(3 เม.ย. 68) ขั้นตอนการดำเนินการตรวจสอบอาคารหลังแผ่นดินไหว

1. หาผู้ตรวจสอบ ----> 2. ตรวจสอบอาคาร -----> 3. รายงานผลต่อ กทม.
1. หาผู้ตรวจสอบ
เจ้าของอาคาร 9 ประเภท ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จัดหาผู้ตรวจสอบอาคาร ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ลิงค์สำหรับข้อมูลผู้ตรวจสอบอาคาร https://webs-apps.dpt.go.th/dpt_auditbldg/BCB/
2. ตรวจสอบอาคาร
ผู้ตรวจสอบอาคาร ตรวจสอบ ความเสียหาย ตามคู่มือการสำรวจความเสียหายขั้นต้นของโครงสร้างอาคารหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและ ดำเนินการตรวจสอบความเสียหายพร้อมทั้งประเมินวิธีการ ปรับปรุง แก้ไข ซ่อมแซม หรือเสริมกำลังของอาคาร กรณีการแก้ไขโครงสร้างหรือเสริมกำลังต้องให้คำปรึกษาหรือแนะนำโดยวุฒิวิศวกรโยธา
แบบการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารที่ใช้ในการประเมินความเสียหายของอาคารหลังจากแผ่นดินไหว
ㆍข้อมูลทั่วไปของอาคาร
ㆍข้อมูลทางกายภาพของอาคาร
ㆍความเสียหายจากสภาพโดยรอบ
ㆍความเสียหายภายนอกอาคาร
ㆍความเสียหายของโครงสร้างอาคาร
สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการตรวจสอบอาคารขั้นต้น ได้ที่นี่ >>> เปิดที่นี่
3. รายงานผลต่อ กทม.
เจ้าของอาคารแจ้งผลการตรวจสอบให้ กทม. ทราบทาง https://survey123.arcgis.com/share/5be8948357044e5c96060225a5e20dd9?portalUrl=https://cpudgiportal.bangkok.go.th/portal
ประชาชนทั่วไปสามารถตรวจสอบอาคารที่ได้รับการตรวจสอบแล้วได้ที่ https://openpolicy.bangkok.go.th/bkkbuilding.html
** ถ้าตรวจไม่ทันภายใน 14 วัน ต้องทำอย่างไร **
- ให้แจ้งเหตุผล และแผนการดำเนินงาน ไปยังสำนักงานเขตในพื้นที่ เพื่อขอขยายระยะเวลาการตรวจ พร้อมกำหนดวันยื่นรายงานการตรวจครั้งที่ 2
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
สำนักงานควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
โทร. 0 2203 2459 หรือ 0 2203 2400
ขั้นตอนการดำเนินการตรวจสอบอาคารหลังแผ่นดินไหว >>> เปิดอ่านที่นี่