Q1  : อยากทราบสิทธิ์การรักษาพยาบาลควรทำอย่างไร
A    : ยื่นบัตรประชาชนให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้เลยค่ะ

Q2 : มาหาหมอควรใช้เอกสารอะไรบ้าง
A    : นำบัตรประจำตัวประชาชนมายื่นรับบัตรคิวได้เลยค่ะ(ถ้าหากมีบัตรประจำตัวคนไข้ที่ศูนย์ฯสามารถยื่นแทนได้) หรือถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปีให้นำสูติบัตรมายื่นแทนได้ค่ะ

Q3  : การขอประวัติการรักษาทำอย่างไร
A    : ๑.มาขอด้วยตนเอง
        ๒.กรอกใบฟอร์ม พร้อมเซ็นชื่อ 

 
Q4  :  ศูนย์บริการสาธารสุข 26 มีบริการอะไรบ้าง
  : ให้บริการตามตารางด้านล่างนี้ค่ะ


Q5  : เด็ก 2 เดือนมาฉีดวัคซีนครั้งแรกทำยังไง
  : เด็กที่มาฉีดวัคซีนให้นำสูติบัตรมาทำประวัติด้วยนะคะ เด็กอายุ 2 เดือน, 4 เดือน ,6 เดือน ,1 ปี 6 เดือน , 4 ปี จะเปิดฉีดเฉพาะวันอังคารที่ 2 ของเดือนค่ะ หรือโทรมาสอบถามได้ที่ 02-4650014

Q6  :  ทำไมเจาะเลือดตรวจได้เพียงสัปดาห์ละ 1 วัน
A    :  เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยมีไม่มากการเจาะเลือดตรวจประจำปีตรวจเพียงปีละ 1 ครั้ง การจัดวันเจาะเลือดสัปดาห์ละ 1 วันจึงเพียงพอให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกคนได้ตรวจเลือดและศูนย์บริการสาธารณสุข26ไม่ได้ตรวจเลือดเอง แต่ต้องส่งเลือดไปตรวจที่สำนักงานชันสูตรโดยรถตู้จึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

Q7  :  ทำไมมาตรวจรักษาตอนบ่ายไม่ได้
A    :  เนื่องจากศูนย์บริการสาธารณสุข26 จัดให้มีบริการตรวจรักษาโรคและทันตกรรม เวลา 8.00 – 12.00 น. ทุกวัน ส่วนเวลา 13.00 - 16.00 น. มีคลินิกให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ ฝากครรภ์ , ฉีดวัคซีนเด็ก , คุมกำเนิด , สุขภาพสตรี เป็นต้น

Q8  : ทำไมวัดความดันโลหิตแต่ละครั้งไม่เท่ากัน
A    : การวัดความดันโลหิต มีค่าคลาดเคลื่อนได้เนื่องจาก กิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างกัน อารมณ์ที่เปลี่ยนไปต่างกัน จึงควรวัดความดันโลหิต อย่างถูกวิธี และวัดหลายครั้งเพื่อหาค่าเฉลี่ยของความดันโลหิต โดยวัดห่างกันไม่น้อยกว่า 10 นาที

กายภาพบำบัด
Q9  :  กายภาพบำบัดเปิดบริการกี่โมง 
A    : เปิดบริการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-12.00 และ 13.00-14.30 น.(เฉพาะผู้ป่วยที่นัด) หยุด วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตกฤษ์ 

Q10 : ต้องการรักษาโดยการทำกายภาพบำบัดต้องทำเช่นไร ? 
A     : ท่านต้องพบแพทย์เพื่อบอกอาการที่ท่านเป็นอยู่เพื่อให้แพทย์ได้ประเมิน และวินิจฉัยอาการของท่าน เพื่อส่งปรึกษานักกายภาพบำบัด 

Q11 : คำถาม การรักษาทางกายภาพต้องทำการรักษากี่ครั้งถึงจะหาย?
A     : นักกายภาพบำบัด จะนัดทำการรักษา 10 ครั้งเพื่อดูการรักษาว่าอาการดีขึ้นหรือแย่ลง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นนักกายภาพบำบัดจะส่งปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอาการรักษาอีกทีว่าควรส่งต่อ โรงพยาบาลหรือทำกายภาพบำบัดอีกรอบ 

