คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
การให้บริการศูนย์ฯ 22 วัดปากบ่อ มี 2 กรณี
1.1 กรณีผู้ป่วยรายใหม่ กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มผู้ป่วย (ประวัติ-ชื่อสกุล-ที่อยู่) เสร็จแล้วหนีบเอกสาร
บัตรประชาชน แบบฟอร์มผู้ป่วย และบัตรคิวผู้ป่วย ทั้งหมดใส่กล่องรับบัตรคิว แล้วรอเรียกซักประวัติ อาการและเซ็นชื่อยินยอมรับการรักษา
1.2 กรณีบัตรเก่า นำบัตรผู้ป่วยหนีบพร้อมบัตรคิว วางใส่กล่องรับบัตรคิว รอเรียกซักประวัติอาการ และเซ็นยินยอมรับการรักษา
คำถามที่พบบ่อย งานเวชระเบียน
2.1 บริการขอใบรับรองแพทย์ ถ้าเป็นกรณีไม่เคยมาใช้บริการที่ ศูนย์ฯ 22 วัดปากบ่อ ต้องทำประวัติผู้ป่วย (เวชระเบียนผู้ป่วย) กรณีเคยมารับบริการ ให้ยื่นบัตรผู้ป่วยพร้อมบัตรประชาชน
2.2 ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และตรวจสารเสพติด
2.3 พบแพทย์
2.4ชำระเงิน (150 บาท)
2.5 รับใบรับรองแพทย์ และกลับบ้านได้
คำถามที่พบบ่อย งานเวชระเบียน
คนไทยทุกคนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลจากรัฐบาล 3 ระบบใหญ่ๆ ได้แก่
2.1สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ
2.2สิทธิประกันสังคม
2.3สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)
คำถามที่พบบ่อย งานเวชระเบียน
ตรวจสอบสิทธิบัตรทองโดย โทร 1330 หรือศูนย์บริการสาธารณสุข ทุกแห่งของกรุงเทพมหานคร
โดยบอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน
คำถามที่พบบ่อย งานเวชระเบียน
หากท่านใช้สิทธิบัตรทอง ควรปฏิบัติ ดังนี้
1.1ไปใช้สิทธิสถานพยาบาลที่ได้เลือกลำดับที่ 1 และปฏิบัติตามขั้นตอนของสถานพยาบาลนั้นๆ
1.2นำบัตรประจำตัวประชาชน แสดงทุกครั้งเมื่อรับบริการที่
สถานบริการรักษาพยาบาล
1.3 ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้การรักษา เช่น การมาตรวจ
คำถามที่พบบ่อย งานเวชระเบียน
วัน / เวลา | 8.00 - 12.00 น. | 13.00 – 16.00 น. |
จันทร์ | ตรวจโรคทั่วไป ทันตกรรม | คลินิกฝากครรภ์ |
อังคาร | ตรวจโรคทั่วไป ทันตกรรม | คลินิกสุขภาพเด็กดี |
เจาะเลือดตรวจสุขภาพ | ||
พุธ | ตรวจโรคทั่วไป ทันตกรรม | คลินิกสุขภาพสตรี คลินิกครอบครัวสมานฺฉันท์ |
คลินิกวางแผนครอบครัว คลินิกวัยทอง | ||
พฤหัสบดี | ตรวจโรคทั่วไป ทันตกรรม | ประชุมวิชาการ |
ศุกร์ | ตรวจโรคทั่วไป ทันตกรรม | ประชุมวิชาการ |
คลินิกวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ | ||
จันทร์ - ศุกร์ 08.00 - 16.00 น. | คลินิกวัณโรค คลินิกยาเสพติด งานสังคมสงเคราะห์ | |
จันทร์ - ศุกร์ 16.00 - 20.00 น. | คลินิกนอกเวลาราชการ ตรวจโรคทั่วไป ทันตกรรม | |
เว้นวันหยุดราชการ |
235 ซอยอ่อนนุช 35 ถนนอ่อนนุช แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
