คำถามที่พบบ่อย FAQ
• ศูนย์บริการสาธารณสุข 5 จุฬาลงกรณ์ ยังไม่มีบริการพยาบาลนอกเวลาราชการ
⇒นอกเวลาราชการสามารถรับบริการได้ที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 16 ลุมพินี
และศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 16.00 - 20.00 น.
• ให้ญาติมาพบแพทย์และนำประวัติหรือบอกอาการ เพื่อให้แพทย์มีคำสั่งเยี่ยมบ้าน
• จากนั้นพยาบาลเยี่ยมบ้านติดต่อนัดหมายลงเยี่ยมบ้าน
• สอบถามสิทธิการรักษาให้ได้ ส่วนการขอย้ายสิทธิการรักษาผู้รับบริการสามารถติดต่อด้วยตนเองกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพทางโทรศัพท์ (สายด่วน เบอร์โทร 1330)
• กรณีผู้ป่วยใหม่
- กรอกแบบฟอร์มผู้ป่วยพร้อมกับแนบบัตรประชาชนและบัตรคิวผู้ป่วย
- รอเรียกซักประวัติอาการและเซ็นยินยอมการรักษา
• กรณีผู้ป่วยเก่า
- นำบัตรประจำตัวผู้รับบริการมายื่นและรับบัตรคิว
- รอเรียกซักประวัติอาการ
• มีการจัดคิวดังนี้
1. เปิดรับคิวแยกตามประเภทการคัดกรองผู้ป่วย โดยเปิดให้บริการยื่นบัตรเพื่อขอรับบริการได้ตั้งแต่ 7.30 น.
2. มีบริการช่องทางด่วน Fast Track สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ จะจัดคิวด่วนให้
3. มีบริการช่องทางสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ มีอาการหายใจลำบาก มีไข้สูง ฯลฯ ให้คิวแดงฉุกเฉิน
• มีบริการเจาะเลือดตรวจสุขภาพทุกวันอังคาร และวันพฤหัส เวลา 07.45 - 10.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และให้งดน้ำ,อาหาร ก่อนเจาะเลือด 8 – 12 ชั่วโมง
• ออกใบรับรองความพิการได้ประเภทที่ 3 ทางการเคลื่อนไหวเท่านั้น เนื่องจากทางศูนย์ฯ ไม่มีแพทย์เฉพาะทางสำหรับประเมินความพิการประเภทอื่น
• ได้โดยให้ญาติมาพบแพทย์ทำบัตรผู้ป่วยแล้วให้แพทย์มีคำสั่งให้นักสังคมสงเคราะห์ออกเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อไปประเมินความพิการพร้อมกับถ่ายรูปมา รายงานให้แพทย์ทราบ เมื่อแพทย์เห็นสมควรจึงออกใบรับรองความพิการ
• ค่าบริการและค่ายา ชำระตามสิทธิที่ผู้มารับบริการใช้สิทธินั้นอยู่และตามจำนวนยาที่แพทย์สั่งจ่าย
• ต้องพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินก่อน เมื่อเห็นสมควรจึงจะรับบริการทางกายภาพบำบัด
การประคบด้วยแผ่นความร้อน | 60 บาท |
การรักษาด้วยคลื่นเสียงต่อจุด | 60 บาท |
การคัดดึงข้อต่อ | 80 บาท |
การออกกำลังกายทั่วไป | 80 บาท |
• ไม่มีคลินิกสุขภาพจิต แต่มีบุคคลากรคัดกรองความเครียด คัดกรองซึมเศร้า พบปัญหาส่งต่อหน่วยงานที่มีคลินิกสุขภาพจิต
คลินิกสุขภาพจิต ศูนย์ฯ ๔ ดินแดง | ชั้น ๓ ถนนประชาสงเคราะห์ | โทร. ๒๔๘-๔๙๕๕ |
คลินิกสุขภาพจิต ศูนย์ฯ ๒๑ วัดธาตุทอง | ชั้น ๓ ถนนสุขุมวิท | โทร. ๓๙๑-๖๐๘๒ ต่อ ๒๒ |
คลินิกสุขภาพจิต ศูนย์ฯ ๓ บางซื่อ | ชั้น ๒ ถนนเตชะวนิช | โทร. ๕๘๗-๐๖๑๘ ต่อ ๑๒๑ |
คลินิกสุขภาพจิต ศูนย์ฯ ๒๓ สี่พระยา | ถนนสี่พระยา | โทร. ๒๓๖-๔๐๕๕ |
คลินิกสุขภาพจิต ศูนย์ฯ ๒๔ บางเขน | ชั้น ๒ ถนนพหลโยธิน | โทร. ๕๗๙-๑๓๔๒, ๕๗๙-๙๖๐๗ |
