เป้าหมาย 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน


เป้าประสงค์ 14.1
ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากกิจกรรมบนแผ่นดิน รวมถึงเศษซากขยะในทะเลและมลพิษจากธาตุอาหาร (nutrient pollution) ภายในปี 2568
ตัวชี้วัด 14.1.1
ดัชนีของปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication) และความหนาแน่นของขยะพลาสติก/ตร.กม.
 

เป้าประสงค์ 14.2
บริหารจัดการและปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบที่มีนัยสำคัญ รวมถึงโดยการเสริมภูมิต้านทานและปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟู เพื่อบรรลุการมีมหาสมุทรที่มีสุขภาพดีและมีผลิตภาพ ภายในปี 2563
ตัวชี้วัด 14.2.1
สัดส่วนพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะระดับชาติที่บริหารจัดการโดยใช้แนวทางเชิงระบบนิเวศ
 

เป้าประสงค์ 14.3
ลดและแก้ปัญหาผลกระทบของการเป็นกรดในมหาสมุทร โดยรวมถึงผ่านทางการเพิ่มพูนความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ในทุกระดับ
ตัวชี้วัด 14.3.1
ภาวะความเป็นกรดในทะเลเฉลี่ย (pH) โดยวัดจากสถานีสุ่มตัวอย่าง
 

เป้าประสงค์ 14.4
ภายในปี 2563 ให้กำกับอย่างมีประสิทธิผลในเรื่องการเก็บเกี่ยวและยุติการประมงเกินขีดจำกัด การประมงที่ผิดกฎหมายที่ไม่มีการรายงาน และที่ไม่มีการควบคุม และแนวปฏิบัติด้านการประมงที่เป็นไปในทางทำลาย และดำเนินการให้เป็นผลตามแผนการบริหารจัดการที่อยู่บนฐานวิทยาศาสตร์ เพื่อจะฟื้นฟูมวลปลา (fish stock) ในเวลาที่สั้นที่สุดที่จะเป็นไปได้ อย่างน้อยที่สุดในระดับที่สามารถไปถึงจุดสูงสุดที่ให้ผลตอบแทนแบบยั่งยืน (maximum sustainable yield) ตามคุณลักษณะทางชีววิทยาของสัตว์น้ำเหล่านั้น
ตัวชี้วัด 14.4.1
สัดส่วนของมวลสัตว์น้ำ (fish stocks) ที่อยู่ในระดับความยั่งยืนทางชีวภาพ
 

เป้าประสงค์ 14.5
ภายในปี 2563 อนุรักษ์พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งอย่างน้อยร้อยละ 10 ให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศและภายในประเทศ และอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่
ตัวชี้วัด 14.5.1
ขอบเขตของพื้นที่คุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล
 

เป้าประสงค์ 14.6
ภายในปี 2563 ยับยั้นรูปแบบการอุดหนุนการประมงบางอย่างที่มีส่วนทำให้เกิดการประมงเกินขีดจำกัด ขจัดการอุดหนุนที่มีส่วนทำให้เกิดการประมงที่ผิดกฎหมาย ที่ไม่มีการรายงาน และที่ไม่มีการควบคุม และระงับการริเริ่มการอุดหนุนในลักษณะดังกล่าว ตระหนักว่าการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างที่เหมาะสมและมีประสิทธิผลสำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดควรเป็นส่วนควบในการเจรจาการอุดหนุนการประมงขององค์การการค้าโลก
ตัวชี้วัด 14.6.1
ความก้าวหน้าของประเทศต่าง ๆ ในระดับการใช้เครื่องมือ/กลไกระหว่างประเทศ เพื่อต่อสู้กับการประมงที่ผิดกฎหมาย ที่ไม่มีการรายงาน และที่ไม่มีการควบคุม
 

เป้าประสงค์ 14.7
ภายในปี 2573 เพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็กและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดจากการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน รวมถึงผ่านทางการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนในเรื่องการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการท่องเที่ยว
ตัวชี้วัด 14.7.1
ร้อยละของผลผลิตจากการประมงที่ยั่งยืน ต่อ GDP ในรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ประเทศกลุ่มพัฒนาน้อยที่สุด และทุกประเทศ
 

เป้าประสงค์ 14.a
เพิ่มความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาขีดความสามารถในการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเล โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเลของคณะกรรมาธิการสมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาล เพื่อจะพัฒนาคุณภาพมหาสมุทรและเพิ่มพูนให้ความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งในรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็กและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
ตัวชี้วัด 14.a.1
สัดส่วนการจัดสรรงบประมาณเพื่อวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางทะเล ต่องบประมาณการวิจัยทั้งหมด
 

เป้าประสงค์ 14.b
จัดให้มีการเข้าถึงทรัพยากรทางทะเลและตลาดสำหรับชาวประมงพื้นบ้านรายเล็ก
ตัวชี้วัด 14.b.1
ความก้าวหน้าของแต่ละประเทศที่มีการใช้และดำเนินการด้านข้อกฎหมาย / ข้อบังคับ / นโยบาย / กรอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ตระหนักและปกป้องสิทธิของการทำประมงขนาดเล็ก
 

เป้าประสงค์ 14.c
เพิ่มพูนการอนุรักษ์และการใช้มหาสมุทรและทรัพยากรเหล่านั้นอย่างยั่งยืน โดยการดำเนินการให้เกิดผลตามกฎหมายระหว่างประเทศตามที่สะท้อนใน UNCLOS ซึ่งเป็นกรอบทางกฎหมายสำหรับการอนุรักษ์และการใช้มหาสมุทรและทรัพยากรเหล่านั้นอย่างยั่งยืน ตามที่ระบุในย่อหน้าที่ 158 ของเอกสาร The Future We Want
ตัวชี้วัด 14.c.1
​จำนวนประเทศที่มีความก้าวหน้าในการให้สัตยาบัน ยอมรับ และนำกรอบการทำงานเชิงกฎหมาย/ นโยบาย/ สถาบัน และเครื่องมือในการแปลงกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับมหาสมุทรมาใช้ ดังที่สะท้อนอยู่ใน UNCLOS เพื่อการอนุรักษ์ และการใช้มหาสมุทรและทรัพยากรอย่างยั่งยืน