การคิดเชิงวิพากษ์และการจัดการปัญหา (Critical thinking and problem solving)

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564
image

การคิดเชิงวิพากษ์และการจัดการปัญหา
(Critical thinking and problem solving)


          การคิดเชิงวิพากษ์ คือ กระบวนการทางสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น เพอแก้ปัญหา เพื่อตัดสินใจ เพื่อมองเห็นทางเลือกหรือเพื่อทำอะไรบางอย่าง อย่างมีเป้าหมาย โดยองค์ประกอบการการคิดเชิงวิพากษ์ แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่

          1.  การคิดอย่างรอบคอบและมีเป้าหมาย
               การรอบคอบ หมายถึง การทพยายามคิดอยางช้า ๆ เพื่อที่การตัดสินใจหรือเป้าหมายนั้น ๆ เป็นไปอย่างถูกต้องหรือเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
          2.  การใช้เหตุผลหรือตรรกะ
               การใช้เหตุผล หมายถึง การตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เข้ามา
          3.  การตัดใจเกี่ยวกับความเชื่อ
               การตัดสินใจ หมายถึง การพิจารณาโดยอาศัยข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
          4.  การประยุกต์ใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้น
               ความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อคำว่าความคิดเชิงวิพากษ์ ประกอบด้วย การคิดเชิงวิพากษ์เป็นความคิดเชิงลบ สามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ ความคิดเชิงวิพากษ์ไม่เกี่ยวกับความรู้ ประการณ์ของผู้วิพากษ์ และ ความคิดเชิงวิพากษ์ต้องเกิดขึ้นตลอดชีวิต

Cr. ข้อมูลโดยกลุ่มงานบริหารค่าตอบแทนและคุณภาพชีวิต
ส่วนพัฒนาระบบบริหาร กองพัฒนาระบบราชการกรุงเทพมหานคร สำนักงาน ก.ก.