คำถามที่พบบ่อย
เปิดให้บริการวันไหนบ้าง
ศูนย์ฯ 30 เปิดให้บริการทุกวัน ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ดังนี้วันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่ เวลา 08.00 - 20.00 น.
(ยกเว้นวันเสาร์, วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
*** คลินิกตรวจโรคทั่วไป และคลินิกทันตกรรม ภาคเช้าเปิดให้บริการรับบัตรคิวเวลา 07.30 น.
*** คลินิกบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภาคบ่ายเปิดให้บริการรับบัตรคิวเวลา 12.30 น.
*** คลินิกตรวจโรคทั่วไป และคลินิกทันตกรรม คลินิกนอกเวลาเปิดให้บริการรับบัตรคิวเวลา 16.00 น.
รอบบ่ายวันจันทร์
Q :คลินิกฝากครรภ์ วัน/เวลาที่ให้บริการ ?
A :เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ รับบัตรคิว เวลา 12.30 น.
Q :ค่าบริการในการรับฝากครรภ์
A :หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นคนไทย รับบริการฝากครรภ์ฟรีทุกสิทธิ์ ตามที่ สปสช. กำหนด
A :หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นชาวต่างชาติ สามารถมารับบริการฝากครรภ์ได้ แต่ต้องชำระค่าบริการ
Q :เงื่อนไขหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์
A :อายุ 17-34 ปี ( กรณีอายุไม่ถึง 20 ปีต้องมีผู้ปกครอง)
A :กรณีฝากครรภ์ครั้งแรก อายุครรภ์ไม่เกิน 20 สัปดาห์
A :ไม่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
รอบบ่ายวันอังคาร
Q :คลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี วัน/เวลาที่ให้บริการ ?
A :ให้บริการทุกวันอังคาร และ วันพฤหัสบดี รับบัตรคิว 12.30 – 14.30 น.
Q :กรณีพาเด็กมาฉีดวัคซีนมีค่าใช้จ่ายหรือไม่
A :เด็กไทยฟรีทุกสิทธิ
***กรณีเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยมีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นประมาณ 200 บาท.- ***
Q :เอกสารที่ต้องเตรียมมาในวันที่มารับบริการ
A :สมุดประจำตัวเด็ก
A :สำเนาสูติบัตร
A :บัตรประชาชนตัวจริงผู้ปกครอง
รอบบ่ายวันพุธ
Q :ผู้ที่มารับบริการฉีดยาคุมจากที่อื่น สามารถมารับบริการที่ศูนย์ได้หรือไม่
A :ให้บริการได้ โดยไม่เกิน 5 วันนับจากวันนัด
Q :เงื่อนไขการให้บริการฝังยาคุมกำเนิด (แบบ 3 ปี)
A :หญิงไทยวัยเจริญพันธุ์ฟรีทุกสิทธิ
A :หญิงต่างชาติมีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 2,500 บาท.-
A :อายุ 10-19 ปี ไม่ต้องมีผู้ปกครองเซ็นยินยอม
A :ฝังยาคุมในระยะปลอดภัย ภายใน 5 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือน
รอบบ่ายวันศุกร์
Q :ถ้ามีผู้มาขอรับวัคซีนพิษสุนัขบ้าไปฉีดให้สัตว์เลี้ยงที่บ้านเองได้หรือไม่
A :ไม่ได้ ต้องนำสัตว์เลี้ยงมาฉีดที่ศูนย์เอง พร้อมนำสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของ
สัตว์เลี้ยงมาด้วย
Q :มีค่าบริการหรือไม่
A :ไม่มีค่าบริการ
Q: ศูนย์เปิดให้บริการวันเสาร์ อาทิตย์ไหม
ตอบครับ
Q: หากต้องการเดินทางมาศูนย์ฯ 30 สามารถเดินทางมาได้อย่างไรบ้าง
ตอบครับ
Q: อยากทราบสิทธิการรักษาต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบครับ
https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
Q: มีสิทธิบัตรทองต่างจังหวัดสามารถมารับบริการได้ไหม
Q: สิทธิบัตรทองต่างจังหวัด แต่เข้ามาพักอาศัยอยู่ใน กทม. สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ไหม
ตอบครับ
ผู้ใช้สิทธิ ‘บัตรทอง – บัตร 30 บาท’ เปลี่ยน ‘หน่วยปฐมภูมิ’ ได้ปีละ 4 ครั้ง ‘เปลี่ยนปุ๊บ-รักษาปั๊บ’ https://www.nhso.go.th/news/4248
Q: ศูนย์สามารถออกใบรับรองแพทย์ทำใบขับขี่ได้ไหม
ตอบครับ
สามารถออกได้ โดยผู้รับบริการต้องนำบัตรประชาชนตัวจริงมาทุกครั้ง ค่าใช้จ่ายประมาณ 150 บาท
คำถามที่พบบ่อย (คลินิกทันตกรรม)
Q: ทันตกรรมเปิดรับบริการช่วงเวลาไหนบ้าง
A:เปิดให้บริการ จันทร์-ศุกร์ 2 รอบ ในเวลา เวลา 8.00 – 12.00 น. , นอกเวลา 16.00 – 20.00 น. , หยุดวันเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดขัตฤกษ์
