การทำว่าว สำนักงานเขตสาทร ปี 2566

วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566
image

ชื่อภูมิปัญญา : การทำว่าว

สาขา : ศิลปกรรม (ด้านงานประดิษฐ์)

วิธีทำ / ขั้นตอนในการทำ

                         ว่าวเป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งซึ่งปรากฏตามหลักฐานว่ามีตั้งแต่สมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1781 – 1981) และสมัยกรุงศรีอยุธยา

 (พ.ศ. 1893 – 2310) และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าวนิยมเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนาน 

 เพลิดเพลิน ในบางโอกาสสามารถนำมาจัดเป็นการแข่งขันว่าวได้

                          ประเภทและชนิดของว่าว

                          ในปัจจุบัน การเล่นว่าวได้พัฒนาขึ้นรูปแบบของว่าวก็ได้ถูกพัฒนาให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมทั้งมีการประดิษฐ์ให้มีความทันสมัย สีสัน 

รูปแบบสวยงามเป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน โดยว่าวที่เล่นกันได้แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

                                 - ว่าวแผง เป็นว่าวที่ไม่มีความหนา มีแต่ส่วนกว้าง และส่วนยาว เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวอีลุ้ม ว่าวรูปสัตว์ต่าง ๆ

                       - ว่าวภาพ ชื่อของว่าวก็เป็นสิ่งที่บอกได้ว่า ว่าวประเภทนี้ต้องเกี่ยวข้องกับ ความคิดสร้างสรรค์ ฝีมือที่ใช้ในการประดิษฐ์ว่าว

เพื่อให้เกิดลักษณะที่พิเศษ เป็นที่น่าสนใจแก่ผู้คน ซึ่งว่าวภาพแบ่งย่อยเป็น 3 ประเภท คือ

                             1. ว่าวประเภทสวยงาม

                             2. ว่าวประเภทความคิด

                             3. ว่าวประเภทขบขัน

                          เจ้าของภูมิปัญญาเริ่มประกอบอาชีพทำว่าวขายมากกว่า 70 ปี โดยในอดีตขายอยู่บริเวณสวนลุมพินี ช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายนของทุกปี แต่ปัจจุบันขายว่าวให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบริเวณริมถนนเจริญราษฎร์ใกล้แยกสุรศักดิ์ หน้าชุมชนบ้านแบบ

          วัสดุอุปกรณ์

                   1. ไม้ไผ่ (สีสุก)

                   2. กระดาษสาไต้หวัน (สีขาว)

                   3. กระดาษแก้ว

                   4. กระดาษย่น

                   5. เชือกว่าว เบอร์ 9

                   6. พู่กันกลม เบอร์ 6 และ 9

                   7. สีผสมอาหาร (แบบผง) คละสี

                   8. แป้งเปียก

                   9. กรรไกรพลาสติก

                   10. มีดคัตเตอร์ใหญ่

          วิธีการทำ

                   1. เหลาไม้ไผ่ให้มีขนาดที่พอดี ไม่เล็กจนเกินไป เพราะจะไม่สามารถต้านแรงลมได้นาน หรือไม่ควรใหญ่จนเกินไป เพราะหากมีน้ำหนักมากเกินไปอาจจะทำให้ว่าวขึ้นสู่กระแสลมได้ไม่สูง ไม่สวยงาม

                   2. นำกระดาษสาไต้หวัน เชือก โดยนำกระดาษมาตัดตามรูปโครงว่าวให้ใหญ่กว่าขนาดโครงว่าวเล็กน้อย แล้วนำกาวมาติดตามขอบของโครงว่าว

                   3. วาดลวดลายว่าวตามความต้องการพร้อมลงสี แล้วนำกระดาษสีต่าง ๆ นำมาติดเพื่อความสวยงาม พร้อมทั้งเป็นการยึดให้กระดาษติดโครงว่าวมากขึ้น

ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางพิมพ์ ปุระมาศ

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสำนักงานเขตสาทร 02-2110881 ต่อ 7240