ฝ่ายปกครอง
กระบวนงานสอบสวนรับรอง
การให้บริการประชาชน กระบวนงานสอบสวนรับรอง แบ่งเป็น 
1. รับรองลายมือชื่อยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศ 
2. รับรองบุคคลคนเดียวกัน 
3. รับรองสถานภาพการสมรส 
4. รับรองสถานเกิด 
5. รับรองการตาย 
6. รับรองการอุปการะเลี้ยงดูบุตรฝ่ายเดียว 
7. รับรองความประพฤติ เพื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือการอุปสมบท 
8. รับรองการลงลายมือชื่อการมอบอำนาจ 
9. รับรองการได้รับค่าเลี้ยงดูเพื่อนำไปหักลดหย่อนภาษี 
10. รับรองผู้ประสบสาธารณภัย 
11. รับรองลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาผู้กู้ยืมเงินกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 
12. รับรองรายการบริจาคทรัพย์สินเพื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 
13. สอบสวนทายาทเพื่อขอรับบำเหน็จตกทอด 
14. สอบสวนประกอบการพิจารณาพักการลงโทษ 
15. สอบสวนเพื่อประกอบการขอโอนรถยนต์หรือรถจักรยานยนตร์ 
16. รับรองการมีชีวิต
เอกสารที่ใช้ 
1. ผู้ร้อง เขียนคำร้อง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล (ถ้ามี) และใบสำคัญการสมรส (ถ้ามี) 
2. พยานบุคคล* จำนวน 2 คน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน (ยกเว้นรายการที่ 1, 9, 10, 11 และ 16) 
3. พยานเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สถานที่ติดต่อ 
ผู้ร้องต้องยื่นคำร้อง ณ สำนักงานเขตหรืออำเภอที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้าน * พยานบุคคลทุกรณี ต้องอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

กระบวนงานทะเบียนพาณิชย์
สำนักงานเขตรับจดทะเบียนเฉพาะกรณีบุคคลธรรมดา คณะบุคคล และห้างหุ้นส่วนสามัญ (นิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัท ต้องไปขอจดทะเบียนที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์) 
1.จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เริ่มประกอบพาณิชยกิจ 
เอกสารที่ใช้ 
1. แบบ ทพ.2 ที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นผู้ลงนาม
2. สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ 
3. หนังสือหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคล (กรณีขอจดเป็น หสม.หรือคณะ บุคคล) 
4. สำเนาทะเบียนบ้านที่ประกอบพาณิชยกิจ 
5. กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจมิได้เป็นเจ้าบ้านต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม (1) หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ (2) สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือ สำเนาสัญญา เช่าโดยมี ผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือ เอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความ ยินยอม (3) แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจ และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง 
6. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ 
7. กรณีประกอบพาณิชยกิจการขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึกวีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ดีวีดี หรือ แผ่น วีดีทัศน์ ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง ให้ส่งสำเนาหนังสืออนุญาต หรือ หนังสือ รับรองให้เป็นผู้จำหน่ายหรือให้เช่าสินค้าดังกล่าวจากเจ้าของลิขสิทธิ์ขของสินค้าที่ขายหรือให้เช่า หรือสำเนาใบเสร็จรับเงินตามประมวลรัษฎากร หรือหลักฐานการซื้อขายจากต่างประเทศ 
8. กรณีประกอบพาณิชยกิจการค้าอัญมณี หรือเครื่องประดับด้วยอัญมณี ต้องเรียกหลักฐานแสดง จำนวนเงินทุน (Statement บัญชีธนาคาร) 
ค่าธรรมเนียม 50 บาท

2. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามรายการ ดังนี้ 
2.1 เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ 
2.2 เลิกประกอบพาณิชยกิจบางส่วน หรือเพิ่มใหม่ 
2.3 เพิ่มหรือลดเงินทุน 
2.4 ย้ายสำนักงานใหญ่ 
2.5 เปลี่ยนผู้จัดการ 
2.6 เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนที่อยู่
2.7 ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือตัวแทนค้าต่าง 
2.8 แก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน (หุ้นส่วนเข้า/ออก) เงินลงหุ้นจำนวนเงินลงทุนของห้าง 
2.9 รายการอื่นๆ เช่น แก้ไขชื่อเว็บไซต์ ชื่ออักษรโรมันฯลฯ
เอกสารที่ใช้
1. แบบ ทพ. 2 ที่ผู้ประกอบพาณิชกิจเป็นผู้ลงนาม 
2. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ 
3. ใบทะเบียนพาณิชย์ฉบับเดิม (ถ้าสูญหายต้องมีใบแจ้งความแนบ) 
4. สำเนาหลักฐานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ (ใช้ในกรณีแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่) ได้แก่
 (1) หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
 (2) สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้านหรือผู้ขอเลขที่บ้าน หรือ สำเนาสัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือ เอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
 (3) แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป 
5. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ 
ค่าธรรมเนียม 20 บาท 

3.จดเลิกประกอบพาณิชยกิจ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเลิกประกอบพาณิชยกิจ 
เอกสารที่ใช้ 
1. แบบทพ. 2 
2. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ หรือทายาทที่ยื่นคำขอแทน 
3. ใบทะเบียนพาณิชย์ 
4. สำเนาใบมรณบัตรของผู้ประกอบพาณิชยกิจ (กรณีถึงแก่กรรม)
5. สำเนาหลักฐานแสดงความเป็นทายาทของผู้ลงชื่อแทนผู้ประกอบพาณิชยกิจซึ่งถึงแก่กรรม 
6. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ
ค่าธรรมเนียม 20 บาท 
สถานที่ติดต่อ 
ยื่นคำขอได้ ณ สำนักงานเขตที่ตั้งของสถานที่ประกอบพาณิชยกิจ หรือ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 ชั้น 2 (ยื่นได้ทุกเขต) 

กระบวนงานทะเบียนพินัยกรรม
แบ่งเป็น 
1. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง 
2. พินัยกรรมแบบเอสารลับ 
3. พินัยกรรมด้วยวาจา 
4. การตัดทายาทโดยธรรม 
5. ถอนการตัดทายาทโดยธรรม 
6. สละมรดก 
เอกสารที่ใช้ 
1. ผู้ร้อง อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ พร้อมบัตร           ประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี) 
2. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์(กรณีขอทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง) 
3. พินัยกรรมที่ปิดผนึกใส่ซองแล้ว (กรณีขอทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ) 
4. พยานอย่างน้อย 2 คน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน อายุ 20 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้าน 
ค่าธรรมเนียม 
1. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง 
- กรณีทำที่สำนักงานเขต ฉบับละ 50 บาท คู่ฉบับๆ ละ 10 บาท 
- กรณีทำนอกสำนักงานเขต ฉบับละ 100 บาท คู่ฉบับๆ ละ 20 บาท 
2. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ฉบับละ 20 บาท 
3. หนังสือตัดทายาทโดยธรรม, การถอนตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก, การสละมรดก 
- ค่าจัดทำหนังสือ ฉบับละ 20 บาท 
- ในการเก็บราเอกสาร ฉบับละ 20 บาท 
สถานที่ติดต่อ 
ยื่นคำขอทำได้ทุกสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง

กระบวนงานทะเบียนสมาคม
1.การจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมขึ้นใหม่ ยื่นคำขอ ณ สำนักงานเขตที่สถานที่ตั้งของสำนักงานสมาคมตั้งอยู่ 
เอกสารที่ใช้ 
เอกสารทุกอย่าง 3 ชุด ดังนี้ 
1. คำขอ ส.ค.1 
2. รายงานการประชุมก่อตั้งสมาคม 
3. ข้อบังคับของสมาคม 
4. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกสมาคม ไม่น้อยว่าสิบคน พร้อมสำเนาบัตร ประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และสำเนาทะเบียนบ้าน 
5. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมพร้อมสำเนาบัตรประจำตัว ประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และสำเนาทะเบียนบ้าน 
6. บันทึกคำให้การของผู้จะเป็นกรรมการ 
7. แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคม 
8. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม หรือสัญญาเช่าสถานที่ หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์
9. สำเนา ว.ธ.2 กรณีสมาคมมีวัตถุ ประสงค์เกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ 
10. เอกสารอื่น (ถ้ามี) 
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ 5 บาท 
ค่าธรรมเนียมจัดตั้งสมาคม 2,000 บาท 