ซอยเดียวกับวัดปากบ่อ
การเดินทาง
1.รถเมย์สาย 1013 และ ปอ. 519 ( ค่าบริการคิดตามระยะทาง )
2.สองแถว เบอร์ 1 – 7 ยกเว้นเบอร์ 3 ( ค่าบริการ 7 บาทตลอดสาย )
3.เรือ : ตลาดเอี่ยมสมบัติ ⇒ วัดปากบ่อ
พระโขนง ⇒ วัดปากบ่อ
4.วินมอเตอร์ไซด์
ตลาดเอี่ยมสมบัตื ⇒ ศูนย์ฯ 22 วัดปากบ่อ ( ค่าบริการประมาณ 30 บาท )
บิกซี อ่อนนุช ⇒ ศูนย์ฯ 22 วัดปากบ่อ ( ค่าบริการประมาณ 50 บาท )
5.TAXI ( ค่าบริการตามระยะทาง )
คำถามที่พบบ่อย งานเวชระเบียน
ผู้ป่วยต้องนำบัตรประชาชนไปติดต่อที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพตามทะเบียนบ้านที่ผู้พักอาศัย
จะมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ
คำถามที่พบบ่อย งานเวชระเบียน
ได้ค่ะ แต่ผู้ป่วยต้องชำระค่าบริการเอง
คำถามที่พบบ่อย งานเวชระเบียน
ได้ค่ะ แต่ผู้ป่วยต้องชำระค่าบริการเอง
คำถามที่พบบ่อย งานเวชระเบียน
เอกสารที่ต้องนำมาด้วย (กรณีไม่เคยรักษาที่ ศ.22)
1.1บัตรประจำตัวประชาชน
1.2นำประวัติการรักษาจาก สถานบริการเดิม พร้อมกับนำยาที่
รับประทานอยู่ มาให้แพทย์ดูเพื่อประกอบเขียนใบส่งตัว
เวลาออกใบส่งตัว ระหว่างเวลา 8.00 – 12.00 น. และ เวลา 16.00 – 20.00 น.
(13.00 – 16.00 น. เป็นการให้บริการส่งเสริมสุขภาพไม่ออกใบส่งตัว)
คำถามที่พบบ่อย งานจุดคัดกรองและผู้ป่วยนอก
ได้ค่ะ แต่แนะนำให้มาตรงตามนัด เนื่องจากในการนัดหมายแต่ละครั้ง ก็มีความหมาย ต่อการวางแผนให้บริการที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม เช่น การตรวจจอประสาทตา, การตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน เป็นต้น และการมาไม่ตรงนัดมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะขาดยา เพราะการนัดหมายแต่ละครั้งจะมีการคำนวณยาให้พอดีกับวันนัด
คำถามที่พบบ่อย งานจุดคัดกรองและผู้ป่วยนอก
เนื่องจากผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เช่นโรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง) ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาต่อเนื่องระยะยาว เพื่อความสะดวกของตัวผู้ป่วยเองในการรักษาใกล้บ้าน ซึ่งปัจจุบันหน่วยปฐมภูมิมีศักยภาพในการรักษา ใกล้เคียงกับ รพ. เพื่อเป็นการลดความแออัดของ รพ. สปสช.จึงมีนโยบาย ให้ผู้รับบริการที่ใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพฯ รักษาที่หน่วยปฐมภูมิเป็นอันดับแรก ยกเว้นกรณีที่ต้องมีการตรวจพิเศษ หรือมีอาการที่ซับซ้อน ต้องการการดูแลจากแพทย์เฉพาะ หน่วยปฐมภูมิจะส่งตัวไปรักษาต่อที่ รพ.ตามสิทธิ
คำถามที่พบบ่อย งานจุดคัดกรองและผู้ป่วยนอก
ได้ค่ะ ขั้นตอนเหมือนมาพบแพทย์ทุกครั้งและต้องนำสมุดประจำตัวที่ให้คนไข้ นำมาด้วย
