การศึกษาดูงานต่างจังหวัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรบริหารการพยายาลด้านบริหารอนามัยรุ่นที่ 22 วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ณ โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น จ.นครปฐม
15 กรกฎาคม 2567
กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร นำทีมโดย ผอ.มนภรณ์ วิทยาวงศรุจิ ผู้อำนวยการกองการพยาบาลสาธารณสุข
หัวหน้าคณะดูงาน และทีมดำเนินงานจากกองการพยาบาลสาธารณสุข นำผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารการพยาบาล (ด้านบริหารอนามัย)
รุ่นที่ 22 (บพอ.22) เข้าศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น จ.นครปฐม
ในหัวข้อเรื่อง “การจัดการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care : IMC)”
ได้รับเกียรติจาก
นพ.วิศวะ ศรีณัษฐพงษ์ นายแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น
นางหทัยรัตน์ ศรีอนุชิต พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล
นางดุษณีย์ ทองเกลี้ยง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวม
นางสาวน้ำค้าง ศรีไต่ขำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานประกันและยุทธศาสตร์แผน
นางวิจันทรา ตุลาวงษ์ นักกายภาพบำบัดชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู
ให้การต้อนรับคณะดูงานอย่างอบอุ่น
มีการนำเสนอกรอบแนวคิดนโยบายและโครงสร้างการทำงานด้านต่างๆ และด้านการจัดการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง
(Intermediate Care : IMC )โดยมีการส่งเสริมบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพิ่มพูนความรู้เฉพาะทางการดูแลผู้ป่วยฟื้นฟูสมรรถภาพ ในบทบาท
พยาบาลมีการทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ มีการตั้งGoalร่วมกับผู้ป่วยและญาติร่วมกันในการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นรายๆ และมีการประเมิน
ความก้าวหน้าของGoalในการมารับบริการของผู้ป่วยในแต่ล่ะครั้งโดยใช้ Program Effectiveness เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการดูแลต่อเนื่อง
ประสานทีมเครือข่ายทั้งใน รพสต.และในชุมชน ใช้ระบบ primary case โดยมีนักกายภาพเป็นเจ้าของเคส ในการดูแลทั้งในช่วงที่อยู่ รพ.
หรือกลับสู่ชุมชน ซึ่งมีการดูงานในแผนกแพทย์แผนจีน แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู แผนกแพทย์แผนไทย ห้องพักมัชฌิมา และบ้านฝึกทักษะ
การดำรงชีวิตอิสระ ครั้งนี้เพื่อให้คณะผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจและสามารถดูแลประชาชนในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
จากการศึกษาดูงานครั้งนี้
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้และแนวคิดจากการดูงานในด้านการจัดการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care : IMC)
เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น