2.การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม ต้องยื่นคำขอภายใน 14 วันนับแต่วันที่มีมติที่ประชุม เอกสารที่ใช้ 
เอกสารทุกอย่าง 3 ชุด ดังนี้ 
1. คำขอ ส.ค.2 
2. รายงานการประชุมแก้ไขข้อบังคับ 
3. ข้อบังคับของสมาคมฉบับเดิม และฉบับใหม่ 
4. ตารางเปรียบเทียบข้อบังคับที่ขอแก้ไข 
5. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม หรือสัญญาเช่าสถานที่ หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์   (กรณีขอเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของสมาคม)
6. แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคม (กรณีขอเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของสมาคม) 
7. สำเนา ส.ค. 4 (ใบสำคัญแสดงการจัดตั้งสมาคม) หรือ ส.ค.5 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแก้ ไขข้อบังคับ)หรือ ส.ค.6 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการฯ) 
8. เอกสารอื่น (ถ้ามี) 
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ 5 บาท 
ค่าธรรมเนียมการแก้ไขข้อบังคับ 200 บาท

3. การจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการมูลนิธิ ต้องยื่นคำขอภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมติที่ประชุม 
เอกสารที่ใช้ 
เอกสารทุกอย่าง 3 ชุด ดังนี้ 
1. คำขอ ส.ค.3 
2. รายงานการประชุมแต่งตั้งกรรมการหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการ 
3. สำเนาหนังสือขอลาออกจากกรรมการ กรณีกรรมการยังไม่คบวาระดำรงตำแหน่ง 
4. สำเนาข้อบังคับของสมาคม 
5. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว ประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออให้ และสำเนาทะเบียนบ้าน 
6. บันทึกคำให้การของผู้จะเป็นกรรมการ 
7. สำเนา ส.ค.4 (ใบสำคัญแสดงการจัดตั้งสมาคม) หรือ ส.ค.5 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน แก้ไขข้อบังคับ) หรือ ส.ค.6 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการ ฯ) 
8. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) 
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ 5 บาท
ค่าธรรมเนียมการแต่งตั้งกรรมการใหม่หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการ 200 บาท 

4. การจดทะเบียนเลิกสมาคม ต้องยื่นคำขอภายใน 14 วันนับแต่วันที่มีมติที่ประชุม 
เอกสารที่ใช้ 
1. คำขอเลิกสมาคม 
2. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม (ส.ค.4) ฉบับจริง 
3. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการ ฯ ซึ่งเป็นกรรมการที่อยู่ในตำแหน่งขณะที่มี การเลิกมาคม (ส.ค.6) ฉบับจริง 
4. ข้อบังคับของสมาคม
5. เอกสารการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี 
6. รายงานการประชุมของสมาคมที่มีมติให้เลิกสมาคม 
7. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ 5 บาท
* กรณีกรรมการมูลนิธิเป็นชาวต่างชาติ จะต้องมีหนังสือรับรองประวัติจากสถานทูตประเทศที่ถือสัญชาติด้วย

