ศบส. เปิดให้บริการเวลาใด ?

ศูนย์ฯ 23 เปิดให้บริการทุกวัน ยกเว้นวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ดังนี้

                   วันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่ เวลา 08.00 - 20.00 น. 

              วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เปิดให้บริการคลินิกก้าวใหม่ ตั้งแต่เวลา 8.00 - 12.00 น. 
 

สามารถตรวจสอบสิทธิ์การรักษาพยาบาลให้ได้หรือไม่ ?
- สามารถตรวจสอบสิทธิ์การรักษาพยาบาลได้
ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยของ ศบส. หากเกิดภาวะฉุกเฉินจะสามารถไปโรงพยาบาลได้ทันที หรือต้องมาที่ ศบส. ก่อน
- สามารถไปโรงพยาบาลได้ทันที 

 
คลินิกโรคเรื้อรังตรวจเลือดเพื่อดูสิ่งใดบ้าง
        - ระดับน้ำตาลในเลือด

         - ระดับไขมันในเลือด

         - การทำงานของตับและไต
การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อ HIV สามารถทราบผลได้ทันทีหรือไม่ มีค่าใช้จ่ายหรือไม่
- สามารถทราบผลได้ทันทีและสามารถตรวจได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง
 
คลินิกสัตวแพทย์เปิดให้บริการเวลาใด และมีบริการใดบ้าง

* เวลาให้บริการ 
    - ฉีดวัคซีน / ยาคุมกำเนิด  ทุกวันจันทร์ - ศุกร์  เวลา 08.30 - 11.30 น. / 13.00 - 15.00 น. ยกเว้นวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์
   - รักษาสัตว์ / ผ่าตัดทำหมันสัตว์เลี้ยง   ทุกวันจันทร์ - ศุกร์  เวลา 08.30 - 11.00 น. ยกเว้นวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์
   - ทำหมันสัตว์เลี้ยงที่นัดไว้แล้ว ต้องมาถึงคลินิกก่อน 09.00 น.
* การมารับบริการ
   - นำสัตว์เลี้ยงมาด้วยตนเอง ตามเวลาที่กำหนด
   - ไม่รักษาสัตว์ โดยไม่มีการตรวจจากสัตวแพทย์
* บริการฟรี ดังนี้
   - ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งสุนัข และแมว
   - ฉีดยาคุมกำเนิดสุนัข และแมวเพศเมีย
   - ผ่าตัดทำหมันสุนัข และแมว ทั้งเพศผู้ และเพศเมีย
   - จดทะเบียนสุนัข และฝังไมโครชิพ 
 

