เทคนิคการใช้และการดูแลรักษาเครื่องแก้ววัดปริมาตร
เครื่องแก้ววัดปริมาตรเป็นเครื่องมือวัดขั้นพื้นฐานที่มีความจำเป็นมากต่อการปฎิบัติงานในห้องปฎิบัติการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ผู้ใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตรต้องมีเทคนิคการใช้ที่ถูกต้องจึงจะมั่นใจในผลการวัดปริมาตรที่ใช้เครื่องแก้วดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้ใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตร ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องแก้วแบบต่างๆ การล้างเครื่องแก้วให้สะอาด เพื่อลดการปนเปื้อน การตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องแก้ว ดังนั้นการฝึกอบรมหลักสูตร เทคนิคการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องแก้ววัดปริมาตร จึงจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ผู้ปฎิบัติงานสามารถใช้เครื่องแก้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการแบ่งเป็น
- เครื่องแก้วใช้งานทั่วไป
- เครื่องแก้วที่ใช้เฉพาะทาง
- เครื่องแก้ววัดปริมาตรของเหลว
ลักษณะทั่วไป
- มีขีดกำหนดปริมาตร หรือระบุปริมาตร ที่แน่นอนได้
- มีกำนดค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดที่ยอมรับได้
การใช้งาน
แบ่งตามวิธีสอบเทียบได้ 2 ชนิด
- เครื่องแก้วสำหรับบรรจุ (to contain) ใช้ตัวย่อ TC หรือ C หรือ In (ISO) เช่น ขวดวัดปริมาตร (Flask) เป็นตัววัดปริมาตรที่อยู่ภายใน
- เครื่องแก้วสำหรับถ่ายของเหลว (to delivery) ใช้ตัวย่อ TD หรือ D หรือ Ex (ISO) เช่น ปิเปต บิวเรต กระบอกตวง
ชั้นคุณภาพ (class of accuracy) ของเครื่องแก้ว
- Class A เป็นเครื่องแก้วที่มีความแม่นสูง มีค่า tolerances ต่ำ ใช้สำหรับงานวิเคราะห์/ทดสอบที่ต้องการความแม่นสูง จะมีตัวอักษร A และมีค่าความผิดพลาดน้อยมีความแม่นยำสูง
- Class B เป็นเครื่องแก้วที่มีความแม่นยำต่ำกว่า และมี tolerances เป็นสองเท่าของ Class A
- General Purpose เป็นเครื่องแก้วที่ไม่จัดรวมใน Class A และ Class B ความแม่นยำขึ้นอยู่กับ
วัตถูประสงค์การใช้งาน
Special Tolerance :เป็นเครื่องแก้วที่กำหนดค่า ความคลาดเคลื่อน สำหรับใช้งานเฉพาะทาง
ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ของเครื่องแก้ว Class A ปริมาตร 25 มิลลิตร
Item Tolerance(+)กระบอกตวง 0.30 ml
ขวดวัดปริมาตร 0.03 ml
บิวเรต 0.03 ml
ปิเปตวัดปริมาตร 0.03 ml
ปิเปตชนิดมีขีดย่อยแบ่งปริมาตร 0.05 ml
Serological Pipette (only class B& lower)
แก้ว (Glass) แบ่งเป็น 2 แบบ (Type)
- Type I glass : Borosilicate glass หรือ alumino-borosilicate glass
Type I Class A : Borosilicate Glass
Type I Class B :Alumino-borosilicate glass
- ทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีและอุณหภูมิ
- ใช้มากในอุตสาหกรรมและห้องปฎิบัติการ
- ตัวอย่าง 2 ยี่ห้อ คือ Duranและ Pyrex
- Type II glass :แก้วชนิด Soda Lime,Flintหรือ Soft glass
โปร่งแสง ผิวเรียบ ง่ายต่อการทำความสะอาด และทนทาน เป็นวัตถุดิบในการผลิตขวดบรรจุที่ไม่ทนต่อสารเคมีและความร้อน
Effect of temperature on solution volume
ตัวอย่าง ปริมาตรของของเหลวงที่บรรจุในเครื่องแก้ววัดปริมาตร จะเปลี่ยนไป เมื่อบรรจุตัวทำละลาย และอุณภูมิที่แตกต่างไปจากสภาวะที่ใช้ในการสอบเทียบ
Solution composition | Volumes (ml) Occupied at (Celcius) | ||||
15 | 20 | 25 | 30 | 35 | |
1.0 N HCI | 996.7 | 1000.0 | 1001.3 | 1002.8 | 1004.7 |
0.1 N HCI | 997.1 | 1000.0 | 1001.2 | 1002.6 | 1003.8 |
Water | 999.1 | 1000.0 | 1001.1 | 1002.5 | 1004.2 |
ข้อจำกัดของการใช้เครื่องแก้ว class A กับอุณหภูมิ
Volume/ML | Temperature limits(Celcius) |
10 | <31 |
50 | 10-26 |
100 | 13-25 |
250 | 16-23 |
1000 | 17-22 |
ข้อจำกัดของการใช้เครื่องแก้ว class A กับอุณหภูมิ
- เครื่องแก้วปริมาตร 100 มิลลิลิตร class A (100 ml+0.1%) สอบเทียบที่ 20 องศา
- ปริมาตร 99.9 มิลลิลิตร ถ้าบรรจุของเหลวภายใต้อุณหภูมิที่ 13 องศา
- ปริมาตร 100 มิลลิลิตร ถ้าบรรจุของเหลวภายใต้อุณหภูมิที่ 20 องศา
- ปริมาตร 100.1มิลลิลิตร ถ้าบรรจุของเหลวภายใคต้อุณหภูมิที่ 25 องศา
ดังนั้น ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13 องศา หรือ สูงกว่า 25 องศา ปริมาตรของเหลวที่บรรจุนี้จะมีค่าเกินค่าที่ยอมรับได้ของเครื่องแก้ว
เครื่องแก้ววัดปริมาตรของเหลว
- ขวดวัดปริมาตร (Volumetric Flask)
เป็นขวดที่มีฐานสามารถวางบนพื้นได้อย่างมั่นคง คอยาว มีขีดกำหนดปริมาตรบนคอขวด ใช้สำหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นที่แน่นอน (ชนิด TC) หรือถ่ายของเหลวที่ต้องการปริมาตรที่แน่นอนจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง (ชนิด TD) เช่น สารละลายมาตรฐาน สารละลายตัวอย่าง
- ปิเปต (pipette)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวมีลักษณะเป็นท่อตรง ปลายท่อมีขนาดเล็ก มีขีดกำหนดปริมาตร แบ่งย่อยหลายขีด ใช้ในการถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง แบ่งเป็น 3 แบบ ตามลักษณะของขีดกำหนดปริมาตร
- ปิเปตชนิดมีขีดย่อยแบ่งปริมาตร(Graduatedor Measuring Pipette)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวมีลักษณะเป็นท่อตรง ปลายท่อมีขนาดเล็ก มีขีดกำหนดปริมาตร แบ่งย่อยหลายขีด ใช้ในการถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง แบ่งเป็น 3 แบบ ตามลักษณะของขีดกำหนดปริมาตร