กระบวนงานทะเบียนมูลนิธิ
1. การจดทะเบียนจัดตั้งข้อมูลนิธิขึ้นใหม่ ยื่นคำขอ ณ สำนักงานเขตที่สถานที่ตั้งของสำนักงานมูลนิธิตั้งอยู่ 
เอกสารที่ใช้ 
เอกสารทุกอย่าง 3 ชุด ดังนี้
1. คำขอ ม.น.1 
2. รายงานการประชุมก่อตั้งมูลนิธิ 
3. ข้อบังคับของมูลนิธิ 
4. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิ พร้อมสำเนาบัตรประจำประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และสำเนาทะเบียนบ้าน 
5. บันทึกคำให้การของผู้จะเป็นกรรมการ 
6. แผนผังที่ตั้งสังเขปของมูลนิธิ 
7. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของมูลนิธิ หรือสัญญาเช่าสถานที่หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ 
8. รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สิน ที่จะจัดสรรสำหรับมูลนิธิ 
9. หนังสือคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิ 
10. สำเนาพินัยกรรม กรณีการจัดตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม 
11. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) 
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ 10 บาท 
ค่าธรรมเนียมจัดตั้งมูลนิธิ 200 บาท 

2. การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ ต้องยื่นคำขอภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมติที่ประชุม 
เอกสารที่ใช้ 
เอกสารทุกอย่าง 3 ชุด ดังนี้ 
1. คำขอ ม.น.2 
2. รายงานการประชุมแก้ไขข้อบังคับ 
3. ข้อบังคับของมูลนิธิฉบับเดิม และฉบับใหม่ 
4. ตารางเปรียบเทียบข้อบังคับที่ขอแก้ไข 
5. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของมูลนิธิ หรือสัญญาเช่าสถานที่ หรือหนังสือแสดง 
6. กรรมสิทธิ์ (กรณีขอเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของมูลนิธิ) 
7. แผนผังที่ตั้งสังเขปของมูลนิธิ (กรณีขอเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของมูลนิธิ) 
8. สำเนา ม.น.3 (ใบสำคัญแสดงการจัดตั้งมูลนิธิ) 
9. หรือ ม.น.5 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับ) 
10. หรือ ม.น.4 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการ ฯ) 
11. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) 
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ 5 บาท

3. การจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการมูลนิธิ ต้องยื่นคำขอภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมติที่ประชุม 
เอกสารที่ใช้ 
เอกสารทุกอย่าง 3 ชุด ดังนี้ 
1. คำขอ ม.น.2 
2. รายงานการประชุมแต่งตั้งกรรมการหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการ 
3. สำเนาหนังสือขอลาออกจากกรรมการ กรณีกรรมการยังไม่คบวาระดำรงตำแหน่ง 
4. สำเนาข้อบังคับมูลนิธิ
5. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และสำเนาทะเบียนบ้าน 
6. บันทึกคำให้การของผู้จะเป็นกกรรมการ 
7. สำเนา ม.น.3 (ใบสำคัญแสดงการจัดตั้งมูลนิธิ) หรือ ม.น.5 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแก้ไข ข้อบังคับ) หรือ ม.น.4 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการ ฯ) 
8. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) 
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ 5 บาท 
ค่าธรรมเนียมการแต่งตั้งกรรมการใหม่หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการ 50 บาท 

4. การจดทะเบียนเลิกมูลนิธิ ต้องยื่นคำขอภายใน 14 วันนับแต่วันที่มีมติที่ประชุม 
เอกสารที่ใช้ 
1. คำขอ ม.น.5 
2. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ(ม.น.3) ฉบับจริง 
3. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการ ฯ ซึ่งเป็นกรรมการที่อยู่ในตำแหน่ง 
4. ขณะที่มีการเลิกมูลนิธิ (ม.น.4) ฉบับจริง 
5. ข้อบังคับของมูลนิธิ 
6. เอกสารการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี 
7. รายงานการประชุมของมูลนิธิที่มีมติให้เลิกมูลนิธิ 
8. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) 
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ 5 บาท 
 * กรณีกรรมการมูลนิธิเป็นชาวต่างชาติ จะต้องมีหนังสือรับรองประวัติจากสถานฑูตประเทศที่ถือสัญชาติด้วย

ฝ่ายทะเบียน

คำถาม บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุกี่ปี 
คำตอบ 8 ปี 

คำถาม การย้ายที่อยู่ผู้ประสงค์ขอย้ายด้วยตนเองต้องมีอายุเท่าไรขึ้นไป 
คำตอบ 15 ปีบริบูรณ์ 