ชมรมผู้สูงอายุของศูนย์ฯ เปิดรับสมัครช่วงเวลาใดบ้าง และใช้หลักฐานใดบ้าง
- รอบที่ 1   วันที่ 1 - 28 ก.พ. ของทุกปี
- รอบที่ 2   วันที่ 1 - 31 ก.ค. ของทุกปี
- หลักฐานการสมัคร  
  1. สำเนาบัตรประชาชน  จำนวน 2 ใบ  (ศูนย์ผู้สูงอายุศูนย์ฯ23   1  ใบ/สหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุ   1  ใบ)
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน  จำนวน 2 ใบ  
(ศูนย์ผู้สูงอายุศูนย์ฯ23   1  ใบ/สหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุ   1  ใบ)
  3. รูปถ่ายปัจจุบัน ขนาด 1 นิ้ว  จำนวน 2 รูป  (ศูนย์ผู้สูงอายุศูนย์ฯ23  1  ใบ/สหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุ  1  ใบ)
กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง
1. กิจกรรมด้านสร้างเสริมสุขภาพ  เช่น การคัดกรองสุขภาพ การออกกำลังกาย การให้ความรู้ด้านสุขภาพ
2. กิจกรรมด้านส่งเสริมสวัสดิการสังคม  ให้ความรู้และข้อมูลด้านสวัสดิการสังคมของผู้สุงอายุ
3. กิจกรรมด้านกีฬา  เช่น การแข่งขันกีฬาผู้สูงอายุระดับกลุ่มโซนเขต และระดับกรุงเทพมหานคร
4. กิจกรรมด้านวัฒนธรรมและศาสนา  เช่น กิจกรรมรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ทำบุญเลี้ยงพระ
5. กิจกรรมด้านศิลปประดิษฐ์/นาฏศิลป์  เช่น กลุ่มนางรำของชมรม กลุ่มศิลปประดิษฐ์
6. กิจกรรมด้านนันทนาการ  เช่น การร้องเพลง
ต้องการจดทะเบียนคนพิการต้องทำอย่างไรบ้าง
ขั้นตอนเพื่อเข้าถึงสิทธิคนพิการเบื้องต้นมี 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1  ต้องพบแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ  เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลของรัฐ
เพื่อตรวจและประเมินความพิการ หากพบว่าบกพร่องหรือพิการ แพทย์จะออกเอกสารรับรองความพิการให้แก่
คนพิการ
ขั้นตอนที่ 2  นำเอกสารรับรองความพิการ พร้อมสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และรูปถ่าย 1 นิ้ว
3 รูป ไปจดทะเบียนคนพิการ ณ ศูนยบริการคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ภายในบริเวณบ้านราชวิถี) หรือโรงพยาบาลบางแห่ง  เช่น ศิริราช, ราชานุกูล, ราชวิถี เป็นต้น  คนพิการจะได้
รับบัตรประจำตัวคนพิการ
ขั้นตอนที่ 3  นำสำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชน  ยื่นเรื่องต่อหน่วย
บริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพที่มีจุดบริการ ณ สำนักงานเขตบางแห่ง  เช่น ราชเทวี, คลองเตย, บาง
คอแหลม เป็นต้น  เพื่อเปลี่ยนสิทธิย่อยเป็นหมวดคนพิการ สามารถใช้สิทธิ สปสช. ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง
ขั้นตอนที่ 4  นำสำเนาบัตรคนพิการ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และหน้าเล่มสมุด Book Bank
ไปยื่นเรื่องที่ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขต ที่คนพิการมีชื่อในทะเบียนอยู่จริง เพื่อรับ
เบี้ยคนพิการ เดือนละ 800 บาท ต่อไป
การพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินความพิการ ต้องไปตรวจที่ศูนย์บริการสาธารณสุขที่คนพิการมีสิทธิหลักประกันสุขภาพหรือไม่
     - ไม่จำเป็น สามารถไปพบแพทย์เพื่อประเมินความพิการ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ทั้ง 68 แห่งได้ โดยใช้บัตรประชาชนแสดงเพื่อทำบัตรผู้ป่วย ณ ห้องเวชระเบียนของศูนย์ฯ ก่อนพบแพทย์เท่านั้น
กรณีคนพิการทางจิต จะประเมินความพิการได้หรือไม่
1. ผู้ป่วยทางจิตใจหรือพฤติกรรม, 2. ผู้ป่วยทางสติปัญญา, 3. ผู้ป่วยทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
และ 4. ออทิสติก  จำเป็นต้องให้จิตแพทย์ เป็นผู้ประเมินความพิการ ซึ่งจิตแพทย์ของศูนย์บริการสาธารณสุขมีเพียง 5 แห่ง เท่านั้น คือ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3, 4, 21, 23 และ 33 เท่านั้น หรือติดต่อโรงพยาบาลของรัฐ ที่มีบริการด้านจิตเวชได้ทุกแห่ง
กรณีมีคนพิการทางการเคลื่อนไหวและติดเตียงไม่สามารถพามาพบแพทย์ได้ ญาติผู้ป่วยควรทำอย่างไร
- สามารถติดต่อนักสังคมสงเคราะห์หรือพยาบาลวิชาชีพที่ศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านและประเมินเบื้องต้น พร้อมถ่ายภาพลักษณะความพิการ และนัดหมายให้ญาติที่ทราบประวัติเจ็บป่วย เพื่อให้ข้อมูลกับแพทย์ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อประเมินและออกเอกสารรับรองความพิการต่อไป
สามารถซื้อยาจากที่ศูนย์ฯ มาทานเลยได้หรือไม่
- ไม่ได้เนื่องจากต้องมีการตรวจรักษา โดยแพทย์ที่ศูนย์ฯ ก่อน แล้วถึงจะจ่ายยาตามใบสั่งยา
ได้รับการรักษาจากที่อื่นต้องการมารับยาต่อที่ศูนย์ฯ ได้หรือไม่
- ได้ แต่ผู้มารับบริการต้องนำยาเดิมที่ได้รับมาด้วย และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ว่าจะให้ยาเดิมที่เคยได้รับหรือจำเป็นต้องเปลี่ยนยา
จะพาลูกมาขอรับการตรวจวัดสติปัญญา/ความฉลาด ที่นี่มีไหม ค่าใช้จ่ายแพงไหม และต้องทำอย่างไร
- ทางศูนย์ฯ23 มีบริการค่ะ แต่ต้องนัดหมายล่วงหน้า และมีค่าบริการตรวจวัดสติปัญญา 200 บาท   และค่าบริการทางการแพทย์ 50 บาท รวมเป็น 250 บาท (หากเป็นบัตรทองที่ศูนย์ฯ23 ไม่เสียค่าใช้จ่าย)หากต้องการนัดหมายวันจะโอนสายให้ หรือสะดวกโทรหานักจิตวิทยาได้โดยตรงที่เบอร์ 097-042-0472 ค่ะ
จะพาเด็กมาหาคุณหมอพัฒนาการ หรือสงสัยลูกพูดช้าต้องทำอย่างไร/ นัดหมายกระตุ้นพัฒนาการ
- มีบริการคลินิกพัฒนาการเด็กทุกวันพุธ เวลา 13.00 - 16.00 น. แต่เป็นคุณหมอช่วยราชการ ซึ่งบางพุธคุณหมออาจติดราชการอื่นก็จะไม่ได้เข้ามาตรวจ หากต้องการพบแพทย์จะโอนสายให้เจ้าหน้าที่คลินิกนัดหมายโดยตรง หรือขอชื่อและเบอร์ติดต่อกลับค่ะ หรือหากต้องการกระตุ้นพัฒนาการเรามีบริการซึ่งต้องพบแพทย์และพบนักจิตวิทยาพัฒนาการนัดหมายกระตุ้นพัฒนาการค่ะ (ต้องการโอนสาย)
วันนี้รู้สึกเครียดไม่สบายใจ/รู้สึกเบื่อไม่อยากมีชีวิตอยู่ /ทำงานไม่ได้ผิดปกติไหม/ปัญหาอื่นๆ
- คุณอาจรู้สึกไม่สบายใจ เราจะโอนสายให้คุณได้ปรึกษาเจ้าหน้าที่โดยตรงค่ะ
กลุ่มโรคที่ให้บริการของคลินิกกายภาพบำบัด
- กลุ่มโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ได้แก่ โรคข้อเสื่อม ข้อไหล่ติด กล้ามเนื้อหรือเอ็นอักเสบ โรคกระดูสันหลังเสื่อม กายภาพบำบัดหลังเปลี่ยนข้อเทียม และอื่นๆ
- กลุ่มโรคทางระบบประสาท ได้แก่ โรคหลอดเลือด บาดเจ็บไขสันหลัง บาดเจ็บทางสมอง สมองพิการ พาร์กินสัน และอื่นๆ
- กลุ่มโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และอื่นๆ
คลินิกกายภาพบำบัด ศบส.23 สี่พระยา มีอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดอะไรบ้าง
1. เครื่องอัลตราซาวด์ลดปวด
2. เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
3. แผ่นประคบร้อน
4. อุปกรณ์ออกกำลังกาย
ขั้นตอนการเข้ารับบริการคลินิกกายภาพบำบัด ศบส.23 สี่พระยา ต้องทำอย่างไร
แบ่งเป็น 2 กรณี
1. เวชระเบียน --> ผู้รับบริการที่ยังไม่เคยทำกายภาพบำบัด --> พบแพทย์ --> ห้องกายภาพบำบัด --> พบนักกายภาพบำบัด
2. เวชระเบียน --> ผู้รับบริการที่นัดทำกายภาพบำบัด --> วัดสัญญาณชีพก่อนเข้าตรวจ --> ห้องกายภาพบำบัด --> พบนักกายภาพบำบัด
เอกสารสำคัญที่ต้องเตรียมเมื่อมาเข้ารับบริการคลินิกกายภาพบำบัด ศบส.23 สี่พระยา
- บัตรประชาชนตัวจริง
- บัตรประจำตัวผู้ป่วย
- บัตรนัดกายภาพบำบัด ศูนย์บริการสาธารณสุข23 สี่พระยา
วันและเวลาที่ให้บริการของคลินิกกายภาพบำบัด ศูนย์บริการสาธารณสุข23 สี่พระยา
เวลาทำการ   วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น.
ช่วงเช้า        วันอังคาร วันพฤหัสบดี
ช่วงบ่าย       วันจันทร์ ถึง วันศุกร์
*** หยุดวันเสาร์-อาทิตย์  และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ***
สิทธิ์ในการเข้ารับบริการคลินิกกายภาพบำบัด ศูนย์บริการสาธารณสุข23 สี่พระยา มีค่าใช้บริการไหม
สิทธิข้าราชการ,รัฐวิสาหกิจ เบิกตรงกรมบัญชีกลาง             ไม่เสียค่าบริการ
สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทองใน)                         ไม่เสียค่าบริการ
สิทธิบัตรทองนอกเขต                                                      ชำระเงิน
สิทธิประกันสังคม                                                            ชำระเงิน
สิทธิบุคคลผู้พิการ                                                      ไม่เสียค่าบริการ
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) ต้องฉีดเด็กนักเรียนชั้นไหน ?

ฉีดเฉพาะในเด็กนักเรียนหญิงชั้น ป.5 อายุระหว่าง 9 - 14 ปี ร.ร.ทุกสังกัด   * ไม่มีค่าใช้จ่าย*