คำถามที่พบบ่อย งานจุดคัดกรองและผู้ป่วยนอก
ไม่ได้ค่ะ ศูนย์ฯ 22 ให้บริการด้านการพยาบาล เช่น ทำแผล ฉีดยา วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 - 12.00 น.และเวลา 16.00 – 20.00 น. หยุดเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
คำถามที่พบบ่อย งานปฏิบัติการพยาบาล
สามารถรับบริการได้ แต่ต้องรอเจ้าหน้าที่ สืบค้นประวัติการฉีดยาใน OPD Card ซึ่งอาจทำให้เกิดความล่าช้า ดังนั้นแนะนำให้นำใบนัดมาด้วยทุกครั้ง
คำถามที่พบบ่อย งานปฏิบัติการพยาบาล
กรณีฉุกเฉิน มาล้างแผล และปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย
คำถามที่พบบ่อย งานปฏิบัติการพยาบาล
4.1 วันแรกที่โดนสุนัขกัด แพทย์จะ สั่งฉีดวัคซีนป้องกัน
พิษสุนัขบ้า, วัคซีนป้องกันบาดทะยัก กรณีบัตรทอง
ในกทม.บัตรทองต่างจังหวัดไม่เสียค่าใช้จ่ายทุกเข็ม
กรณี สิทธิข้าราชการ บัตรประกันสังคม ต้องจ่ายเงิน
แล้วนำไปเบิกต้นสังกัด
4.2 กรณีล้างแผลที่ถูกสุนัขกัด ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในวันแรก แต่
วันต่อมาต้องเสียค่าล้างแผลตามลักษณะบาดแผล
4.3 ค่าบริการทางการแพทย์ ไม่เสียค่าบริการ 50 บาท ในครั้งแรก ครั้งต่อไปถ้าแพทย์ไม่ได้สั่งฉีดยาพิษสุนัขบ้า เสียค่าบริการ 50 บาท
คำถามที่พบบ่อย งานปฏิบัติการพยาบาล
ศูนย์ฯ 22 มีบริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และสำหรับผู้ป่วยที่มี่โรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ดังนี้ โรคหอบหืด, ปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคหัวใจ, โรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด, หลอดเลือดสมอง, ไตวาย และโรคเบาหวาน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ไม่มีบริการสำหรับบุคคลทั่วไป
คำถามที่พบบ่อย งานปฏิบัติการพยาบาล
งดอาหารและเครื่องดื่ม ก่อนเจาะเลือด 10 - 12 ชั่วโมง แต่สามารถจิบน้ำเปล่าได้ เล็กน้อย
คำถามที่พบบ่อย งานปฏิบัติการพยาบาล
ศูนย์ฯ 22 มีให้บริการตรวจเลือดเฉพาะทุกวันอังคาร เวลา 8.00 - 10.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และติดกับวันหยุดต่อเนื่อง แนะนำผู้ป่วยควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และสั่งตรวจเลือดและคำแนะนำก่อนตรวจเลือดก่อน
คำถามที่พบบ่อย งานปฏิบัติการพยาบาล
ค่าบริการเจาะเลือดแต่ละรายการราคาไม่เท่ากัน ซึ่งราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 50 – 2,000 บาท
คำถามที่พบบ่อย งานปฏิบัติการพยาบาล
ได้ค่ะ แต่ต้องมีใบนัดฉีดยาและเอกสารกำกับยาค่ะ
คำถามที่พบบ่อย งานปฏิบัติการพยาบาล
มีค่ะ แต่ผู้ป่วยต้องนำสายให้อาหาร มาเอง ที่ศูนย์ฯไม่มีสายให้อาหารให้บริการผู้ป่วย
คำถามที่พบบ่อย งานปฏิบัติการพยาบาล