คำถาม การหย่าต่างสำนักทะเบียนทำได้หรือไม่
คำตอบ ทำได้โดยที่ผู้ยื่นคำร้องรายที่ 1 ของคู่สมรสยื่นที่สำนักทะเบียนต้นทางและส่งสำนักทะเบียน ปลายทางเป็นผู้รับและดำเนินการต่อโดยที่ผู้ยื่นคำร้องรายที่ 2 ของคู่สมรสมาพบและยื่นเอกสาร 

คำถาม บัตรประจำตัวประชาชนเริ่มทำครั้งแรกตอนอายุเท่าไร 
คำตอบ อายุ 7 ปีบริบูรณ์ 

คำถาม การแจ้งเกิดต้องแจ้งภายในกี่วัน 
คำตอบ ภายใน 15 วัน 

คำถาม คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ฝ่ายหญิงต้องอายุเท่าไรขึ้นไป 
คำตอบ อายุ 17 ปีบริบูรณ์ 

คำถาม บัตรประจำตัว 3 สัญชาติ เริ่มทำครั้งแรกตอนอายุเท่าไร 
คำตอบ อายุ 5 ปีบริบูรณ์ 

คำถาม การแจ้งตายทำได้ภายในกี่วัน 
คำตอบ ภายใน 24 ชั่วโมง 

คำถาม การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล สามารถทำได้ทุกสำนักทะเบียนหรือไม่ 
คำตอบ ไม่สามารถทำได้ สามารถทำได้ที่สำนักทะเบียนที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเท่านั้น 

คำถาม การตั้งชื่อสกุลสามารถตั้งได้กี่ตัวอักษร 
คำตอบ 10 ตัวอักษรไม่รวมสระ


ฝ่ายการคลัง

คำถาม การจ่ายชำระเงินภาษี ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาต ค่าบริการ และค่าปรับ สามารถชำระด้วยอะไรได้บ้าง? 
คำตอบ สามารถจ่ายชำระได้ดังนี้ 
1. เงินสด 
2. เช็คหรือแคชเชียร์เช็ค เฉพาะธนาคารที่มีสำนักงานหรือสาขาในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น 
3. โดยเช็คลงวันที่นั้นหรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 30 วัน พร้อมขีดคร่อมจ่ายให้แก่ “กรุงเทพมหานคร” กับขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” และหรือ “ตามคำสั่ง”
4. บัตรเครดิต (มีค่าธรรมเนียมบัตร 1% ของยอดที่จ่ายชำระ) 

คำถาม การวางค้ำระกันสัญญาสามารถค้ำประกันด้วยอะไรได้บ้าง? 
คำตอบ สามารถวางค้ำประกันได้ดังนี้ 
1. เงินสด 
2. เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือดราฟท์นั้นชำระต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่ ทำสัญญา หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3 วันทำการ 
3. หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ ตามตัวอย่างที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด 4. ดังระบุในข้อ 1.4(2) หรือจะเป็นหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด 
5. หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ 6. กิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่ง 
7. ประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ โดยอนุโลม 
8. ให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด ดังระบุใน 9. ข้อ1.4(2) 10. พันธบัตรรัฐบาลไทย 

คำถาม การมารับเช็ค ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานประกอบอะไรบ้าง? 
คำตอบ มีเอกสารหรือหลักฐานประกอบดังนี้ 
1. ใบเสร็จรับเงินของบริษัท/ห้าง/ร้าน กรณีที่เจ้าของบริษัท/ห้าง/ร้านไม่สามารถมารับเช็คด้วย ตนเองได้ ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบ อำนาจ และเอกสารแสดงชื่อผู้มีอำนาจในการลงนามของบริษัท/ห้าง/ร้าน 
2. บัตรประชาชนตัวจริงของผู้มารับเช็ค เพื่อยืนยันตัวตน 

คำถาม การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจ 
คำตอบ
1.กรณีมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว ปิดอากรแสตมป์ จำนวน 10 บาท 
2. กรณีมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ปิดอากร แสตมป์จำนวน 30 บาท 
3. กรณีมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำ กิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจ ค่าอากรแสตมป์ คนละ 30 บาท