Q: มีนัดทางโทรศัพท์ไหม
A: ไม่มีนัดทางโทรศัพท์ เปิดให้บริการ Walk in เท่านั่น
Q: เปิดรับบัตรคิวกี่โมง
A: รอบในเวลารับบัตรคิวเวลา 7.30 น. ที่แผนกประชาสัมพันธ์ ชั้น1 , รอบนอกเวลารับบัตรคิวเวลา 16.00 น. ที่แผนกทันตกรรม ชั้น 2
Q: รับคนไข้วันละที่คน
A: รอบในเวลารับคนไข้ 10 คน , รอบนอกเวลารับคนไข้ 8 คน
Q: บัตรทองที่อื่นมาทำฟันต้องเสียค่าใช้จ่ายไหม
A: บัตรทองในกรุงเทพและบัตรทองต่างจังหวัด สามารถมารับบริการฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
Q: สิทธิประกันสังคมต้องเสียค่าใช้จ่ายไหม
A: สิทธิประกันสังคมต้องสำรองจ่าย และสามารถขอรับใบเบิกประกันสังคม เพื่อเบิกเงินคืนที่ประกันสังคมได้ , ประกันสังคมสำนักการแพทย์ไม่มีค่าใช้จ่าย
Q: สิทธิข้าราชการต้องสำรองจ่ายก่อนไหม
A: สิทธิข้าราชการ ไม่ต้องสำรองจ่าย แต่ต้องชำระค่าบริการ 50 บาท
Q: ค่าใช้จ่ายในแต่ละหัตถการและค่าบริการเท่าไหร่
A:อุดฟัน ซี่ละ 260-600 บาท/ซี่ , ขูดหินน้ำลายทั้งปาก 280 บาท , ถอนฟัน 200 บาท/ซี่
***ทุกครั้งที่มารับบริการจะมีค่าบริการ 100 บาท เช่น ถอนฟัน 1 ซี่ 200 บาท ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 300 บาท***
คำถามที่พบบ่อย (เยี่ยมบ้าน)
Q: ขอพยาบาลไปฉีดยาที่บ้านได้หรือไม่
A: ตามมาตรฐาน พยาบาลไม่สามารถไปฉีดยานอกสถานพยาบาลโดยปราศจากการควบคุมของผู้ประกอบ
วิชาชีพเวชกรรม (แพทย์)
Q: ที่ศูนย์มีเตียงผู้ป่วยให้หรือไม่
A: ตอนนี้ยังไม่มีนะคะ หากมีคนบริจาคแล้วจะแจ้งให้ทราบ ขอชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย และเบอร์โทรติดต่อกลับด้วยค่ะ
Q: ญาติแจ้งให้พยาบาลไปใส่สายที่บ้าน
A: กรณีที่ 1 เป็นผู้ป่วยในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ให้ขอชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ เพื่อแจ้ง
ให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการเข้าไปเปลี่ยนสายให้ต่อไป
กรณีที่ 2 เป็นผู้ป่วยนอกพื้นที่เขตบางกอกน้อย แจ้งเบอร์ศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตนั้นๆ ให้ผู้ป่วย
หรือญาติทราบ
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณปารีณา 0-2432-0234 ต่อ 214
- ผู้รับเรื่องแทน คุณรสยา 0-2432-0234 ต่อ 214
Q: ลงทะเบียนเปลี่ยนสิทธิการรักษาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) “หากต้องการลงทะเบียนหรือเปลี่ยนหน่วยบริการ สามารถดำเนินการได้ดังนี้”
A: ประชาชนพักตรงตามที่อยู่หน้าบัตรประจำตัวประชาชน หรือสูติบัตร (กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี)
A: ประชาชนพักไม่ตรงตามที่อยู่หน้าบัตรประจำตัวประชาชน หรือสูติบัตร เพิ่มเอกสารรับรองที่แสดงว่าตนเองพักอาศัยในพื้นที่นั้น (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้
- ทะเบียนบ้านเจ้าบ้าน และหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
- หนังสือรับรองผู้นำชุมชน และบัตรประจำตัวผู้นำชุมชน
- หนังสือรับรองผู้ว่าจ้าง และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ว่าจ้าง
- ใบเสร็จค่าสาธารณูปโภค
- สัญญาเช่าที่พัก
Q: ช่องทางลงทะเบียน
A: - สำหรับกรุงเทพมหานคร ผ่านแอปพลิเคชัน สปสช. หรือไลน์ สปสช. @nhso
- สำหรับต่างจังหวัด ผ่านแอปพลิเคชัน สปสช. หรือไลน์ สปสช. @nhso
- การเปลี่ยนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) สามารถเปลี่ยนสิทธิได้ไม่เกิน 4 ครั้ง/ปี
***หากมีข้อสงสัยในการเปลี่ยนสิทธิบัตรทอง สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. 1330 (ตลอด 24 ชม.)***
สามารถไปโรงพยาบาลได้ทันทีหากเกิดภาวะฉุกเฉิน ดังนี้ https://www.nhso.go.th/page/coverage_rights_emergency_patients
รายชื่อร้านยา 30 บาทรักษาทุกที่ ดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ ดังนี้ https://www.nhso.go.th/page/List_of_retail_pharmacie