ได้ค่ะ แต่ต้องพบแพทย์ก่อนทุกครั้งเนื่องจากรายการเจาะเลือดบางรายการที่ศูนย์ฯไม่มีบริการตรวจ
คำถามที่พบบ่อย งานปฏิบัติการพยาบาล
ได้ค่ะ แต่ต้องนำใบฉีดวัคซีนมาด้วย
กรณีบัตรทอง
ในกทม.บัตรทองต่างจังหวัดไม่เสียค่าใช้จ่ายทุกเข็ม
กรณีสิทธิข้าราชการ บัตรประกันสังคม ต้องจ่ายเงิน แล้วนำไปเบิกต้นสังกัด
คำถามที่พบบ่อย งานปฏิบัติการพยาบาล
ศูนย์ฯ 22 มีให้บริการตรวจเลือดเฉพาะทุกวันอังคาร
เวลา 8.00 - 10.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และติดกับวันหยุดต่อเนื่อง
และต้องนำใบนัดเจาะเลือดมาด้วยและงดอาหารหลัง 4 ทุ่ม งดน้ำหลังเที่ยงคืน
คำถามที่พบบ่อย งานปฏิบัติการพยาบาล
1.1 ศูนย์ฯ 22 ไม่ได้ขายยาให้คนไข้ เนื่องจากคนไข้ต้องพบแพทย์เพื่อให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น
1.2 แต่สามารถซื้อยาสามัญตามรายการยาที่ติดอยู่ด้านหน้าห้องยาได้
คำถามที่พบบ่อย งานเภสัชกรรม
ได้ค่ะ เนื่องจากที่ศูนย์ฯ มีเภสัชกรประจำ โดยเภสัชกร จะดูชื่อยาที่แผงยาที่คนไข้นำมาถามก่อน ถ้ามียาชนิดเดียวกัน แต่แผงยาไม่เหมือนกันเนื่องจากเป็นยาคนละบริษัทแต่ตัวยาเดียวกัน ก็จะอธิบายให้คนไข้เข้าใจ
คำถามที่พบบ่อย งานเภสัชกรรม
ไม่จริงค่ะ คือ แนวทางการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยทั่วไปทุกราย จะกำหนดเป็นการใช้ยาชื่อสามัญ หรือนิยมเรียกว่ายาในประเทศ เป็นยาขนานแรกก่อนเสมอ
คำถามที่พบบ่อย งานเภสัชกรรม
ได้รับการรักษาค่ะแต่จะได้รับยาแค่ 10 วัน แล้วนัดใหม่มาให้ตรงคลินิกเบาหวานวันพุธและวันศุกร์
คำถามที่พบบ่อย งานเภสัชกรรม
มาก่อนนัดได้ค่ะ แต่กรณีผู้ป่วยสิทธิบัตรทองที่ศูนย์ฯ ทำยาหายต้องชำระเงินค่ายา
คำถามที่พบบ่อย งานเภสัชกรรม
ส่วนใหญ่ฉีดแล้วจะมีไข้ ถ้ามีไข้ควรเช็ดตัวลดไข้ ถ้าไข้ไม่ลดลงให้ยาลดไข้ตามแพทย์สั่ง
คำถามที่พบบ่อย งานฉีดวัคซีนสุขภาพเด็กดี
ส่วนใหญ่ฉีดแล้วจะมีไข้ ถ้ามีไข้ควรเช็ดตัวลดไข้ ถ้าไข้ไม่ลดลงให้ยาลดไข้ตามแพทย์สั่ง
คำถามที่พบบ่อย งานฉีดวัคซีนสุขภาพเด็กดี
หลังฉีดยาหากมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน ควรประคบเย็นบริเวณที่ฉีดยา และถ้าอาการปวดไม่ดีขึ้น ให้ทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์ และให้แจ้งพยาบาลทราบเมื่อมารับบริการครั้งถัดไป
คำถามที่พบบ่อย งานฉีดวัคซีนสุขภาพเด็กดี
ฉีดวัคซีนเด็กทุกวันอังคาร เว้นวันหยุดราชการ เวลา 13.00 – 16.00 น. ฟรีทุกสิทธิ์การรักษา ยกเว้น กรณี มียาวิตามินบำรุงในเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตฐานจะมีค่าย ต่างด้าว จะเสียเงิน ค่าบริการ 50 บาท / ค่าฉีดยา 30 บาท และค่ายาตามแพทย์สั่ง
คำถามที่พบบ่อย งานฉีดวัคซีนสุขภาพเด็กดี
ไม่เปิดให้บริการค่ะ
เปิดให้บริการเฉพาะวันอังคาร เวลา 13.00 – 16.00 น. เว้นวันหยุดราชการ