Q12 : คำถาม ทำไมทำกายภาพครั้งเดียวไม่หาย?
A     : อาการที่เป็น เป็นมากี่เดือน กี่ปีแล้ว โรคหรือภาวะที่ต้องทำการรักษาทางกายภาพบำบัด ถ้าไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด สาเหตุหลักเกิดจากการที่เราใช้ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา และขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและพยาธิสภาพของโรคที่เป็นค่ะ 

Q13 : ต้องการให้นักกายภาพบำบัดลงเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน
A     :  นักกายภาพจะลงเยี่ยมผู้ป่วยตามเขตชุมชนที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข26 ที่รับผิดชอบ ถ้าหากญาติต้องการให้นักกายภาพลงเยี่ยม เพื่อฟื้นฟู หรือขอคำปรึกษาในการดูแลผู้ป่วย ให้แจ้งความประสงค์ทีมพยาบาลเยี่ยมบ้าน หรือ แพทย์เพื่อประเมินอาการของผู้ป่วย แล้วค่อยส่งปรึกษานักกายภาพบำบัด

งานสังคมสงเคราะห์
Q14 : คนพิการที่ต้องการทำบัตรคนพิการมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
A     :  การทำบัตรประจำตัวคนพิการสามารถติดต่อขอทำบัตรได้ที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์ชั้น 1 ภายในสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี   
เบอร์โทรศัพท์ : 02-354-3388 ต่อ 128
 เอกสารของคนพิการที่ต้องเตรียมไป ได้แก่
1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2 ใบ (พร้อมบัตรจริง)
2) สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ใบ (พร้อมเล่มจริง)
3) ใบเอกสารรับรองความพิการ (ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกำหนด เว้นแต่ กรณีสภาพความพิการที่สามารถเห็นได้โดยประจักษ์ ไม่ต้องมีใบรับรองความพิการก็ได้)
4) รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (หรือถ้ามีโทรศัพท์ที่ติดต่อทางไลน์ได้ ญาติสามารถถ่ายรูปหน้าตรงคนพิการ นำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่หน่วยที่ทำบัตรคนพิการ เพื่อดึงภาพถ่ายนำไปใส่ในบัตรประจำตัวคนพิการ)
 ในกรณีที่ผู้ป่วยไปดำเนินการเองไม่ได้ ให้บุตรหรือญาติเป็นผู้ดำเนินการแทนและเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มาดำเนินการแทน 2 แผ่น (พร้อมบัตรจริง)
2) สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มาดำเนินการแทน 2 แผ่น (พร้อมเล่มจริง)
3) หนังสือมอบอำนาจ
4) หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลความพิการ (กรณีผู้ไปดำเนินการแทนมีทะเบียนบ้านอยู่คนละหลังกับคนพิการ ถึงแม้ว่าจะอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน โดยผู้ที่มีอำนาจลงนามรับรอง ได้แก่ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาท้องถิ่น ประธานชุมชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานราชการ/ลูกจ้างประจำ พร้อมรับรองสำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับรอง)
 
Q15 :  ศูนย์บริการสาธารณสุข 26 ออกใบรับรองความพิการได้ไหม
A      : ศูนย์บริการสาธารณสุข 26 เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ ได้ให้บริการการออกใบเอกสารรับรองความพิการ สำหรับคนพิการที่สามารถเห็นได้โดยประจักษ์เท่านั้น ได้แก่ ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย และ ความพิการทางการมองเห็น คือ ตาบอดสนิททั้ง2ข้าง หากเป็นคนพิการในกรณีอื่นจะต้องได้รับการประเมินความพิการโดยแพทย์ของสถานพยาบาลของรัฐที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
 
