มีช่องทางการให้บริการผ่านระบบออนไลน์หรือไม่

มีระบบการให้บริการประชาชนแบบออนไลน์ ด้วยการยื่นคำขอผ่านศูนย์รับคำขออนุญาตของกรุงเทพมหานคร (BMA OSS)

ทะเบียนบ้านไม่ได้อยู่ในเขตจอมทอง แต่ทำงานใกล้กับเขตจอมทองและสะดวก สามารถมาทำหนังสือยินยอมที่เขตจอมทองได้หรือไม่

ต้องทำตามภูมิลำเนาของผู้ร้อง

ร้านค้าตั้งอยู่ที่ต่างจังหวัด จดทะเบียนพาณิชย์ที่กรุงเทพได้หรือไม่

ไม่ได้ ต้องแจ้งจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

การจดทะเบียนมูลนิธิ ต้องใช้หลักฐานใดบ้าง

คำขอ มน.๑  

รายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ 

ข้อบังคับของมูลนิธิ

แผนที่ตั้งมูลนิธิ 

บัญชีรายชื่อ กรรมการของมูลนิธิ 

หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่ตั้งมูลนิธิ 

และหนังสือคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สิน

การจดทะเบียนมูลนิธิ ต้องใช้หลักฐานใดบ้าง

คำขอ มน.๑  

รายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ 

ข้อบังคับของมูลนิธิ

แผนที่ตั้งมูลนิธิ 

บัญชีรายชื่อ กรรมการของมูลนิธิ 

หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่ตั้งมูลนิธิ 

และหนังสือคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สิน

ทำพินัยกรรม ต้องใช้หลักฐานใดบ้าง

พินัยกรรมในหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานเขต มี ๒ แบบ

  1. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง หลักฐานที่ต้องนำมา
    1.  บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ร้อง (เจ้ามรดก)
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ที่จะรับทรัพย์สิน / ผู้จัดการมรดก
    3. เอกสารกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จะทำพินัยกรรม เช่น โฉนดที่ดิน / สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร /ทะเบียนรถ
    4. พยานบุคคล ๒ คน (อายุ ๒๐ ปีขึ้นไป) พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน
  2. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ หลักฐานที่ต้องนำมา
    1. บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้อง (เจ้ามรดก)
    2. พินัยกรรมซึ่งอยู่ในซองปิดผนึกและลงลายมือชื่อเจ้ามรดกกำกับบริเวณที่ปิดผนึกให้เรียบร้อย
บัตรประจำตัวประชาชน มีอายุกี่ปี

๘ ปี

อายุเท่าไหร่ถึงจะได้บัตรประจำตัวประชาชน ตลอดชีพ

เริ่มตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี ขึ้นไป

การแจ้งย้ายเข้า ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง
  1. บัตรประจำตัวประชาชน ของเจ้าบ้าน
  2. กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    - บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบ และผู้รับมอบหมาย
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน ที่จะแจ้งย้ายเข้า
  4. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ ๑,๒ เจ้าบ้านลงลายมือชื่อ ช่องยินยอมให้ย้ายเข้า
การแจ้งย้ายออกบุคคลในทะเบียนบ้าน ใช้หลักฐานอะไรบ้าง
  1. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  3. กรณีเจ้าบ้านมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
    - หนังสือมอบหมาย
    - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของเจ้าบ้าน และผู้รับมอบหมาย
ขอคัดเล่มทะเบียนบ้าน กรณีเล่มเดิมสูญหาย ใช้หลักฐานอะไรบ้าง

ใช้บัตรประจำตัวประชาชน ของเจ้าบ้าน กรณีเจ้าบ้านมอบหมาย มีหนังสือมอบหมาย พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน และของผู้รับมอบหมาย