นักเรียนชั้น ป.1 ยังได้รับวัคซีนไม่ครบจะทำอย่างไร
- ให้ผู้ปกครองนำสมุดวัคซีนนักเรียน(เล่มสีชมพู)ให้ไว้กับครูประจำวัน เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข23 สี่พระยา จะตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีน จากนั้นจะมีใบขออนุญาตไปถึงผู้ปกครอง และจะดำเนินการฉีดให้ที่โรงเรียนค่ะ
ตรวจสุขภาพผู้สัมผัสอาหารสามารถมาตรวจได้วันไหนบ้าง
- สามารถมาตรวจได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข23 สี่พระยา ในวันจันทร์ – ศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ เวลา 8.00 - 12.00 น.
มีนักเรียนเป็นเหาจะขอยารักษาได้ที่ไหนบ้าง
- เจ้าหน้าที่จะเข้าไปใส่ยาให้ที่โรงเรียน พร้อมให้สุขศึกษาแก่นักเรียน
การให้บริการตรวจเอกซเรย์ปอดของตึกเอกซเรย์
- ให้บริการเอกซเรย์ปอดทุกวันตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา  08.00 – 12.00 น.และ 13.00 - 15.30 น. ยกเว้น วันอังคาร เวลา 13.00 – 16.00 น. เนื่องจากมีคลินิกวัณโรค
การให้บริการตรวจเอกซเรย์ สามารถเอกซเรย์ได้ทุกส่วนของร่างกายหรือไม่
- เอกซเรย์ได้เฉพาะปอดเท่านั้น เนื่องจากเครื่องเก่ามีอายุการใช้งานมานาน ไม่สามารถเอกซเรย์ส่วนอื่นๆได้ เช่น กระดูก  เอ็นข้อมือ เอ็นข้อเท้า เป็นต้น
ผู้รับบริการที่มาเอกซเรย์ปอด ให้บริการแก่ผู้รับบริการประเภทใดบ้าง
- ผู้รับบริการสามารถมาเอกซเรย์ปอดได้ทุกคน เช่น ผู้ค้าริมบาทวิถี  ต่างด้าว ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอาการไอเรื้อรัง เป็นต้น
ราคาค่าบริการตรวจเอกซเรย์ปอด ต่อ คน
- ค่าบริการตรวจเอกซเรย์ปอดราคา 200 บาท/คน ค่าบริการทางการแพทย์ 100  บาท รวมทั้งหมด 300 บาท/คน.  (เริ่ม 15 ม.ค. 2564)
ค่าบริการตรวจเอกซเรย์ปอดของผู้ค้าริมบาทวิถีของศูนย์ลูกข่าย ได้แก่ ศูนย์ฯ 1 , ศูนย์ฯ 13 และศูนย์ฯ 20 เท่าไหร่
- หากผู้ค้าริมบาทวิถีเป็นของลูกข่ายและขอรับใบรับรองแพทย์ที่ศูนย์ลูกข่ายด้วย ให้จ่ายเฉพาะค่าบริการตรวจเอกซเรย์ปอดราคา 200 บาท/คน เท่านั้นเนื่องจากผู้ค้าริมบาทวิถีจ่ายค่าบริการที่ศูนย์ลูกข่ายแล้ว
ผู้มารับบริการต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างเมื่อจะมาถ่ายเอกซเรย์ปอด
- ให้ผู้รับบริการเตรียมบัตรประชาชนมาด้วยทุกครั้ง หากเป็นผู้ค้าริมบาทวิถีเป็นของลูกข่ายให้นำใบส่งตรวจเอกซเรย์มาด้วยทุกครั้ง
หากมีผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ร่วมกับมีอาการไอเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ ต้องการมาเอกซเรย์ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
- สามารถมาปรึกษาพยาบาลที่คลินิกวัณโรคได้ทุกวัน เพื่อสอบถามข้อมูลและประเมินอาการไอ สามารถเอกซเรย์ปอดได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
หากมีคนรู้จักหรือญาติป่วยเป็นวัณโรค สามารถพามารักษาและรับยาที่ศูนย์ฯ 23 สี่พระยาได้ไหม
- สามารถพาผู้ป่วยมารักษาและรับยาที่ศูนย์ฯ23 สี่พระยา ได้เลย โดยให้มาพบพยาบาลคลินิกวัณโรคก่อนได้ทุกวันตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา  08.00 – 16.00 น. เพื่อสอบถามข้อมูลและเตรียมข้อมูลสำหรับพบแพทย์ในวันอังคารถัดไป
คลินิกวัณโรคให้บริการในวันใดบ้าง
- คลินิกวัณโรคให้บริการทุกวันอังคาร เวลา 13.00 – 15.30 น. โดยแพทย์เฉพาะทางด้านวัณโรค
หากต้องการมาตรวจสุขภาพประจำปี ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือตรวจฟรี
- การมาตรวจสุขภาพประจำปีต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ไม่สามารถตรวจฟรีได้
ผ่าฟันคุด ต้องเข้าไปตรวจแล้วนัดวันผ่าหรือเข้าไปผ่าเลยได้
ต้องมาให้ทันตแพทย์ตรวจก่อน แล้วจะนัดผ่าอีกครั้ง
ตรวจรักษาฟัน ควรมาช่วงเวลาไหน
มีตรวจ 2 ช่วงค่ะ เช้า 08.00 - 12.00 น. ช่วงเช้าเริ่มวางบัตรคิวตั้งแต่ 06.30 น. บัตรคิวเต็มก็ปิดเลยค่ะ ช่วงเย็นเริ่ม 16.00 - 20.00 น. วางบัตรคิว 15.30 น. (รอบเย็นต้องมารอก่อนเวลา 30 นาทีเพราะคิวเต็มเร็วค่ะ) ผู้รับบริการบางวันก็น้อยบัตรคิวเหลือก็มีค่ะ แต่บางวัน 08.00 น. ก็เต็มแล้ว แต่ละวันไม่เหมือนกันค่ะ ผู้รับบริการต้องมาหยิบบัตรคิวเองนะคะ ไม่มีนัดล่วงหน้าค่ะ
 
 
คลินิกทันตกรรมรับจัดฟันมั้ย
- ไม่รับจัดฟันค่ะ
สุนัขตัวใหญ่ มาทำหมันได้มั้ย
- ต้องนำสุนัขมาตรวจสุขภาพและทำประวัติก่อน แล้วแพทย์จะนัดทำหมันอีกครั้ง รับทำในกรณีน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม เพราะเกิน 20 กิโลกรัม ยาสลบจะใช้ไม่ได้ผล ต้องไปที่โรงพยาบาลสัตว์
มาขอรับบริการต้องยื่นบัตรอะไรหรือทำอย่างไร

การให้บริการศูนย์ฯ 23 สี่พระยา มี 2 กรณี

  1. กรณีผู้ป่วยรายใหม่ กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มผู้ป่วยใหม่ (ประวัติ-ชื่อสกุล-ที่อยู่) พร้อมแนบบัตรประชาชน ยื่นให้เจ้าหน้าที่และรับบัตรคิว จากนั้นรอเรียกซักประวัติ อาการแสดงและเซ็นชื่อยินยอมการรักษา และรอเข้าพบแพทย์
  2. กรณีผู้ป่วยรายเก่า นำบัตรผู้ป่วย แนบบัตรประชาชน ยื่นให้เจ้าหน้าที่และรับบัตรคิว รอเรียกซักประวัติ อาการแสดง และรอเข้าพบแพทย์
ต้องการมาขอใบรับรองแพทย์ต้องทำอย่างไร

การขอใบรับรองแพทย์ กรณีไม่เคยมาใช้บริการที่ ศูนย์ฯ 23 ต้องทำประวัติผู้ป่วยใหม่ (เวชระเบียนผู้ป่วย) กรณีเคยมารับบริการ ให้ยื่นบัตรผู้ป่วยพร้อมบัตรประชาชน

                    3.1 กรณีขอใบรับรองแพทย์สมัครงาน/สอบใบขับขี่

                             - ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต                

                             - เข้าพบแพทย์               

                             - ชำระเงิน (150 บาท)

                             - รับใบรับรองแพทย์ และกลับบ้านได้

   3.2 กรณีขอใบรับรองแพทย์ผู้สัมผัสอาหาร

                             - ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต

                             - ตรวจหาเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร

                             - เอกซเรย์ปอด 

                             - เข้าพบแพทย์               

        - รวมชำระเงิน (600 บาท)                                    

        - วันที่มาฟังผลการตรวจหาเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร (ประมาณ 2 สัปดาห์) มาพบแพทย์ พร้อมรับใบรับรองแพทย์ (150) บาท
              

