สำนักงานเขต มีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน การจัดทำแผนพัฒนาเขตการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ การจัดให้มีและควบคุมตลาด  การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริม การฝึก การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์ การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมการกีฬา การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ การคุ้มครอง ดูแลบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาหาร การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยการส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ การจัดเก็บรายได้ การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้ เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
 

 

อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน จากมติ ก.ก. ครั้งที่ 1/2549  ไฟล์แนบคลิกที่นี่

 

 

ข้อมูลทั่วไป/สถานการณ์ของพื้นที่

        สำนักงานเขตหลักสี่เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมือง และตั้งเขตหลักสี่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2540 โดยแบ่งพื้นที่ออกจากเขตดอนเมืองมีพื้นที่ปกครอง 22.58 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 2 แขวง คือแขวงทุ่งสองห้องและแขวงตลาดบางเขน ที่มาของชื่อเขตตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาชื่อเขตใหม่อันประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน, ส.ส., ส.ก., ส.ข., ผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่เขต ฯลฯ ได้พิจารณาเห็นว่ามีที่มา 2 ประการ คือ ประการแรกมาจากชื่อ “บ้านหลักสี่” ที่เกิดขึ้น  ในสมัยรัชกาลที่ 5 ครั้งที่มีการขุดคลองเปรมประชากรเพื่อเป็นทางลัดไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคลองขุดนั้นกำหนดหลักบอกระยะทางไว้ทุกระยะ 100 เส้น ทำให้ชุมชนที่ตั้งอยู่หลักบอกระยะที่สี่ มีชื่อเรียกว่า “บ้านหลักสี่” ประการที่สองมาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เมื่อ ร.ศ. 113 มีการก่อการยึดอำนาจการปกครอง (กบฏบวรเดชฯ) ทางราชการได้ใช้ชุมทางรถไฟหลักสี่และวัดหลักสี่เป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในการปราบปรามกบฏครั้งนั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะกรรมการฯ  จึงเห็นพ้องต้องกันให้ตั้งชื่อเขตใหม่ว่า “เขตหลักสี่”

          เขตหลักสี่ ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

 

ทิศเหนือ          : ติดกับเขตดอนเมือง มีคลองตาอูฐ คลองเปรมประชากร 
                         และคลองวัดหลักสี่ เป็นเส้นแบ่งเขต

ทิศใต้              : ติดกับเขตจตุจักร มีคลองบางเขนและ คลองลาดยาว 
                         เป็นเส้นแบ่งเขต

ทิศตะวันออก    : ติดกับเขตบางเขน มีคลองถนนเป็นเส้นแบ่งเขต

ทิศตะวันตก      : ติดกับอำเภอเมืองนนทบุรี และนครปากเกร็ด (จังหวัดนนทบุรี) 
                         มีคลองประปา เป็นเส้นแบ่งเขต 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลประชากร

สถิติจำนวนประชากร
เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
สถิติจำนวนประชากร ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2565
พื้นที่ชาย (คน)หญิง (คน)รวม (คน)
แขวงทุ่งสองห้อง35,37937,96273,341
แขวงตลาดบางเขน12,36214,65727,019
ยอดรวมทั้งหมด47,74152,619100,360