สรุปสาระการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนภาครัฐไทยสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2566
image

สรุปสาระการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนภาครัฐไทยสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Advancing a Data-Driven Public Sector in Thailand) ระหว่างวันที่ 25 - 26 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุม 501 - 502 ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร.

รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) คือ การนําเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงการให้บริการของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่การอํานวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงจุด รวดเร็ว และโปร่งใส

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development/ OECD)ศึกษากฎหมาย ระเบียบ และนโยบายของประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลดิจิทัลได้เสนอแนะกรอบนโยบายการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลประกอบด้วย 6 ลักษณะ ดังนี้

1. Digital by Design การออกแบบการให้บริการและการทํางานโดยนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นองค์ประกอบบังคับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการทํางาน

2. Data-Driven การขับเคลื่อนองค์กรโดยการใช้ข้อมูล คือ แนวทางการกํากับดูแลที่ใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ปรับปรุงการให้บริการ และเสริมสร้างความโปร่งใสข้อมูลจึงเป็นทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ในการสร้างคุณค่าสาธารณะ

3. Government as a Platform ภาครัฐทําหน้าที่เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม โดยเปิดข้อมูลเป็นแบบ Application Programming Interface (API) ซึ่งนักพัฒนาระบบขององค์กรอื่นและประชาชนสามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ แนวทางนี้มุ่งหวังที่จะทําให้รัฐบาลตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างสร้างสรรค์ และยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น

4. Open by Default ข้อมูลหรือทรัพยากรที่ควรต้องเปิดเผย และพร้อมใช้งานสําหรับทุกคน โดยไม่จําเป็นต้องขออนุญาต

5. User Driven การให้ความสําคัญกับผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง โดยออกแบบสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการโดยคํานึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก

6. Proactivenessการนําข้อมูลมาใช้ในการคาดการณ์ตัดสินใจ และเตรียมพร้อมสําหรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

การก้าวไปสู่ภาครัฐที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven Public Sector) เป็นการพัฒนาสู่การทํางานที่ใช้ข้อมูลเป็นฐานสําคัญในการตัดสินใจเชิงนโยบายและการดําเนินงานของภาครัฐ โดยภาครัฐจะรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากหลากหลายแหล่ง เช่น ข้อมูลภายใน ข้อมูลสาธารณะ และข้อมูลจากการวิจัย มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อหารูปแบบความสัมพันธ์และแนวโน้มในอนาคต จากนั้นจึงนําไปใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ การดําเนินงานของภาครัฐ ทั้งในด้านการให้บริการประชาชน การจัดสรรทรัพยากร และการกําหนดนโยบายสาธารณะ ดังนั้น ประโยชน์ของภาครัฐที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ได้แก่

• ช่วยให้ภาครัฐสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องยิ่งขึ้น
• ช่วยให้ภาครัฐสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงจุดยิ่งขึ้น
• ช่วยให้ภาครัฐสามารถประหยัดทรัพยากรและค่าใช้จ่าย
• ช่วยให้ภาครัฐสามารถติดตามผลลัพธ์ของการดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปัญหาการขับเคลื่อนภาครัฐไทยสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

การพัฒนาภาครัฐที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลในประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการ ซึ่งส่งผลต่อความสําเร็จในการนําข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ สามารถสรุปภาพรวมของปัญหาได้ดังนี้
1. ปัญหาด้านข้อมูล ภาครัฐไทยยังมีปัญหาด้านข้อมูลอยู่หลายประการ เช่น ข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง ไม่ทันสมัย จัดเก็บแยกส่วนกัน (Silo Data) ไม่เชื่อมโยงกัน และไม่ปลอดภัย ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้การวิเคราะห์ข้อมูลไม่แม่นยํา และนําไปสู่การตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง

2. ปัญหาด้านบุคลากร เช่น บุคลากรขาดความรู้และทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ขาดความเข้าใจในหลักการของการตัดสินใจเชิงข้อมูล ขาดแรงจูงใจในการทํางานด้านข้อมูล ซึ่งส่งผลให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ

