คลองวัดจันทร์ใน “คลองแห่งเรื่องเล่าชาวบางคอแหลม”

สมาชิก SMART TEAM ลงพื้นที่วัดจันทร์ใน เพื่อสถอบถามประวัติความเป็นมาของคลองวัดจันทร์ในจากท่านหลวงพ่อจำปี  เจ้าอาวาสวัดจันทร์ใน 
จากการสอบถามประวัติความเป็นมาจากหลวงพ่อจำปี เจ้าอาวาสวัดจันทร์ใน ทีมีอายุ 90 พรรษา  เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 4 ของวัดจันทร์ใน เขตบางคอแหลม โดยหลวงพ่อเล่าว่า แต่ก่อนคลองวัดจันทร์ในเป็นคลองที่กว้างมากๆ เป็นคลองที่ประชาชนใช้สัญจรทางน้ำ มีการค้าขายสินค้าทางน้ำ และมีการใส่บาตรยามเช้าทางน้ำอีกด้วย  นอกจากนี้หลวงพ่อยังบอกอีกว่าประชาชนในพื้นที่ยังมีการทำประมง จับสัตว์น้ำมาขายบ้าง  ทำอาหารบ้าง  ไม่น่าเชื่อเลยว่าคลองแห่งนี้จะมีเรื่องราวความเป็นมาเป็น “คลองแห่งเรื่องเล่าชาวบางคอแหลม” ที่แท้จริง

พวกเรายังได้สอบถามท่านอีกว่า คำว่า “จันทร์” นี้มาจาก จันทร์อะไร  ท่านก็ตอบพวกเรามาว่า  ตัวท่านเองมาอยู่ที่นี่ก็ใช้ชื่อนี้แล้ว แต่หากจะให้ท่านแสดงความคิดเห็นก็กลัวข้อมูลจะผิดเพี้ยนไป แต่จันทร์ที่ท่านคิดว่าอาจมีส่วนในการตั้งชื่ออาจจะมาจาก  “ต้นจันทน์” ที่ปลูกในวัดเป็นจำนวนมาก หรือหม่อมเจ้าบรรดาจันทร์ ก็ไม่อาจรู้ได้

โครงการ " คลองวัดจันทร์ในสวย น้ำใส ไร้ขยะ "

คลองในอดีตนั้นมีบทบาทสำคัญมาก ตลอดคลองสองฝั่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของมนุษย์ มีการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตร เป็นแหล่งผลิตอาหาร แหล่งกำเนิดศิลปวัฒนธรรม ประเพณีทางน้ำ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่จากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของคนไทย มีการใช้น้ำจากระบบประปา ปลูกสร้างบ้านเรือนรุกล้ำคูคลอง รวมถึงการถมพื้นที่ริมน้ำ ทำให้แหล่งน้ำต่างๆกลายเป็นเพียงที่รองรับและระบายน้ำฝน ไม่ได้รับความดูแล เช่นเดียวกับคลองคลองวัดจันทร์ในที่ประสบกับปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำ ปัญหาขยะ น้ำตื้นเขิน เนื่องจากคลองเป็นที่รองรับน้ำเสียแหล่งของเสียจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น บ้านเรือน ชุมชน อาคารสงเคราะห์สำนักงานเขตบางคอแหลม วัด โรงเรียน ตลาด และสถานประกอบการต่างๆ ที่ทิ้งลงมาโดยไม่ได้รับการบำบัด ทำให้ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภคได้  อีกทั้งยังทำให้สูญเสียความสวยงามของทัศนียภาพริมฝั่งคลอง ส่งผลกระทบต่อสิ่งที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชุมชนดั้งเดิมที่เหมาะจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ หรือเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชน
           จากสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาขยะ น้ำเน่าเสีย น้ำตื้นเขิน ดินโคลนทับถม ความปลอดภัยในการสัญจร และสภาพแวดล้อมที่ไม่สวยงามของคลองวัดจันทร์ใน สำนักงานเขตบางคอแหลมจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ริมคลองวัดจันทร์ใน โดยส่งเสริมให้หน่วยงานและชุมชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อม และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการรักษาแม่น้ำลำคลอง ให้กับประชาชนทุกช่วงทุกวัยโดยเริ่มตั้งแต่วัยเยาว์จนถึงผู้สูงอายุ โดยการทำกิจกรรมที่มีการบูรณาการร่วมกัน เพื่อปรับปรุงคลองวัดจันทร์ใน ให้สะอาด น้ำมีคุณภาพดีขึ้น ประชาชนมีสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี และมีการปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม มีการสร้าง Landmark แห่งใหม่ที่สะท้อนหรือบ่งบอกถึงเรื่องราวและอัตลักษณ์วิถีชีวิตของคนในชุมชน


