ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าววันที่ : 19  มิ.ย. 2567 icon

วันที่ 18 มิถุนายน 2567 ศูนย์บริการสาธารณสุข 56 ทับเจริญ

 ประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ และนักวิชาการสาธารณสุข ออกทีมให้บริการวัดความดันโลหิต 

เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว(DTX)

คำถามที่พบบ่อย

อุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน เข้ารับบริการได้อย่างไร ?

 กรณีอุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน ( สิทธิบัตรทอง)  ภายใน 72 ชั่วโมง เข้ารับบริการฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย 

  • แต่ ต้องนำบัตรประชาชนตัวจริง / หรือ สูติบัตร (กรณีอายุต่ำกว่า 7 ปี ) เข้ารับบริการ เท่านั้น 
  • แจ้ง เวลาเกิดอุบัติเหตุ

 

กรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ( ไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้

 

ลืมใบนัดฉีดยา จะต้องทำอย่างไร?

  • กรณีถ่ายรูป ใส่โทรศัพท์ สามารถเข้ารับบริการได้
  • กรณีลืมบัตร ไม่มีหลักฐานการฉีดยา  สามารถรับบริการได้ แต่อาจจะมีความล่าช้าเกิดขึ้นในการ สืบค้นประวัติการฉีดยาา ดังนั้นแนะนำให้นำใบนัดมาด้วยทุกครั้ง

 

ทำแผล / ฉีดยาเข้ารับบริการช่วงไหน?

ศูนย์ฯ 56 ทับเจริญ 

ให้บริการทำแผล / ฉีดยา วันจันทร์ - ศุกร์ 

       เวลา    8.00 -12.00 น.( ควรเข้ารับบริการ ก่อน 10.00 น )  

 และเวลา   16.00 - 20.00 น. ( ควรเข้ารับบริการก่อน 19.00 น ) เว้นวันหยุดราชการ

  • แจ้งรายละเอียด ก่อนเข้ารับบริการที่จุดคัดกรองหน้าอาคาร
  • ใช้บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง ในการเข้ารับบริการ

ปิดทำการ   วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ 

ทำไมผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางโรค ถึงไปรักษาต่อเนื่องที่ รพ. ตามสิทธิไม่ได้ ?

ตามนโยบาย ของ สปสช ให้ ผู้รับบริการที่ใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพฯ รักษาที่หน่วยปฐมภูมิเป็นอันดับแรก

กรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังนั้น อยากแนะนำให้ไปรับบริการกับหน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้านเพื่อความสะดวกในการเดินทางและลดความแออัด ในโรงพยาบาล ต่อจำนวนผู้รับบริการที่มีเพิ่มขึ้น และเพื่อความสะดวกของตัวผู้ป่วยเองในการรักษาใกล้บ้าน ซึ่งปัจจุบันหน่วยปฐมภูมิมี ศักยภาพในการรักษา ใกล้เคียงกับ รพ.  เนื่องจากผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เช่นโรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง) ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา ต่อเนื่องระยะยาว 

* ยกเว้นกรณีที่ ต้องมีการตรวจพิเศษ หรือมีอาการที่ซับซ้อน ต้องการการดูแลจากแพทย์เฉพาะ หน่วยปฐมภูมิจะส่งตัว ไปรักษาต่อที่ รพ.ตามสิทธิ

ผู้ป่วยเบาหวาน คุณหมอนัด มาไม่ตรงนัดต้องทำอย่างไร?

สามารถเข้ารับบริการได้ 

ในช่วงเวลา 8.00 - 12.00 ( เข้ารับบริการก่อน 10.00 น )

แนะนำควรเข้ารับบริการให้ตรงตามนัด เนื่องจากในการนัดหมายแต่ละครั้ง มีผลต่อการวางแผนให้บริการที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มโรค และการมาไม่ตรงนัดมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะขาดยา เพราะการนัดหมายแต่ละครั้งจะมีการ คำนวณยาให้พอดีกับวันนัด

จะขอส่งตัวไปรักษาที่ รพ. ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง / เอกสารที่ต้องนำมาด้วย?

1.บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงเข้ารับบริการ / รายเก่า ควรมีบัตรศูนย์ใบสีขาวมาด้วย

2. นำประวัติการรักษาจาก สถานบริการเดิม พร้อมกับนำยาที่รับประทานอยู่ มาให้แพทย์ดูเพื่อ ประกอบเขียนใบส่งตัว

เวลาออกใบส่งตัว วันจันทร์ - วันศุกร์  ระหว่างเวลา 8.00 - 12.00 น. และ เวลา 16.00 - 20.00 น. 

ถ้าต้องการติดต่อให้ช่วยเปลี่ยนสายปัสสาวะที่บ้าน มีขั้นตอนการขอรับบริการอย่างไรบ้าง?

กรณี บ้านพักอาศัย อยู่ในพื้นที่ แขวงนวมินทร์  แขวงนวลจันทร์  เขตบึงกุ่ม ประสานงานกับที่มพยาบาลอนามัยชุมชน 

  • โทร 02 184 2693 ต่อ 301

หากประสานงานเรียบร้อยแล้ว ญาติของผู้ป่วยติดต่อทำบัตร  ในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.00 - 12.00 น 

 

ทางศูนย์ฯ มีบริการตรวจโรคทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ ให้บริการเวลาไหนบ้าง?

ศูนย์ฯ ๕๖ ทับเจริญ ให้บริการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.00 - 12.00 น. ( ควรเข้ารับบริการก่อน 10.00 น ) เว้นวันหยุดราชการ

โดนสุนัขกัดสามารถไปรับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าที่ศูนย์ฯ ได้หรือไม่?

 ศูนย์ฯ ๕๖ ทับเจริญ ให้บริการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.00 -12.00 น. และเวลา 16.00 - 20.00 น. เว้นวันหยุดราชการ

  • แจ้งรายละเอียด ก่อนเข้ารับบริการที่จุดคัดกรองหน้าอาคาร
  • วัน เวลา ที่ถูกสุนัขและแมวกัด
  • ใช้บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง ในการเข้ารับบริการ   

สอบถามเพิ่มเติม โทร 02 184 2693 ต่อ 0 

กรณีเข้ารับบริการรับบริการต้องเตรียมเอกสาร และ ยื่นเอกสารอย่างไรบ้าง?