มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ การจัดเก็บภาษี 3 ประเภท ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี และระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการยึด อายัด ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี ซึ่งภาษีทั้งหมด เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครโดยตรง ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของรัฐบาล เพื่อที่จะไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น อันเป็นประโยชน์สุข ของผู้เสียภาษีในกรุงเทพมหานคร และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยส่วนรวมในการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน

    การยื่นแบบและการชำระเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้ายและภาษีบำรุงท้องที่

 

 

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน 

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนที่ให้เช่า ที่ใช้ประกอบกิจการค้าหรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัยโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีโรงเรือนและที่ดิน ดังนี้

1.      ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี

                   ประเภททรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง รวมถึงบริเวณที่ต่อเนื่องโดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกหาผลประโยชน์ตอบแทนหรือให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ เช่น ให้เช่า ใช้เป็นที่ค้าขาย ใช้ประกอบการอุตสาหกรรม รวมทั้งให้ญาติ หรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัย หรือใช้ประกอบกิจการอื่น ๆ เพื่อหารายได้ ให้เจ้าของโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด. ๒) ณ สำนักงานเขต ซึ่งโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น  ตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

2.     อัตราค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน : อัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี

ค่ารายปี หมายถึง จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่ มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช้จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเอง หรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้ โดยคำนึงถึงลักษณะทรัพย์สินขนาด พื้นที่ ทำเล ที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้น ได้รับประโยชน์ 

3.     กำหนดการยื่นแบบภาษีโรงเรือนและที่ดิน 

ให้ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด. 2) ตั้งแต่เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ของทุกปี ณ ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตที่ทรัพย์สินตั้งอยู่

4.     หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นแบบภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด. 2) 

1.       บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน

2.       หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์โรงเรือนและที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน, ใบอนุญาตปลูกสร้าง, หนังสือสัญญาซื้อขายหรือให้โรงเรือนฯ

3.       หลักฐานการประกอบกิจการ เช่น ใบทะเบียนการค้า, ทะเบียนพาณิชย์, ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือใบอนุญาตประกอบกิจการของฝ่ายสิ่งแวดล้อม, สัญญาเช่าอาคาร

4.    หนังสือรับรองนิติบุคคล และงบแสดงฐานะการเงิน (กรณีนิติบุคคล)

5.       ใบมอบอำนาจกรณีให้ผู้อื่นทำการแทน

6.       อื่น ๆ สอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายรายได้ โทร. 0 2565 9412

หมายเหตุ  ให้ผู้รับประเมิน หรือเจ้าของโรงเรือน ถ่ายสำเนาหลักฐาน เอกสารที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นพร้อมลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องกำกับทุกฉบับ มาขอรับแบบยื่นภาษีโรงเรือนและที่ดินได้ที่สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร

 

ภาษีป้าย

ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายโฆษณาสินค้าต่าง ๆ 

1.      ป้ายที่ต้องเสียภาษี

ได้แก่ ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าแสดง หรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

2.      อัตราค่าภาษีป้าย : คำนวณตามพื้นที่ป้าย (กว้าง x ยาว) เป็นตารางเซนติเมตร ตามประเภทป้าย ดังนี้ 

  

ประเภทป้ายอัตรา บาท / 500 ตารางเซนติเมตร
1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน   3 
2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศ/ภาพ/เครื่องหมายอื่น  20 
   
3. ป้ายดังต่อไปนี้
   (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย
   (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
 
 
                40
 
4. ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความภาพ
    หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายได้เสียภาษีป้ายแล้ว
    อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตรา ตาม 1 , 2 หรือ 3 แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น
  
5. ป้ายตาม 1, 2, 3 หรือ 4 เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้อง เสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท  
    




3.      ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบภาษีป้าย

เจ้าของป้ายซึ่งแสดงป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น โดยมีเจตนาเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีใดๆ ก็ตามมีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้าย กรณีที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายได้ ผู้ครอบครองป้าย เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่เป็นที่ติดตั้งป้าย เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ

4.     กำหนดการยื่นแบบ ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีป้าย (ภ.ป. 1) ณ ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตดอนเมือง ดังนี้

•  กรณีป้ายโฆษณาที่ติดตั้งใหม่ ให้ยื่นแบบ (ภ.ป. 1) ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ติดตั้งป้าย 

•  กรณีป้ายที่ชำระค่าภาษีป้ายต่อเนื่องทุกปี ให้ยื่นแบบ (ภ.ป. 1) ได้ตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม ของทุกปี

•  กรณีป้ายที่ชำระค่าภาษีป้ายประจำปีแล้วต้องการเปลี่ยนแปลงป้าย ให้มาแจ้ง ภายใน 15 วัน

•  หากท่านปลดป้ายลงเนื่องจากเลิกกิจการ ให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในเดือนธันวาคมของทุกปี 

5. เอกสารประกอบการยื่นแบบ (ภ.ป. 1)พร้อมลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง 

•  ใบอนุญาตติดตั้งป้าย, ใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย

•  รูปถ่ายป้าย, วัดขนาดความกว้าง x ยาว

•  สำเนาทะเบียนบ้าน

•  บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ

•  เลขประจำตัวผู้เสียภาษี/เลขที่ทะเบียนการค้า (กรณีนิติบุคคล)

•  กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท, ทะเบียนพาณิชย์  หรือหลักฐานของสรรพากร เช่น ภ.พ. 01, ภ.พ. 09, ภ.พ. 20

•  หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย) และ ใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี)


กรณีภาษีป้าย (รายเก่า) ที่ยื่นชำระทุกปี 

          - ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบภาษีป้าย (ภ.ป. 1) พร้อมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีครั้งสุดท้าย

            - กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคล ให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท พร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ป. 1

