ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการพิจารณารางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 |
ประเภทรางวัลรายกระบวนงาน ผลงาน “การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด - 19 แบบครบวงจร” โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สำนักการแพทย์ การพัฒนาการให้บริการ โดยนำหลักการ แนวคิด เทคนิค เครื่องมือมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ - โดยใช้หลักแนวคิดการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อให้เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน Social Enterprise (SE) คือ กิจการเพื่อสังคม กิจการที่มีจุดมุ่งหมายหลักในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้กลไกการบริหารจัดการที่ดีของภาคธุรกิจมาบวกกับความรู้และนวัตกรรมสังคม ให้มีความยั่งยืน เนื่องจากเงื่อนเวลาในการคัดแยกผู้ติดเชื้อออกจากผู้ยังไม่ได้รับเชื้อโดยรวดเร็วจะช่วยให้อาการผู้ป่วยไม่แย่ลงเป็นปัจจัยสำคัญในการความคุมโรคระบาดให้อยู่ในวงแคบโดยใช้แนวคิดตามหลักระบาดวิทยา - เป็นความคิดริเริ่มในการพัฒนาคุณภาพการบริการจากความตั้งใจในการแก้ปัญหาทุกปัญหาที่ทำให้การบริการและการดูแลรักษาเกิดความล่าช้า จะต้องได้รับการแก้ไข ดังนั้น การบริหารจัดการจึงเน้นไปที่การจัดระบบเข้าถึงการตรวจ การรักษา การคัดแยกอย่างรวดเร็วผ่านระบบออนไลน์ต่าง ๆ เช่น ระบบการจองคิว ผ่าน App QueQ หรือการตรวจแบบ Drive Thru ตลอดจนเลือกระบบการรักษาแบบ Hospitel หรือระบบ Home Isolation ผ่านระบบ Line Official Account ของโรงพยาบาล ทำให้สามารถบริหารจัดการควบคุมโรคระบาดให้อยู่ในวงแคบได้ - นำผลงานไปใช้จริงตั้งแต่เดือน มีนาคม 2564 | ||
ประเภทรางวัลนวัตกรรมการให้บริการ ผลงาน “แอนติไบโอแกรมเจ้าปัญญา” งานจุลชีววิทยากลุ่มงาน เทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ เป็นผลงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มและความเพียรพยายามของหน่วยงานและบุคคลสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ เช่น การนำเทคนิคการบริหารจัดการ เครื่องมือหรือหลักการใหม่มาใช้แล้วก่อให้เกิดงานบริการ หรือผลิตภัณฑ์ หรือรูปแบบการให้บริการใหม่ - การนำเทคนิคการบริหารจัดการโดยการพัฒนา Antibiogram ประกอบด้วยข้อมูลชนิดของเชื้อและความไวต่อยาของเชื้อ บนเว็บไซต์เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็วโดยค้นหาเว็บไซต์ที่มีการใช้งานแพร่หลาย ไม่เก็บค่าใช้จ่าย ในการให้บริการ สามารถเข้าใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม โดยใช้ข้อมูลบน Google sheet ซึ่ง i-Antibiogram ยังไม่ปรากฎในประเทศไทยและต่างประเทศโดยสามารถใช้ระบบผ่าน Smartphone - ผลงาน i-Antibiogram ช่วยประกอบการตัดสินใจเลือกยาปฏิชีวนะได้อย่างเหมาะสม ทำให้ลดระยะเวลาการรอคอยผลการทดสอบความไวของเชื้อในตัวอย่างของผู้ป่วยจากห้องปฏิบัติการได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการบริการที่มีคุณภาพ สะดวกและรวดเร็วขึ้น ลดระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วย ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาลดลงตลอดจน ลดอัตราการเสียชีวิต และอาจช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม - นำไปใช้จริง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 | ||