กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543)ฯ หมวดที่ 4 แนวอาคารและระยะร่นต่างๆ ของอาคาร ข้อที่ 41 เป็นการกำหนดระยะร่นของอาคารตามความกว้างของถนนสาธารณะ สอบถามว่าการวัดความกว้างถนนสาธารณะต้องวัดจากจุดไหนถึงจุดไหน (วัดเฉพาะผิวจราจร หรือวัดจากแนวเขตที่ดินถึงแนวเขตที่ดิน

ตามข้อ 41 หมวด 4 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543)ฯ แบ่งได้ดังนี้
สำหรับอาคารธรรมดา
        - อาคารที่ก่อสร้างใกล้ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร วัดระยะจากกึ่งกลางถนนถึงแนวอาคาร
สำหรับอาคารสูงเกิน 2 ชั้น หรือเกิน 8 เมตร
        - อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะ ที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร วัดระยะจากกึ่งกลางถนนถึงแนวอาคาร
        - อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะ ที่มีความกว้างมากกว่า 10 เมตร วัดระยะจากกึ่งกลางถนนถึงแนวอาคาร
 

บ้านแฝดสามารถต่อเติมหลังคาที่จอดรถเต็มพื้นที่หน้าบ้านแบบโล่งไม่มีผนังได้หรือไม่ และแนวชายคา รางน้ำกับเสาต้องห่างจากรั้วเขตที่ดินหน้าบ้านและข้างบ้านเท่าไร และสามารถต่อเติมหลังคาบ้านแบบโล่งไม่มีผนังได้หรือไม่ ชายคารางน้ำกับเสาต้องห่างจากรั้วเขตที่ดินหลังบ้า

การต่อเติมบ้านข้างต้น ไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากถ้ามีการต่อเติมในส่วนด้านหน้า ด้านหลังหรือด้านข้างของอาคารก็จะทำให้ที่ว่างตามกฎหมายกำหนดหายไป โดยตามกฎหมาย ข้อ 37 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯ กำหนดไว้ว่าบ้านแฝดต้องมีที่ว่างด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับแนวผนังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร และ 2 เมตรตามลำดับ และมีทั้ว่างด้านข้างกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร

การวัดระยะร่นของอาคารมีหลักเกณฑ์การวัดอย่างไร หมายเหตุ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม เลียบด่วนเอกมัย-รามอินทรา ช่วงเส้นเกษตรนวมินทร์ ที่ดินแปลงเป็นแนวเแียง

หลักเกณฑ์ในการวัดระยะร่นของอาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะ เป็นไปตามข้อ 41 หมวด 4 กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
1.อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะ ที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้แนวร่นอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธาณะอย่างน้อย 3 เมตร
2.อาคารสูงเกิน 2 ชั้น หรือเกิน 8 เมตร ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารพาณิชย์ โรงงาน อาคารสาธารณะ ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายหรือคลังสินค้าที่ก่อสร้างหรือดัดแปลง ใกล้ถนนสาธารณะ
         - ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 6 เมตร
         - ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธรณะ
         - ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างเกิน 20 เมตร ขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร
หมายเหตุ การวัดให้วัดจากด้านที่เฉียงของแปลงที่ดินด้านที่ใกล้ถนนสาธารณะที่สุด

ผนังของหลังคาห้องคลุมบันได จะต้องนับรวมเป็นความสูงของอาคารหรือไม่ หรือว่าจะนับความสูงของอาคารถึงแค่พื้นหรือเชิงผนังชั้นดาดฟ้าเท่านั้น

นับรวม โดยการวัดความสูงของอาคารให้วัดแนวดิ่งจากระดับถนนหรือระดับพื้นดินที่ก่อสร้างขึ้นไปถึงส่วนของอาคารที่สูงที่สุด สำหรับอาคารารงจั้วหรือปั้นหยาให้วัดถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด โดยเป็นไปตามข้อ 44 กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯ “ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด ความสูงของอาคารให้วัดจากแนวดิ่งจากระดับถนนหรือระดับพื้นดินที่ก่อสร้างขึ้นไปถึงส่วนที่ของอาคารที่สูงที่สุด สำหรับอาคารทรงจั้วหรือปั้นหยาให้วัดถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด”