 

ลืมใบนัดฉีดยา แต่จำได้ว่าครบฉีดเดือนนี้ จะต้องทำอย่างไร
สามารถรับบริการได้ แต่ต้องรอเจ้าหน้าที่ สืบค้นประวัติการฉีดยาใน OPD Card ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้า ดังนั้นควรนำใบนัดมาด้วยทุกครั้ง
ผู้ป่วยเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์โดนรถเฉี่ยวชน บาดแผลบริเวณ แขนและขา มาล้างแผลที่ ศูนย์ฯ 23 ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร
กรณีฉุกเฉิน มาล้างแผล และปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย
โดนสุนัขกัดที่ขาตอนเช้า ต้องการมาล้างแผล และฉีดวัคซีน ที่ศูนย์ฯ 23 ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร
1. วันแรกที่โดนสุนัขกัด แพทย์จะสั่งฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า, วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
          กรณี  บัตรทองในกทม. และบัตรทองต่างจังหวัด ไม่เสียค่าใช้จ่ายทุกเข็ม  แต่เสียค่าบริการฉีดยาครั้งละ 20 บาท
          กรณี  บัตรประกันสังคม ครั้งแรกไม่เสียค่าใช้จ่าย ครั้งต่อไป ต้องจ่ายเงินแล้วนำไปเบิกต้น สังกัด
          กรณี  สิทธิข้าราชการ (ชำระเงินเอง) ต้องจ่ายเงินแล้วนำไปเบิกต้นสังกัด 
 2.  กรณีล้างแผลที่ถูกสุนัขกัด ไม่เสียค่าใช้จ่ายในวันแรก แต่วันต่อมาต้องเสียค่าล้างแผลตามลักษณะบาดแผล
 3.  ค่าบริการทางการแพทย์ เสียค่าบริการ 100 บาท ในครั้งแรก ครั้งต่อไปไม่เสียค่าใช้จ่าย
จะมาเจาะเลือดตรวจไขมัน ต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือดกี่ชั่วโมง
งดอาหารและเครื่องดื่ม ก่อนเจาะเลือด 10 - 12 ชั่วโมง แต่สามารถจิบน้ำเปล่าได้ เล็กน้อย 
จะมาตรวจสุขภาพ เจาะเลือด ต้องมาวันไหน และต้องปฏิบัติ ตัวอย่างไร
ศูนย์ฯ 23 มีให้บริการตรวจเลือดเฉพาะทุกวันอังคาร  เวลา 8.00 – 9.30 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และติดกับวันหยุดต่อเนื่อง ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และสั่งตรวจเลือดก่อน
คนไข้สามารถนำแผงยามาซื้อยาได้เลยโดยที่ไม่ต้องพบแพทย์ได้หรือไม่
ศูนย์ฯ 23 ไม่ขายยาให้คนไข้ เนื่องจากคนไข้ต้องพบแพทย์เพื่อให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น
ได้รับการรักษาจากที่อื่น ต้องการมารับยาต่อที่ศูนย์ฯ 23 สี่พระยาได้หรือไม่
ได้ แต่ผู้มารับบริการต้องนำยาเดิมที่ได้รับมาด้วย และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ว่าจะให้ยาเดิมที่เคยได้รับ หรือจำเป็นต้องเปลี่ยนยา
คนไข้สามารถนำแผงยาที่ได้รับจากโรงพยาบาลอื่นมาสอบถามที่ศูนย์ฯ 23 ว่ามียาชนิดนี้ไหม ได้หรือไม่
ได้ เนื่องจากที่ศูนย์ฯ มีเภสัชกรประจำ โดยเภสัชกร จะดูชื่อยาที่แผงยาที่คนไข้นำมาถามก่อน ถ้ามียาชนิดเดียวกัน แต่แผงยาไม่เหมือนกันเนื่องจากเป็นยาคนละบริษัทแต่ตัวยาเดียวกัน ก็จะอธิบาย
จริงหรือไม่ที่ผู้ป่วยบัตรทองใช้ยาในประเทศ ผู้ป่วยสิทธิข้าราชการใช้ยานอกอย่างดี
ไม่จริง .. คือ แนวทางการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยทั่วไปทุกราย จะกำหนดเป็นการใช้ยาชื่อสามัญ หรือนิยมเรียกว่ายาในประเทศ เป็นยาขนานแรกก่อนเสมอ แต่ถ้าไม่ได้ผลก็จะเปลี่ยนเป็นยาต้นแบบ       
ฉีดวัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก วันนี้แล้วจะมีไข้ไหม
ส่วนใหญ่ฉีดแล้วจะมีไข้ ถ้ามีไข้ควรเช็ดตัวลดไข้ ถ้าไข้ไม่ลดลงให้ยาลดไข้ตามแพทย์สั่ง
ครั้งที่แล้ว ฉีดยาแล้วเด็กปวดขาไม่ยอมเดิน ควรทำอย่างไร
หลังฉีดยาหากมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน ควรประคบเย็นบริเวณที่ฉีดยา และถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้น ให้ทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์ และให้แจ้งพยาบาลทราบเมื่อมารับบริการครั้งถัดไป
ศูนย์ฯ 23 รับฝากครรภ์วันไหน ต้องเตรียมอะไรมาบ้าง และต้องพาสามีมาด้วยไหม
ศูนย์ฯ 23 รับฝากครรภ์ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ การมาฝากครรภ์ให้นำบัตรประชาชนมาด้วยทุกครั้ง เพื่อทำบัตร และต้องพาสามีมาด้วยเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก
ถ้าซื้อที่ตรวจครรภ์ และตรวจแล้วว่าท้อง สามารถมาฝากครรภ์ได้ไหม
การฝากครรภ์ที่ศูนย์ฯ 23 ต้องมาตรวจตั้งครรภ์อีกครั้งโดยการตรวจปัสสาวะว่ามีการตั้งครรภ์แล้วทางศูนย์ฯ จะออกใบรับรองการตรวจครรภ์พร้อมกับเสียค่าตรวจ 70 บาท
ตรวจมะเร็งปากมดลูกวันไหน และเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
            1.1 ศูนย์ฯ 23 ให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกในวันพุธ เวลา 13.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
            1.2 การเตรียมตัวมาตรวจมะเร็งปากมดลูก
                   -  หลังหมดประจำเดือน 5 วัน นับจากวันสุดท้ายของ การหมดประจำเดือน
                   -  ห้ามสวนล้างช่องคลอด 1 – 2 วันก่อนตรวจ

                   -  ห้ามเหน็บยาที่ช่องคลอด 1 – 2 วันก่อนตรวจ
                   -  งดการมีเพศสัมพันธ์ 1 วันก่อนมาตรวจ
มีบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ ราคาเท่าไร
        มี
        2.1 กรณีคนไทยที่มีสิทธิบัตรทองศูนย์ฯ 23 และบัตรทอง กทม.อื่นๆ ไม่เสียค่าใช้จ่าย
              หากตรวจแล้วผลปกติ สามารถตรวจได้อีกเมื่อครบ 5 ปี นับจากการตรวจครั้งแรก
              หากอยากมาตรวจปีละครั้ง จะต้องชำระเงินเอง ราคา 2,200 บาท
      2.2 แต่ถ้ามียารับประทาน หรือยาเหน็บ เสียเงินตามสิทธิการรักษา
มียาคุมกำเนิดชนิดฝังหรือไม่ และมีข้อมูลเป็นอย่างไร