เด็กต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน ครั้งแรก อายุเท่าใด

๗ ปีบริบูรณ์

กรณีเปลี่ยนที่อยู่ ต้องเปลี่ยนบัตรฯ ใหม่ หรือไม่

ไม่ต้องเปลี่ยนก็ได้

บัตรประจำตัวประชาชน หมดอายุ ภายในกี่วัน ถึงจะไม่เสียค่าปรับ

ภายใน 60 วัน

ระยะเวลาในการขอใบอนุญาตใช้เวลาเท่าไหร่

ใบอนุญาตประเภทบ้านยิ้ม (มีพื้นที่ไม่เกิน ๓๐๐ ตรม. ใช้เวลาไม่เกิน ๓๐ วัน 

ใบอนุญาตทั่วไป (มีพื้นที่เกิน ๓๐๐ ตรม.) ใช้เวลาไม่เกิน ๔๕ วัน 

หมายเหตุ ในกรณีเอกสารไม่ครบอาจไม่ตรงตามกำหนด

ใบอนุญาตประเภทต่าง ๆ มีอายุเท่าไหร่

ใบอนุญาตประเภทต่าง ๆ มีอายุ ๑ ปี

ใบอนุญาตประเภทต่าง ๆ มีอายุเท่าไหร่

ใบอนุญาตประเภทต่าง ๆ มีอายุ ๑ ปี

เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว แต่ยังไม่ดำเนินการได้หรือไม่ และจะต้องทำอย่างไร

ได้ แต่หากใบอนุญาตหมดอายุในระหว่างที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ทำการยื่นขอต่อใบอนุญาตได้ ซึ่งการขอต่อ ใบอนุญาตจะต้องมีการดำเนินการไปแล้วไม่น้อยกว่า 90% ของการดำเนินการ 

โดยต้องยื่นขอต่อใบอนุญาตปีต่อปี และสามารถยื่นขอต่ออายุก่อนใบอนุญาตหมดอายุ ๓ เดือน

ถ้าจะขออนุญาตก่อสร้างบ้านต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

เบื้องต้นต้องเตรียมสำเนาโฉนดถ่ายขนาดเท่าตัวจริง (ไม่ย่อส่วน)

จะทำการรื้อถอนอาคารเป็นตึก ๒ ชั้น ๑ หลัง ต้องขออนุญาตรื้อถอนหรือไม่

ถ้าห่างจากที่สาธารณะน้อยกว่า ๒ เมตร ต้องขออนุญาตรื้อถอนต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น

จะสร้างบ้านชั้นเดียว ห่างจากแนวเขต ๕๐ เซนติเมตร สามารถทำได้หรือไม่

ทำได้แต่ต้องไม่มีช่องเปิด (ผนังทึบ)

ถ้าจะสร้างบ้าน เป็นตึก ๒ ชั้น ต้องมีระยะร่นกี่เมตร กรณีมีหน้าต่าง (ช่องเปิด)

ต้องมีระยะร่น ๒ เมตร

ถ้าบ้านติดคลองลำกระโดง บ้านต้องมีระยะร่นกี่เมตร

ถ้าคลองกว้างไม่ถึง ๑๐ เมตร ต้องร่น ๓ เมตร แต่ถ้าคลองกว้างเกิน ๑๐ เมตร ต้องร่น 5 เมตร

ถ้าจะขออนุญาตปลูกสร้างบ้านต้องใช้แบบแปลนกี่ชุด

๕ ชุด

ถ้าปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย พื้นที่ ๒๐๐ ตารางเมตร ต้องใช้สถาปนิกหรือไม่

ถ้าพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ ๑๕๐ ตารางเมตรขึ้นไป ต้องใช้สถาปนิกคุมงาน และออกแบบด้วย

ถ้าจะก่อสร้างรั้วบ้าน ต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือไม่

ถ้ารั้วติดที่สาธารณะ ต้องขออนุญาตก่อสร้าง กรณีรั้วติดที่เอกชนไม่ต้องขออนุญาตก่อสร้าง

ทำไมเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการยื่นขอรับใบอนุญาตมีหลายอย่างมาก เป็นการสร้างภาระจะช่วยอำนวยความสะดวกได้อย่างไรบ้าง

ในการพิจารณาอนุญาตมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นที่ต้องใช้เอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการ พิจารณาหลายอย่าง เพื่อให้การอนุญาตถูกต้องไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่เป็นการกระทบสิทธิและ เสรีภาพของบุคคลอื่น และมีการอำนวยความสะดวก โดยไม่ต้องนำเอกสารมายื่น หากท่านเคยยื่นเอกสารหลักฐาน เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาหนังสือสัญญาเช่า สำเนาหนังสือรับรองบริษัท สำเนาหนังสือรับรองการ ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้สัมผัสอาหาร ฯลฯ ที่ครบถ้วนถูกต้องและเอกสารไม่หมดอายุหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งเอกสาร จะนำมาจัดเก็บลงในแฟ้มประวัติข้อมูลสถานประกอบกิจการของท่านเพื่อให้สามารถนำเอกสารที่ยื่นไว้มาใช้ใน การขอรับใบอนุญาตในครั้งต่อไปได้ และท่านสามารถคัดสำเนาทะเบียนบ้านได้ที่ฝ่ายทะเบียน หรือคัดสำเนา ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารได้ที่ฝ่ายโยธา