3. ปัญหาด้านวัฒนธรรมองค์กร ภาครัฐไทยยังประสบปัญหาองค์กรราชการมีโครงสร้างการทํางานแบบรวมศูนย์ มีวัฒนธรรมการทํางานแบบอนุรักษ์นิยม ทํางานแบบยึดติดกับกฎระเบียบ เป็นผลให้การนําข้อมูลมาใช้ประโยชน์เป็นไปอย่างล่าช้า ยากลําบาก และไม่ทันการณ์

4. ปัญหาด้านนโยบาย ได้แก่ นโยบายด้านข้อมูลยังไม่ชัดเจน ปรับเปลี่ยนบ่อย ไม่สอดคล้องกับบริบทของการนําข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อได้ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง จึงไม่ประสบความสําเร็จในการก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

5. ปัญหาด้านกฎหมาย กฎหมายการเปิดเผยข้อมูลยังไม่ชัดเจนและไม่เอื้ออํานวยต่อการเปิดเผยข้อมูลแบบสาธารณะ ซึ่งปัญหานี้กระทบต่อการเปิดเผยข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับหน่วยงานภาครัฐ ภาครัฐกับภาคเอกชนและภาคประชาชน จึงเป็นอุปสรรคต่อการที่จะให้มีการเข้าถึงข้อมูล และการนําข้อมูลไปพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

6. ปัญหาด้านเทคโนโลยีและโปรแกรมการทํางานที่แยกส่วนกันตามหน่วยงานไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาภาครัฐที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลในประเทศไทย ได้แก่
1. การปรับปรุงคุณภาพของข้อมูล ภาครัฐควรให้ความสําคัญกับการพัฒนาระบบการเก็บรวบรวมและจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นให้ข้อมูลมีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และสามารถเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานกันได้

2. การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ควรจัดให้มีการอบรมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งความเข้าใจในหลักการของการตัดสินใจเชิงข้อมูล

3. การปรับวัฒนธรรมองค์กร ภาครัฐควรส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการทํางานแบบเปิดกว้างและยืดหยุ่น สนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล และปรับเปลี่ยนกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล

4. การปรับปรุงนโยบาย ภาครัฐควรออกนโยบายด้านข้อมูลที่ชัดเจนและสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย รวมทั้งผลักดันให้มีการนํานโยบายด้านข้อมูลไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

5. การปรับและเปลี่ยนกฎหมายให้เอื้ออํานวยต่อการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ

6. การจัดตั้งหน่วยงานกลางที่เป็นหลักและศูนย์กลางในการเก็บรวบรวม และบริหารข้อมูลของภาครัฐ อีกทั้งกําหนดมาตรฐานรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน เพื่อจะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง
หน่วยงานได้

นอกจากนี้ ภาครัฐยังจําเป็นต้องให้ความสําคัญกับประเด็นปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความปลอดภัยของข้อมูล ความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูล และการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการให้ข้อมูลและใช้ประโยชน์จากข้อมูล ดังนั้นยิ่งข้อมูลมีความปลอดภัย สมบูรณ์ ถูกต้องมากขึ้นเพียงไร ทําให้การนําข้อมูลไปใช้ต่อมีประสิทธิภาพมากตามยิ่งขึ้นไปปัญหาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรภาครัฐที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ข้อมูลมีความอ่อนไหว ข้อมูลในองค์กรภาครัฐมักเป็นข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลความมั่นคง ข้อมูลเหล่านี้หากถูกละเมิดอาจส่งผลสร้างความเสียหายต่อบุคคลหรือองค์กรได้

2. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ปลอดภัย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในองค์กรภาครัฐมักมีความซับซ้อนและมีช่องโหว่ทางความปลอดภัย หากถูกโจมตีอาจทําให้ข้อมูลถูกเข้าถึงหรือถูกแก้ไขได้


