สภาพพื้นที่การปกครอง
เขตหนองแขมมีพื้นที่ทั้งหมด  35.825  ตารางกิโลเมตร

ประกอบด้วยพื้นที่การปกครอง  2  แขวง  และหมู่บ้าน  26  หมู่บ้าน  ดังนี้
1.แขวงหนองค้างพลู        พื้นที่  18.789 ตร.กม.  มีหมู่บ้าน 14 หมู่บ้าน
2.แขวงหนองแขม           พื้นที่  17.036 ตร.กม.  มีหมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน 

ทิศเหนือ         ติดเขตทวีวัฒนามีคลองบางไผ่เป็นเส้นแข่งเชต
ทิศตะวันออก    ติดเขตบางแค มีคลองทวีวัฒนาเป็นเส้นแข่งเขต
ทิศใต้            ติดเขตบางบอนมีคลองหนามแดงเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก     ติดกับ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาครมีคลองสี่วาเป็นเส้นแบ่งเขตและติดกับอ.สาม  พราน จ.นครปฐม มีคลองศรีสำราญเป็นเส้นแบ่งเขต

            สภาพพื้นที่และที่มาของชื่อ “หนองแขม”  ชื่อเขต “หนองแขม” สันนิษฐานว่ามาจากสภาพพื้นที่ในบริเวณที่ตั้งอำเภอหนองแขมในอดีต ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี และมีหนองน้ำที่มีต้นแขมขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากโดยในปี พ.ศ.2413 พระวินัยธร(คำ) เจ้าอาวาสวัดเชิงเลน ต.บางช้าง อ.สามพราน จ.นครปฐม ได้มาสร้างวัดขึ้นที่ริมหนองน้ำแห่งนี้และตั้งชื่อวัดว่า “วัดหนองแขม” ตามลักษณะของหนองน้ำ นอกจากนี้ชาวบ้านยังได้ขุดบ่อไว้ริมหนองน้ำแห่งนี้เพื่อกักเก็บน้ำจืดไว้ใช้ เรียกกันว่า “บ่อหนองแขม” จนกระทั่งเป็น “เขตหนองแขม” ในที่สุด   นอกจากนี้ยังมีหนองน้ำสำคัญอีกแห่งคือ “หนองค้างพลู” ซึ่งปัจจุบันเป็นชื่อแขวงหนึ่งของเขตหนองแขม โดยหนองค้างพลูนั้นอยู่บนเส้นทางลำเลียงพลูในสมัยก่อนซึ่งชาวบ้านจะเดินทางหาบพลูจากแถบนครไชยศรีซึ่งเป็นแหล่งปลูกพลูแหล่งใหญ่ไปขายแถบบางกอกน้อยและเป็นจุดแวะพักหรือค้างคืน จึงเป็นที่มาของชื่อ “หนองค้างพลู” (จากคำบอกเล่าของนายเสงี่ยม นาควัชระ อายุ 94 ปี อดีตกำนันตำบลหลักสอง)
           จากสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มต่ำเหมาะแก่การปลูกข้าว ในอดีตจึงมีการทำนากันทั่วไปในเขตหนองแขม โดยเฉพาะตามสองฝั่งคลองภาษีเจริญและคลองทวีวัฒนาและยังมีการขุดคลองซอยหลายสายเพื่อชักน้ำจากคลองหลักทั้งสองเข้าไปสู่พื้นที่นาที่อยู่ห่างออกไป แต่ในปัจจุบันพื้นที่เกษตรกรรมในเขตหนองแขมถูกเปลี่ยนเป็นเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย และเป็นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อมหลายแห่ง แต่งยังมีการทำสวนบ้างประปรายตามแนวคลองย่อย

ต้นแขม
ชื่อทั่วไป              –  แขม หรือ แถม
ชื่อทางวิทยาศาสตร์  –  saccharum arumdinaceum Retz.
วงศ์                   –  Gramineae
ประเภท               –  หญ้า

ลักษณะ- เป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า สกุลเดียวกับอ้อ มักขึ้นเป็นกอขนาดใหญ่ตามที่ลุ่มต่ำ มีน้ำท่วมขัง ลำต้นสูงประมาณ 3 เมตร เป็นปล้องคล้ายต้นอ้อย ข้างในกลวงใบยาวปลายเรียวขอบใบหยาบเส้นกลางใบสีขาว ผิวกาบเรียบเกลี้ยง สิ้นใบขอบเป็นเยื่อตื้นๆ ขอบเป็นขนแข็งเกลี้ยงคล้ายเส้นไหม ช่อดอกย่อย(spike) มีขนยายสีขาวเป็นมันปกคลุม เกสรตัวผู้มี 3 อัน รังไข่เกลี้ยงก้านเกสรตัวเมียมี 2 เส้น ใยดอกเกสรตัวเมียมีลักษณะคล้ายขนนก โผล่ด้านล่างมีสีม่วงแดง
ต้นแขมเป็นพืชที่ชอบน้ำสะอาด ในอดีตตามริมคลองภาษีเจริญในเขตหนองแขมจะมีต้นแขมขึ้นอยู่ทั่วไป แต่ปัจจุบันเหลืออยู่น้อยเนื่องจากสภาวะน้ำเสีย

ประโยชน์- ส่วนรากของต้นแขมสามารถนำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาเย็นแก้ไขขับปัสสาวะแก้โรคผิวหนังบางชนิด ส่วนลำต้นนำมาต้มน้ำดื่มแก้ฝีหนอง ใบแขมนิยมใช้ห่อข้าวต้มมัดได้ ซึ่งมีควาวมยาวกว่าข้าวต้มมัดทั่วไป และใช้ห่อข้าวต้มลูกโยน

ข้อมูลอัตรากำลัง


ข้อมูลประชากรและครัวเรือน (ข้อมูล ณ เดือน กรกฎาคม 2562)