การฝังเข็มลดอาการบาดเจ็บจากเล่นกีฬา (Sport Injury :运动性损伤)

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
image

การฝังเข็มลดอาการบาดเจ็บจากเล่นกีฬา (Sport Injury :运动性损伤)

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

การได้รับบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ได้แก่ กล้ามเนื้อ พังผืด เอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นกระดกู และเยื่อหุ้มข้อ (Soft tissue injury : Sprain or Strain)

โดยไม่มีกระดูกแตกหักเข้ามาเกี่ยวข้อง

ส่วนใหญ่เกิดบริเวณคอ ไหล่ ข้อศอก ข้อมือแขนขาสะโพก หัวเข่า ข้อเท้า ขึ้นอยู่กับประเภทของกีฬาอาจเป็นแบบเฉียบพลัน หรือ เรื้อรังก็ได้

อาการและอาการแสดง

ผู้ที่มีประวัติไิด้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น

หกล้ม ได้รับแรงกระแทก หรือบิดตัวผิดท่า แล้วมีอาการเจ็บปวด บวมหรือฟกช้ำ เฉพาะที่ อาจมีการจํากัด การเคลื่อนไหว หรือ เคลื่อนไหวร่างกายส่วนนั้นไม่ไ่ด้

กรณีที่มีอาการบวม ฟกชํา้เกิดขึ้นทันที และเคลื่อนไหวข้อหรือร่างกายส่วนนั้นไม่ได้ อาจเกิดจากกล้ามเนื้อเส้นเอ็น หลอดเลือดฉีกขาด หรือมีเลือดออกในข้อ และ/หรือมีการผิดรูปของร่างกายส่วนนั้นหรือมีเหตุให้สงสัยว่ามีกระดูกหักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะต้อง กระทําอย่างระมัดระวังและถูกต้อง รวมทั้งบริเวณที่สงสัยว่ามีกระดูกหัก ไม่ให้เคลื่อนไหวจนกว่า จะได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

การวินิจฉัยและรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาจัดอยู่ในกลุ่มอาการบาดเจ็บเส้นเอ็น (ShangJin) มี สาเหตุจากการได้รับบาดเจ็บ เช่น จากการหกล้ม

การกระแทก การเคลื่อนไหวผิดท่า หรือตก จากที่สูง

ทําให้ชี่(ลมปราณ)ในร่างกายติดขัด และมีเลือดคั่งเฉพาะที่ เกิดอาการปวดและบวมเฉพาะที่ การเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายหรือข้อลําบาก เนื่องจากเจ็บปวดหรือมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ รอบบริเวณดังกล่าว

หลักการรักษาตามแพทย์แผนจีน

-สลายเลือดคั่ง

-ทะลวงเส้นลมปราณกระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือด

-ระงับอาการปวด

อาการที่รักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนได้ดี

 

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ(CTS)นิ้วล็อค

 

เอ็นนอกของเข่า กล้ามเนื้อต้นขาด้านนอกอักเสบ(ITBS)

 

รองช้ำ เอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบ

 

ปวดศีรษะจากความเครียด

 

กล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน

 

ข้อเท้าแพลง

 

กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบ

 

เอ็นใต้สะบ้าอักเสบ

 

กล้ามเนื้อบริเวณหน้าแข้งอักเสบ

 

เอ็นร้อยหวายอักเสบ

การดูแลรักษาด้วยตนเองเบื้องต้น

การดูรักษาอาการบาดเจ็บในการเล่นกีฬา

การรักษาอาการบาดเจ็บในการเล่นกีฬา ในช่วง 1 – 3 วันแรก จะใช้หลักการที่เรียกว่า RICE

Rest : พัก หยุดการเคลื่อนไหว ในส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ หรือลดกิจกรรมทันที และพยายามลดการลงน้ำหนักบริเวณที่บาดเจ็บ

Ice : ประคบเย็นบริเวณที่บาดเจ็บทันที ครั้งละ 15 – 20 นาที ทุก 2 – 3 ชั่วโมง ภายใน 48 ชม. จะช่วยลดอาการบวม

Compression : พันกระชับส่วนที่บาดเจ็บด้วยม้วนผ้ายืด Elastic Bandage

Elevation : ยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจ เช่น ยกขาสูง เพื่อให้เลือดไหลลงได้สะดวก เป็นการช่วยลดอาการบวมเพื่อช่วยลดบวม

ข้อมูลประกอบบทความ : การฝังเข็มรมยา เล่ม 3

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ กทม.

โทร 02-437-0123 ต่อ1671

ทุกวันจันท์-ศุกร์ และหยุดวันหยุดราชการ