ที่ศูนย์ฯ 23 มีคลินิกวางแผนครอบครัวในวันพุธ เวลา 13.00 น. มีการให้ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดคุมกำเนิด, ยาฉีดคุมกำเนิด, และยาคุมกำเนิดชนิดฝังใต้ผิวหนัง ซึ่งจะสามารถออกฤทธิ์คุมกำเนิดอยู่ได้ 3 ปี โดยเราจะมีแพทย์ที่สามารถให้บริการฝังยาคุมกำเนิดให้ผู้รับบริการ

ศูนย์ฯ 23 มีบริการผ่าฟันคุดหรือไม่
มี แต่แนะนำให้ผู้มารับบริการเข้ามารับการตรวจประเมินเบื้องต้นก่อน ทันตแพทย์จะทำการประเมินความยากง่ายรวมถึงจะแนะนำให้ผู้มารับบริการถ่ายภาพรังสีเพิ่มเติม ถ้าสามารถให้การรักษาได้ จะทำการนัดให้มารับรักษาต่อไป
ศูนย์ฯ 23 มีบริการทำฟันปลอมหรือไม่
ศูนย์ฯ 23 ไม่มีการให้บริการทำฟันปลอม แต่มีการให้บริการอุดฟัน ขูดหินน้ำลาย เพื่อเตรียมช่องปากให้พร้อมก่อนทำฟันปลอม
กรณีบัตรทองศูนย์ฯ 23 สามารถรับบริการอะไรบ้างโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
บริการที่ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มีบัตรทอง ศูนย์ฯ 23 มีดังนี้ ตรวจฟัน อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย รักษาโรคเหงือก ถอนฟัน ผ่าฟันคุดที่ไม่ซับซ้อน บริการฉุกเฉินได้ทุกกรณี   
          (กรณีปวดจากรากฟัน จะทำการบำบัดระงับอาการปวด ก่อนส่งต่อ ร.พ.)
ผู้ใช้บริการที่มีปัญหาการเศรษฐกิจกลุ่มเป้าหมายใด สามารถขอความช่วยเหลือ นมผง/อาหารทางการแพทย์ได้บ้าง
กลุ่มเป้าหมายในงานสังคมสงเคราะห์ได้แก่
  1. เด็กอายุ 0 - 1 ปี, เด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี
  2. สตรีมีครรภ์
  3. ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง, เป็นโรคเรื้อรัง/รุนแรง/ติดเชื้อ, ขาดสารอาหาร
  4. คนพิการ
  5. ผู้ด้อยโอกาส
  6. ผู้ติดสารเสพติด/ผู้ป่วย+ผู้ติดเชื้อHIV/เอดส์ เป็นโรคเรื้อรัง/รุนแรง/ติดเชื้อ, ขาดสารอาหาร  
                                  * ซึ่งมีปัญหาทางด้านโภชนาการ *
ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สามารถออกใบรับรองความพิการประเภทใดได้บ้าง
ประเภทที่ 3 ทางการเคลื่อนไหวเท่านั้น เนื่องจากทางศูนย์ไม่มีแพทย์เฉพาะทางสำหรับประเมินคนพิการประเภทอื่น
การเตรียมตัวก่อนรับวัคซีนในเด็กนักเรียน
การฉีดวัคซีนในเด็กนักเรียน เช่น คอตีบ-บาดทะยัก (Td), หัด (MR), มะเร็งปากมดลูก (HPV) เด็กทุกคนที่จะได้รับวัคซีนต้องมีสุขภาพดี ไม่มีไข้ และผู้ปกครองให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร   
 * ไม่มีค่าใช้จ่าย*
เด็กนักเรียนที่เป็นต่างด้าวสามารถฉีดวัคซีนได้ไหม
เด็กนักเรียนต่างด้าวสามารถฉีดวัคซีนได้ * ไม่มีค่าใช้จ่าย*
เด็กที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดแล้ว สามารถป่วยเป็นโรคหัดได้ไหม
ป่วยได้ แต่อาการจะไม่รุนแรงเท่ากับบุคคลที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน
อาการอย่างไรจึงเรียกว่าโรคซึมเศร้า
1. ไม่สดชื่น ไม่สนุก หดหู่ เศร้าหมอง เบื่อหน่าย ท้อแท้ หงุดหงิดอ่อนไหวต่อคำพูด
2. ไม่มีสมาธิทำงาน มองโลกในแง่ร้าย ขาดความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า อยากทำร้ายตัวเอง ไม่อยากมีชีวิตอยู่
3. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เคลื่อนไหวช้า ปวดศีรษะและ กล้ามเนื้อ หลับไม่สนิท ไม่สนใจทำกิจกรรมที่ชอบ
เมื่อป่วยเป็นโรคซึมเศร้าต้องปฏิบัติตนอย่างไร
1. ไม่ปล่อยเวลาให้ว่าง กำหนดกิจกรรมที่ชอบและเคยทำในแต่ละวัน เพื่อลดอาการเบื่อหน่าย และอารมณ์เศร้า
2. หลีกเลี่ยงการพูดคุยเกี่ยวกับความคิดทางลบ หรือความรู้สึกที่จะทำให้เกิดอารมณ์เศร้า ให้คิดถึงเหตุการณ์ที่มีความประทับใจ หรือมีความสุข และหาโอกาสที่จะให้เหตุการณ์ดีๆ เกิดขึ้นอีก
3. อย่าตัดสินใจเรื่องสำคัญต่อชีวิตในขณะที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า เช่น การลาออกจากงาน การอย่าร้าง ควร ปรึกษา คนใกล้ชิดก่อนตัดสินใจ
4. การออกกำลังกายช่วยให้จิตใจคลายเศร้า อารมณ์แจ่มใส ควรออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่น เพื่อช่วยในการเข้าสังคม จะทำให้ไม่เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว
5. กรณีอาการเศร้าไม่ดีขึ้น และมีอาการนานเกิน 2 สัปดาห์  ขึ้นไป  ควรพบแพทย์เพื่อรับการช่วยเหลือ เพื่อป้องกัน ปัญหาการทำร้ายตนเอง
ผู้ป่วยสามารถเข้ามารับบริการทางกายภาพบำบัด โดยตรงได้หรือไม่
ไม่ได้ ผู้ป่วยต้องรับการตรวจประเมินจากแพทย์ก่อน เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าสมควรได้รับการกายภาพเพื่อบำบัด จึงจะนัดเข้าคลินิก
การรักษาโดยการกายภาพฯสามารถทำได้คนละกี่ครั้ง
ผู้ป่วย 1 คน ทำกายภาพฯ ได้ไม่เกิน 2 รอบการรักษา (รอบละ 10 ครั้ง)  และพิจารณาส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
              
