สปสช.สานต่อการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มอาการสีเขียว ผ่านการร่วมมือกับ 2 บริษัทผู้ให้บริการด้านสุขภาพดิจิทัล
สปสช.สานต่อการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มอาการสีเขียว ผ่านการร่วมมือกับ 2 บริษัทผู้ให้บริการด้านสุขภาพดิจิทัล
บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการ Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน และ ทรู เฮลท์ โดย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี)
เพื่อทำการดูแลผู้ป่วยฯ ผ่านบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พร้อมบริการจัดส่งยาถึงบ้าน ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป
***รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม.-ปริมณฑล 5 จังหวัด นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เท่านั้น***
ขั้นตอน
1.ผู้ที่ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด อาการไม่รุนแรง (กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว) สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สปสช.-สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ที่
-อายุ 15-60 ปี
-น้ำหนักไม่เกิน 90 กิโลรัม หรือ BMI ไม่เกิน 30
-ไม่ตั้งครรภ์
-ไม่เป็นคนพิการ
-ไม่เป็นผู้ป่วยติดเตียง
-ไม่มีโรคประจำตัว รวมถึงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน แม้จะคุมอาการได้ก็ตาม
-ไม่ใช่กลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์
-ไม่มีอาการของโรคโควิด-19 รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ
-ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น ภาวะอ้วน
2.สามารถเลือกลงทะเบียนตามแบบฟอร์มลงทะเบียนโครงการ Self-Isolation สำหรับผู้ป่วย COVID-19 สนับสนุนโครงการโดย สปสช. และ สวทช. ผ่านการให้บริการบน
1. แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology ให้บริการโดย บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย): https://forms.gle/YKVMKy1p8FRDDBje7 สอบถามเพิ่มเติม Line ID: @GDTT
หรือ 2. แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ให้บริการโดย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด: https://form.typeform.com/to/cNKqNz3p สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @mordeeapp
3.เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับเพื่อยืนยันตัวตนเข้ารับบริการ คัดกรอง ประเมินอาการเบื้องต้น และปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ให้คำแนะนำการดูแลตัวเอง
4.จัดส่งยาตามความจำเป็นให้กับผู้ป่วย โดยบางรายอาจได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ขึ้นอยู่กับอาการ
5.เมื่อรับการดูแลครบ 48 ชั่วโมงแล้ว เจ้าหน้าที่จะพูดคุยกับผู้ป่วยอีกครั้งเพื่อสอบถามอาการ และแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองให้ครบ 10 วันตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข เมื่อผู้ป่วยดีขึ้นแล้วก็จะออกจากระบบการดูแลได้ อย่างไรก็ตามหากในระหว่างนี้ผู้ติดเชื้อมีอาการเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งข้อมูลต่อให้กับ สปสช.เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
ที่มา เพจสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