กรณีวันหมดอายุใบอนุญาตตรงกับวันหยุดราชการ จะต้องทำอย่างไร เพื่อไม่ให้ใบอนุญาตขาดต่อและเสียค่าปรับ

ในการต่อใบอนุญาตสามารถยื่นคำขอต่อล่วงหน้าได้ก่อนใบอนุญาตหมดอายุ ๙๐ วัน

การต่ออายุใบอนุญาตสามารถชำระค่าธรรมเนียมได้กี่ช่องทาง สามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านช่องทางอื่น ๆ เช่น ธนาคาร เคาน์เตอร์เซอร์วิส ฯลฯ ได้หรือไม่

ติดต่อชำระค่าธรรมเนียมได้เฉพาะสำนักงานเขตที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่เนื่องจากระบบการชำระเงินของกรุงเทพมหานครยังไม่เชื่อมต่อกับระบบการชำระเงินของธนาคาร

ระยะเวลาการยื่นแบบภาษี

- ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
- ภาษีป้าย ภายในเดือนมีนาคม ของทุกปี
- ภาษีบำรุงท้องที่ ชำระค่าภาษีภายในเดือนเมษายน ของทุกปี ยกเว้น ในปีที่มีการตีราคาปานกลาง ที่ดิน ใหม่ ให้ยื่นแบบแสดงรายการภายในเดือนมกราคม

ประเภทโรงเรือนที่ต้องเสียภาษี

โรงเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเจ้าของใช้อยู่อาศัยเองและใช้ประกอบการค้า หรือให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ โดยมี หรือไม่มีค่าตอบแทน

อัตราค่าบริการในการจัดเก็บมูลฝอย อัตราค่าบริการในการตัดแต่งต้นไม้ สูบสิ่งปฏิกูลและไขมัน การบริการตั้งวางถังรองรับมูลฝอย

๑. ค่าธรรมเนียม (ค่าบริการ) คิดค่าบริการทุก ๒๕ ใบ หากมีเศษให้คิดเต็ม ๒๕ ใบ
- ตั้งถังรองรับมูลฝอยขนาดไม่เกิน ๒๔๐ ลิตร ไม่เกิน ๒๕ ใบ ครั้งละไม่เกิน ๑๕ วันคิดค่าบริการ
๔๐๐ บาท หากเกิน ๑๕ วัน คิดวันละ ๑๐๐ บาท
- คิดค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากการนำถังรองรับมูลฝอยไปตั้งวางเป็น ลบ.ม. ๆ ละ ๑๕๐ บาท

๒. การบริการเก็บเศษวัสดุ กิ่งไม้ ใบไม้
ค่าธรรมเนียม (ค่าบริการ)
-ค่าบริการเก็บเศษวัสดุ
ค่าเก็บขนเศษวัสดุ ระยะทางไม่เกิน ๑๐ กม. คิด ลบ.ม. ละ ๑๐๐ บาท
(รถบรรทุกเทท้าย ปริมาณ ๕ ลบ.ม.) ๖ x ๑๐๐ = ๖๐๐ บาท ค่าเก็บขนระยะทางส่วนที่เกิน ๑๐ กม.คิดเพิ่ม กม. ละ ๑๕ บาท
- ค่าบริการเก็บขนกิ่งไม้ / ใบไม้ คิดเป็นเที่ยว (๑ คันรถ) ไม่เกิน ๑๐ กม. เที่ยวละ ๕๐๐ บาท เกิน ๑๐ กม.
ขึ้นไป เที่ยวละ ๗๐๐ บาท