คำถาม การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี รายการค่าครุภัณฑ์ ต้องตั้งชื่อรายการ และตั้งงบประมาณอย่างไร 
คำตอบ สามารถจ่ายชำระได้ดังนี้ 
1. กรณีรายการครุภัณฑ์มีมาตรฐาน ให้ตั้งตามชื่อรายการและราคาตามมาตรฐานของราชการ ได้แก่สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี และกรุงเทพมหานคร 
2. กรณีรายการครุภัณฑ์ไม่มีมาตรฐาน ให้ใช้ชื่อและคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ภาษาไทย และใบเสนอราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด จำนวน 3 ราย 

คำถาม การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี รายการค่าครุภัณฑ์ ต้องจัดทำรายละเอียด คุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์นั้นๆ หรือไม่
คำตอบ จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ เฉพาะครุภัณฑ์ที่ไม่มีมาตรฐาน

คำถาม ถ้าจัดซื้อจัดจ้างรายการที่มีวงเงินเล็กน้อยจะต้องทำเป็นสัญญาหรือไม่
คำตอบ ไม่ต้องทำเป็นสัญญาก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานในการจัดซื้อจัดจ้าง 

คำถาม คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ต้องมีจำนวนอย่างน้อยกี่คน
คำตอบ อย่างน้อย 3 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอย่างน้อย 2 คน

คำถาม บริษัท/ห้าง/ร้าน ที่หน่วยงานทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (1%) เมื่อมียอด การจัดซื้อจัดจ้างจำนวนเงินเท่าใด
คำตอบ 
1. กรณีเป็นบุคคลธรรมดา/ร้าน/ห้างหุ้นส่วนสามัญ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อมียอดการจัดซื้อ จัดจ้างจำนวน 10,000 บาทขึ้นไป 
2. กรณีเป็น/ห้างหุ้นส่วนจำกัด/บริษัท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อมียอดการจัดซื้อจัดจ้างจำนวน 500 บาทขึ้นไป

คำถาม การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง มีวงเงินเกิน 500,000 บาท ต้องมีการเผยแพร่ เพื่อรับฟังความคิดเห็น จากผู้ประกอบการหรือไม่
คำตอบ 
1. กรณีการซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง มีวงเงินเกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท จะ เผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการหรือไม่ก็ได้ อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าหน่วยงาน 
2. กรณีการซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง มีวงเงินเกิน 5,000,000 บาท ต้องเผยแพร่ เพื่อรับฟังความ คิดเห็นจากผู้ประกอบการ


ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม

คำถาม การขอยื่นเอกสารเกี่ยวกับผู้สูงอายุ สามารถดำเนินการได้ทุกเขต หรือไม่
คำตอบ ต้องยื่นตามทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้สูงอายุอาศัยอยู่เท่านั้น

คำถาม การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะได้รับคนละเท่าไร
คำตอบ ได้รับตามช่วงอายุเป็นขั้นบันได 
60-69 ปี ได้รับ 600 บาท 
70-79 ปี ได้รับ 700 บาท 
80-89 ปี ได้รับ 800 บาท
90 ปีขึ้นไปได้ 1,000 บาท

คำถาม การยื่นคำขอลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สามารถทำได้เมื่อไร
คำตอบ การยื่นคือช่วง ม.ค.-ก.ย. ชองทุกปี และช่วงเดือน ต.ค.-กย. ของทุกปี (ในกรณีย้ายแล้วลงทะเบียนใหม่)

คำถาม ผู้สูงอายุอยู่บ้านพักคนชรา มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพหรือไม่
คำตอบ กรณีถ้ายังอยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐบาล จะไม่มีสิทธิดได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอาย

คำถาม ถ้าผู้สูงอายุ และมีสภาพป่วยติดเตียง จะทำอย่างไร
คำตอบ แนะนำให้ไปทำบัตรคนพิการก่อน และประสานเจ้าหน้าที่ (พยาบาลในพื้นที่) ลงเยี่ยมบ้าน