3. บุคลากรขาดความรู้และความเข้าใจด้านความปลอดภัยของข้อมูล จึงอาจทําผิดพลาดหรือตกเป็นเหยื่อของการโจมตีทางไซเบอร์ได้

4. นโยบายด้านความปลอดภัยของข้อมูลไม่ชัดเจน หรือไม่เป็นปัจจุบัน ทําให้อาจไม่เพียงพอต่อการปกป้องข้อมูลจากการถูกละเมิด
แนวทางในการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรภาครัฐที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ได้แก่
1. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ปลอดภัย โดยคํานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น การรักษาความลับของข้อมูล (Confidentiality) การคงไว้ซึ่งความถูกต้องของข้อมูล (Integrity) และการเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา (Availability)

2. สร้างความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยของข้อมูลให้กับบุคลากร โดยจัดให้มีการอบรมสัมมนา หรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้และความเข้าใจด้านความปลอดภัยของข้อมูล

3. กําหนดนโยบายด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุม โดยนโยบายควรระบุถึงมาตรการต่าง ๆ ในการปกป้องข้อมูล เช่น การกําหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล การสํารองข้อมูล การป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ เป็นต้น

นอกจากนี้ องค์กรภาครัฐควรร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานความมั่นคงหน่วยงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านความปลอดภัยของข้อมูลยกระดับความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรภาครัฐ อีกทั้งจําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการร่วมมือกันพัฒนาระบบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อการเปิดเผยข้อมูล และนําข้อมูลมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงประเด็น ตัวอย่าง ประสบการณ์การดําเนินการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐของสาธารณรัฐเอสโตเนีย “Open Data in the Public Sector, The Estonian Experience”

สาธารณรัฐเอสโตเนียเป็นประเทศแรกในโลกที่ให้บริการภาครัฐแบบออนไลน์ครบวงจรประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐต่าง ๆ เช่น การจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนธุรกิจ การขอวีซ่าการชําระภาษี ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ซึ่งในการพัฒนาดังกล่าว รัฐบาลเอสโตเนียกําหนดวิสัยทัศน์ว่า
“รัฐบาลเอสโตเนียจะเป็น eEstonia Digital Government ในปี ค.ศ. 2030” มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดจากการใช้บริการของรัฐบาลดิจิทัล โดยกําหนดหลักการการเผยแพร่ข้อมูลภาครัฐในรูปแบบเปิด (Open Data) ดังนี้
1. รัฐบาลปกป้องสิทธิพื้นฐานของประชาชน
2. รัฐบาลอนุรักษ์วัฒนธรรมและภาษาของสาธารณรัฐเอสโตเนีย
3. รัฐบาลรักษาความน่าเชื่อถือ
4. รัฐบาลใช้เทคโนโลยีที่เป็นกลาง ไม่รองรับเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง
5. รัฐบาลสร้างสังคมดิจิทัลที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม
6. รัฐบาลสร้างนวัตกรรม และเป็นนวัตกรรม

แนวทางการดําเนินการ

ระยะที่ 1 การปรับเปลี่ยนฐานข้อมูลเป็นแบบ Life event base คือการพัฒนาฐานข้อมูลในรูปแบบการเก็บข้อมูลเหตุการณ์สําคัญในชีวิตของประชาชน เช่น การเกิด การสําเร็จการศึกษา การสมรสการหย่า การเสียชีวิต เป็นต้น เพื่อนํามาค้นหาและพัฒนาการให้บริการเชิงรุก(proactive service)อย่างเป็นระบบ โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

ระยะที่ 2 รัฐบาลขับเคลื่อนบริการด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI powered government) คือ รัฐบาลใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในการดําเนินงานของภาครัฐในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับนโยบายลงไปจนถึงระดับปฏิบัติการ โดย AI สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานในหลายด้าน เช่น การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลและสถิติเป็นพื้นฐาน การนําข้อมูลไปใช้ใหม่ได้(reuse data) เพื่อสร้างนวัตกรรมการให้บริการใหม่ ๆ และพัฒนาชุมชนที่ให้ความสนใจในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(Govtech Community)

