เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการการบูรณาการเพื่อกำหนดแนวทางการจัดงานประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช 2567

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2567
image

กรุงเทพมหานครเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการการบูรณาการเพื่อกำหนดแนวทางการจัดงานประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช 2567

วันพุธที่ 25 กันยายน 2567เวลา 15.30 น. นายสิงห์ ลิ้มพิรัตน์ ผุู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา เเละการท่องเที่ยว เป็นผู้เเทนกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการการบูรณาการเพื่อกำหนดแนวทางการจัดงานประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช 2567 ในรูปแบบการประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting ร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตามคำสั่งกระทรวงวัฒนธรรมที่ 134/2567 ลงวันที่ 9 กันยายน 2567 โดยมีนางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุม พร้อมนี้ นางพูลศรี เกียรติมณีรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนวัฒนธรรม ว่าที่ร้อยตรีประภพ เบญจกุล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม เเละนักวิชาการวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรม เข้าร่วมประชุมด้วย
กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้แจ้งการแต่งตั้งคณะกรรมการการบูรณาการเพื่อกำหนดแนวทางการจัดงานประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช 2567 โดยมีหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 หน่วยงานร่วมเป็นคณะกรรมการ ได้แก่ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการระบายน้ำ และสำนักป้องกันและบรรเทาสารธารณภัย และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการ ในการนี้ กรมส่งเสริมกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งมีภารกิจในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมประเพณีลอยกระทง เพื่อส่งเสริม รักษา และเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการรักษาประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงาม ได้สรุปผลการดำเนินการจัดกิจกรรมประเพณีลอยกระทง พุทธศักราช 2566 และนำเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาร่างแนวทางการยกระดับประเพณีลอยกระทงให้เป็น World Event และเป็นส่วนหนึ่งของ Thailand Winter โดยมีการดำเนินงานประเพณีลอยกระทงแบบดั้งเดิม คือ จัดทำองค์ความรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ จัดทำแนวทางและมาตรการรณรงค์การจัดงานประเพณีลอยกระทง การจัดนิทรรศการ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในช่องทางออนไลน์ รวมถึงจัดกิจกรรมส่งเสริมการแสดงทางวัฒนธรรมทั้งแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย การประกวดกระทงสวยงามและสร้างสรรค์ โดยทุกกิจกรรม
ที่ดำเนินการครอบคลุมในประเด็นหลัก ดังนี้
- คุณค่าสาระของประเพณีลอยกระทง เช่น คุณค่าต่อครอบครัว ต่อชุมชน ต่อศาสนา และต่อสังคม
- ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณี ลอยกระทง เช่น ความเชื่อและตำนานที่ เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ความความกตัญญูต่อพระแม่คงคา และความเชื่อเกี่ยวกับการสะเดาะเคราะห์หรือลอยทุกข์โศกโรคภัยต่าง ๆ
จากการดำเนินงานประเพณีลอยกระทงแบบดั้งเดิม จึงมีแนวคิดที่จะส่งเสริมคุณค่า พัฒนาสู่การยกระดับให้เป็น World Eventและ Thailand Winter Festival ที่ ยังคงไว้ซึ่งคุณค่าสาระและความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงด้วยแนวทางดังต่อไปนี้
1. รณรงค์การลอยกระทงมิติใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
2. จัดกิจกรรมในรูปแบบความบันเทิงเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติการจัดทำองค์ความรู้ การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ในรูปแบบต่างๆ อย่างกว้างขวางและหลากหลาย