สภาพปัญหาของคลองวัดจันทร์ใน







กิจกรรมตามโครงการคลองวัดจันทร์ในสวย น้ำใส ปลอดภัย ไร้ขยะ
1. กิจกรรม Canal Art ศิลปะริมคลอง สร้างเป็นจุด Check-in แห่งใหม่ของเขตบางคอแหลมบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของคนในชุมชน
2. กิจกรรมแต้มสี ทาสีบันไดและราวกันตกคลองวัดจันทร์ใน 
3. กิจกรรมบ้านริมคลอง น่ามอง น่าอยู่
4. กิจกรรมขัดสีฉวีวรรณ
5. กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียว
6. กิจกรรมสำรวจ ติดตาม สถานประกอบการอาหารที่ปล่อยน้ำเสีย
7. กิจกรรมจัดทำน้ำหมักจุลินทรีย์
8. กิจกรรมไฟสว่างทางสะดวก
9. ติดตั้งกล้อง CCTV บริเวณทางเดินริมคลอง
10. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะตามหลัก 3Rs



>>>> การดำเนินการ <<<<

1. กิจกรรม Canal Art ศิลปะริมคลอง สร้างเป็นจุด Check-in แห่งใหม่ของเขตบางคอแหลมบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของคนในชุมชน

สภาพของกำแพงริมคลองวัดจันทร์ในก่อน-หลังดำเนินการทาสี


กลุ่มศิลปิน Dr.cas และ Parangjew เริ่มวาดภาพบริเวณกำแพงริมคลอง โดยเป็นภาพกระต่าย ซึ่งมาจากคำว่า “จันทร์(น์)” 4 จันทร์(น์) ของเขตบางคอแหลม คือ คลองจันทร์ วัดจันทร์ใน วัดจันทร์นอก และถนนจันทน์ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของเขตบางคอแหลม





หลังดำเนินการวาดภาพบริเวณกำแพงริมคลองเสร็จสิ้น




2. กิจกรรมแต้มสี ทาสีบันไดและราวกันตกคลองวัดจันทร์ใน 



3. กิจกรรมบ้านริมคลอง น่ามอง น่าอยู่

ทาสีรั้วอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างเขตบางคอแหลม 


4. กิจกรรมขัดสีฉวีวรรณ

กิจกรรม"ขัดสีฉวีวรรณ" ขัด ถู ทำความสะอาดทางเดินริมคลองและกำแพงบริเวณริมคลอง โดยการทำความสะอาดกำแพงและพื้นของทางเดินริมคลอง โดยการขัด ถู ให้สะอาดไม่มีตะไคร่น้ำ เพื่อให้เกิดความสะอาดและมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม 



5. กิจกรรมเพิ่มพื้นที่สีเขียว




6. กิจกรรมสำรวจ ติดตาม สถานประกอบการอาหารที่ปล่อยน้ำเสีย



7. กิจกรรมจัดทำน้ำหมักจุลินทรีย์





8. กิจกรรมไฟสว่างทางสะดวก

ไฟฟ้าบริเวณทางเดินริมคลองวัดจันทร์ในมีแสงสว่างไม่เพียงพอ และมีชำรุดบางจุด


เจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวง เขตยานนาวา ร่วมสนับสนุนโครงการโดยการเปลี่ยนหลอดไฟ (หลอดแสงจันทร์) จำนวน 9 ดวง พร้อมฝาครอบดวงไฟใหม่ เพื่อเพิ่มขนาดหลอดไฟฟ้าสาธารณะให้มีความสว่างมากขึ้น ป้องกันการเกิดอาชญากรรม ลดความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน


หลังดำเนินการ ไฟฟ้าริมคลองวัดจันทร์ในได้รับการซ่อมแซม ทำให้มีแสงสว่างมากขึ้น และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ประชาชนที่สัญจร



9. ติดตั้งกล้อง CCTV บริเวณทางเดินริมคลอง


ติดตั้งกล้อง cctv เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลความปลอดภัยในการใช้เส้นทางสัญจรของประชาชนและนักเรียนในบริเวณทางเดินริมคลอง





10. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะตามหลัก 3Rs