ระยะที่ 3 รัฐบาลสร้างแพลตฟอร์มภาครัฐ (Digital Government Platform) เพื่อเสริมพลังในการเปลี่ยนแปลงไปสู่รัฐบาลดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการสาธารณะและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดีและมีประสิทธิภาพ

ระยะที่ 4 รัฐบาลดิจิทัลสีเขียว (Green Digital Government) คือ การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพจะสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การลดการใช้กระดาษ พลังงาน การปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นต้น โดยพัฒนาศูนย์รวมการให้บริการสารสนเทศพื้นฐาน และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการเปิดเผยแบ่งปัน และเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างประเทศ 

ตัวอย่างการนําข้อมูลมาใช้ประโยชน์โดยการวิเคราะห์

- รัฐบาลเอสโตเนียใช้ภาพถ่ายผ่านดาวเทียมสํารวจพื้นที่ตัดหญ้าแห้งมาวิเคราะห์การเพาะปลูกและการเกษตรในประเทศ เพื่อประเมินผลผลิตทางการเกษตรเป็นการล่วงหน้า

- รัฐบาลใช้ดาวเทียมสํารวจและเก็บข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย เพื่อวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศ เพื่อวางแผนรับมือในอนาคตต่อไป

- ตรวจสอบอุบัติเหตุในพื้นที่ต่างๆ และแจ้งสภาพการจราจรและการเตือนอุบัติเหตุแก่ผู้ใช้ถนนการจัดตั้งหน่วยงานกลางกํากับดูแลการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

ในการขับเคลื่อนรัฐบาลเอสโตเนียไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ รัฐบาลเอสโตเนียได้จัดตั้ง Government CIO Officeซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการดําเนินการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ และการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลโดยตรง มีหน้าที่กํากับดูแลตั้งแต่การกําหนดนโยบายไปจนถึงการดําเนินการตามนโยบายโดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการข้อมูลประเทศ (National Data Governance Board) ซึ่งแต่งตั้งจากผู้แทนของ State Information System Authority, Statistics Estonia, Data Protection Agency, National Archives, Estonian Land Board, Estonian Language Institute กํากับการทํางานของสํานักงาน Agency Data Office รับผิดชอบการจัดเก็บและจัดการข้อมูลภาครัฐ Sectorial Data Officeซึ่งรับผิดชอบการจัดเก็บและจัดการข้อมูลของภาคส่วนอื่น ๆ

ปัจจุบันรัฐบาลเอสโตเนียมีการเปิดเผยข้อมูล จํานวน 1,776 ชุดข้อมูล โดยกําหนดกรอบและลักษณะสําคัญที่ใช้ในการพิจารณาการเปิดเผยข้อมูล ดังนี้

1. นิยามของข้อมูล
2. ข้อมูลปรับเป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา และสามารถเชื่อมต่อทางแอปพลิเคชันได้
3. ข้อมูลสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน
4. ข้อมูลสามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง (Machine-readable data)
5. ข้อมูลสามารถนําไปใช้ประโยชน์ต่อได้ (Reused conditions must be available and base on controlled vocabulary)