๓. การบริการเก็บมูลฝอยทั่วไปในบ้านพักอาศัย สถานบริการสาธารณสุข ตลาด อาคารสูง และสถานที่
ราชการ
ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมกรณีเก็บมูลฝอยทั่วไปเป็นประจำ คิดค่าธรรมเนียมเป็น ลบ.ม. ละ 5,000 บาท ส่วนที่เกินคิดเป็นอีก ๑ ลบ.ม.
- ค่าธรรมเนียมกรณีเก็บมูลฝอยทั่วไปเป็นครั้งคราว คิดค่าธรรมเนียม ลบ.ม. ละ ๑๕๐ บาท ส่วน ที่เกินคิดเป็นอีก ๑ ลบ.ม.
- ค่าธรรมเนียมสำหรับบ้านพักอาศัยที่มีมูลฝอยวันละไม่เกิน ๒๐ ลิตร คิดเดือนละ ๒๐ บาท

๔. การบริการดูดไขมัน
ค่าธรรมเนียม
- เศษของ ลบ.ม. หรือ ลบ.ม. แรก และ ลบ.ม. ต่อ ๆ ไป ลบ.ม. ละ ๒๕๐ บาท
- เศษไม่เกินครึ่ง ลบ.ม. ๑๕๐ บาท
- เศษเกินครึ่ง ลบ.ม. ให้คิดเท่ากับ ๒ ลบ.ม.

๕. การบริการสูบสิ่งปฏิกูล
ค่าธรรมเนียม
-เศษของ ลบ.ม. หรือ ลบ.ม. แรก และ ลบ.ม. ต่อ ๆ ไป ลบ.ม. ละ ๒๕๐ บาท
- เศษไม่เกินครึ่ง ลบ.ม. ๑๕๐ บาท
- เศษเกินครึ่ง ลบ.ม. ให้คิดเท่ากับ ๑ ลบ.ม.

เพราะเหตุใดจึงต้องแจ้งเด็กเข้าเรียนตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ

กฎหมายให้ความคุ้มครองสิทธิของเด็กทุกคนว่าต้องได้รับการศึกษา ดังนั้นเมื่ออายุถึงเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ปกครองจึงต้องนำเด็กไปเข้าเรียน โดยหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ (เช่น ฝ่ายการศึกษาหรือศึกษาธิการในแต่ละพื้นที่) จะสำรวจรายชื่อเด็กที่จะอายุครบ ๗ ปี จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร เพื่อให้ทราบว่าในปีการศึกษาหน้า จะต้องมีเด็กเข้าเรียนจำนวนเท่าใด และแจ้งให้ผู้ปกครองเด็กทราบเป็นลายลักษณ์อักษรในคราวเดียวกัน เมื่อผู้ปกครองนำเด็กเข้าเรียนแล้วก็ต้องมาแจ้งข้อมูลให้ผู้รับผิดชอบทราบเพื่อจะได้จัดทำฐานข้อมูลเด็กที่ได้เข้าศึกษา ตรวจสอบข้อมูลและติดตามเด็กที่ไม่ได้เข้าเรียนให้ได้รับสิทธิที่พึงได้ตามกฎหมาย

เอกสารที่ใช้สำหรับการแจ้งเด็กเข้าเรียนตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับมีอะไรบ้าง

- สูติบัตรของเด็ก (ฉบับจริง และสำเนา ๑ ฉบับ)
- ทะเบียนบ้านของเด็ก (ฉบับจริง และสำเนา ๑ ฉบับ)

สามารถแจ้งเด็กเข้าเรียนตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ที่ใดบ้าง

สำหรับสำนักงานเขตจอมทอง ผู้ปกครองสามารถแจ้งเด็กเข้าเรียน ได้ ๒ ช่องทาง คือ
- ทุกวันทำการ : ฝ่ายการศึกษา สำนักงานเขตจอมทอง
- กรณีเรียนที่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สามารถดำเนินการได้ที่โรงเรียนที่กำลังศึกษา

ผู้ปกครองต้องมีข้อมูลใดบ้างในการแจ้งเด็กเข้าเรียน

ชื่อและที่อยู่สถานศึกษาที่เด็กเข้าศึกษาในการศึกษาภาคบังคับ (ป.๑) กรณียังไม่ทราบสถานที่ศึกษาอนุโลมให้แจ้งได้หลังมีที่เรียนที่แน่นอนแล้ว

การแจ้งเด็กเข้าเรียนตามณฑ์การศึกษาภาคบังคับมีค่าใช้จ่ายเท่าไร และใช้ระยะเวลาดำเนินการเท่าไร

