห้อยขา หรือนั่งขาเหยียดตรง ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ

- หลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่า เช่น ยกของหนักเกินกำลัง หรือเดินขึ้น-ลงบันได บ่อย ๆ

- ควรฝึกบริหารข้อเข่าเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบเข่าแข็งแรง

เมื่อป่วยเป็นวัณโรค จะไปรับบริการรักษาได้ที่ใดบ้าง

ตอบสถานพยาบาลที่ท่านสามารถไปรับบริการได้

- ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

- โรงพยาบาลสังกัด กรุงเทพมหานคร

- สถานตรวจโรคปอดกรุงเทพฯ บางโคล่ กระทรวงสาธารณสุข

- โรงพยาบาลประสานมิตร ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร

- โรงพยาบาลภาครัฐ และเอกชนทุกแห่ง

- โทรสอบถามที่กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร โทร 02 860 8751-6 ต่อ 504-505

อาการที่เข้าข่าย สงสัยว่าเป็นวัณโรค มีอะไรบ้าง

ตอบ- ไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ ไอแห้ง ๆ ไอมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย

- มีไข้ต่ำ ๆตอนบ่ายหรือตอนค่ำ

- อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

- มีเหงื่อออกมากผิดปกติตอนกลางคืน

การตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ เพื่อค้นหามะเร็งเต้านม ควรทำเมื่อใด

ตอบ - ทุกเดือนเมื่อมีอายุ 20 ปีขึ้นไป

 - ทุกวันที่ 10 นับจากมีประจำเดือนวันแรก

เด็กที่บ้านติดเกมควรทำอย่างไร

ตอบ การช่วยเพื่อเด็กติดเกมทำได้ด้วยการสร้างพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีแล้วตามด้วยวิธีการ ดังนี้

สัปดาห์แรก      ให้เล่นวันละ      2 ชั่วโมง

สัปดาห์ที่สอง    ให้เล่นวันละ      1 ชั่วโมง

สัปดาห์ที่สาม    ให้เล่นเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง

ถ้าเลิกเล่นเกมส์ได้แล้ว ให้จัดกิจกรรมทดแทนเวลาที่เคยเล่นทันที กิจกรรมควรสนุกสนาน เพลิดเพลิน เพื่อเบนความสนใจไปจากการเล่นเกมส์

1 การเอาจริงกับข้อตกลงด้วยสีหน้า ท่าทาง

2 กำหนดทางปฏิบัติ เมื่อเกิดปัญหา เช่น ถ้าลูกไม่ทำตาม แม่จะทำอะไร จะให้ช่วยอย่างไร

3 จูงใจให้อยากเลิกด้วยตนเอง

4 จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ไม่ให้มีสิ่งกระตุ้นเกี่ยวกับเกมส์

5 หากิจกรรมที่ทำร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว หรือการเข้าร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น เช่น กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ ทัศนศึกษา กีฬา เป็นต้น

หากมีข้อสงสัย หรือ อยากแนะนำบริการต้องทำอย่างไร

ตอบ การให้ข้อแนะนำมีช่องทางหลายช่องทาง เช่น

1. แจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบได้ทันที

2. หย่อนใส่ตู้แสดงความคิดเห็น

3. ทางโทรศัพท์ เบอร์ 02-3961866 ถึงหัวหน้าพยาบาล ต่อ 32

4. ทางเฟสบุ๊ค ศูนย์บริการสาธารณสุข 57 บุญเรือง ล้ำเลิศ

5. อีเมล hc13700_13700@hotmail.com

อยากทราบเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินหากมีปัญหาสุขภาพฉุกเฉิน และต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่

ตอบ 1. กรณีมีปัญหาสุขภาพฉุกเฉิน สามารถเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

- รถพยาบาลฉุกเฉิน ศูนย์เอราวัณ (กทม.)            1646

- รถพยาบาลฉุกเฉิน ศูนย์นเรนทร (ตจว.)            1669

2. เบอร์โทรอื่น ๆ

- สายด่วนสุขภาพจิต                                    1323

- ช่วยเหลือคนไร้ที่อยู่ศูนย์ประชาบดี                  1300

- ไฟไหม้                                                  199

- สายด่วน สปสช.                                       1330

- เหตุด่วนเหตุร้าย                                       191

3. เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน

- รถพยาบาลฉุกเฉิน ศูนย์เอราวัณ(กทม.)             1646

- รถพยาบาลฉุกเฉิน ศูนย์นเรนทร(ตจว.)             1669

- สายด่วนสุขภาพจิต                                    1323

- ช่วยเหลือคนไร้ที่อยู่ ศูนย์ประชาบดี                 1300

- แจ้งเหตุด่วน-เหตุร้าย                                 191

- แจ้งเหตุไฟไหม้-ดับเพลิง                              199

- สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว                             1155

- กองปราบปราม                                        1195

- สายด่วนกรมทางหลวง                                1586

- กรมเจ้าท่า เหตุด่วนทางน้ำ                          1199

- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย                1784

- แจ้งรถหาย, ถูกขโมย                                  1192

- สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน                            1677

- การไฟฟ้านครหลวง                                   1130

- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค                                 1129

- การประปานครหลวง                                 1125

- การประปาส่วนภูมิภาค                                         1662

- สายด่วนสปสช.                                        1330

- กู้ชีพ กทม.                                              1554

-การรถไฟแห่งประเทศไทย                            1690

Page 1 of 1