กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

การศึกษาดูงานต่างจังหวัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรบริหารการพยายาลด้านบริหารอนามัยรุ่นที่ 22 วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 เข้าศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
image

18 กรกฎาคม 2567 

        กองการพยาบาลสาธารณสุข​ สำนักอนามัย​ กรุงเทพมหานคร​ 
นำทีมโดย​ พญ.ดวงพร ปิณจีเสคิกุล รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย หัวหน้าคณะดูงาน​ พร้อมด้วย 
ผอ.มนภรณ์​ วิทยาวงศรุจิ​ ผู้อำนวยการกองการพยาบาลสาธารณสุข และทีมดำเนินงานจากกองการพยาบาลสาธารณสุข
นำผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารการพยาบาล (ด้านบริหารอนามัย)​ รุ่นที่ 22 (บพอ.22)​ ​ 
เข้าศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

ในหัวข้อเรื่อง “การใช้เทคโนโลยีมาช่วยแพทย์วิเคราะห์ข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยแนวคิด Smart NCD” 

ได้รับเกียรติจากคณะต้อนรับจากโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ 
นำโดย นพ.เอกชัย มุกดาพิทักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ 
พญ.ชนัดดา สมคง  นายแพทย์ชำนาญการ                     
นางอารยา ทวิชสังข์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการพยาบาล
และทีมหัวหน้ากลุ่มงาน ให้การต้อนรับคณะดูงานอย่างอบอุ่น

          มีการนำเสนอการใช้เทคโนโลยีมาวิเคราะห์ข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยแนวคิด Smart NCD 
โดยมีการดำเนินงานในชื่อ Remission Clinic ด้วยความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพได้แก่ แพทย์ พยาบาล
 เภสัชกร นักวิชาการสาารณสุข นักโภชนาการ กายภาพบำบัด มีการทำงานในรูปแบบ
1.การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย ผ่านระบบอิเล็คทรอนิคเพื่อให้แพทย์เข้าถึงผู้ป่วยได้รวดเร็ว 
   วิเคราะห์แนวโน้มการเกิดโรค
2.ระบบติดตามและเฝ้าระวัง เพื่อติดตามอาการและพฤติกรรมของผู้ป่วย การใช้ IoT (Internet of Think) 
   เพื่อติดตามสัญญาณชีพแบบเรียลไทม์
3.การให้ความรู้และสนับสนุน โดยให้ความรู้ด้านสุขภาพแบบออนไลน์และสนับสนุนพลังใจให้ผู้ป่วย
4.การสื่อสารและการประสานงาน เพื่อให้ผู้ป่วยและแพทย์ติดต่อสื่อสารด้านสุขภาพแบบออนไลน์
5.ผลลัพธ์และการประเมิน ประเมินผลการรักษาเพื่อปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วย ใช้ข้อมูลย้อนกลับ
เพื่อปรับปรุงโปรแกรม

          จากการศึกษาดูงานครั้งนี้
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้และแนวคิด Smart NCD ไปปรับใช้ในการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
ในชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดูแลผู้ป่วยเชิงรุกให้มี health literacy และทำให้มีการติดตามประเมิน
ผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น