หมายเหตุ มาขอรับแบบยื่นภาษีป้ายได้ที่สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร 

 

ภาษีบำรุงท้องที่ 

1. ภาษีบำรุงท้องที่ 

คือ ภาษีที่จัดเก็บจากที่ดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัย ทำการเกษตรและที่ดินว่างเปล่า
2. กำหนดการยื่นแบบและชำระภาษี  

ให้เจ้าของที่ดินชำระค่าภาษีในเดือนเมษายนของทุกปี ยกเว้นในปีที่มีการตีราคาปานกลางที่ดินใหม่ ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท. 5) ภายในเดือนมกราคม และชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินใหม่ หรือเจ้าของที่ดินเดิมเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงจำนวนเนื้อที่ดินต้องยื่นแบบฯ หรือแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน

3. ฐานภาษี คือ

          - ราคาปานกลางที่ดินที่คณะกรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งได้กำหนดขึ้น ปกติให้เสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ท้ายพระราชบัญญัติโดยจะกำหนดตามที่ตั้งที่ดิน เช่น ที่ดินติดถนน ตรอก ซอยและอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันราคาปานกลางที่ดินที่ใช้ประเมินภาษีบำรุงท้องที่เป็นราคาที่ใช้ประเมินตั้งแต่ปี 2521 – 2524 โดยราคาต่ำสุด คือ ราคาปานกลางไร่ละ 1,600 บาท อัตราภาษี ไร่ละ 8 บาท และสูงสุด คือราคาปานกลางไร่ละ 9,000,000 บาท อัตราภาษีไร่ละ 22,495 บาท

- ที่ดินที่ใช้ประกอบการกสิกรรมเฉพาะประเภทไม้ล้มลุกให้เสียกึ่งอัตรา แต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบการกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกนั้นด้วยตนเองให้เสียอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท

- ที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพของที่ดิน ให้เสียเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่า

4. หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นแบบภาษีบำรุงท้องที่

1. สำเนาโฉนดที่ดิน (ถ่ายเอกสารทุกหน้า) 

2. หนังสือสัญญาซื้อขาย ในกรณีที่ขายที่ดินไปบางส่วนหรือทั้งหมด 

3. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดิน 

4. สำนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดิน 

5. หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่เจ้าของที่ดินไม่สามารถมายื่นแบบด้วยตนเอง 

กรณีเป็นรายเก่าที่เคยยื่นเสียภาษีแล้ว ให้นำใบเสร็จชำระเงินครั้งสุดท้ายมาแสดงด้วย (ถ้ามี)

 

ช่องทางการชำระเงินค่าภาษี

          เมื่อท่านได้รับใบแจ้งการประเมินภาษีจากเจ้าหน้าที่รายได้ของกรุงเทพมหานครแล้ว ท่านสามารถเลือกชำระเงินภาษีได้จากช่องทางต่อไปนี้

1. สำนักงานเขต หรือ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยยื่นขอชำระเงินได้ที่ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต หรือกองการเงินศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) สามารถชำระภาษีด้วยเงินสด ด้วยบัตรเดบิต บัตรเครดิต เช็คหรือธนาณัติ โดยถือวันที่จ่ายเช็คหรือวันที่โอนเงินทางธนาณัติเป็นวันชำระเงิน 

2. การชำระภาษีผ่านธนาคารกรุงไทย นำใบแจ้งหนี้ค่าภาษีไปติดต่อชำระเงินที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ และรับใบเสร็จเก็บไว้เป็นหลักฐาน

3. การชำระภาษีผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย 

  

สำหรับตู้ ATM ที่มีช่องอ่านบาร์โค๊ดสำหรับตู้ ATM ธรรมดา
1. เลือกช่องบริการอื่น ๆ
2. เลือกประเภทบริการชำระด้วยบาร์โค๊ด
3. สแกนใบนำชำระภาษี
4. ดำเนินการตามขั้นตอนที่ตู้ ATM ระบุ
1. เลือกชำระค่าบริการ
2. ใส่รหัสของกรุงเทพมหานคร 9299
3. ดำเนินการตามขั้นตอนที่ตู้ ATM ระบุ




4. การชำระภาษีผ่านทาง Internet

1. สมัคร KTB Online กรณีบุคคลธรรมดา และ KTB Corporate Online กรณีนิติบุคคล โดยสมัครที่www.ktb.co.th
   2. ลงทะเบียนใช้บริการกรุงเทพมหานครที่http://epay.bangkok.go.th เพื่อขอ Username และPassword
   3. เลือกชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทยออนไลน์ ใส่ Username และ Password ของธนาคารกรุงไทยที่   สมัครไว้ แล้วเลือกบัญชีที่ประสงค์จะให้หักเงิน

 

หมายเหตุ.-  เฉพาะการชำระภาษีประจำปีภายในกำหนดเวลา/ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมการชำระภาษี รายการละ 10 บาท
 

สถิติการจัดเก็บภาษี 3 ประเภท ฝ่ายรายได้
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
 (ตุลาคม  2558 - มกราคม 2559)
 


ประเภทภาษี

ประมาณ

การรายรับ

ยอดการประเมิน

คิดเป็น

ยอดจัดเก็บ

คิดเป็น

จำนวนราย

จำนวนเงิน

%

จำนวนราย

จำนวนเงิน

%

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

178,000,000.00

342

5,993,349.56

3.37

330

3,941,599.43

2.21

ภาษีบำรุงท้องที่

2,790,000.00

734

289,799.99

10.39

734

289,799.79

10.39

ภาษีป้าย

15,100,000.00

367

1,548,344.00

10.25

362

1,522,334.50

10.08

ยอดรวมทั้งสิ้น

195,890,000.00

1,443

7,831,493.35

4.00

1,426

5,753,733.72

2.94


Download เอกสารคู่มือ