คำถาม ทำบัตรคนพิการได้ที่ไหน
คำตอบ หน่วยงานที่รับทำ หรือสถานพยาบาลที่รับ ใกล้ที่สุด (โรงพยาบาลนพรัตน์/บ้านราชวิถี)

คำถาม คนพิการ รักษาโรงพยาบาลที่ไหนได้บ้าง
คำตอบ ทุกโรงพยาบาลของรัฐบาล (ฟรี)

คำถาม เด็กอายุเท่าไร ที่สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดได้
คำตอบ เด็กเกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป

คำถาม สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ได้ทุกเขตหรือไม
คำตอบ ยื่นตามที่อยู่ปัจจุบันที่เลี้ยงดูเด็ก (กทม.ลงทะเบียนที่สำนักงานเขต)

คำถาม เมื่อลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดแล้ว จะทราบผลเมื่อไร
คำตอบ ไม่สามารถบอกระยะเวลาได้แน่นอน เนื่องจากกรมกิจการเด็ก กระทรวงพัฒนาสังคมฯ เป็นผู้พิจารณาผล

ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ

คำถาม ค่าบริการสูบสิ่งปฏิกูลคิดราคาเท่าไหร
คำตอบ คิดราคาลูกบาศก์เมตรละ 250 บาท หากเศษไม่ถึงครึ่งลูกบาศก์เมตร คิดราคาละ 150 บาท ถ้าเศษเกินครึ่งลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 1 ลูกบาศก์เมตร

คำถาม การชำระค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอยสามารถชำระได้อย่างไรบ้าง
คำตอบ การชำระค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอยสามารถชำระกับเจ้าหน้าที่ที่ออกไปบริการเก็บค่าธรรมเนียม โดยเจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ชำระเงินไว้เป็นหลักฐาน หรือถ้าไม่สะดวกสามารถชำระ ได้ทางธนาณัติสั่งจ่ายกรุงเทพมหานคร หรือมาชำระได้โดยตรงที่ฝ่ายรักษาความสะอาดและ สวนสาธารณะ สำนักงานเขตดอนเมือง

คำถาม หากต้องการให้สำนักงานเขตไปเก็บขยะครั้งคราว คิดอัตราค่าบริการอย่างไร
คำตอบ คิดราคาลูกบาศก์เมตรละ 150 บาท ถ้าเต็มรถบรรทุกขนาด 6 ล้อ เท่ากับ 8 ลูกบาศก์เมตร คิดราคา1,200 บาท

คำถาม เงินที่ได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียม กรุงเทพมหานครเอาไปใช้ทำอะไรบ้าง
คำตอบ 
1. กรุงเทพมหานครนำไปพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการขยะ เช่น เพิ่มอุปกรณ์และยานพาหนะ เพื่อให้การบริการเก็บขนขยะได้มากขึ้น แก้ปัญหาขยะตกค้างในพื้นที่ 
2. พัฒนาพื้นที่สีเขียวและแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ เช่น สร้างสวนสาธารณะ ลานกีฬา 
3. พัฒนาด้านอื่น ๆ เช่น การขยายโอกาสการศึกษาสำหรับคนทุกระดับ ด้วยการสร้างห้องสมุด ชุมชน และการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนเมือง

คำถาม การชำระค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอยถือเป็นหน้าที่ของใคร
คำตอบ การชำระค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอย ถือเป็นหน้าที่ของประชาชนผู้รับบริการ ตามหลักการ ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย

คำถาม วิธีการตัดแต่งต้นไม้ของกรุงเทพมหานคร มีวิธีการตัดแต่งอย่างไร
คำตอบ วิธีการตัดแต่งต้นไม้ มี 3 วิธี คือ 
1. การตัดสางโปร่ง เป็นการตัดกิ่งหลัก ๆ ออกจากลำต้นใหญ่ทั้งกิ่ง 
2. การตัดให้เตี้ย เป็นการตัดกิ่งรอง ๆ ลงไปที่อยู่ปลายกิ่ง 
3. การตัดเล็ม เป็นการตัดแต่งเฉพาะที่ผิวของทรงพุ่มที่ประกอบด้วยใบและตายอด