ผู้ป่วยประเภทไหนบ้างที่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการรักษาทางกายภาพบำบัด
1. ผู้ป่วยมะเร็ง/เนื้องอก
2. ผู้ป่วยที่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
3. ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดอุดตัน และยังไม่ได้รับการรักษา
4. ผู้ป่วยที่บกพร่องหรือสูญเสียความรู้สึก
5. ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในบริเวณที่ต้องรักษา
6. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารได้
การนำสัตว์มาใช้บริการคลินิกสัตวแพทย์
1. นำสัตว์เลี้ยงมาด้วยตนเอง ตามเวลาที่กำหนด
2. ไม่รักษาสัตว์ โดยไม่มีการตรวจจากสัตวแพทย์
ต้องการให้พยาบาลมาเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านต้องทำอย่างไร? จำกัดสิทธิหรือไม่
การเข้าไปดูแลที่บ้านไม่จำกัดสิทธิในการรักษา แต่ต้องอยู่ในพื้นที่เขตบางรัก หากอยู่นอกเขตศูนย์ฯ  จะประสานงานในการส่งต่อตามพื้นที่
           ช่องทางที่ศูนย์ฯจะทราบข้อมูลผู้ป่วย มีดังนี้
  1. ระบบ BMA home ward referral system ของกองการพยาบาลสาธารณสุข
  2. ข้อมูลการรับผู้ป่วยของ สปสช.
  3. ได้รับแจ้งจาก รพ.
  4. ได้รับแจ้งจากอาสาสมัครสาธารณสุข
  5.  ญาติผู้ป่วยมาแจ้งด้วยตนเองที่ศูนย์ฯ หรือทางโทรศัพท์ โดยพยาบาลครอบครัวจะโทรศัพท์นัดหมายก่อนเข้าเยี่ยม 
  6.  ครอบครัวผู้ป่วยควรเตรียมประวัติการรักษา ยา บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง
สิทธิการรักษาพยาบาลของคนไทยมีอะไรบ้าง
คนไทยทุกคนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิ์การรักษาพยาบาลจากรัฐบาล 3 ระบบใหญ่ๆ ได้แก่
        1. สิทธิสวัสดิการรักษาของข้าราชการ
        2. สิทธิประกันสังคม
        3. สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)
ผู้ป่วยบัตรทองสามารถรับบริการได้ที่ไหนบ้าง

กรณีผู้ป่วยทั่วไป : ติดต่อหน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิ

        กรณีอุบัติเหตุ :  เข้ารับบริการที่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพที่ใกล้ที่สุด

        กรณีฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต : เข้ารักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เมื่อพ้นวิกฤติโรงพยาบาลจะส่งตัวกลับไปยังหน่วยบริการในระบบประกันสุขภาพ

                  ** ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว ในการเข้ารับบริการ**

เริ่มมีอาการปวดเข่า โดยเฉพาะเวลานั่งยองๆ แล้วลุกขึ้น จะมีวิธีป้องกันอย่างไรเพื่อป้องกันโรคเข่าเสื่อม
โรคเข่าเสื่อมมักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่วนอื่นๆ ของเข่า
     การป้องกันโดยปฏิบัติ ดังนี้
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน
  • ไม่ควรนั่งในท่างอเข่า เช่น พับเพียบ ขัดสมาธิ คุกเข่า นั่งยองๆ เป็นต้น ควรนั่งบนเก้าอี้ห้อยขา   หรือนั่งขาเหยียดตรง ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่า เช่น ยกของหนักเกินกำลัง หรือเดินขึ้น-ลงบันได บ่อยๆ
  • ควรฝึกบริหารข้อเข่าเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบเข่าแข็งแรง
จะติดต่อไปเปลี่ยนสายยางให้อาหาร หรือฉีดยาที่บ้านทำอย่างไร
ญาติจะต้องมาติดต่อที่ศูนย์ฯ ก่อนเพื่อทำบัตรและต้องพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์เขียนคำสั่งการ รักษาเพื่อไปใส่สายให้อาหารที่บ้าน
ญาติที่เป็นไข้เลือดออกจะให้ไปฉีดยุงต้องแจ้งที่ไหน
สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานเขตบางรัก ฝ่ายสิ่งแวดล้อม
จะตรวจสอบสิทธิ์บัตรทองได้อย่างไร

ตรวจสอบสิทธิ์โทร 1330 , แอพพลิเคชั่นของ สปสช.และที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ทุกแห่งของกรุงเทพมหานคร

ผู้ป่วยบัตรทองสามารถรับบริการได้ที่ไหนบ้าง

กรณีผู้ป่วยทั่วไป : ติดต่อหน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิ

กรณีอุบัติเหตุ :  เข้ารับบริการที่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพที่ใกล้ที่สุด

กรณีฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต : เข้ารักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เมื่อพ้นวิกฤติโรงพยาบาลจะส่งตัวกลับไปยังหน่วยบริการในระบบประกันสุขภาพ

              ** ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว ในการเข้ารับบริการ**

จะขอส่งตัวไปรักษาที่ รพ. ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องนำมาด้วย (กรณีไม่เคยรักษาที่ศูนย์ฯ 23)

  1.  บัตรประจำตัวประชาชน
  2.  นำประวัติการรักษาจากสถานบริการเดิม พร้อมกับนำยาที่รับประทานอยู่/ใบนัด มาให้แพทย์ดูเพื่อประกอบเขียนใบส่งตัว 
  3.  เวลาที่มาขอรับใบส่งตัวคือ เวลา 8.00 – 12.00 น.  (13.00 – 16.00 น. เป็นการให้บริการส่งเสริมสุขภาพไม่ออกใบส่งตัว จะออกให้กรณีฉุกเฉินเท่านั้น) 
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน คุณหมอนัด มาไม่ตรงนัดได้หรือไม่

แนะนำให้มาตรงตามนัด เนื่องจากในแต่ละวันจะมีการนัดหมายผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตในจำนวนที่พอเหมาะกับผู้ป่วยที่มารับบริการ  ถ้าผู้ป่วยมาไม่ตรงนัดจะทำให้เพิ่มปริมาณผู้ป่วยในวันนั้น ทำให้เกิดความแออัดต่อการให้บริการ และในการนัดหมายแต่ละครั้งก็มีความหมาย ต่อการวางแผนให้บริการเพิ่มเติมที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม เช่น การตรวจจอประสาทตา, การตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน เป็นต้น และการมาไม่ตรงนัดมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะขาดยา เพราะการนัดหมายแต่ละครั้งจะมีการคำนวณยาให้พอดีกับวันนัด

หากตรวจพบเชื้อโควิด-19 แล้วอาการไม่รุนแรง ควร จะต้องไปรักษาหรือไม่ หากอยากจะมารักษาต้องทำอย่างไรบ้าง

หากคุณมีอาการไม่รุนแรง เช่น ไอเล็กน้อย หรือมีไข้ต่ำ อาจไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่ควรอยู่บ้าน แยกกักตนเองจากผู้อื่นและสังเกตอาการของตนเอง โดยปฏิบัติตามแนวทางของรัฐเกี่ยวกับการแยกกักตนเอง รับประทานยาตามอาการ หากมีอาการรุนแรงขึ้นต้องการมารักษา ให้นำบัตรประชาชนตัวจริงและถ่ายรูปผลตรวจ ATK มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ และรอพบแพทย์ด้านนอกอาคาร (บริเวณ ARI Clinic ) เพื่อให้แพทย์ทำการซักประวัติเพิ่มเติมและสั่งจ่ายยา

ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคโควิด-19 มาก่อน ยังจำเป็นต้องได้รับวัคซีนโควิด 19 หรือไม่

สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคโควิด-19 มาก่อน แม้จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 ในร่างกาย แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ครั้ง ต่อไปและยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ ดังนั้นจึงควรได้รับวัคซีนโควิด 19 เสมอแม้ว่าจะเคยเป็นโรคโควิด 19 มาก่อนก็ตาม โดยเว้นระยะห่างจากการติดเชื้อไปอย่างน้อย 3 เดือน ไม่จำเป็นต้องตรวจการติดเชื้อก่อนฉีดวัคซีน เพราะแม้จะเคยเป็นมาก่อน ก็ไม่ทำให้มีอันตรายจากการฉีดวัคซีน โดยอาจพิจารณาให้ฉีดเพียง 1 เข็ม

ควรเว้นระยะวัคซีนตัวอื่นๆ ห่างจากวัคซีนโควิดหรือไม่อย่างไร

ควรเว้นระยะระหว่างวัคซีนโควิด 19 และวัคซีนชนิดอื่นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ (เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่) ยกเว้นวัคซีนพิษสุนัขบ้าหรือวัคซีนบาดทะยักสามารถฉีดวัคซีนได้เลย