ตอนนี้กำลังศึกษาการก่อสร้างรีสอร์ทที่เป็นหลังงๆ แยกจากกัน โดยมีวัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างเสา คาน โครงหลังคาเป็นเหล็กรูปพรรณ พื้นวัสดุปูด้วยไม้ และส่วนผนังในแนวดิ่งใช้เป็นไม้ประกบผสมกับผ้าใบ ้เป็นอาคารแบบเต้นท์ ประเด็นคือผมไปคุยกับเจ้าหน้าที่โยธาของเขตได้คำตอบ

โครงสร้างเสา คาน และพื้นสำหรับอาคารที่ชุมนุมคนมากๆ ได้แก่ โรงมหรสพ สถานบริการ อาคารพักอาศัยรวม คลังสินค้า จะต้องเป็นชิ้นส่วนที่มีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 2-3 ชั่วโมง สำพหรับรีสอร์ทที่เป็นหลังๆ อาจถือได้ว่าเป็นอาคารพักอาศัยเดี่ยวจะไม่ถูกบังคับในกรณีนี้ ส่วนวัสดุตกแต่งผนังและฝ้าเพดานสำหรับอาคารชุมนุมคนต่างๆ จะต้องเป็นวัสดุที่มีดรรชนีการลามไฟ และดรรชนีการกระจายควันไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการใช้ไม้และผ้าใบอาจไม่เหมาะสมกับอาคารประเภทนี้ โดยวัสดุที่นำมาใช้ตกแต่งควรผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM E84 อย่างไรก็ตามรีสอร์ทเป็นหลังๆ ไม่อาคารอยู่อาศัยรวมจะไม่เข้าข่ายในการบังคับ ดังนั้นวัสดุไม้และผ้าใบสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุตกแต่งผนังและฝ้าเพดานได้

ระดับพื้นนอกบันไดหนีไฟกับระดับพื้นชานบันไดหนีไฟที่มีประตูกันไฟต่างระดับกัน 10 ซม. สามามรถทำได้หรือไม่ เนื่องจากในกฎหมายมีข้อห้ามการมีธรณีประตู

ตามกฎหมาย ประตูหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟที่มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 ซม. สูงไม่น้อยกว่า 190 ซม. ต้องทำเป็นบานเปิดชนิดผลักออกสู่ภายนอกเท่านั้น ต้องติดอุปกรณ์ชนิดที่บังคับให้ประตูปิดได้เองและสามารถเปิดออกได้โดยสะดวกตลอดเวลา ประตูหรือทางออกสู่บันไดหนีไฟต้องไม่มีธรณีหรือขอบกั้น ดังนั้นจึงสามารถทำได้เนื่องจากไม่มีข้อห้ามเรื่องระดับพื้นนอกบันไดหนีไฟกับระดับพิ้นชานบันไดหนีไฟที่มีประตูกันไฟ แต่ทั้งนี้การที่จะให้คนสามารถอพยพได้อย่างสะดวก ระดับพื้นนอกบันไดหนีไฟกับระดับพื้นชานบันไดหนีไฟที่มีประตูกันไฟต้องไม่ต่างกันมากนัก

บ้านเดี่ยวสองชั้นหลังบ้านชนกัน ระยะห่างตัวอาคารกับรั้วของทั้งสองบ้าน 270 ซม. ถ้าจะทำกันสาดโดยตั้งเสาสี่เสาชิดอาคารสองเสากับชิดกำแพงสองเสาสามารถทำได้หรือไม่ หากทำได้สามารถยื่นได้ถึงเท่าไร