คลินิกสุขภาพจิต ศูนย์ฯ ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม | ชั้น ๒ ถนนวังเดิม | โทร.๔๗๒-๕๘๙๕ ต่อ ๑๑๑, ๔๗๒-๔๗๙๙ |
• โดยหลักการควรตัดออกทันทีเมื่อแผลติด เพราะถ้าตัดไหมยิ่งช้าจะยิ่งเป็นแผลเป็นมาก แต่ถ้าตัดเร็วไปแผลก็อาจแยกและไม่ติด ดังนั้นจึงควรตัดไหมเร็วที่สุดที่แผลติดแล้วนั่นเอง ซึ่งสามารถแบ่งตามอวัยวะได้ดังนี้คือ แผลบริเวณศีรษะและหน้า ควรตัดเมื่อครบ 5-7 วัน, แผลบริเวณลำตัวที่ผิวหนังไม่ตึงมาก ควรตัดเมื่อครบ 7 วัน, แผลบริเวณแขนขาหรือที่ผิวหนังตึงมาก ควรตัดเมื่อครบ 7-10 วัน หรืออาจถึง 10-14 วันในบริเวณข้อเข่า ข้อศอกที่มีการเคลื่อนไหวมาก หรือบริเวณฝ่าเท้าซึ่งแผลจะหายช้ากว่าบริเวณอื่นๆ
• การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า มีดังนี้
กรณีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
- หากไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อน แล้วมาถูกสัตว์กัด จะต้องฉีดทั้งหมด 5 เข็มที่กล้ามเนื้อต้นแขน โดยฉีดในวันที่ 0 (วันที่เริ่มฉีด) วันที่ 3, 7, 14 และวันที่ 28 แต่หากแผลที่ถูกสัตว์กัดอยู่ใกล้อวัยวะที่มีเส้นประสาทไปเลี้ยงมาก เช่น ใบหน้า หรือมีแผลฉกรรจ์มาก จะต้องฉีดเซรุ่ม หรือวัคซีนอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เพิ่มด้วย เนื่องจากวัคซีนต้องใช้เวลาในการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง แต่โรคพิษสุนัขบ้าเป็นแล้วตายจึงรอไม่ได้ จึงจำเป็นต้องได้รับวัคซีนร่วมกับเซรุ่มทันที โดยฉีดรอบแผลทุกแผลร่วมกับการฉีดวัคซีน.ในวันที่0
- หากเคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อนแล้วครบตามจำนวน แล้วมาถูกสุนัขกัดอีก ก็ไม่ต้องเริ่มฉีดใหม่ เพียงแค่ฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มอีก 1 เข็มในวันที่โดนกัด (กรณีวันที่ฉีดเข็มสุดท้ายผ่านมาไม่เกิน 6 เดือน) หรือ 2 เข็ม (กรณีวันที่ฉีดเข็มสุดท้ายผ่านมาเกิน 6 เดือนแล้ว) ในวันที่ 0 และ 3 โดยไม่ต้องฉีดเซรุ่ม
กรณีฉีดเข้าชั้นผิวหนัง
- หากไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อนแล้วมาถูกสัตว์กัด จะต้องฉีดวัคซีนเข้าผิวหนัง 4 ครั้ง ครั้งละ 2 จุด คือต้นแขนทั้ง 2 ข้าง ฉีดในวันที่ 0 (วันที่เริ่มฉีด), 3, 7 และวันที่ 28
- หากเคยฉีดวัคซีนป้องกันมาแล้วครบตามจำนวน แล้วมาถูกกัดอีก ก็เพียงแค่ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มเช่นกัน โดยฉีด 1 เข็ม 1 จุด หากช่วงที่ถูกกัดห่างจากการฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายมาน้อยกว่า 6 เดือน แต่หากฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายมานานกว่า 6 เดือน ก็ต้องฉีดกระตุ้นอีก 2 เข็ม ครั้งละ 1 จุด ในวันที่ 0 และวันที่ 3 และไม่ต้องฉีดเซรุ่มด้วย
• คลินิกทันตกรรมเปิดให้บริการ ในเวลาราชการทุกวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 08.00 น. ถึง 12.00 น.
