เป้าหมาย 15
Goal 15
เป้าหมาย 15 : ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ |
เป้าประสงค์ 15.1
สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ระบบนิเวศบนบกและในน้ำจืดในแผ่นดินรวมทั้งบริการทางระบบนิเวศอย่างยั่งยืน เฉพาะอย่างยิ่ง ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ ภูเขาและเขตแห้งแล้ง โดยเป็นไปตามข้อบังคับภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ ภายในปี 2563
ตัวชี้วัด 15.1.1
ร้อยละของพื้นที่ป่าไม้ต่อพื้นที่ทั้งหมด
ตัวชี้วัด 15.1.2
สัดส่วนของพื้นที่สำคัญสำหรับความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งทางบกและในน้ำจืด ซึ่งถูกปกคลุมไปด้วยพื้นที่คุ้มครอง จำแนกตามประเทศ ระบบนิเวศ
เป้าประสงค์ 15.2
ส่งเสริมการดำเนินการด้านการบริหารจัดการป่าไม้ทุกประเภทอย่างยั่งยืน หยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม และเพิ่มการปลูกป่าและฟื้นฟูป่าทั่วโลก ภายในปี 2563
ตัวชี้วัด 15.2.1
ความก้าวหน้าในการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ 15.3
ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย ฟื้นฟูแผ่นดินที่เสื่อมโทรม รวมถึงแผ่นดินที่ได้รับผลกระทบจากการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ความแห้งแล้ง และอุทกภัย และพยายามที่จะบรรลุถึงโลกที่ไร้ความเสื่อมโทรมของที่ดิน ภายในปี 2573
ตัวชี้วัด 15.3.1
ร้อยละของพื้นที่ดินที่ถูกทำให้เสื่อมโทรมเทียบกับพื้นที่ดินทั้งหมด
เป้าประสงค์ 15.4
สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ระบบนิเวศภูเขาและความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศเหล่านั้น เพื่อจะเพิ่มพูนขีดความสามารถของระบบนิเวศเหล่านั้นที่จะให้ผลประโยชน์อันสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี 2573
ตัวชี้วัด 15.4.1
ขอบเขตของพื้นที่คุ้มครองที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพบนภูเขา
ตัวชี้วัด 15.4.2
ดัชนีพื้นที่ภูเขาสีเขียว
เป้าประสงค์ 15.5
ปฎิบัติการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยุ่ตามธรรมชาติ หยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และภายในปี 2563 จะปกป้องและป้องกันการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม
ตัวชี้วัด 15.5.1
ดัชนีบัญชีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคาม (Red List Index)
เป้าประสงค์ 15.6
สร้างหลักประกันว่าจะมีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม และส่งเสริมการเข้าถึงทรัพยากรเหล่านั้นอย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัด 15.6.1
จำนวนประเทศที่มีการยอมรับกรอบกฎหมาย กรอบการบริหารจัดการ และกรอบนโยบายเพื่อสร้างความมั่นใจในความเป็นธรรม และความเท่าเทียมในการแบ่งปันผลประโยชน์
เป้าประสงค์ 15.7
ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วยเพื่อจะยุติการล่าและการขนย้ายชนิดพันธุ์พืชและสัตว์คุ้มครอง และแก้ปัญหาทั้งอุปสงค์และอุปทานต่อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย
ตัวชี้วัด 15.7.1
สัดส่วนการค้าสัตว์ป่าโดยการหลอกลวงหรือผิดกฎหมาย
เป้าประสงค์ 15.8
นำมาตรการมาใช้เพื่อป้องกันการนำเข้าและลดผลกระทบของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรายในระบบนิเวศบกและน้ำและควบคุมหรือขจัด priority species ภายในปี 2563
ตัวชี้วัด 15.8.1
สัดส่วนประเทศที่ได้ใช้กฎหมายระดับชาติที่เกี่ยวข้อง และปกป้องทรัพยากรอย่างเพียงพอ หรือควบคุมชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ถูกรุกราน
เป้าประสงค์ 15.9
บูรณาการมูลค่าของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปสู่การวางแผนกระบวนการพัฒนา ยุทธศาสตร์การลดความยากจน และบัญชีทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ภายในปี 2563
ตัวชี้วัด 15.9.1
ความก้าวหน้าของการสร้างเป้าประสงค์ระดับชาติตามที่ระบุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ.2011-2020 (Strategic Plan for Biodiversity 2011-2020) เป้าประสงค์ที่ 2 ของ Aichi Biodiversity
เป้าประสงค์ 15.a
ระดมและเพิ่มทรัพยากรทางการเงินจากทุกแหล่งเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด 15.a.1
การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และการใช้จ่ายของรัฐเกี่ยวกับการอนุรักษ์ และความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ 15.b
ระดมทรัพยากรจากทุกแหล่งและทุกระดับเพื่อสนับสนุนเงินแก่การบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และจัดหาแรงจูงในที่เหมาะสมสำหรับประเทศกำลังพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในการบริหารจัดการ ซึ่งรวมถึงการอนุรักษ์และการปลูกป่า
ตัวชี้วัด 15.b.1
การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) และการใช้จ่ายของรัฐเกี่ยวกับการอนุรักษ์ และความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ 15.c
เพิ่มพูนการสนับสนุนในระดับโลกสำหรับความพยายามที่จะต่อสู้กับการล่า การเคลื่อนย้ายชนิดพันธุ์คุ้มครอง รวมถึงโดยการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 15.c.1
สัดส่วนการค้าสัตว์ป่า โดยหลอกลวงหรือผิดกฎหมาย