วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ไข้หวัดใหญ่
โรคไข้หวัดใหญ่
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ซึ่งเชื้อนี้มี หลายชนิดมาก นอกจากคนแล้วยังก่อให้โรค ในสัตว์ได้หลายชนิด เช่น หมู นก ม้า แต่โดยทั่วไปไวรัสของสัตว์ชนิดใดก็จะก่อให้เกิดโรคเฉพาะสัตว์ชนิดนั้น เช่น ไวรัสไข้หวัดนก (H5N1) จะก่อโรคในสัตว์ปีกเป็นหลัก แต่ในช่วงหลังที่ตกเป็น ข่าวดัง ก็เนื่องจากว่าไวรัสนี้มีการเปลี่ยนแปลงทำให้มีการติดต่อมายังมนุษย์ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ และมีความรุนแรงสูง ทำให้เสียชีวิตได้ แต่ยังโชคดี ที่การติดต่อมาสู่คนไม่ง่ายนัก ต้องสัมผัสใกล้ชิดมาก และการติดต่อจากคนสู่คน ก็เกิดได้น้อยมาก เราจึงสามารถควบคุมการระบาดได้ส่วนไข้หวัดใหญ่ในคนมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ที่ทำให้เกิดการ ระบาดทั่วโลก
ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบกันมานานแล้ว แต่เนื่องจากเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ตลอดเวลา ทำให้คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปแล้วสามารถป่วยได้อีกถ้าเชื้อมีการเปลี่ยน แปลงไป แต่อาการมักจะไม่รุนแรง เนื่องจากเรามีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง
ไข้หวัดใหญ่ที่ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ หรือในปัจจุบันเรียกว่า
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ หรือสายพันธุ์ 2009 เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิด เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากเชื้อไวรัส H1N1 เดิมมาก ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการระบาดหรือ ติดเชื้อเป็นวงกว้าง ดังจะเห้นตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์หรือตามโทรทัศน์ ซึ่งเชื้อนี้มีระบาดไปในแทบทุกประเทศทั่วโลกในเวลาอันสั้น แต่โชคดีที่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ มีความรุนแรงต่ำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเองได้
อาการ
โดยทั่วไปของโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ไอ น้ำมูก บางคนมีอาการเจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย อาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง เป็นอยู่ประมาณ 3-5 วัน ซึ่งบางครั้งจะคล้ายโรคไข้หวัดธรรมดา แต่ท้ายที่สุด อาการก็จะหายไปเองได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ไอมาก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ซึ่งอาจเกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ทำให้ เกิดการอักเสบของปอด ทำให้ปอดบวม การหายใจล้มเหลว ซึ่งอาการอาจจะ รุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่รุนแรงคือ กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด โรคอ้วน และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำการรักษา
โรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่ทำได้โดยการรักษาแบบประคับประคองให้การดูแล รักษาตามอาการ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส โดยเฉพาะ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรง แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาเป็นรายๆ ไป ในรายที่มีอาการรุนแรงหรือมีปอดบวมจำเป็นต้องนอนรักษาตัวใน โรงพยาบาลเมื่อมีบุคคลในบ้านหรือผู้ใกล้ชิดป่วยหรือสงสัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่จำเป็น ต้องป้องกันการติดต่อให้ดี การติดต่อของไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่เกิดจากการ สัมผัสละอองฝอยจากการไอ จามของผู้ป่วย โดยละอองฝอยที่มีเชื้อเหล่านี้ เมื่อสัมผัสกับทางเดินหายใจหรือตามเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุตา จะทำให้เชื้อเข้า สู่ร่างกายและเป็นโรคได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดการแพร่ กระจายของละอองฝอย และทุกคนควรล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการใช้มือ สัมผัสหน้า ตา จมูกโดยไม่จำเป็นเพราะเป็นทางแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ถ้าเรา ปฏิบัติได้ดังนี้จะช่วยลดการติดต่อของโรคได้มาก
ปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลและไข้หวัด ใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แล้ว ประชาชนโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงควรฉีดวัคซีน ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แต่เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลง ตัวเองตลอดเวลา ดังนั้นวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จึงมีการเปลี่ยนทุกปีตามเชื้อ ที่เปลี่ยนไป คนที่เสี่ยงต่อโรคนี้จึงควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพื่อให้ได้ผลดีในการป้องกันโรคมากที่สุด
ที่มา http://www.tm.mahidol.ac.th/th/tropical-medicine-knowledge/new/Influenza.html