คำถามที่พบบ่อย งานฉีดวัคซีนสุขภาพเด็กดี
ได้ค่ะ แต่ต้องนำสมุดประจำตัววัคซีนเด็กและสูติบัตรเด็ก มาด้วย
คำถามที่พบบ่อย งานฉีดวัคซีนสุขภาพเด็กดี
ได้ค่ะ ชาวต่างชาติ จะเสียเงิน ค่าบริการ 50 บาท / ค่าฉีดยา 30 บาท และค่ายาตามแพทย์สั่ง
คำถามที่พบบ่อย งานฉีดวัคซีนสุขภาพเด็กดี
ศูนย์ฯ 22 รับฝากครรภ์ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ การมาฝากครรภ์ให้นำบัตรประชาชนมาด้วยทุกครั้ง เพื่อทำบัตร และต้องพาสามีมาด้วยในการฝากครรภ์ครั้งแรก
คำถามที่พบบ่อย งานคลินิกฝากครรภ์
ได้ค่ะ แต่การฝากครรภ์ที่ศูนย์ฯ 22 ต้องมาตรวจตั้งครรภ์อีกครั้งเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์โดยการตรวจปัสสาวะว่ามีการตั้งครรภ์ แล้วทางศูนย์ฯจะออกใบรับรองการตรวจครรภ์พร้อมกับเสียค่าตรวจ 120 บาท
คำถามที่พบบ่อย งานคลินิกฝากครรภ์
ไม่ได้ค่ะ ที่ศูนย์ฯ 22 ไม่มีบริการทำคลอด ศูนย์ฯ 22รับฝากครรภ์ จนถึงอายุครรภ์ 28 – 30 สัปดาห์ คุณแม่จะได้รับการส่งตัวไป รพ. ที่ต้องการเพื่อการดูแลก่อนคลอด
คำถามที่พบบ่อย งานคลินิกฝากครรภ์
1.1 ศูนย์ฯ 22 ให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกในวัน
พุธ เวลา 13.00 – 16.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
1.2 การเตรียมตัวมาตรวจมะเร็งปากมดลูก
- หลังหมดประจำเดือน 5 วัน นับจากวันสุดท้ายของ
การหมดประจำเดือน
- ห้ามสวนล้างช่องคลอด 1 – 2 วันก่อนตรวจ
- ห้ามเหน็บยาที่ช่องคลอด 1 – 2 วันก่อนตรวจ
- งดการมีเพศสัมพันธ์ 1 วันก่อนมาตรวจ
- ใส่กระโปรงหรือเตรียมผ้าถุงมาด้วย จะสะดวกต่อการตรวจ
คำถามที่พบบ่อย งานวางแผนครอบครัวและตรวจหลังคลอด
ไม่เสียเงินค่าใช้จ่าย
คำถามที่พบบ่อย งานวางแผนครอบครัวและตรวจหลังคลอด
วันพุธ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ไม่เสียค่าใช้จ่ายค่ะ
คำถามที่พบบ่อย งานวางแผนครอบครัวและตรวจหลังคลอด
ได้ แต่เสียค่าบริการ 50 บาท
กรณีใช้ยาคุมชนิดฉีด ค่าฉีดยา 30 บาท ค่ายา 13 บาท
กรณีใช้ยาคุมชนิดเม็ด ค่ายา แผงละ 9 บาท
คำถามที่พบบ่อย งานวางแผนครอบครัวและตรวจหลังคลอด
มีค่ะ แต่แนะนำให้ผู้มารับบริการเข้ามารับการตรวจประเมินเบื้องต้นก่อน ทันตแพทย์จะทำการประเมินความยากง่ายรวมถึงจะแนะนำให้ผู้มารับบริการถ่ายภาพรังสีเพิ่มเติม ถ้าสามารถให้การรักษาได้ จะทำการนัดให้มารับรักษาต่อไป
คำถามที่พบบ่อย งานทันตกรรม
บริการที่ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มีบัตรทอง ศูนย์ฯ 22 มีดังนี้ ตรวจฟัน อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย รักษาโรคเหงือก ถอนฟัน ผ่าฟันคุดที่ไม่ซับซ้อน บริการฉุกเฉินได้ทุกกรณี (กรณีปวดจากรากฟัน จะทำการบำบัดระงับอาการปวด ก่อนส่งต่อ ร.พ.)
