เป้าหมาย 12
Goal 12
เป้าหมาย 12 : สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน |
> เป้าประสงค์ 12.1
ดำเนินการให้เป็นผลตามกรอบการดำเนินงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ทุกประเทศนำไปปฏิบัติโดยประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำ โดยคำนึงถึงการพัฒนาและขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนา
>> ตัวชี้วัด 12.1.1
จำนวนประเทศที่มีแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SCP) หรือมีหลักการด้าน SCP เป็นลำดับความสำคัญหลักหรือเป้าหมายของนโยบายระดับชาติ
> เป้าประสงค์ 12.2
บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี 2573
>> ตัวชี้วัด 12.2.1
ร่องรอยการใช้วัตถุดิบและการใช้วัตถุดิบต่อหัว และต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
>> ตัวชี้วัด 12.2.2
การบริโภควัตถุดิบในประเทศและการบริโภควัตถุดิบในประเทศต่อหัว และต่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
> เป้าประสงค์ 12.3
ลดขยะเศษอาหารของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี 2573
>> ตัวชี้วัด 12.3.1
ดัชนีการสูญเสียอาหารโลก
> เป้าประสงค์ 12.4
บรรลุเรื่องการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดตลอดวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้นด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ตกลงกันแล้ว และลดการปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกสู่อากาศ น้ำ และดินอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจะลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ภายในปี 2563
>> ตัวชี้วัด 12.4.1
จำนวนภาคีสมาชิกข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมด้านสารเคมีที่เป็นอันตรายและสารเคมีอื่นๆ และของเสีย ที่บรรลุวัตถุประสงค์ของพันธกรณีและข้อผูกพันในการถ่ายทอดข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในแต่ละข้อตกลงที่เกี่ยวข้อง
>> ตัวชี้วัด 12.4.2
ของเสียอันตรายต่อหัว (สัดส่วนของเสียที่ได้รับการบำบัดของเสีย จำแนกตามประเภทการบำบัด)
> เป้าประสงค์ 12.5
ลดการเกิดของเสียโดยให้มีการป้องกัน การลดปริมาณ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ภายในปี 2573
>> ตัวชี้วัด 12.5.1
อัตราการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (recycling rate) ในระดับประเทศ (จำนวนตันของวัสดุที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่)
> เป้าประสงค์ 12.6
สนับสนุนให้บริษัท โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ รับแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้ และผนวกข้อมูลด้านความยั่งยืนลงในวงจรการรายงานของบริษัทเหล่านั้น
>> ตัวชี้วัด 12.6.1
จำนวนบริษัทที่ตีพิมพ์รายงานความยั่งยืน
> เป้าประสงค์ 12.7
ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืน ตามนโยบายและการให้ลำดับความความสำคัญของประเทศ
>> ตัวชี้วัด 12.7.1
จำนวนประเทศที่มีการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐอย่างยั่งยืน
> เป้าประสงค์ 12.8
สร้างหลักประกันว่าประชาชนในทุกแห่งมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องและความตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนและวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ภายในปี 2573
>> ตัวชี้วัด 12.8.1
มีการดำเนินการเกี่ยวกับ
(i) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก และการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (รวมถึงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) เป็นเรื่องหลักๆ ในนโยบายการศึกษาของประเทศ สาขาวิชาที่ทำการสอน การศึกษาของครูผู้สอน และการประเมินนักเรียน/นักศึกษา
> เป้าประสงค์ 12.a
สนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการเสริมความแข็งแกร่งของขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่อนไปสู่รูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น
>> ตัวชี้วัด 12.a.1
จำนวนการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา
> เป้าประสงค์ 12.b
พัฒนาและดำเนินการใช้เครื่องมือเพื่อจะติดตามตรวจสอบผลกระทบของการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนที่สร้างงานและส่งเสริมวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
>> ตัวชี้วัด 12.b.1
จำนวนยุทธศาตร์ด้านการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน หรือนโยบาย และการนำแผนไปดำเนินการให้เกิดผล โดยมีการติดตามดังที่ได้ตกลงไว้ และเครื่องมือการประเมิน
> เป้าประสงค์ 12.c
ทำให้การอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไร้ประสิทธิภาพและนำไปสู่การบริโภคที่สิ้นเปลืองมีความสมเหตุสมผล โดยกำจัดกการบิดเบือนทางการตลาดโดยให้สอดคล้องสภาวะแวดล้อมของประเทศ รวมถึงการปรับโครงสร้างภาษีและเลิกการอุดหนุนที่เป็นภัยเหล่านั้นในที่ที่ยังมีการใช้อยู่ เพื่อให้สะท้อนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงอย่างเต็มที่ถึงความจำเป็นและเงื่อนไขที่เจาะจงของประเทศกำลังพัฒนาและลดผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นที่จะมีต่อการพัฒนาของประเทศเหล่านั้นในลักษณะที่เป็นการคุ้มครองคนจนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
>> ตัวชี้วัด 12.c.1
จำนวนเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อหน่วย GDP (การผลิตและการบริโภค) และสัดส่วนของค่าใช้จ่ายรวมของประเทศในด้านเชื้อเพลิงฟอสซิล