Q16 :  คนพิการซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียง ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ต้องการใบเอกสารรับรองความพิการจากศูนย์บริการสาธารณสุขต้องทำอย่างไร 
A     : ให้ญาติผู้ป่วยมาทำบัตรผู้ป่วยและเข้าพบแพทย์ จากนั้นพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกจะทำใบส่งต่อประสานไปที่งานพยาบาลเยี่ยมบ้าน และงานสังคมสงเคราะห์เพื่อเข้าเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกัน ประเมินสภาพความพิการเบื้องต้น และถ่ายรูป/วิดีโอเพื่อให้เห็นภาพของคนพิการและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวัน แล้วกลับมาเขียนรายงานให้แพทย์ทราบ เพื่อให้แพทย์ดำเนินการออกใบเอกสารรับรองความพิการ ซึ่งมิใช่ใบรับรองแพทย์
 
Q17 :  หลังจากได้บัตรประจำตัวคนพิการแล้ว สามารถไปยื่นขอรับเบี้ยคนพิการได้ที่ไหน
A     : กรณีที่คนพิการมีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถติดต่อยื่นได้ที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมของสำนักงานเขตที่มีภูมิลำเนาอยู่ กรณีอยู่ในต่างจังหวัดติดต่อได้ที่ สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล โดย ผู้พิการจะได้รับสวัสดิการเบี้ยความพิการเดือนละ 800 บาท สามารถยื่นขอเบี้ยผู้พิการได้ตั้งแต่ได้รับบัตรประจำตัวคนพิการ ไม่ต้องรอยื่นเรื่องในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเหมือนเบี้ยผู้สูงอายุ

Q18 :  หากได้รับบัตรประจำตัวคนพิการแล้ว สามารถได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพสำหรับคนพิการ(ท.74) ได้ทันทีหรือไม่ หากไม่ได้รับสิทธิคนพิการสามารถดำเนินการต่อไปอย่างไรได้บ้าง
A     : หากได้รับบัตรประจำตัวคนพิการแล้ว ยังไม่ถือว่าท่านได้เปลี่ยนสิทธิการรักษาตามสิทธิหลักประกันสุขภาพสำหรับคนพิการ(ท.74)  หากต้องการเปลี่ยนสิทธิสามารถติดต่อขอเปลี่ยนสิทธิได้ที่ สำนักงานเขตที่คนพิการมีภูมิลำเนาอยู่ในทะเบียนบ้าน หรือติดต่อ 1330
เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อยื่นขอเปลี่ยนสิทธิ มีดังนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้าน
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3. บัตรประจำตัวคนพิการ
 
Q19 :  ถ้าต้องการขอรถเข็นหรือกายอุปกรณ์ จะขอได้ที่ไหน
A      : คนพิการหรือญาติ สามารถแจ้งชื่อ/ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ และชนิดของกายอุปกรณ์ที่ต้องการได้ที่งานสังคมสงเคราะห์ ชั้น4,พยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก และนักกายภาพบำบัด ชั้น2 โดยนักสังคมสงเคราะห์จะรวบรวมแบบสำรวจรายชื่อผู้ต้องการได้รับการสงเคราะห์อุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหว เพื่อส่งต่อไปที่กลุ่มสังคมสงเคราะห์ทางสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยที่ดำเนินโครงการจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหวแก่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ประสบปัญหาทางการเคลื่อนไหว ซึ่งจะดำเนินการสำรวจปีละครั้ง
 
Q20 :  คลินิกจิต สังคม บำบัด(Matrix IOP) ให้บริการอะไรบ้าง
A      : ให้บริการคำปรึกษาและรับสมัครผู้รับบริการบำบัดฟื้นฟูสำหรับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ไม่มีอาการทางจิตประสาท ให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงเช้า เวลา 08.00-11.30 และช่วงบ่าย เวลา 13.00-15.30 น.การบำบัดฟื้นฟูจะใช้กระบวนการบำบัดรักษาของ Matrix IOPเพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาการติดยาเสพติดของตนเองและรู้จักวิธีการป้องกันตนเองไม่ให้กลับไปพึ่งยาเสพติดอีก ในรูปแบบผู้ป่วยนอก (ไป-กลับ) และมีระยะเวลาในการบำบัด 16สัปดาห์ (4เดือน) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการบำบัด
รูปแบบการบำบัดของ Matrix IOP
1. การให้คำปรึกษารายบุคคล: เป็นการให้คำปรึกษาเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบและขั้นตอนการบำบัดรักษา
2. กลุ่มฝึกทักษะการเลิกยาระยะเริ่มต้น: เป็นกลุ่มให้คำแนะนำและวิธีการต่างๆ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติด
3. กลุ่มฝึกทักษะการกลับไปติดยาซ้ำ: เป็นกลุ่มที่แนะนำขั้นตอนและวิธีการต่างๆให้กับผู้ติดยาเสพติดไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ รวมไปถึงปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ และอารมณ์ให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม
4. กลุ่มครอบครัวศึกษา: เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดและครอบครัวได้แสดงความคิดเห็น