- ปิเปตวัดปริมาณ (Volumetric or Transfer pipette)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวมีลักษณะเป็นท่อยาว ส่วนกลางเป็นกระเปาะ ด้านล่างและบนกระเปาะมีขนาดเล็ก มีขีดกำหนดปริมาตรขีดเดียวอยู่ด้านบนเหนือกระเปาะสามารถบรรจุของเหลวได้ปริมาตรมาก ส่วนที่อ่านปริมาตรมีขนาดเล็ก ทำให้ความคลาดเคลื่อนจากการอ่านค่าปริมาตรต่ำใช้ในการถ่าของเหสวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง ในกรณีที่ต้องการความสูง
- บิวเรต(Buret)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวที่มีความแม่นสูง มีสต๊อปค๊อกสำหรับปิด-เปิด เพื่อควบคุมปริมาตรของเหลวให้ไหลออกทางปลายท่อตามต้องการ ใช้ในการไทเทรต (titration)
- กระบอกตวง (Cylinder)
เป็นอุปกรณ์รูปทรงกะบอกมีฐานสำหรับวางบนพื้นได้ปากมีจงอยเพื่อให้ถ่ายของเหลวได้สะดวกใช้ในการถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง ในกรณีที่ไม่ต้องการความแม่นสูง(ชนิด TC) เช่นของเหลวที่ได้จากการกลั่น
ขวดแก้ววัดปริมาตร (Volumetric Flask)
- จุกเปิดขวด
- ขีดบอกปริมาตร
- ระดับชั้นคุณภาพ
- วัตถุประสงค์การใช้งาน
- อุณหภูมิอ้างอิง
- ความคลาดเคลื่อนของปริมาตร
- ความจุ
ปิเปตชนิดที่มีขีดแบ่งปริมาตร (Graduated OR Measuring Pipette)
1. Mohr Pipette มีขีดแบ่งปริมาตรบนตัวปิเปต แต่ไม่รวมปริมาตร ที่ส่วนปลสยปิเปต
มีความถูกต้องใกล้เคียง Volumetric pipette ใช้แทนกันได้ ถ้าจำเป็น
2. Serologicalpipette มีขีดแบ่งปริมาตรบนตัวปิเปตรวมทั้งปริมาตรบริเวณส่วนปลายปิเปตด้วยมีปากใหญ่กว่าMohr pipette สารละลายไหลออกเร็วกว่า ทำให้ความถูกต้องลดลง
3. Ostwaldpipette ปิเปตชนิดนี้เป็นชนิดพิเศษที่ผลิตขึ้นเพื่อวัดปริมาตรของของเหลวที่มีความหนืด เช่น เลือด ซี่รั่ม มีลักษณะคล้าย Volumetric pipetteแต่กะเปาะของปิเปตชนิดนี้อยู่ใกล้ปลายที่ปล่อยของเหลวออกมากกว่า ซึ่งจะช่วยลดความผิดผลาดอันอาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากความหนืดของของเหลว Ostwald pipetteเป็นชนิดที่ต้องเป่าออก ดังนั้นจะมีแถบหรือวงฝ้าทึบ อยู่ใกล้ปลายปากดูดสัญลักษณ์ไว้ เวลาถ่ายของเหลวออกควรให้ของเหลวไหลออกช้าที่สุดเท่าที่จะช้าได้ เพื่อให้ของเหลวเหลือในปิเปตน้อยที่สุด จึงจะได้ปริมาตรที่ใกล้เคียงความจริง
การใช้กระบอกตวง
กระบอกตวงใช้ในการวัดปริมาตรของเหลวโดยยอมให้มีความคลาดเคลื่อนได้ถึง 1% เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป แต่ไม่ใช่สำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำสูง
รายละเอียดที่กำหนดในข้อกำหนดคุณลักษณะ
- หน่วยวัดใช้เป็นลูกบาศก์เซ็นติเมตร(CM3)หรือมิลลิลิตร
- อุณหภูมิอ้างอิง (reference temperature)เป็น อุณหภูมิที่เครื่อวแก้ววัดปริมาตรจะให้ปริมาตรตามกำหนด อาจใช้ที่ 20องศาเซลเซียส หรือ 27 องศาเซลเซียส
- สมบัติของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องแก้ว ต้องเป็นแก้วที่มีความคงทนต่อสารเคมีและความร้อน
- ขีดจำกัดค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาตร
- ความเสถียรและรูปทรงที่สมบูรณ์ของเครื่องแก้ว
- คุณลักษณะของจุกปิด(stoppers)และสต๊อปค๊อก(stopcocks)
- ลักษณะของขีดกำหนดปริมาตร(graduated line)และตัวเลขแสดงปริมาตร
- รายละเอียดที่เขียนบนเครื่องแก้ว(inscription)
- รหัสสี (color-coding band)หรือแถบฝ้า(Frosting Band)
- ใช้เครื่องแก้วตามวิธีสอบเทียบ เช่น
- ขวดวัดปริมาตรชนิด TC ใช้เตรียมสารละลายแบบบรรจุ
- ขวดวัดปริมาตรชนิด TD ใช้ถ่ายของเหลว
- ใช้เครื่องแก้ว ClassA สำหรับเตรียมของเหลวที่ต้องการความถูกต้องสูงและต้องผ่านการสอบเทียบ หรือรับรองค่า
- เลือกเครื่องแก้วปริมาตรที่เหมาะสมเช่นไทเทรปริมาตร 15-20ml ควรใช้บิวเรตขนาด 25 ml
- การใช้ปิเปตให้สังเกตการระบุเทคนิคการถ่าของเหลว เช่น เวลา ที่ต้องรอ (Waiting time) การเป่าออก การล้าง
- ไม่ควรให้ความร้อนโดยตรงกับเครื่องแก้ววัดปริมาตร ในการเตรียมสารละลาย หรือ การอบ
- หลีกเลี่ยงการใช้งานที่ใช้ความร้อนสูงเกิน 150
- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องแก้วกับสารเคมีที่ทำลายผิวแก้ว เช่น HF H3PO4 NaOHและ KOHความเข้มข้นสูง
- หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรแยกเครื่องแก้วที่ใช้งานกับสารเคมีดังกล่าว เพื่อให้สามารถสอบเทียบ หรือ ทวนสอบในช่วงเวลาที่เหมาะสม
การบำรุงรักษาเครื่องแก้ววัดปริมาตร
การล้างเครื่องแก้ว
- ล้างเครื่องแก้วอย่างถูกวิธีไม่ขัดถูจนเป็นรอย
- หากจำเป็นต้องใช้น้ำยาล้างเครื่องแก้วควรเลือกน้ำยาล้างเครื่องแก้วที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพและตรวจสอบความสะอาดก่อนการใช้งาน
- เลือกอุปกรณืที่เหมาะสมในการล้างเตรื่องแก้ว
- เครื่องแก้วที่ล้างไม่สะอาด
- การเปียกน้ำไม่สม่ำเสมอมีหยดของเหลวติดข้างผิวแก้ว
- ของเหลวสัมผัสผิวแก้วไม่สม่ำเสมอหรือไม่มีลักษณะเป็นส่วนโค้งหรือส่วนโค้งไม่เรียบ
- เครื่องแก้วที่ล้างไม่สะอาดทำให้เกิดปัญหาวัดปริมาตรของเหลวไม่ถูกต้อง
- อาจเกิดการปนเปื้อนเนื่องจากสารเคมีที่ติดอยู่ภายในเครื่องแก้ว
- นำสารละลายที่อยู่ภายในเครื่องแก้วทิ้งออกให้หมด ตามวิธีทิ้งสารที่ถูกต้อง
- ดึงป้ายหรือฉลากติดออก
- ล้างด้วยแปรงโดยใช้สบู่หรือสารซักฟอกหรือสารละลายทำความสะอาดออกให้หมด
- ล้างด้วยน้ำกลั่น1-2ครั้งถ้าเครื่องแก้วนั้นสะอาดอาจจะสังเตเห็นน้ำที่พื้นผิวเครื่องแก้วเปียกสม่ำเสมอ เป็นแบบเดียวกัน แต่ถ้าเครื่องแก้วยังไม่สะอาด จะสังเกตเห็นหยดน้ำมาเก ข้างขวกแก้วเท่านั้น
น้ำยาล้างเครื่องแก้ว (Cleaning Solution)
เลือกใช้ตามชนิดสารมลทิน