• ประกันสังคมต้องสำรองจ่ายแล้วสามารถเอาใบเสร็จ ไปเบิกคืนได้ที่ประกันสังคมเขตพื้นที่
• คลินิกทันตกรรมให้บริการรักษาฟัน อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน และเคลือบหลุมร่องฟันในเด็ก
• มีค่าบริการดังนี้
- ถอนฟัน 350 บาท/ ซี่
- อุดฟัน 350-500 บาท/ซี่
- ขูดหินปูนทั้งปาก 400 บาท
- ฝากครรภ์วันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์ เอกสารที่ต้องนำมายื่นมีบัตรประชาชนและผลตรวจเลือด (กรณีที่ตรวจมาจากที่อื่น) และต้องพาสามีมาด้วยครั้งแรกที่มาฝากครรภ์
- ในการฝากครรภ์ครั้งแรกของศูนย์ฯ5 ต้องเจาะเลือดตรวจและนำไปส่งกองชันสูตร ได้ผลเลือดประมาณ 2-4 สัปดาห์ หากพบความเสี่ยงจะยิ่งช้า กว่าจะเข้าขบวนการในการรักษา ดังนั้นจะแนะนำให้ไปฝากโรงพยาบาล และทางศูนย์น5 จะโทรศัพท์ติดตามการไปฝากท้องของหญิงตั้งครรภ์
1. คนไทยฟรี
2. ต่างชาติครั้งแรกประมาณ 900 บาท ครั้งต่อไปประมาณ 150 บาท
- ไม่ได้ ที่ศูนย์ฯ5 ไม่มีการทำคลอด ทางศูนย์ฯรับฝากครรภ์ได้จนถึงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์
1. ศูนย์ให้บริการวัคซีนสำหรับเด็กอะไรบ้าง
- ลูกมีอายุ 2 เดือน วัคซีนที่ต้องฉีด ได้แก่วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และ หยอดโปลิโอชนิดกิน (OPV1)
- ลูกอายุ 4 เดือน วัคซีนที่ต้องฉีด ได้แก่วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และหยอดโปลิโอชนิดกิน (OPV2+IPV) วัคซีนโรต้าครั้งที่ 1 วัคซีนโรต้าครั้งที่ 2
- ลูกมีอายุ 6 เดือน วัคซีนที่ต้องฉีด ได้แก่วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และหยอดโปลิโอชนิดกิน (OPV3) วัคซีนโรต้าครั้งที่ 3
- ลูกอายุ 9 เดือน จะต้องฉีดวัคซีน 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนรวมหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม
- ลูกมีอายุ 12 เดือน จะต้องฉีดวัคซีน 2 ชนิด เช่นเดียวกับตอนอายุ 9 เดือน ได้แก่ วัคซีนรวมหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี
- ลูกอายุ 18 เดือน จะเป็นการฉีดกระตุ้นวัคซีนที่ฉีดครบแล้ว ได้แก่ วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และหยอดโปลิโอชนิดกิน
- ลูกมีอายุ 2 ปีครึ่ง ต้องฉีดวัคซีน 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนรวมหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี
- ลูกอายุ 4-6 ปี ต้องฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นอีกครั้ง โดยวัคซีนที่ฉีดได้แก่ วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และหยอดโปลิโอชนิดกิน
• วัคซีนบางชนิดทำให้มีไข้ ถ้ามีไข้ควรเช็ดตัวลดไข้ก่อน แล้วให้ยาลดไข้ตามแพทย์สั่ง
• สามารถไปรับวัคซีนได้ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด , โรงพยาบาล รพ.สต.
• กรณีเด็กมีไข้หรือมีอาการอื่นที่ไม่สบาย ให้เลื่อนฉีดวัคซีนตามความจำเป็น และเมื่อหายเป็นปกติแล้วขอรับวัคซีนต่อเนื่องได้
• ถ้ามีไข้ ท้องเสีย ผื่นแดงตามตัว ไม่ฉีด ให้เด็กรักษาหายดี จึงนำเด็กมารับวัคซีนได้ทุกวันวันอังคารต่อไป
• มีรายละเอียดดังนี้
1. คนไทยไม่เสียค่าใช้จ่าย
2. ต่างประเทศ มีค่าใช้จ่ายเข็มละ 20 บาท และค่ายาเพิ่มเติมตามแพทย์สั่ง
• เปิดให้บริการวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น. ยกเว้นวันหยุดและวันนักขัตฤกษ์
• คนไทยตรวจ ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ถ้ามีการรักษาเพิ่มเติมสิทธิบัตรทองศูนย์ฯ 5 ฟรี นอกนั้นทุกสิทธิเสียค่าใช้จ่าย (ค่าตรวจ 100 บาท)
• ไม่มียาคุมกำเนิดชนิดฝัง มีแต่ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย และห่วงคุมกำเนิด
• ติดตามการรับวัคซีนรวมหัด หัดเยอรมัน คางทูม(MMR) เข็มกระตุ้นฉีดให้นักเรียนชั้น ป.1 ให้ได้ครบ 2 เข็ม
• วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก เข็มกระตุ้น ฉีดให้นักเรียนชั้น ป.6 ทุกราย
• นักเรียนทุกเชื้อชาติที่เรียนในโรงเรียนในประเทศไทยมีสิทธิได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
• ศูนย์มีบริการฉีดวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ให้สำหรับกลุ่มเป้าหมายฟรี โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าในช่วงเดือนพฤษภาคม และให้บริการฉีดวัคซีนในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคมของทุก โดยให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือประชากรกลุ่มเสี่ยงในทุกสิทธิการรักษา ดังนี้