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้หลังได้รับวัคซีนไฟเซอร์

ปวด บวม แดง คัน หรือช้ำในจุดที่ฉีด มีไข้ หนาวสั่น  อ่อนเพลีย ไม่สบายตัว ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ เป็นต้น

วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เปิดให้บริการล้างแผลที่ศูนย์ฯ 23 ได้หรือไม่

ศูนย์ฯ 23 ให้บริการด้านการพยาบาล เช่น ทำแผล ฉีดยา เฉพาะวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 - 12.00 น. และเวลา 16.00 - 20.00 น. หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 

หากลืมใบนัดฉีดยา แต่จำได้ว่าครบฉีดเดือนนี้ จะต้องทำอย่างไร

สามารถมารับบริการได้ แต่ต้องรอเจ้าหน้าที่ สืบค้นประวัติการฉีดยาใน OPD Card ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้า ดังนั้น ควรนำใบนัดมาด้วยทุกครั้ง

ต้องการมาฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาล ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร

ที่ศูนย์ฯ 23 มีบริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สำหรับประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงได้แก่  

             5.1 หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์มากกว่า 4 เดือน  

            5.2 เด็ก อายุ 6 เดือน-2 ปี (เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนเต็ม จนถึงอายุ 2 ปี 11 เดือน 29 วัน) 

             5.3 ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค คือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน   และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด 

             5.4 ผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปี 

             5.5 ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 

            5.6 โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) และ 

             5.7 โรคอ้วน น้ำหนักตัวมากกว่า 100 กก. หรือ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 

              ประชาชนกลุ่มเสี่ยงข้างต้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และไม่มีบริการสำหรับบุคคลทั่วไป

หากต้องการมาฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลต้องจองอย่างไร

ศูนย์ฯ 23 มีบริการรับลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกวันเวลา 8.00 - 12.00 น.หรือสามารถลงทะเบียนกับสปสช. โดยตรงที่หมายเลข 1330 และที่แอพพลิเคชั่นเป๋าตัง โดยสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ของทุกปี และจะเริ่มฉีดประมาณเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม เช่นกัน

หากต้องการเจาะเลือดตรวจสุขภาพต้องมาวันไหนและต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

ศูนย์ฯ 23 มีให้บริการตรวจเลือดเฉพาะวันอังคาร และวันพฤหัสบดี เวลา 8.00 – 9.30 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และสั่งตรวจเลือดก่อน ในวันที่มาตรวจเลือด ให้งดอาหารและเครื่องดื่ม ก่อนเจาะเลือด 10 - 12 ชั่วโมง แต่สามารถจิบน้ำเปล่าได้ เล็กน้อย 

หลังจากเจาะเลือดแล้ว สามารถรอฟังผลเลือดประมาณกี่วัน

ผู้รับบริการต้องมาฟังผลเลือดด้วยตนเองและสามารถมาฟังผลเลือดภายหลังจากวันเจาะเลือดครบ 2 วัน หรือจะมาฟังผลเลือดในวันที่มารับยาครั้งต่อไปได้เลย เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องเสียเวลามาที่ศูนย์ฯ หลายรอบ 

สามารถนำแผงยามาซื้อยาได้เลยโดยที่ไม่ต้องพบแพทย์ได้หรือไม่

ไม่สามารถซื้อยาได้เนื่องจากเภสัชกรจะจ่ายยาตามคำสั่งแพทย์ที่ระบุในใบสั่งยาเท่านั้น

สามารถนำแผงยาที่ได้รับจากโรงพยาบาลอื่นมาสอบถามที่ศูนย์ฯ 23 ว่ามียาชนิดนี้ไหม ได้หรือไม่

ได้ เนื่องจากที่ศูนย์ฯ มีเภสัชกรประจำ โดยเภสัชกร จะดูชื่อยาที่แผงยาที่คนไข้นำมาถามก่อน ถ้ามียาชนิดเดียวกัน แต่แผงยาไม่เหมือนกันเนื่องจากเป็นยาคนละบริษัทแต่ตัวยาเดียวกัน ก็จะอธิบาย

หากลืมรับประทานยาคุมกำเนิดต้องทำอย่างไร

กรณีลืมยาเม็ดที่มีฮอร์โมน 1 เม็ด แต่นึกได้ภายในเวลาไม่ถึง 48 ชั่วโมงนับจากเวลาที่ควรรับประทานตามปกติ

ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้                                               

- รับประทานยาเม็ดที่ลืมทันทีที่นึกได้

- รับประทานยาเม็ดที่เหลือต่อไปตามปกติ (หรืออาจรับประทานยา 2 เม็ด ในวันที่นึกได้)

- ไม่จำเป็นต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย ยกเว้นกรณีที่ยาเม็ดที่ลืมนั้นอยู่ในช่วงเม็ดที่ 1 - 7 หรือเม็ดที่ 15 - 21 ของแผง หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันในช่วงเดียวกันนี้ อาจใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน (Emergency Contraceptives) หลังมีเพศสัมพันธ์ร่วมด้วย

กรณีลืมรับประทานยาที่มีฮอร์โมนติดต่อกันตั้งแต่ 2 เม็ดขึ้นไป และลืมรับประทานยานานกว่า 48 ชั่วโมงขึ้นไป

ควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

  • ให้รับประทานเฉพาะยาเม็ดที่เพิ่งลืมทันทีที่นึกได้ และทิ้งเม็ดยาที่ลืมก่อนหน้านั้น
  • รับประทานยาเม็ดฮอร์โมนที่เหลือต่อไปตามเวลาปกติ (หรืออาจรับประทานยา 2 เม็ด ในวันที่นึกได้)
  • ใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น ใช้ถุงยางอนามัย หรืองดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะได้รับประทานยาเม็ดฮอร์โมนต่อเนื่องแล้วอย่างน้อย  7 วัน
  • หากลืมรับประทานยาในช่วงเม็ดที่  15 - 21 ของแผง ให้รับประทานยาเม็ดที่มีฮอร์โมนในแผงเดิมให้หมด แล้วเริ่มรับประทานยาเม็ดที่มีฮอร์โมนแผงใหม่ในวันรุ่งขึ้น สำหรับยาคุมแบบ 28 เม็ด ไม่ต้องรับประทานเม็ดที่ไม่มีฮอร์โมนในแผงเดิม หากไม่สามารถเริ่มรับประทานยาแผงใหม่ได้ทันที ให้ใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น ใช้ถุงยางอนามัย หรืองดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรับประทานยาเม็ดฮอร์โมนคุมกำเนิดต่อเนื่องแล้วอย่างน้อย  7 วัน
  • หากลืมรับประทานยาในช่วงเม็ดที่  1 - 7 ของแผง แล้วมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันใน 5 วันที่ผ่านมา ควรใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินหลังมีเพศสัมพันธ์ร่วมด้วย
  • หากมีการอาเจียนหรือท้องร่วงรุนแรงหลายครั้ง ให้รับประทานยาคุมต่อไปแต่ต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น ใช้ถุงยางอนามัย หรืองดมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างนั้น หลังจากอาการดังกล่าวหายแล้ว ให้คุมกำเนิดต่อไปอีก 1 สัปดาห์
ถ้าต้องการฉีดยาคุมกำเนิดเพื่อคุมกำเนิด ออกฤทธิ์อย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ และจะไม่ตั้งครรภ์ 100% หรือไม่

การฉีดยาคุมกำเนิดเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ แต่ไม่สามารถป้องกันได้ 100% อาจป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 70-80% โดยยาฉีดคุมกำเนิดจะออกฤทธิ์ได้นานกว่ายาเม็ดคุมกำเนิดโดยยาจะไปทำให้ไข่ไม่ตก และเมือกปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น ทำให้อสุจิเดินทางไปผสมกับไข่ได้ลำบากขึ้น นอกจากนี้ ยาคุมกำเนิดจะทำให้การฝังตัวของไข่ที่ผสมกับอสุจิแล้วที่ผนังมดลูกยากขึ้น ดังนั้น ควรใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยหากมีเพศสัมพันธ์

ศูนย์ฯ 23 รับฝากครรภ์วันไหน ต้องเตรียมอะไรมาบ้าง และต้องพาสามีมาด้วยไหม

ศูนย์ฯ 23 รับฝากครรภ์ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00 น.-15.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ การมาฝากครรภ์ให้นำบัตรประชาชนมาด้วยทุกครั้งเพื่อทำบัตร และต้องพาสามีมาด้วยเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก

ถ้าซื้อที่ตรวจครรภ์และตรวจแล้วว่าตั้งครรภ์ สามารถมาฝากครรภ์ได้ไหม

การฝากครรภ์ที่ศูนย์ฯ 23 ต้องมาตรวจยืนยันการอีกครั้งหากพบว่าตั้งครรภ์จริง จึงจะสามารถฝากครรภ์ที่ศูนย์ฯ 23 ได้ 

ฝากครรภ์ที่ศูนย์ฯ เสียค่าใช้จ่ายเท่าไร

กรณีคนไทย สามารถรับบริการฝากครรภ์ฟรี

กรณีคนต่างด้าว

  • ต้องชำระค่าใช้จ่าย โดยมีค่าบริการ 100 บาท 
  • ค่าตรวจการตั้งครรภ์ครั้งแรก 70 บาท
  • ค่าบริการฝากครรภ์และค่าตรวจเลือดประมาณ 900 บาท
  • ค่ายาประมาณ  90 บาท
ก่อนมาเจาะเลือดเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการ สามารถรับประทานยาโรคเรื้อรังที่เป็นรับประทานเป็นประจำอยู่ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ได้หรือไม่

หากผู้รับบริการมีโรคประจำตัวเป็นโรคเรื้อรังอยู่ ก่อนมาเจาะเลือดเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการ ให้งดอาหารก่อนตรวจ 8-12 ชั่วโมง สามารถรับประทานยาและน้ำเล็กน้อยได้ เพื่อให้สามารถควบคุมอาการของผู้ป่วย ซึ่งจะไม่ส่งผลต่อผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแต่อย่างใด

หากรับประทานอาหารเสริมวิตามินอยู่ จะมีผลอย่างไรต่อผลการเจาะเลือดทางห้องปฏิบัติการหรือไม่

หากรับประทานอาหารเสริมที่มีวิตามินบางอย่าง เช่น วิตามินซี อาจส่งผลต่อผลการเจาะเลือดทางห้องปฏิบัติการได้ ซึ่งอาจส่งผลบวกลวง ทำให้การวินิจฉัยแปลผลของแพทย์ผิดพลาดได้

ครอบครัวเป็นโรคหอบหืด ซึ่งแม่กับลูกได้รับยาชนิดเดียวกัน แต่ทำไมขนาดยาของลูกถึงได้รับขนาดที่มากกว่าแม่

ขนาดยาในเด็กโดยปกติจะใช้ในขนาดที่ต่ำกว่าผู้ใหญ่ แต่ไม่จำเป็นว่าขนาดยาในเด็กทุกชนิดต้องเป็นขนาดยาที่น้อยกว่าผู้ใหญ่เสมอไป เนื่องจาก ยาบางชนิดการออกฤทธิ์ต้องมีการเผาผลาญ (metabolite) ก่อน ทำให้ยาอยู่ในรูปที่ออกฤทธิ์ ซึ่งในเด็กจะมีการเผาผลาญ (metabolite) ที่สูงกว่าในผู้ใหญ่ หากให้ยาในขนาดที่ต่ำ ปริมาณยาจะไม่เพียงพอต่อการออกฤทธิ์รักษา จึงจำเป็นที่ต้องใช้ยาในขนาดที่สูงกว่าผู้ใหญ่ 

อาการอย่างไรจึงเรียกว่าโรคซึมเศร้า
  1. ไม่สดชื่น ไม่สนุก หดหู่ เศร้าหมอง เบื่อหน่าย ท้อแท้ หงุดหงิดอ่อนไหวต่อคำพูด

                            2. ไม่มีสมาธิทำงาน มองโลกในแง่ร้าย ขาดความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า อยากทำร้ายตัวเอง ไม่อยากมีชีวิตอยู่

                            3. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เคลื่อนไหวช้า ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อ หลับไม่สนิท ไม่สนใจทำกิจกรรมที่ชอบ

เมื่อป่วยเป็นโรคซึมเศร้าต้องปฏิบัติตนอย่างไร

1. ไม่ปล่อยเวลาให้ว่าง กำหนดกิจกรรมที่ชอบและเคยทำในแต่ละวัน เพื่อลดอาการเบื่อหน่าย และอารมณ์เศร้า          

2. หลีกเลี่ยงการพูดคุยเกี่ยวกับความคิดทางลบ หรือความรู้สึกที่จะทำให้เกิดอารมณ์เศร้า ให้คิดถึงเหตุการณ์ที่มีความประทับใจ หรือมีความสุข และหาโอกาสที่จะให้เหตุการณ์ดีๆ เกิดขึ้นอีก          

3. อย่าตัดสินใจเรื่องสำคัญต่อชีวิตในขณะที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า เช่น การลาออกจากงาน การอย่าร้างควร ปรึกษา คนใกล้ชิดก่อนตัดสินใจ

4. การออกกำลังกายช่วยให้จิตใจคลายเศร้า อารมณ์แจ่มใส ควรออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่น เพื่อช่วยในการเข้าสังคม จะทำให้ไม่เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว

                   5. กรณีอาการเศร้าไม่ดีขึ้น และมีอาการนานเกิน 2 สัปดาห์ ขึ้นไปควรพบแพทย์เพื่อรับการช่วยเหลือ เพื่อป้องกันปัญหาการทำร้าย                      ตนเอง

ต้องการให้พยาบาลมาเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านต้องทำอย่างไร? จำกัดสิทธิหรือไม่

การเข้าไปดูแลที่บ้านไม่จำกัดสิทธิในการรักษา แต่ต้องอยู่ในพื้นที่เขตบางรัก หากอยู่นอกเขตศูนย์ฯ  จะประสานงานในการส่งต่อตามพื้นที่ ช่องทางที่ศูนย์ฯจะทราบข้อมูลผู้ป่วย มีดังนี้

  1. ระบบ BMA home ward referral system ของกองการพยาบาลสาธารณสุข
  2. ข้อมูลการรับผู้ป่วยของ สปสช.
  3. ได้รับแจ้งจาก รพ.
  4. ได้รับแจ้งจากอาสาสมัครสาธารณสุข
  5. ญาติผู้ป่วยมาแจ้งด้วยตนเองที่ศูนย์ฯ หรือทางโทรศัพท์ โดยพยาบาลครอบครัวจะโทรศัพท์นัดหมายก่อนเข้าเยี่ยม 
  6. ครอบครัวผู้ป่วยควรเตรียมประวัติการรักษา ยา บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง
Page 1 of 1