- Sodium dichromatic-sulfuric acid cleaning Solution
- สารละลายอิ่มตัว K2 CR2 O7 : conc. H2 SO4= 1:1
- สารละลายผสมของ 7% Na2 Cr2 O7 กับ 0.5%k2 Cr2 O7 ใน conc. H2 SO4
- 30กรัม Na2 CR2 O7 ใน 1 ลิตร conc. H2 SO4
- 92 กรัม กรัม Na2 CR2 O7.2H2O ในน้ำกลั่น 458 มิลลิลิตร และ 800 มิลลิลิตร H2 SO4
- Nitric acid (50-50%)
- 120 กรัม NaOHหรือ 150 กรัม KOHในน้ำ 120 มิลลิลิตร และเติม 95% ethyl alcohol เพื่อทำปริมาตรเป็น 1 ลิตร
- 40% KOH in isopropyl alcohol (degreasing agent)
- 3N HCL in methyl alcohol
- 3% KMnO4 : 1M NaOH = 1:1
การปฏิบัติหลังการล้างเครื่องแก้ว
- ทำให้แห้ง ซึ่งวิธีการทำให้เครื่องแก้วแห้งมีหลายวิธี เช่น
- ทำให้แห้งโดยใช้เปลวไฟจากตะเกียงบนเสน โดยนำอุปกรณ์เครื่องแก้วนั้นมาให้ความร้อนเบาๆโดยใช้เปลวไฟจากตะเกียงบนเสนจะทำให้เครื่องแก้วแห้งเร็วขึ้น
- ทำให้แห้งในเตาอบ การทำเครื่องแก้วให้แห้งด้วยเตาอบจะเร็วกว่าปล่อยให้แห้งเองในอากาศ
- ทำให้แห้งบนราวสำหรับวางเครื่องแก้ว เป็นการทำเครื่องแก้วให้แห้งดดยตั้งทิ้งไว้ในอากาศบนราว
- ทำให้แห้งด้วยเอซีโตน(acetone) ดครื่องแก้วที่เปียกน้ำจะแห้งเร็วขึ้นเมื่อล้างด้วยแอซีโตนเพียงเล็กน้อย เพราะแอซีโตนระเหยง่ายจะช่วยดึงอากาศให้ผ่านเข้ามาในเครื่องแก้ว ทำให้เครื่องแก้วแห้งเร็วขึ้น
สาเหตุที่อาจทำให้ปริมาตรของเครื่องแก้วเปลี่ยนแปลง
- สารมลทินล้างไม่ออก
- มีรอยขีดข่วย เกิดจากการล้างไม่ถูกวิธี
- มีรอยกัดกร่อนจากสารเคมี เช่น HF,H3,PO4,ด่างแก่ที่ร้อน
- เกิดการขยายตัวเนื่องจากใช้งานที่อุณหภูมิ (0.000025 ml/ml/1 C)
- ความชื้นสัมพัทธ์ 50%(0.001-0.004 ml/l
- ความดันบรรยากาศที่ 760 mmHg (0.014 ml/lความดันเพิ่มขึ้น 10 mmHg)
- อัตราการปล่อยสารละลายออกจากเครื่องแก้วช้า-เร็ว เพียงไร
- การเลือกใช้อุปกรณืวัดปริมาตรตรงตามความเหมาะสมหรือไม่
การเลือกใช้อุปกรณืวัดปริมาตร ต้องคำนึงถึง
1. ชนิดและอุปกรณ์ตัวอย่าง เช่น งานเลือดต้องใช้ Ostwald pipet
2. ความละเอียด และความแม่นยำ เช่น volumetric pipet ขวดวัดปริมาตรละเอียดกว่ากระบอกตวง
3. การใช้งานเช่น การเตรียมสารละลายมาตรฐาน (standard solution) ควรใช้ขวดวัดปริมาตรเป็นต้น การไทเทรตกรด-ด่าง ต้องใช้บิวเรตต์และขวดรูปชมพู่
4.ความปลอดภัย กรด-ด่าง หรือสารละลายที่มีไอระเหยรุนแรง ห้ามใช้ปากดูดต้องใช้ลูกยางเสมอ
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)
การวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงชนิดของสารประกอบธาตุการวิเคราะห์ประเภทนี้ไม่คำนึงถึงปริมาณของสารประกอบหรือธาตุปริมาตรของสารละลายที่ใช้จึงไม่มีผลกับการวิเคราะห์มากนัก
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Qualitative Analysis)
การวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงปริมาณของสารที่เราสนใจในตัวอย่างที่เราวิเคราะห์เนื่องจากต้องรายงานผลเป็นตัวเลขดังนั้นปริมาตรของสารละลายที่ใช้ในการวิเคราะห์จึงมีกับความถูกต้องแม่นยำของผลการวิเคราะห์มาก
การใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตร
แบ่งตามการสอบเทียบ และการใช้งาน 2 แบบ
- ใช้งานแบบถ่ายของเหลว (to delivery) หมายถึง การใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตรที่มีสัญลักษณ์ TD หรือ D หรือ Ex
- ใช้งานแบบบรรจุหรือเตรียมสารละลาย(tocontain) หมายถึงการใช้การเครื่องแก้ววัดปริมาตรที่มัสัญลักษณ์ TC หรือ C หรือ In
การอ่านปริมาตร
ตำแหน่งของระดับสายตาในการอ่านปริมาตรมีความสำคัญต่อค่าที่ได้จากการอ่านปริมาตร
1.ระดับสายตาเหนือmeniscusปริมาตรที่อ่านได้จะน้อยกว่าปริมาตรจริง
2.ถ้าระดับสายตาอยู่ในระดับเดียวกันกับส่วนโค้งเว้าต่ำสุดของสารละลายปริมาตรที่อ่านได้จะมีค่าเท่ากับ
3.ระดับสายตาอยู่ต่ำกว่า meniscus ปริมาตรที่อ่านได้จะมากกว่าปริมาตรจริง
การใช้บิวเรต
- บิเรตต้องสะอาด สต๊อปค๊อก(stopcock) ไม่รั่ว และไม่อุดตันก่อนใช้ควรทาบริเวณ สต๊อปค๊อก ด้วยกรีส หรือวาสลีนบางๆ
- ตรวจสอบการรั่วด้วยการบรรจุน้ำกลั่นจนถึงขีดศูนย์ ปิดสต๊อปค๊อกให้สนิท ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ปริมาตรน้ำกลั่นต้องไม่ลดลงเกินครึ่งขีดปริมาตรย่อย
การใช้ขวดวัดปริมาตร
ขวดวัดปริมาตร ต้องสะอาดและแห้ง หรือกลั้วด้วยตัวทำลาย
การเตรียมสารละลายในขวดวัดปริมาตรเตรียมจากของแข็ง
- ชั่งสารให้ได้น้ำหนักที่แน่นอน
- ละลายในตัวทำละลายในบีกเกอร์เทลงในขวดวัดปริมาตร หรือเทของแข็งลงในขวดวัดปริมาตร
- เติมตัวทำลายประมาณ ¾ ของขวด แกว่งขวดให้ของเหลวผสมเข้ากัน หรือจนของแข็งละลายหมด และอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิห้อง จากนั้นจึงปรับปริมาตรจนถึงขีดวัดปริมาตร
การเทสารละลายออกจากขวดวัดปริมาตร
- ไม่เก็บสารละลายที่เตรียมได้ไว้ในขวดวัดปริมาตร
- เนื่องจากปริมาตรที่อยู่ในขวดจะตรวกับปริมาตรที่ระบุไว้ที่ขวด เมื่อเทสารละลายออกมาสารละลายที่ได้จะมีปริมาตรน้อยกว่าที่ระบุ
- ค่อยเทสารละลายออกจากขวดวัดปริมาตรลงในภาชนะเก็บที่เหมาะสม โดยระวังไม่ให้เกิดฟองอากาศขณะเท
การเทสารละลายออกจากขวดวัดปริมาตร TD
- ไม่ใช้เครื่งแก้ว TDในการเตรียมาสารละลาย
- ใช้ TD สำหรับถ่ายสารละลายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเท่านั้น
- เนื่องจากปริมาตรที่อยู่ในขวด จะเกินปริมาตรที่ระบุไว้ที่ขวด เมื่อเทสารละลายออกมา สารละลายที่ได้จะมีปริมาตรตามที่ระบุ
- ค่อยๆเทสารละลายออกจากขวดวัดปริมาตรลงในภาชนะเก็บที่เหมาะสมโดยระวังไม่ให้เกิดฟองอากาศขณะเท