1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง คือ โรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง หอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง มะเร็งที่กำลังรับเคมีบำบัด เบาหวาน ธาลัสซีเมีย และภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ
2. ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
3. ผู้มีน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม
4. ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
5. เด็กอายุ 6 เดือน-2 ปี
6. หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
7. บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดสัตว์ปีกศูนย์มีบริการฉีดวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ให้
ซึ่งประชาชนกลุ่มเสียง สามารถเข้ามาลงทะเบียนเพื่อรับบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ์ได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 5 จุฬาลงกรณ์
1. ไข้สูงลอย พบว่าอาการไข้จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่ค่อยลดลง
2. คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
3. หน้าแดง อาจพบจุดเลือดที่ผิวหนัง เจ็บชายโครงด้านขวา
4. มักจะไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก
• มีวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าสำหรับผู้ที่ถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ให้บริการทุกวัน เวลา 08.00-12.00 น. และมีวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมให้บริการฉีดในสุนัขและแมว ทุกวันศุกร์ เวลา 13.00-16.00 น.
• สามารถเป็นได้อีก เพราะว่า ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อ Dengue ซึ่งมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คนเราจึงมีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ 4 ครั้ง โดยไม่ซ้ำชนิดเดิม ถ้าเป็นชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วจะไม่เป็นชนิดนั้นอีก โดยเมื่อป่วยแล้วจะมีภูมิต้านทานชั่วคราวทุกชนิดได้ประมาณ 6 เดือน แต่จะมีภูมิต้านทานชนิดที่เป็นนั้นอย่างถาวร สำคัญคือเมื่อติดเชื้อซ้ำในชนิดที่ต่างกันจะยิ่งทำให้มีอาการรุนแรงยิ่งขึ้น โดยการติดเชื้อครั้งแรกมักไม่มีอาการรุนแรงหรือไข้เล็กน้อยโดยไม่ทราบก็ได้ จึงพึงตระหนักไว้ในรายผู้ใหญ่ซึ่งส่วนใหญ่เคยได้รับเชื้อมาแล้ว ถ้าเป็นซ้ำในชนิดที่ต่างกันอีกอาการมักจะรุนแรงกว่าในรายของเด็ก
• ปัจจุบันได้มีวัคซีนป้องกันไข้เลือกออก เข้ามาในประเทศไทยแล้ว แต่ยังไม่ได้อยู่ในบริการวัคซีนพื้นฐานของรัฐ ผู้ที่สนใจรับวัคซีนต้องชำระเงินเองตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ
• ถ้ายุงตัวที่กัดเรามีเชื้อหรือเป็นพาหะของไข้เลือดออก เพียงตัวเดียวครั้งเดียวก็เป็นไข้เลือดออก
• สุนัขและแมวต้องพาไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่ออายุ 2-4 เดือน แล้วฉีดกระตุ้นอีกครั้งตามกำหนด และฉีดซ้ำทุกปี ถ้าเป็นลูกสุนัขหรือแมวที่เกิดจากแม่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ให้พาไปฉีดตั้งแต่ 1 เดือน และฉีดซ้ำเมื่ออายุ 3 เดือน
• ต้องมาฉีดซ้ำอีกทุกครั้งที่ถูกสุนัขกัดจำนวนเข็มที่ฉีดจะน้อยกว่าแบบปกติตามแต่ระยะเวลาห่างจากครั้งก่อน
• มีเป็นบทลงโทษตาม พรบ. โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ผู้ใดมีสุนัขไว้ในครอบครองต้องนำไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครั้งแรก เมื่อสุนัขอายุ 2-4 เดือน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
• ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษาวัคซีนหากเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม (2-8 °C) ตั้งแต่ออกจากร้านที่ซื้อเก็บวัคซีนไว้ที่บ้าน จนถึงเวลาที่นำไปฉีด และฉีดด้วยวิธีที่ถูกต้อง จึงจะป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้(แนะนำควรนำสัตว์เลี้ยงมาฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ทุกวันศุกร์เวลา 13.00 น.- 16.00 น. เพราะการนำวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าไปฉีดเองที่บ้าน ต้องมีการเก็บรักษาวัคซีนให้เหมาะสมก่อนฉีด