คำถามที่พบบ่อย งานทันตกรรม
อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ราคาเริ่มต้น 250 – 650 บาท
คำถามที่พบบ่อย งานทันตกรรม
รอบเช้า จำนวนไม่เกิน 8 คน และ รอบเย็น จำนวนไม่เกิน 15 คน
คำถามที่พบบ่อย งานทันตกรรม
กลุ่มเป้าหมายในงานสังคมสงเคราะห์ได้แก่
- เด็กอายุ 0 - 1 ปี, เด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี
- สตรีมีครรภ์
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง, เป็นโรคเรื้อรัง/รุนแรง/ติดเชื้อ, ขาดสารอาหาร
- คนพิการ
- ผู้ด้อยโอกาส
- ผู้ติดสารเสพติด/ผู้ป่วย+ผู้ติดเชื้อHIV/เอดส์
* ซึ่งมีปัญหาทางด้านโภชนาการ/ปัญหาเศรษฐกิจ *
คำถามที่พบบ่อย งานสังคมสงเคราะห์
ทางศูนย์ฯ 22 สามารถออกเอกสารรับรองความพิการได้ประเภทที่ 3 ทางการเคลื่อนไหวเท่านั้น
คำถามที่พบบ่อย งานสังคมสงเคราะห์
การฉีดวัคซีนในเด็กนักเรียน เช่น คอตีบ-บาดทะยัก (Td), หัด (MR), มะเร็งปากมดลูก (HPV) เด็กทุกคนที่จะได้รับวัคซีนต้องมีสุขภาพดี ไม่มีไข้ และผู้ปกครองให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร * ไม่มีค่าใช้จ่าย*
คำถามที่พบบ่อย งานอนามัยโรงเรียน
เด็กนักเรียนต่างด้าวสามารถฉีดวัคซีนได้ * ไม่มีค่าใช้จ่าย*
คำถามที่พบบ่อย งานอนามัยโรงเรียน
ป่วยได้ค่ะ แต่อาการจะไม่รุนแรงเท่ากับบุคคลที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน
คำถามที่พบบ่อย งานอนามัยโรงเรียน
ฉีดเฉพาะในเด็กนักเรียนหญิงชั้น ป.5
อายุระหว่าง 9 - 14 ปี ร.ร.ทุกสังกัด * ไม่มีค่าใช้จ่าย*
คำถามที่พบบ่อย งานอนามัยโรงเรียน
1.1 ไม่สดชื่น ไม่สนุก หดหู่ เศร้าหมอง เบื่อหน่าย ท้อแท้
หงุดหงิดอ่อนไหวต่อคำพูด
1.2 ไม่มีสมาธิทำงาน มองโลกในแง่ร้าย ขาดความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า อยากทำร้ายตัวเอง ไม่อยากมีชีวิตอยู่
1.3 อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เคลื่อนไหวช้า ปวดศีรษะและ
กล้ามเนื้อหลับไม่สนิท ไม่สนใจทำกิจกรรมที่ชอบ
คำถามที่พบบ่อย งานสุขภาพจิต
ไม่ได้ ผู้ป่วยต้องรับการตรวจประเมินจากแพทย์ก่อน เมื่อแพทย์ วินิจฉัยว่าสมควรได้รับการกายภาพเพื่อบำบัด จึงจะนัดเข้าคลินิก
คำถามที่พบบ่อย งานกายภาพบำบัด
ผู้ป่วย 1 คน ทำกายภาพฯ ได้ไม่เกิน 3 รอบการรักษา
(รอบละ 10 ครั้ง) จากนั้นส่งต่อแพทย์เพื่อประเมินอาการ
อีกครั้ง หากผู้ป่วยมีอาการไม่ดีขึ้นแพทย์จะพิจารณาส่งต่อ
ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ร.พ. ต่อไป
คำถามที่พบบ่อย งานกายภาพบำบัด
3.1 ผู้ป่วยมะเร็ง/เนื้องอก
3.2 ผู้ป่วยที่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
3.3 ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดอุดตัน และยังไม่ได้รับการรักษา
3.4 ผู้ป่วยที่บกพร่องหรือสูญเสียความรู้สึก
3.5 ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในบริเวณที่ต้องรักษา
3.6 ผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารได้
คำถามที่พบบ่อย งานกายภาพบำบัด
การเข้าไปดูแลที่บ้านไม่จำกัดสิทธิในการรักษา แต่ต้องอยู่ในพื้นทีแขวงประเวศ เขตประเวศ หากอยู่นอกเขตศูนย์ฯ จะประสานงานในการส่งต่อตามพื้นที่
คำถาม-คำตอบ งานอนามัยชุมชน
ผู้ที่ดูแลผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่บ้าน หรือ ใครบางคนที่ให้การดูแลญาติหรือเพื่อนที่เจ็บป่วย หรือทุพพลภาพ โดยผ่านการอบรมจากสถาบันที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง
คำถาม-คำตอบ งานอนามัยชุมชน
อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสส. หมายถึง บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย และต้องผ่านการอบรมภาคบังคับตามหลักสูตรที่สำนักอนามัยกำหนด และสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน ตามความรู้และบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติ
7.1 อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
7.2 พักอาศัยอยู่เป็นประจำในชุมชนที่ประสงค์จะเป็น อสส ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
7.3 มีความรู้ ความสามารถอ่านออกเขียนได้
7.4 สมัครใจ และเสียสละเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานสาธารณสุข
7.5 ประสงค์จะเข้าร่วม หรือเคยเข้าร่วมการดำเนินงานสาธารณสุขและต้องการพัฒนา
ชุมชนของตนเอง
7.6 มีความประพฤติอยู่ในกรอบของศีลธรรมอันดีงาม ประชาชนในชุมชนให้การยอมรับ
นับถือ
7.7 มีสุขภาพดี ทั้งกาย และใจ และมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพที่เป็นแบบอย่าง
7.8 มีเวลาให้กับการทำงาน ในบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร
คำถาม-คำตอบ งานอนามัยชุมชน
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นโรคที่เกิดจากการตายของเซลล์สมองทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลง เริ่มจากความจำแย่ลง หลงลืม จนมีผลกระทบต่อชีวิต ประจำวันทำให้พฤติกรรม บุคลิกภาพ และอารมเปลี่ยนไป
การป้องกัน
- การฝึกบริหารสมอง
- การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหาร
ไขมันสูง
- การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การมีกิจกรรมทางกายให้เกิดการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ
- ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น
- จัดการความเครียด และอาการเศร้าหมอง เช่น นั่งสมาธิ ฝึกหายใจ ฟังเพลง เป็นต้น
คำถาม-คำตอบ งานอนามัยชุมชน
โรคเข่าเสื่อมมักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่วนอื่นๆ ของเข่า
การป้องกันโดยปฏิบัติ ดังนี้
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน
- ไม่ควรนั่งในท่างอเข่า เช่น พับเพียบ ขัดสมาธิ คุกเข่า นั่งยองๆ เป็นต้น ควรนั่งบนเก้าอี้ห้อยขา หรือนั่งขาเหยียดตรง ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่า เช่น ยกของหนักเกินกำลัง หรือเดินขึ้น-ลงบันได บ่อยๆ
- ควรฝึกบริหารข้อเข่าเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบเข่าแข็งแรง
คำถาม-คำตอบ งานอนามัยชุมชน
- ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
- โรงพยาบาลสังกัด กรุงเทพมหานคร
- สถานตรวจโรคปอดกรุงเทพฯ บางโคล่ กระทรวงสาธารณสุข
- โรงพยาบาลประสานมิตร ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร
- โรคพยาบาลภาครัฐ และเอกชนทุกแห่ง
- โทรสอบถามที่กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทร 02 860 8751-6 ต่อ 504-505
คำถามที่พบบ่อย งานคลินิกวัณโรค
- ไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ ไอแห้งๆ ไอมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย
- มีไข้ต่ำๆตอนบ่ายหรือตอนค่ำ
- อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- มีเหงื่อออกมากผิดปกติ ตอนกลางคืน
คำถามที่พบบ่อย งานคลินิกวัณโรค
ได้ค่ะ ที่ศูนย์ฯ 22 มีคลินิกวัณโรคที่มีแพทย์เฉพาะทาง ทุกวันพุธ เวลา 8.00 – 10.00 น.
