กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

การศึกษาดูงานต่างจังหวัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรบริหารการพยายาลด้านบริหารอนามัยรุ่นที่ 22 วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 เข้าศึกษาดูงาน ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
image

19 กรกฎาคม 2567   

        กองการพยาบาลสาธารณสุข​ สำนักอนามัย​ กรุงเทพมหานคร​ นำทีมโดย​ ผอ.มนภรณ์​ วิทยาวงศรุจิ​ 
ผู้อำนวยการกองการพยาบาลสาธารณสุข​  หัวหน้าคณะดูงาน​ และทีมดำเนินงานจากกองการพยาบาลสาธารณสุข 
นำผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารการพยาบาล (ด้านบริหารอนามัย)​ รุ่นที่ 22 (บพอ.22)​​เข้าศึกษาดูงาน 
ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในหัวข้อเรื่อง“ การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพระยะยาว
ด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care)“

            ได้รับเกียรติจากคณะต้อนรับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นำทีมโดย
นางจารุรัตน์ พัฒน์ทอง รองนายแพทย์สาธารณสุขประจวบคีรีขันธ์
นางสาวนุจรีย์ ภู่ระย้า พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
นางอ้อยทิพย์ สุขครึ้ม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ให้​การต้อนรับคณะดูงานอย่างอบอุ่น

           มีการนำเสนอนโยบายและโครงสร้างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในภาพรวม 
ซึ่งถือว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบ มีการคัดกรองผู้สูงอายุใน 9 ด้าน ตั้งเกณฑ์การประเมินในทุกด้าน 
และจำแนกรายด้านเป็น เสี่ยงและผิดปกติเพื่อมาวางแผนการดำเนินงานการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ
ระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เน้น
การทำงานเป็นทีมที่มีการบูรณาการร่วมกันกับเครือข่ายทั้งในและนอกหน่วยงานโดยมีการจัดตั้งคณะ
ทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานคลินิกผู้สูงอายุระดับจังหวัด ซึ่งทำงานภายใต้นโยบายและความต้องการ/
ปัญหาของพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุและชุมชน มีความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ มีการใช้
เทคโนโลยีจัดการข้อมูลผ่านระบบ Blue Book Application ,โปรแกรม LTC(3) ของกรมอนามัย 
และส่งเสริมพัฒนาทักษะCaregiver ให้มีส่วนร่วมพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุทำให้เกิดนวัตกรรม
เพื่อช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ครั้งนี้เพื่อให้คณะผู้เข้าอบรมมีความรู้ความสามารถและการทำงาน
แบบใช้องค์รวมที่จะสามารถดูแลประชาชนในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากการศึกษาดูงานครั้งนี้
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้เรื่องการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย Long Term Care 
ไปปรับใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป