โรคฉี่หนูอันตรายที่มากับหน้าฝน

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
image

โรคฉี่หนูอันตรายที่มากับหน้าฝน

โรคฉี่หนู (Leptospirosis) หรือเรียกอีกอย่างว่าโรคเล็ปโตสไปโรซิส เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งกับคนและสัตว์ การติดเชื้อในคนมีสาเหตุมาจากการสัมผัสดิน น้ำ อาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของของสัตว์ที่ติดเชื้อชนิดนี้ เช่น สุนัข วัว ควาย หนู สุกร ม้า สัตว์ป่า เป็นต้น

อาการของโรคฉี่หนู
ผู้ติดเชื้อจากโรคฉี่หนูจะสามารถแสดงอาการได้ตั้งแต่ 2-30 วันหลังได้รับเชื้อ แต่ส่วนใหญ่มักแสดงอาการในช่วงประมาณ 7-14 วัน ซึ่งอาการของโรคนี้อาจปรากฏตั้งแต่ไม่มีอาการเลย มีอาการขั้นอ่อนไปจนถึงขั้นรุนแรงถึงชีวิต
โรคฉี่หนูส่วนมากมักไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง มีเพียงอาการทั่วๆ ไปคล้ายโรคหวัดใหญ่ ดังนี้
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดศีรษะ มีไข้สูง หนาวสั่น
- ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
- เจ็บช่องท้อง
- รู้สึกเหนื่อยล้า
- ตาแดงหรือระคายเคืองที่ตา
- มีผื่นขึ้น
- ไม่อยากอาหาร
- ท้องเสีย

การป้องกันโรคฉี่หนู
- หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำหรือการเดินลุยในน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อปัสสาวะจากสัตว์นำโรค หรือควรสวมใส่รองเท้าบูทป้องกันทุกครั้งหากมีความจำเป็น
- หมั่นตรวจตราแหล่งน้ำและดินทรายที่อาจมีเชื้อปนเปื้อน ควรระบายน้ำตามท่อระบายออกแล้วล้างเพื่อกำจัดน้ำที่ปนเปื้อน
- ควบคุมและกำจัดหนูตามบริเวณที่อยู่อาศัย สถานที่ทำงาน รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท
- แยกสัตว์ที่ติดเชื้อออกจากสัตว์ชนิดอื่น ๆ และบริเวณที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
- ปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฉี่หนู โดยเลือกฉีดวัคซีนซีโรวาร์ (Serovars) สำหรับป้องกันเชื้อฉี่หนูชนิดที่พบได้บ่อยตามท้องถิ่นนั้น ๆ ทั้งนี้การฉีดวัคซีนแม้จะสามารถป้องกันโรคฉี่หนู แต่ไม่อาจป้องกันการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อทางปัสสาวะได้
-------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.pobpad.com