หน้าที่และความรับผิดชอบของฝ่ายเทศกิจ
          มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร เช่น
•   พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
•  พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
•  พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
•  พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508
•  พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510
•  พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475
•  พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543
•  พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535
•  พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
•  พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
•  พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ.2484
•  พ.ร.บ.สุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528
•  พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 
•  พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2546
•  พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.2482
•  พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550
•  พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
•  พ.ร.บ.หอพัก พ.ศ.2558 เป็นต้น

1.  การควบคุมดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
2.  การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3.  การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4.  งานนิติการทั่วไป
5.  งานเกี่ยวกับคดี
6.  การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
7.  การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ร้องเรียน
8.  งานในหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย

แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น 3 งาน ดังนี้

1. งานตรวจและบังคับการ 
มีหน้าที่รับผิดชอบในตรวจตรา ควบคุม ดูแล ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง และการบังคับการตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ ได้แก่ การจัดระเบียบหาบเร่-แผงลอย การสุขาภิบาลอาหารบนบาทวิถี การควบคุมการติดตั้ง ตาก วาง แขวนสิ่งใด ๆ ในที่สาธารณะ การควบคุมทิ้งซากยานยนต์ในที่สาธารณะ การควบคุมการปิดป้ายโฆษณาและการใช้เครื่องขยายเสียงโฆษณา
โดยมิได้รับอนุญาต การควบคุมการขุด ขีด เขียน กะเทาะ พ่นสีบนกำแพง ถนน ต้นไม้ การปล่อยนำสัตว์จูงไปตามถนน การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยทั่ว ๆ ไป การควบคุมการทิ้งสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยในที่สาธารณะ การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้อง การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่มีการร้องเรียน

2. งานคดีและธุรการ 
มีหน้าที่รับผิดชอบในการรับแจ้งความ รับคำร้องเรียน การสอบสวนและดำเนินคดี  การเปรียบเทียบให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร เช่น ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง เป็นต้น การเก็บรักษาของกลาง 
การจำหน่ายของกลาง การทำรายงานประจำวัน การสารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน การบัญชี การพัสดุ การดูแลทรัพย์สิน ยานพาหนะ เครื่องมือสื่อสาร การับ-ส่งเงินค่าปรับ  การรวบรวมสถิติรายงาน การบริหารงานบุคคล 

3. งานกิจการพิเศษ 
มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจตราควบคุมบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ ได้แก่ กาตรวจตราและจับกุมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ที่จอดและหรือขับขี่บนทางเท้าสาธารณะ รถบรรทุกที่มิได้จัดสิ่งป้องกันวัสดุที่บรรทุกตกหล่น หรือรั่วไหล ปลิว ฟุ้งกระจายบนถนน การตรวจควบคุมการก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ การป้องกันอัคคีภัย การให้ความช่วยเหลือและบริการประชาชนในกรณีเกิดเหตุสาธารณภัยต่าง ๆ ทั้งขณะเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ การตรวจตราสิ่งสาธารณะชำรุดบกพร่อง การอำนวยความสะดวกด้านการจราจร การให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว