แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๗๕)

        ความสำคัญของกรุงเทพมหานครนอกเหนือจากการเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยแล้ว ยังมีความสำคัญในฐานะที่เป็นแหล่งรวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน ดังนั้น กรุงเทพมหานครจึงมุ่งดำรงรักษาคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมด้วยยุทธศาสตร์ทั้งเชิงบริหารและเชิงปฏิบัติการ จะเห็นได้จากการบรรจุประเด็นยุทธศาสตร์สังคมพหุวัฒนธรรมไว้ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๗๕) เพื่อสร้างสรรค์ให้กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่แห่งโอกาสสำหรับทุกคน เป็นรากฐานที่มั่นคงรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยกำหนดเป้าประสงค์ไว้ ๔ ข้อ ดังนี้
         ๑. สร้างโอกาส/พื้นที่ให้เกิดการแสดงตัวของกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ สู่สังคมสาธารณะ ในหลากหลายรูปแบบ และช่องทาง โดยมีจำนวนการแสดงตัวของกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ สู่สังคมสาธารณะในรูปแบบต่างๆ เป็นตัวชี้วัด
         ๒. มีกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมเมืองกรุงเทพในรูปแบบต่างๆ โดยสามารถทำให้ชาวกรุงเทพฯ มีกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมเมืองกรุงเทพในรูปแบบต่างๆ เป็นตัวชี้วัด
         ๓. พัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม โดยมีจำนวนข้อมูลกลุ่ม/ชุมชนวัฒนธรรมที่ได้รับการรวบรวมเพื่อการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม เป็นตัวชี้วัด
         ๔. วางแนวทางสนับสนุนงานและแผนด้านวัฒนธรรม โดยมีความพึงพอใจต่อแนวทางการสนับสนุนงานและแผนด้านวัฒนธรรม

0 ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น