6. การได้รับอนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลได้ภายใต้ข้อตกลง (Obligation to disclose information on exclusive agreements)
ข้อมูลมูลค่าสูงที่รัฐบาลเอสโตเนียเผยแพร่โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ได้แก่
1. ข้อมูลที่ระบุตําแหน่งที่ตั้ง (Geospatial Data)
2. ข้อมูลที่ดินและสิ่งแวดล้อม (Land and environment)
3. ข้อมูลสภาพอากาศ (Meteorological information)
4. สถิติ (Statisticsป
5. เจ้าของ/ผู้ถือหุ้นธุรกิจ (Businesses and cooperate ownership)
6. การเดินทางและขนส่ง (Mobility)
ข้อมูลที่รัฐบาลเอสโตเนียให้บริการเสริม ได้แก่
1. ข้อมูลภาษา (Language data)
2. การประกวดราคาสาธารณะ (Public tender)
3. การเลือกตั้ง (Election)
4 การบัญญัติกฎหมาย (Legislation)
5. การสาธารณสุข และการดูแลสุขภาพ (Healthcare)
6. เอกสารศาล (Court documents)
7. พลังงาน (Energy)
อีกทั้ง รัฐบาลเอสโตเนียจัดหลักสูตรออนไลน์ สอนเกี่ยวกับ Estonian Digital State เพื่อให้ผู้สนใจสามารถศึกษาการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศในเวลาอันสั้น จากประสบการณ์ในการพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐและการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของรัฐบาลเอสโตเนียพบว่า การดําเนินการจะประสบความสําเร็จได้ ต้องมีหน่วยงานหรือทีมงานที่ให้คําปรึกษาและการสนับสนุนที่นําไปปฏิบัติได้ให้การศึกษาและพัฒนาทักษะที่มีความจําเป็นแก่บุคลากร ยึดความต้องการของผู้ใช้งานเป็นตัวขับเคลื่อนระบบ กําหนดและใช้มาตรฐานระดับสากล แจกแจงความเป็นเจ้าของข้อมูลอย่างชัดเจน ผู้ใช้งานและปัญหาได้รับการใส่ใจตัวอย่าง การพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของสาธารณรัฐเกาหลีKorea’s Digital Government Development, The Journey for Digital Platform Governmentความสําเร็จที่รัฐบาลเกาหลีใต้พัฒนารัฐบาลดิจิทัลมานานกว่า 50 ปีมี ดังนี้
- มีระบบข้อมูลสาธารณะ จํานวน 17,000 ระบบ
- ร้อยละ 92 ของประชากร 47 ล้านคน ใช้บริการรัฐบาลดิจิทัล
- ร้อยละ 98 ของผู้ใช้บริการรัฐบาลดิจิทัลพึงพอใจกับรัฐบาลดิจิทัล
- เป็นอันดับที่ 1 ของดัชนีวัดความก้าวหน้ารัฐบาลดิจิทัลของกลุ่มประเทศ OECD ในปี ค.ศ. 2019

(OECD Digital Government Index 2019)

- เป็นอันดับที่ 1 ของดัชนีวัดการเปิดเผยข้อมูล ความเป็นประโยชน์ของข้อมูล และการใช้ประโยชน์ใหม่หรือใช้ซ้ําของข้อมูลสาธารณะ ในปี ค.ศ. 2019 (OECD OUR (Open-Useful-Reusable data) Index 2019)

- เป็นอันดับที่ 1 ของดัชนีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีภาครัฐของธนาคารโลก (GovTech Maturity Index) World Bank GTMI (GovTech Maturity Index) ในปี ค.ศ. 2022

- เป็นอันดับที่ 3 จากการสํารวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2022 (UN e-Government Survey 2022) ตลอดระยะเวลาการพัฒนาที่ยาวนานนี้ รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ขับเคลื่อนสู่รัฐบาลดิจิทัลโดยการพัฒนา ระบบสารสนเทศของประเทศ และบัญญัติกฎหมายเป็นลําดับ ดังนี้

ค.ศ. 1978 จัดทําแผนแม่บทการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความโปร่งใสของการดําเนินงานของรัฐบาล
ค.ศ. 1984 - 1991 มีโครงการ 1 st stage of National Basic Information System
Projects โดยสร้างโครงสร้างพื้นฐานระบบสารสนเทศทั่วประเทศ พัฒนาระบบเครือข่ายโทรคมนาคม จัดตั้งศูนย์รวมข้อมูลกลางและพัฒนาซอฟต์แวร์

ค.ศ. 1992 - 1996 พัฒนาระบบสารสนเทศของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยดําเนินโครงการ 2nd stage of National Basic Information System Projects