การแจ้งเด็กเข้าเรียนตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และใช้เวลาดำเนินการ ภายใน ๑๐ นาทีต่อราย (ในกรณีที่เอกสารครบถ้วนถูกต้อง) ส่วนกรณีที่ผู้ปกครองไม่ดำเนินการแจ้งเด็กเข้าเรียน ตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ จะมีความผิด ตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท

ทำไมต้องมาเสียค่าปรับตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ

เพราะว่าท่านได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ ซึ่งความผิดดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้ง มีอำนาจเปรียบเทียบได้

การขอหนังสือรับรองมีรถจักรยานยนต์รับจ้าง เพื่ออะไร

๑. หนังสือรับรองนี้ไปเป็นหลักฐานในการขอป้ายทะเบียนรับจ้าง
๒. ขอเสื้อวินจักรยานยนต์รับจ้าง

เมื่อสำนักงานเขตได้มีหนังสือเชิญพบเพื่อให้มาเสียค่าปรับประชาชนจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

สามารถมาติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อชี้แจงและชำระค่าปรับได้ที่สำนักงานเขตจอมทอง ชั้น ๔ ฝ่ายเทศกิจ

การติดต่อเพื่อขอคืนของกลาง ทำได้อย่างไรบ้าง

สามารถมาติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่สำนักงานเขตจอมทอง ชั้น ๔ ฝ่ายเทศกิจ เพื่อชำระ ค่าปรับ และผู้ขอรับบริการจะต้องนำหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวมาด้วย

ขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ หากผู้กระทำความผิดปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดหรือยอมรับว่ากระทำความผิดแต่ไม่ประสงค์จะชำระค่าปรับ

เจ้าหน้าที่จะต้องทำการบันทึกคำให้การโดยระบุเหตุผลให้ชัดเจนถึงเหตุแห่งการปฏิเสธหรือการไม่ประสงค์จะ ชำระค่าปรับ และรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีเพื่อส่งให้สถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อดำเนินการกล่าวโทษหรือร้องทุกข์ต่อไป

กรณีการขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์บนทางเท้า แต่เป็นกรณีการขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารถือเป็น ความผิดหรือไม่

มาตรา ๑๗(๒) แห่ง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ ได้กำหนดไว้ว่า 

“ห้ามมิให้ผู้ใดจอดหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนบนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือมีประกาศของเจ้า พนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้” 

ดังนั้น หากเป็นการขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์บนทางเท้าเพื่อเข้าไปในอาคาร จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๗(๒) แห่ง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ

คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดมีอะไรบ้าง

กรณีเด็กแรกเกิด
- เกิดระหว่าง ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
- มีสัญชาติไทย (บิดา/มารดา เป็นผู้มีสัญชาติไทย)
- ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด จากหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ เงินกองทุน ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจและไม่อยู่ในความดูแลของรัฐ เช่น บ้านพักเด็กและ ครอบครัว สถานสงเคราะห์ของรัฐ
กรณีหญิงตั้งครรภ์ มีกำหนดคลอดระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙
- อยู่ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน (หญิงตั้งครรภ์สามารถยื่นลงทะเบียน
ไว้ก่อนได้ ทั้งนี้ หากการคลอดบุตรในภายหลัง ไม่ได้เกิดขึ้น ระหว่าง วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔-๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ ให้ถือว่าที่ลงทะเบียนไว้ถูกระงับโดยปริยาย)

เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดมีอะไรบ้าง แบบลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์ฯ (แบบ ดร.0๑)

- แบบรับรองสถานะครัวเรือน (แบบ ดร.๒) ที่ได้รับการรับรองแล้ว
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของหญิงตั้งครรภ์
- สำเนาเอกสารแสดงการฝากครรภ์ หรือสำเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หน้า ๑
- สำเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด (ยื่นหลังคลอด)
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย (กรณีรับเงินผ่านบัญชีธนาคาร)

เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดจะได้รับอัตราละ ๔๐๐ หรือ ๖๐๐ และ ได้รับกี่ปี

- เด็กที่เกิดระหว่าง ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ จะได้รับ อัตราเดือนละ ๔๐๐ บาท เด็กที่เกิดตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป จะได้รับอัตราเดือนละ 500 บาทได้รับจนถึงอายุ ๓ ปี

Page 1 of 1