ในการวัดระยะร่นของแนวอาคาร กันสาดหรือโครงสร้างอาคารไม่ได้กำหนดในเรื่องระยะร่นแต่ก็ต้องคำนึงถึงกายภาพและองค์ประกอบอื่นๆ ของอาคารว่าเมื่อดัดแปลงอาคารไปแล้วจะขัดหรือแย้ง ตามที่กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารกำหนดไว้หรือไม่ เช่น เรื่องที่ว่างตามที่กฎหมายกำหนดอาคารอยู่อาศัยต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งที่มากที่สุดของอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯ

ที่ว่าง คือพื้นที่อันปราศจากหลังคาหรือสิ่งก่อสร้างปกคลุม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอาจจะจัดให้เป็นบ่อน้ำ สระว่ายน้ำ บ่อพักน้ำเสีย ที่พักมูลฝอย หรือที่จอดรถ ที่อยู่ภายนอกอาคารก็ได้ และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ของสิ่งก่อสร้าง หรืออาคารที่สูงจากระดับพื้นดินไม่เกิน 1.20 เมตร และไม่มีหลังคาหรือสิ่งก่อสร้างปกคลุมเหนือระดับนั้น

ซื้อบ้านแฝดมือสองมา แล้วเจ้าของเก่าได้ต่อเติมหลังคาที่จอดรถหน้าบ้าน แต่ชายคายื่นเลยรั้วเขตที่ดินหน้าบ้านออกไปคลุมฟุตบาทหน้าบ้านซึ่งเป็นทางสาธารณะ แบบนี้ผิดกฎหมายหรือไม่

ผิดกฎหมาย เนื่องจากตามข้อ 37 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543)ฯ กำหนดให้ด้านหน้าและด้านหลังของบ้านแฝดต้องมีที่ว่างระหว่างรั้วหรือเขตที่ดินกับแนวผนังอาคาร กว้างไม่น้อยกว่า 3 และ 2 เมตร ตามลำดับ ถ้ามีการต่อเติมในส่วนด้านหน้าอาคารก็จะทำให้ที่ว่างตามที่กฎหมายกำหนดหายไป จึงไม่สามารถปฏิบัติได้

ระยะร่น คือ ระยะที่วัดจากตำแหน่งบนทางสาธารณะจนถึงแนวอาคาร ซึ่งมีทั้งการวัดจากเขตถนนและวัดจุดกึ่งกลางถนน โดยระยะร่นบ้านเดี่ยว ตึกแถว และอาคารสำนักงาน จะแตกต่างกันไปตามประเภทอาคารและขนาดถนน ซึ่งระยะร่นต้องเป็นพื้นที่ว่างจากถนนจนถึงอาคาร โดยไม่สนใจแนวเขตที่ดินที่จะสร้างอาคารนั้น

ขออนุญาตสร้างบ้านพัก 3 ชั้น แต่ในปีหน้าจะทำเป็นห้องเช่ารายเดือน ต้องขออนุญาตอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงจากบ้านพักอาศัย 3 ชั้น เป็นห้องเช่ารายเดือน ต้องมีการขออนุญาตการเปลี่ยนการใช้อาคาร ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2526 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และเอกสารที่ต้องพิจารณาคือ แบบใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร ให้ใช้แบบ อ.5 และแบบใบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ใช้แบบ อ.6 ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 พ.ศ.2528 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

การขอยกเลิกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารกรณีที่แจ้งขออนุญาตก่อสร้างอาคารและได้รับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้เริ่มงานก่อสร้างไปบางส่วนแต่เจ้าของโครงการหยุดก่อสร้างโครงการและไม่ก่อสร้างต่อ จะต้องแจ้งขอยกเลิกใบอนุญาตก่อสร้างหรือไม่ หรือปล่อยให้ใบอนุญาตก่อสร้างหมดอ

จะยกเลิกหรือปล่อยให้หมดอายุขึ้นอยู่่กับความต้องการของเจ้าของโครงการ โดยหากไม่ก่อสร้างจนใบอนุญาตก่อสร้างหมดอายุ จะต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างใหม่หากต้องการก่อสร้างต่อ