ค.ศ. 2001 - 2002 ดําเนินโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government)จํานวน 11 โครงการ
ค.ศ. 2003 - 2007 มีแผนการก้าวสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ค.ศ. 2014 เป็นรัฐบาล 3.0 (Government 3.0)
ค.ศ. 2019 มีแผนการพัฒนานวัตกรรมรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Innovation Plan)
ค.ศ. 2022 ริเริ่มเป็นรัฐบาลแพลตฟอร์ม (Digital Platform Government Initiative)
ระหว่างการพัฒนาดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลมีการออกพระราชบัญญัติ กฎหมาย ข้อบังคับเพื่อ

สนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ดังนี้
- Act on Expansion and Utilization of Information System (1986)
- Act on Promoting Informatization (1995)
- Regulations on Sharing Administrative Information (1998)
- Digital Signature Act (1999)
- Act on e-Document and e-Transaction (1999)
- e-Government Act (2001)
- Personal Information Protection Act (2011)
- Act on Promotion of Provision and Use of Public Data (2013)
- Act on Promotion of Data-Based Administration (2020)

โครงสร้างองค์กรของรัฐบาลดิจิทัล

รัฐบาลเกาหลีใต้จัดตั้งหน่วยงานกลาง 3 หน่วยงาน ซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของกระทรวงมหาดไทย (Ministry of Interior and Safety) คือ (1) National Information Society Agency, (2) Korea Internet and Security Agency และ (3) Korea Information Research and Development Institute มีหน้าที่ในการกําหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐาน องค์ประกอบทั่วไป การรวมศูนย์บริการ การบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานของระบบสารสนเทศของประเทศ เพื่อกระทรวงต่าง ๆ นําไปพัฒนาระบบสารสนเทศและการบริการของหน่วยงานให้เป็นไปตามที่กําหนดการพัฒนางานของรัฐบาลดิจิทัล 
1. Administration Databaseการดูแลและจัดการระบบฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนได้แก่ ทะเบียนราษฎร์ จดทะเบียนที่ดินและอาคาร การจดทะเบียนรถยนต์ การจดทะเบียนธุรกิจ และประวัติอาชญากรรม

2. Back-Office/Front-Office Systems for Government & Employee (G2G/G2E) การพัฒนาระบบงานบริการและงานสนับสนุนของรัฐบาลและลูกจ้าง ได้แก่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การบริหารทรัพยากรบุคคล งบประมาณและการใช้จ่าย ภาษี การตรวจสอบ ระบบสารสนเทศ สําหรับพลเรือนของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น

3. Online Services for Citizen & Business (G2C/ G2B) การพัฒนาการให้บริการประชาชน
และธุรกิจแบบออนไลน์ ได้แก่ บริการสาธารณสุข การศึกษา การจ้างงาน งานประเพณี การจัดซื้อจัดจ้าง
การขนส่ง และแอปพลิเคชันสําหรับกิจการพลเรือน

4. Integration & Standardizationof IT Infrastructure and Platformsการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการภาครัฐแบบครบวงจร (Government Integrated Data Center: GIDC) การกําหนดมาตรฐานการดําเนินการงานสารสนเทศ กําหนดกรอบการพัฒนาแอปพลิเคชัน การบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศของรัฐบาล

5. Service Usability & Accessibility & Security การใช้ การเข้าถึง และความปลอดภัยของการใช้บริการ โดยการกําหนดรูปแบบการเชื่อมต่อระบบของผู้ใช้งาน การให้บริการผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ําในสังคมที่เกิดจากโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศที่ไม่เท่าเทียมกัน (Digital Divide Solutions) แนวทางปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยของระบบ การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล การผสมผสานระหว่างการให้บริการแบบออนไลน์ไปสู่ออฟไลน์(O2O)

6. Collaboration between the Public and the Private Sector การร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูล การเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์ การมีส่วนร่วมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ปัญญาสะสม (การรวมความคิดจากหลายบุคคล นํามาตกผลึกจนนําไปสู่การสร้างผลงานออกมา) การวิเคราะห์ข้อมูลการให้บริการที่ผู้ใช้บริการสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับตนเองได้ การผสมผสานบริการของภาครัฐและเอกชน
ปัจจัยที่นําไปสู่ความสําเร็จของการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
1. ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
2. การสร้างนวัตกรรมและการปรับตัวสู่วัฒนธรรมระยะเริ่มแรก
3. ผู้นําเชิงระบบและเข้มแข็ง
4. การลงทุนที่ตัดสินใจอย่างเด็ดขาดและยั่งยืน
5. แผนวิสัยทัศน์ระยะกลาง/ยาว
6. การเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ


รัฐบาลเกาหลีใต้ให้บริการบนระบบดิจิทัล ดังนี้

1. Single Service Window – GOV.KR รวมบริการภาครัฐไว้บนเว็บไซต์เดียว

2. Virtual Assistant for Citizens การให้บริการช่วยเหลือแบบ 1:1 ผ่านช่องทางการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บริการแจ้งเตือน และบริการให้คําปรึกษาแบบออนไลน์

3. National Digital ID for Omnichannel เป็นระบบการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนดิจิทัลที่ทําเพียงครั้งเดียวสามารถนําไปใช้กับบริการอื่น ๆ บนระบบดิจิทัลได้

4. Pan-government data hub to share data among government entities การแบ่งปันและเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการเงิน

5. My Data in the public sector แพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาครัฐและประชาชนเพื่อสร้างความั่นใจของความถูกต้องของข้อมูล

6. Data.go.kr เว็บไซต์รวบรวมและเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ
7. International Cooperationการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลเกาหลีใต้

ให้ความร่วมมือ แบ่งปันข้อมูล ให้ทุน และจัดการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประเทศพันธมิตรปัญหาที่รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องเผชิญในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

1. ประชาชนไม่ใช้ระบบ เนื่องจากใช้งานยาก และประชาชนไม่ใส่ใจในการใช้ระบบแบบเชิงรุก
2. รัฐบาลมีข้อมูลที่จํากัด เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บแบบแยกส่วนกัน (Silo Data) และกฎหมายไม่เอื้ออํานวยต่อการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน จึงต้องทําการตัดสินใจบนข้อมูลที่ไม่เพียงพอ
3. การมีส่วนร่วมในการใช้บริการดิจิทัลภาครัฐมีข้อจํากัด เนื่องจากขาดแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ และขาดแรงจูงใจในการมีส่วนร่วม
ก้าวสู่ Digital Government Platform รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องดําเนินการ ดังนี้

รัฐบาลต้องทํางานร่วมกับประชาชนและธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาสังคม และสร้างคุณค่าใหม่บนดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดยข้อมูลทั้งหมดต้องสามารถเชื่อมต่อกัน รัฐบาลให้บริการแบบเชิงรุก การให้บริการสามารถปรับเป็นแบบเฉพาะบุคคล และไร้รอยต่อ อํานวยความสะดวกในการบริหารงานของรัฐบาลโดยการใช้
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และข้อมูล สร้างระบบนิเวศน์ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัล โดยรัฐบาลได้พัฒนา

1. ‘My AI’ Serviceเป็นการให้บริการส่วนบุคคลเชิงรุก ทั้งในด้านการให้คําปรึกษา และการขอใช้บริการต่าง ๆ ของรัฐในรูปแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ One Stop Service บนระบบดิจิทัล

2. Decision Making with Data รัฐบาลจัดให้มีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน โดยไม่ปิดกั้น เพื่อจะสามารถนําข้อมูลมาวิเคราะห์และตัดสินแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. Digital Government Service API Platform รัฐบาลพัฒนาแพลตฟอร์มที่ภาครัฐและภาคเอกชนสามารถเชื่อมต่อเพื่อพัฒนาต่อยอดการให้บริการต่อไปความคาดหวังในอนาคต

แพลตฟอร์มของรัฐบาลดิจิทัลส่งผลให้ธุรกิจเติบโต ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก และมีชีวิตที่ดีขึ้น รัฐบาลโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจและขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศได้

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1eO9j-GlC1SO_1CuKSkPN7wqMlYyrz29A