คำถามที่พบบ่อย งานคลินิกวัณโรค
ได้ค่ะ
ศูนย์ฯ 22 เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา
08.00 – 20.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
คำถามที่พบบ่อย งานคลินิกวัณโรค
ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ เวลา 8.00 – 12.00 น.
คำถามที่พบบ่อย งานคลินิกยาเสพติด
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทุกสิทธิ์การรักษา
คำถามที่พบบ่อย งานคลินิกยาเสพติด
รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 3 ใบ และ บัตรประชาชน
คำถามที่พบบ่อย งานคลินิกยาเสพติด
การให้ข้อแนะนำมีช่องทางหลายช่องทาง เช่น
1.1 *แจ้ง จนท.ให้ทราบได้ทันที*
1.2 หย่อนใส่ตู้แสดงความคิดเห็น
1.3 ทางโทรศัพท์ เบอร์ 02-349-1816-7
ถึงหัวหน้าพยาบาล ต่อ 405 , ถึงผู้อำนวยการฯ ต่อ 401 และ 203
1.4 ทางเวปไซต์ http://www.bangkok.go.th/healthcenter22
1.5 หรือ เฟสบุ๊ค : ศูนย์บริการสาธารณสุขยี่สิบสองวัดปากบ่อ
คำถามที่พบบ่อย งานบริการทั่วไป
2.1 กรณีมีปัญหาสุขภาพฉุกเฉิน สามารถเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
- รถพยาบาลฉุกเฉิน ศูนย์เอราวัณ(กทม.) 1646
- รถพยาบาลฉุกเฉิน ศูนย์นเรนทร(ตจว.) 1669
2.2 เบอร์โทร.อื่นๆ
- สายด่วนสุขภาพจิต 1323
- ช่วยเหลือคนไร้ที่อยู่ศูนย์ประชาบดี 1300
- เหตุด่วนเหตุร้าย 191
- ไฟไหม้ 199
- สายด่วน สปสช. 1330
คำถามที่พบบ่อย งานบริการทั่วไป
ผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป)
คำถามที่พบบ่อย ผู้สูงอายุ
1) ซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยแพทย์ เพื่อค้นหาความผิดปกติ
2) ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ
2.1 คัดกรองความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุ
2.2 คัดกรองความบกพร่องทางสายตาโรคต้อกระจก ตรวจวัดสายตา
2.3 ประเมินความซึมเศร้า
2.4 ประเมินความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน
2.5 ประเมินสมรรถภาพสมอง
2.6 ประเมินภาวะโภชนาการ
3) ตรวจเลือดเพื่อคัดกรองภาวะซีด โรคเบาหวาน ระดับไขมันในเลือด และการทำงานของไต
4) การให้คำแนะนำรายบุคคล ตามสภาพปัญหา กับผู้รับบริการหรือบุคคลในครอบครัว
5) ส่งต่อกรณีพบผู้สูงอายุ มีสภาพปํญหา ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง หรือส่งต่อเพื่อได้รับการรักษาตามสิทธิ
คำถามที่พบบ่อย ผู้สูงอายุ