การคิดพื้นที่ดัดแปลงอาคารเพื่อคิอค่าธรรมเนียม ให้คิดเฉพาะส่วนที่มีการดัดแปลง หรือคิดรวมทั้งหลัง

คิดในส่วนที่ทำการดัดแปลง

1.ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเป็นบ้านแถวสองชั้น อาคารนี้ใช่อาคารพักอาศัยหรือเป็นอาคารพาณิชย์ 2.ระยะลูกตั้งตามข้อ 1 สามารถใช้ 20 ซม. ได้หรือไม่ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯ ข้อ 23

1.ตามข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ.2537)ฯ ได้ให้ความหมายของบ้านแถว ไว้ว่า ห้องแถวหรือตึกแถวที่ใช้อยู่อาศัย ซึ่งมีที่ว่างด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับตัวอาคารแต่ละคูหา และมีความสูงไม่เกินสามชั้น ดังนั้นการตีความบ้านแถวสองชั้นจึงต้องตีความเป็นที่พักอาศัย
2.สามารถใช้ลูกตั้ง 20 ซม. และลูกนอน 22 ซม. ได้ ตามกฎหมายข้อ 23 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯ

สร้างบ้านต้องมีช่องเปิดห่างจากที่ดินบุคคลอื่นน้อยสุดเท่าไร

สำหรับชั้นที่ 1 และ 2 ห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร ชั้น 3 ขึ้นไป ห่างไม่น้อยกว่า 3 เมตร

สร้างบ้านอยู่อาศัยสามารถสร้างเต็มที่ดินได้หรือไม่

อาคารอยู่อาศัย และอาคารอยู่อาศัยรวมต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 % ทำให้ตัวบ้านสามารถใช้พื้นที่ได้ 70% ของผืนที่ดินทั้งหมด

สร้างบ้านไม่เกิน 300 ตารางเมตร ต้องร่นจากที่ดินบุคคลอื่นเท่าไร

ต้องร่นจากที่ดินบุคคลอื่นได้น้อยสุด 50 เซนติเมตร และต้องเป็นผนังทึบ 

บ้านที่อยู่ใกล้คลองหรือทางน้ำธรรมชาติ ต้องมีระยะถอยห่างเท่าไร

ถ้าแหล่งน้ำนั้นกว้างน้อยกว่า 10 เมตร บ้านต้องถอยห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 3 เมตร ส่วนแหล่งน้ำที่กว้างกว่า 10 เมตร บ้านต้องถอยห่างอย่างน้อย 6 เมตร ถ้าเป็นแหล่งน้ำใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องถอยห่างอย่างน้อย 12 เมตร

สร้างบ้านสูงกี่ชั้นถึงต้องมีบันไดหนีไฟ

อาคารที่สูงตั้งแต่สี่ชั้นขึ้นไปและสูงเกิน 23 เมตร หรืออาคารที่สูงสามชั้นและมีดาดฟ้าเหนือชั้นที่สามที่มีพื้นที่เกิน 16 ตารางเมตร นอกจากมีบันไดของอาคารตามปกติแล้ว ต้องมีบันไดหนีไฟด้วย

สร้างบ้านต้องมีพื้นที่ว่างรอบตัวบ้านเท่าไร

อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร ต้องมีที่ว่างรอบอาคารไม่น้อยกว่า 1 เมตร ยกเว้นบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร

อาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร ต้องมีที่ว่างโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 2 เมตร

ระยะเวลาในการยื่นขออนุญาต ตามมาตรา 21 แบบ ข.1 ใช้เวลากี่วัน

45 วัน และเจ้าพนักงานสามารถขยายเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 45 วัน

รั้วสร้างสูงได้เท่าไร

ถ้ารั้วห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงรั้วสร้างได้ไม่เกิน 3 เมตร 

แต่ถ้าถนนสาธารณะนั้นกว้างน้อยกว่า 6 เมตร จะสร้างรั้วสูงได้ไม่เกิน 2 เมตร

Page 1 of 1