เป้าหมาย 2 : ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน


> เป้าประสงค์ 2.1
    ยุติความหิวโหยและสร้างหลักประกันให้ทุกคนโดยเฉพาะคนที่ยากจนและอยู่ในภาวะเปราะบาง อันรวมถึงทารก ได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการ และเพียงพอตลอดทั้งปี ภายในปี 2573

>> ตัวชี้วัด 2.1.1
      ความชุกของภาวะทุพโภชนาการ
>> ตัวชี้วัด 2.1.2
      ความชุกของความไม่มั่นคงทางอาหารของประชากรในระดับปานกลางหรือรุนแรง โดยใช้ Food Insecurity Experience Scale (FIES) เป็นหลัก
 

> เป้าประสงค์ 2.2
    ยุติภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบและแก้ไขปัญหาความต้องการสารอาหารของหญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร และผู้สูงอายุ ภายในปี 2573 รวมถึงบรรลุเป้าหมายที่ตกลงร่วมกันระหว่างประเทศว่าด้วยภาวะแคระแกร็นและผอมแห้งในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ภายในปี 2568

>> ตัวชี้วัด 2.2.1
      ความชุกของภาวะเตี้ยแคระแกร็น (ประเมินส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ตามมาตรฐานการเจริญเติบโตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ซึ่งใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่เบี่ยงเบนไปจากค่ามัธยฐาน โดยเป็นเด็กที่มีความสูงเทียบกับอายุต่ำกว่าค่ามัธยฐานของความสูงตามเกณฑ์อายุน้อยกว่า -2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (-2 SD)
>> ตัวชี้วัด 2.2.2
      ความชุกของภาวะทุพโภชนาการ (ประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ตามมาตรฐานการเจริญเติบโตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งใช้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่เบี่ยงเบนไปจากค่ามัธยฐาน โดย
      1) ภาวะน้ำหนักเกิน (Overweight) น้ำหนักตัวของเด็กสูงกว่าค่ามัธยฐานของน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กเกิน 2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (+2 SD)
      2) ภาวะผอม (Wasting) น้ำหนักตัวของเด็กต่ำกว่าค่ามัธยฐานของน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กน้อยกว่า -2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (-2 SD)

 
> เป้าประสงค์ 2.3
    เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง เกษตรแบบครอบครัว คนเลี้ยงปศุสัตว์ ชาวประมง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดินและทรัพยากรและปัจจัยนำเข้าในการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสสำหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างงานนอกฟาร์มอย่างปลอดภัยและเท่าเทียม ภายในปี 2573

>> ตัวชี้วัด 2.3.1
      มูลค่าการผลิตต่อหน่วยแรงงาน จำแนกตามขนาดกิจการของการทำฟาร์ม/เลี้ยงสัตว์/การป่าไม้
>> ตัวชี้วัด 2.3.2
      รายได้เฉลี่ยของผู้ผลิตอาหารขนาดเล็ก จำแนกตามเพศ และสถานะพื้นเมือง (เพื่อแยกชนพื้นเมือง หรือ ชนเผ่า)

 
> เป้าประสงค์ 2.4
    การเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง เกษตรแบบครอบครัว คนเลี้ยงปศุสัตว์ ชาวประมง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดินและทรัพยากรและปัจจัยนำเข้าในการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสสำหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างงานนอกฟาร์มอย่างปลอดภัยและเท่าเทียม ภายในปี 2573

>> ตัวชี้วัด 2.4.1
      ร้อยละของพื้นที่เกษตรที่มีการทำการเกษตรแบบยั่งยืน
 

> เป้าประสงค์ 2.5
    คงความหลากหลายทางพันธุกรรมของเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้เพาะปลูก สัตว์ในไร่นาและที่เลี้ยงตามบ้านเรือน และชนิดพันธุ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับพืชและสัตว์เหล่านั้น รวมถึงให้มีธนาคารเมล็ดพันธุ์และพืชที่มีการจัดการที่ดีและมีความหลากหลาย ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์เกิดจากการใช้ทรัพยากรทางพันธุกรรมและองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ตามที่ตกลงกันระหว่างประเทศ ภายในปี 2573

>> ตัวชี้วัด 2.5.1
       ตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ของการเก็บผลผลิตในธนาคารพันธุกรรม (หรือการเก็บนอกสถานธรรมชาติ)
>> ตัวชี้วัด 2.5.2
      สัดส่วนพันธุ์สัตว์ท้องถิ่น แบ่งหมวดหมู่เป็น อยู่ในความเสี่ยง, ไม่อยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ หรือไม่รู้ระดับความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์

 
> เป้าประสงค์ 2.a
    เพิ่มการลงทุนตลอดจนการยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การวิจัยเกษตรและการขยายการบริการ การพัฒนาเทคโนโลยี และการทำธนาคารยีนของพืชและสัตว์ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

>> ตัวชี้วัด 2.a.1
      ดัชนีการเตรียมความพร้อมทางการเกษตรต่อค่าใช้จ่ายของภาครัฐ
>> ตัวชี้วัด 2.a.2
      กระแสความช่วยเหลือรวม (ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance: ODA) บวก กระแสความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการอื่น (Other Officail Flows: OOF) ที่ให้ไปยังภาคเกษตรกรรม

 
> เป้าประสงค์ 2.b
    แก้ไขและป้องกันการกีดกันและการบิดเบือนทางการค้าในตลาดเกษตรโลก รวมถึงทางการขจัดการอุดหนุนสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกทุกรูปแบบและมาตรการเพื่อการส่งออกทุกแบบที่ให้ผลในลักษณะเดียวกัน โดยให้เป็นไปตามอาณัติของรอบการพัฒนาโดฮา

>> ตัวชี้วัด 2.b.1
      ระดับการอุดหนุนผู้ผลิตโดยรวม (PSE)
      - ร้อยละของความเปลี่ยนแปลงภาษีการส่งออกและนำเข้าในสินค้าเกษตร

>> ตัวชี้วัด 2.b.2
      การอุดหนุนการส่งออกทางการเกษตร

 
> เป้าประสงค์ 2.c
    เลือกใช้มาตรการที่สร้างหลักประกันได้ว่าตลาดโภคภัณฑ์อาหารและตลาดอนุพันธ์สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลของตลาดและข้อมูลสำรองอาหารได้อย่างทันการณ์ เพื่อจำกัดความผันผวนของราคาอาหารที่รุนแรง

>> ตัวชี้วัด 2.c.1
      ตัวชี้วัดราคา (อาหาร) ที่ผิดปกติ