7 กลุ่มอาหารต้านไทรอยด์เป็นพิษ

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
image

7 กลุ่มอาหารต้านไทรอยด์เป็นพิษ

“ต่อมไทรอยด์” เป็นต่อมที่อยู่บริเวณลำคอ ด้านหน้าลูกกระเดือก และติดกับหลอดลม ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนในการทำงานของร่างกาย แต่ปัญหา คือ หากต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากไป ทำให้เกิดผลกระทบกับร่างกาย หรือเรียกว่า “ไทรอยด์เป็นพิษ”

“ต่อมไทรอยด์”เป็นต่อมที่อยู่บริเวณลำคอ ด้านหน้าลูกกระเดือก และติดกับหลอดลม ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนในการทำงานของร่างกาย แต่ปัญหา คือ หากต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป จะทำให้เกิดผลกระทบกับร่างกาย หรือเรียกว่า “ไทรอยด์เป็นพิษ” ทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานมากขึ้น น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่รับประทานอาหารได้มากกว่าปกติ อุจจาระ ปัสสาวะบ่อย และอาจมีปัญหาสมาธิสั้น
ส่วนภาวะที่ไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤติ ผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นเร็วมากผิดปกติ มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส อาเจียน ท้องเสีย ตัวและตาจะเหลือง สับสนมึนงงอย่างรุนแรง มีภาวะขาดน้ำและอาจช็อก หรืออาจมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย เพราะฉะนั้นโรคไทรอยด์เป็นพิษจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจ หากมีอาการควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรักษาให้ทันท่วงที หากรักษาช้าอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อาหารที่ช่วยบำรุงมี 7 กลุ่ม คือ
1.ไอโอดีน ในปลา หอยกาบ กุ้ง หอยนางรม ไข่ กระเทียม ฯลฯ

2.วิตามีนบี ในไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลา ธัญพืชต่าง ๆ ถั่วลันเตา นม เห็ด เมล็ดอัลมอนด์ ฯลฯ

3.ธาตุซีลีเนียม ในปลาทูน่า เห็ด เครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง ฯลฯ

4.สังกะสี ในเมล็ดทานตะวัน เนื้อแกะ ถั่วพีแคน ธัญพืชต่าง ๆ หอยนางรม ปลาซาร์ดีน ฯลฯ

5.ทองแดง ในถั่วเหลือง เห็ดชิตาเกะ ข้าวบาร์เล มะเขือเทศ และดาร์กช็อกโกแลต

6.สารต้านอนุมูลอิสระ ในแครอท ผักโขม ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วขาว เครื่องในสัตว์

7.ธาตุเหล็ก ในเครื่องในสัตว์ หอยนางรม ผักโขม ถั่วเหลือง ถั่วขาว และเมล็ดฟักทอง

อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหาร ต้องรับประทานให้หลากหลาย เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับบางอย่างมากเกินไป หรือขาดสารอาหารบางประเภทมากเกินไป ซึ่งล้วนแต่มีผลกระทบทั้งสิ้น
-------------------------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก : เดลินิวส์ออนไลน์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