คำถาม ค่าบริการในการตัดต้นไม้ คิดค่าบริการอย่างไร
คำตอบ 
1. ค่าบริการตัดต้นไม้ 
   1.1 บริเวณที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง คิดค่าบริการ ดังนี้ 
-ขนาดรอบโคนต้น ไม่เกิน 100 ซม. ต้นละ 200 บาท
-ขนาดรอบโคนต้น 101 - 150 ซม. ต้นละ 500 บาท 
-ขนาดรอบโคนต้น 151 - 200 ซม. ต้นละ 800 บาท 
-ขนาดรอบโคนต้น 201 - 250 ซม. ต้นละ 1,000 บาท 
-ขนาดรอบโคนต้น 251 - 300 ซม. ต้นละ 1,400 บาท 
-ขนาดรอบโคนต้น 301 ซม. ขึ้นไป ต้นละ 1,700 บาท 
   1.2 บริเวณที่จำกัดหรือมีสิ่งกีดขวาง คิดค่าบริการ ดังนี้ 
-ขนาดรอบโคนต้น ไม่เกิน 100 ซม. ต้นละ 400 บาท 
-ขนาดรอบโคนต้น 101 - 150 ซม. ต้นละ 1,000 บาท
-ขนาดรอบโคนต้น 151 - 200 ซม. ต้นละ 1,600 บาท 
-ขนาดรอบโคนต้น 201 - 250 ซม. ต้นละ 2,200 บาท 
-ขนาดรอบโคนต้น 251 - 300 ซม. ต้นละ 2,800 บาท 
-ขนาดรอบโคนต้น 301 ซม. ขึ้นไป ต้นละ 3,400 บาท 
2. ค่าบริการขุดโคนต้นที่ตัดแล้ว คิดค่าบริการ ดังนี้ 
-ขนาดรอบโคนต้น 50 - 100 ซม. ต้นละ 600 บาท 
-ขนาดรอบโคนต้น 101 - 150 ซม. ต้นละ 1,000 บาท 
-ขนาดรอบโคนต้น 151 - 200 ซม. ต้นละ 1,400 บาท 
-ขนาดรอบโคนต้น 201 - 250 ซม. ต้นละ 2,000 บาท 
-ขนาดรอบโคนต้น 251 - 300 ซม. ต้นละ 3,000 บาท 
-ขนาดรอบโคนต้น 301 ซม. ขึ้นไป ต้นละ 4,000 บาท 
3. ค่าเก็บขน (ระยะทาง ต่อ กิโลเมตร) 
    3.1 ไม่เกิน 10 กิโลเมตร เที่ยวละ 500 บาท 
    3.2 เกิน 10 กิโลเมตร เที่ยวละ 700 บาท 
    กรณีผู้ขอรับบริการเป็นหน่วยงานของรัฐ ให้ลดค่าบริการลงร้อยละ 20 จากอัตราที่กำหนด

คำถาม การคิดค่าเสียหายของไม้ยืนต้น คิดอย่างไร
คำตอบ คิดจากการวัดขนาดเส้นรอบวงที่วัดโคนต้นเป็นเกณฑ์ และคิดค่าเสียหาย ดังนี้ 
-ขนาดเส้นรอบวง 0.01 – 0.09 เมตร ต้นละ 500 บาท 
-ขนาดเส้นรอบวง 0.10 – 0.19 เมตร ต้นละ 2,000 บาท 
-ขนาดเส้นรอบวง 0.20 – 0.29 เมตร ต้นละ 3,000 บาท 
-ขนาดเส้นรอบวง 0.30 – 0.39 เมตร ต้นละ 5,000 บาท 
-ขนาดเส้นรอบวง 0.40 – 0.49 เมตร ต้นละ 10,000 บาท 
-ขนาดเส้นรอบวง 1 เมตร ขึ้นไป ต้นละ 20,000 บาท