 

Q21 :  หากท่านหรือสมาชิกในครอบครัวมีการใช้สารเสพติด และต้องการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจะต้องทำอย่างไร
A      : หากผู้ใช้บริการต้องการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สามารถติดต่อรับบริการหรือ
ขอคำปรึกษาได้ที่ฝ่ายงานสังคมสงเคราะห์ ศูนย์บริการสาธารณสุข26เบอร์โทรศัพท์ : 02-465-0014 ต่อ 404 การเข้ารับการคลินิกจิต สังคม บำบัดของศูนย์บริการสาธารณสุข มี 2 กรณี ได้แก่ ผู้ใช้บริการระบบบังคับบำบัดแบบไม่ควบคุมตัว และผู้ใช้บริการระบบสมัครใจ ให้การบำบัดรักษาผู้ใช้/ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด โดยใช้โปรแกรม BMA Matrix Model โดยมีขั้นตอนการให้บริการ ดังนี้
1. รับสมัครและสัมภาษณ์แรกรับ รวมถึงประเมินความพร้อมความตั้งใจ และแรงจูงใจในการเข้ารับบำบัด
2.คัดกรองผู้ใช้/ผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด ด้วยแบบ บสต.2 (V.2) ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ประเมินสภาพกาย/จิต หากพบผู้เข้ารับการบำบัดที่มีอาการทางจิตจะส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีที่คัดกรองแล้วพบว่าเป็นผู้ใช้จะเข้าโปรแกรม 2 สัปดาห์ เป็นผู้เสพจะเข้าโปรแกรม 8 สัปดาห์ และเป็นผู้ติดจะเข้าโปรแกรม 16 สัปดาห์
3. ตกลงบริการร่วมกับผู้เข้ารับการบำบัดและครอบครัว นัดหมายวันเข้ารับบริการเพื่อให้คำปรึกษารายบุคคล รายกลุ่ม กลุ่มครอบครัว พร้อมสุ่มตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
4. เมื่อครบโปรแกรมในกรณีสมัครใจมีการติดตามหลังการบำบัด เป็นผู้ใช้ ติดตาม 1 ครั้ง/30 วัน เป็นผู้เสพ/ผู้ติด 4-7 ครั้ง/ปี กรณีผู้เข้ารับการบำบัดแบบบังคับบำบัดจะเป็นหน้าที่ของสำนักงานคุมประพฤติในการติดตาม

พยาบาลเยี่ยมบ้าน
Q22 :  ถ้ามีผู้ป่วยติดเตียงต้องการให้พยาบาลไปเปลี่ยนสายที่บ้านต้องทำอย่างไร
A      : แนะนำญาติให้มาติดต่อที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 26 เพื่อซักประวัติและทำบัตร เพื่อพบแพทย์ออกคำสั่งการรักษา

Q23 : ถ้ามีคนในชุมชนเป็นไข้เลือดออกหลายรายต้องทำอย่างไร
A      : ให้แจ้งผ่าน อสส.ในชุมชนหรือแจ้งมาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 26 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

Q24 : ถ้าญาติต้องการให้พยาบาลไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านต้องทำอย่างไร
A      : ให้แจ้งผ่าน อสส.ในชุมชนหรือเข้ามาติดต่อที่งานเวชระเบียนชั้น 1 หรือจะติดต่อสอบถามทางเบอร์ 02-4650014 ต่อ 410

Q25 : ถ้าจะเอามาและแมวมาฉีดวัคซีนและทำหมันที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 26ได้ไหมคะ
A      : ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 26มีบริการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าแก่สัตว์เลี้ยงทุกบ่ายวันศุกร์  แต่ถ้าต้องการทำหมันให้ไปที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 33 วัดหงส์ ฟรีค่ะ