- เมื่อสารละลายออกหมด จับขวดคว่ำในแนวตั้งค้างไว้ 30 วินาที แล้วจึงแตะปากขวดกับภาชนะรองรับ
การใช้กะบอกตวง
- เทสารละลายจากบีกเกอร์ลงไปในกระบอกตวง ให้ menischus อยู่ต่ำกว่าขีดบอกปริมาตร
- ใช้ปิเปตหรือหลอดหยดช่วยในการปรับปริมาตรให้ menischus อยู่ตรงกับขีดบอกปริมาตร
การถ่ายสารละลายออกกระบอกตวงชนิด TD
- เทสารละลายออกจากกระบอกตวงอย่างระมัดระวัง จนกระทั่ง สารละลายออกหมด
- จับกระบอกตวงคว่ำในแนวตั้งค้างไว้ 30 วินาที
- แตะปากกระบอกตวงกับภาชนะรองรับเพื่อกำจัดหยดน้ำที่ปากขวดวัดปริมาตรหรือกระบอกตวง
การควบคุมคุณภาพเครื่องวัด
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาตรของเครื่องแก้ววัดปริมาตร
- ความสะอาดของเครื่องแก้ววัดปริมาตร
- การใช้งานและลักษณะงานที่ใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตร
- ทักษะของผู้ใช้งาน
- สารเคมี สารละลายที่ใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตร
- อุณหภูมิ ความชื้น และความดันบรรยากาศ
- การจัดเก็บและจัดการเครื่องแก้ววัดปริมาตร
การสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตร
- การสอบเทียบ หมายถึง ชุดของการดำเนินการเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่ชี้บอกโดยเครื่องมือวัดหรือระบบการวัด หรือค่าแสดงโดยเครื่องวัดที่เป็นวัสดุกับค่าสมนัยที่รู้ของปริมาณที่วัดภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้
- กระบวนการในการตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือวัด โดยการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน
การทวนสอบเครื่องแก้ววัดปริมาตร
- การทวนสอบ หมายถึง การยืนยันโดยการตรวจสอบและมีหลักฐานแสดงว่าเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุ
การจัดเครื่องแก้วในห้องปฎิบัติการ
- จัดทำบัญชีรายชื่อเครื่องแก้วในห้องปฎิบัติการว่ามีเครื่องแก้วใดบ้างมีอยู่จำนวนเท่าใด
- จัดเก็บเครื่องแก้วแต่ละชนิด แต่ละประเภท และทำป้ายบอกชัดเจน
- ตรวจเช็คความสมบูรณ์ ความสะอาดของเครื่องแก้ว ถ้าพบเครื่องแก้วบิ่น แตก ร้าว สกปรก ต้องแยกออก แล้วจัดการเครื่องแก้วนั้นอย่างเกมาะสม
- ใช้งานเครื่องแก้วให้ถูกประเภท และวัตถุประสงค์
- เครื่องแก้ววัดปริมาตรทุกประเภท เมื่อล้างเสร็จแล้ว ห้ามทำให้แห้งด้วยการนำไปอบในตู้อบ
- แยกเครื่องแก้วที่ใช้งานเฉพาะทาง ออกจากเครื่องแก้วที่ใช้งานอื่นๆและห้ามปะปนกัน
ที่มา : รายงานการฝึกอบรม หลักสูตรเทคนิคการใช้และการดูแลรักษาเครื่องแก้ววัดปริมาตร
เรียบเรียงโดย :
นางสาวสุมาลี ศุมานนท์ ตำแหน่งเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญงาน
นางเกษร เต็มเจริญ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญงาน
จัดโดย : สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