กลองยาวและดนตรีไทย สำนักงานเขตสายไหม ปี 2565

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566
image

ชื่อภูมิปัญญา กลองยาวและดนตรีไทย

สาขา ศิลปกรรม ด้านดนตรี นาฏศิลป์

 

          กลองยาว เป็นเครื่องดนตรี สำหรับตีด้วยมือ ตัวกลองทำด้วยไม้ มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง

          เสียงหลักๆ ที่ใช้ในการตีกลองยาว ประกอบด้วย 3 เสียงคือ

                   ป๊ะ คือ เสียงกลองยาวที่ใช้ตีสอดแทรกกับเสียงอื่น วิธีการตี คือใช้ฝ่ามือ จนถึงปลายนิ้วตีลงบนหน้ากลองมุมใดมุมหนึ่ง โดยกดมือขวาไปที่หน้ากลองและเมื่อตีแล้วต้องให้มือแนบติดหน้ากลองตลอดเวลา

                   เพิ่ง คือ เสียงที่เกิดจากการตีเปิดมือโดยใช้มือขวาบริเวณโคนนิ้วถึงปลายนิ้ว โดยให้นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงที่บนหน้ากลองยาวบริเวณระหว่างขอบกลองกับใจกลางหน้ากลอง

                   บ่อม คือ เสียงที่มีใช้มาสำหรับการตีกลองยาวจะใช้ในตอนแรกหลังจากโห่สามลา แล้วโหม่งขึ้นตั้งจังหวะ ต่อจากนั้นจึงตีเป็นเสียงบ่อม สำหรับการบังคับมือ คือ ให้กำมือขวาแล้วตีลงบนหน้ากลองบริเวณที่ติดข้าวสุก เมื่อตีแล้วให้ผู้ตียกมือขึ้นเล็กน้อยจากหน้ากลองทันที เพื่อช่วยให้เสียงที่ตีแล้วนั้นดังกังวานและเกิดเสียงบ่อมตามที่ต้องการ

                   ติ๊ก การตีกลองที่ใช้นิ้วตีลงบริเวณหน้าขอบหน้ากลองโดยใช้น้ำหนักของนิ้วตี ส่วนมือนิ้วซ้ายแนบหน้ากลอง การตีต้องใช้นิ้วชี้ของมือขวาตีลงที่ขอบกลองจะเกิดเสียง “ติ๊ก...ติ๊ก...ติ๊ก” ติ๊ก นี้เป็นเสียงที่ใช้สอดแทรกอยู่ในขั้นตอนการโหมโรงนับเป็นการนำ “เทคนิค” เข้ามาใช้ทั้งยังเป็นการเล่นที่ทำให้เกิดความพร้อมเพรียง

          จังหวะเพลงกลองยาว หมายถึง กระสวนจังหวะกลองยาวที่มีการตีวนซ้ำไปมา โดยใช้เสียงพื้นฐานทั้ง 3 เสียงคือ ป๊ะ เพิ่ง บ่อม มาผูกเป็นเพลงต่างๆ และเขียนออกมาในรูปแบบของโน้ตเพลงไทยเดิม

นายกนกชัย สวัสดี

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสำนักงานเขตสายไหม 02-158-7364