ความปลอดภัย​ทาง​ห้องปฏิบัติการ​ตาม​มาตรฐาน​เทคนิค​การแพทย์​

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561
image
ความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการ
 
1.การบริหารจัดการความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการ
- มีนโยบายด้านความปลอดภัยและสุขภาพ กำหนดในนโยบายคุณภาพและบุคลากรมีส่วนร่วม
- มีแผนตรวจติดตามด้านความปลอดภัย  มีการอบรม กำหนดวัน ความถี่
- มีแผนการตรวจสุขภาพและวัคซีนแก่บุคลากรเป็นประจำทุกปี มีบันทึกหลักฐาน
- มีแผนปฏิบัติการเมื่อเกิดเพลิงไหม้ มีการซ้อมแผน อบรม บันทึกวันที่ได้อบรม/ซ้อม
- มีแผนปฏิบัติการกำจัดของเสียจากห้องปฏิบัติการ มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการกำจัดขยะ
- มีบันทึกมอบหมาย กำหนดผู้รับผิดชอบ Lab Safety Officer
- Lab Safety Officer มีหน้าที่ตรวจติดตาม ให้คำแนะนำเรื่องความปลอดภัย
- บุคลากรได้รับการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย มีการประเมินความรู้
- มีคู่มือความปลอดภัย มีเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารคุณภาพ
 
2. สถานที่สิ่งแวดล้อมปลอดภัย
- โครงสร้างอาคารมั่นคง แข็งแรง มีแสดงเครื่องหมายพื้นต่างระดับ
- มีแสงสว่าง อุณหภูมิ การระบายอากาศเหมาะสม
- มีการจัดวางเครื่องมือ ท่านั่งทำงานเหมาะสม
- มีอ่างล้างมือ น้ำยาล้างมือ ผ้าเช็ดมือ เพียงพอในพื้นที่ปฏิบัติงาน
- มีฝักบัว/ที่ล้างตา ในรัศมี ๓๐ เมตร ไม่มีสิ่งกีดขวางทางเข้าออก
- แยกพื้นที่และบ่งชี้ พื้นที่สะอาดกับพื้นที่ติดเชื้อ
- แยกตู้เย็นเก็บตัวอย่าง น้ำยา และอาหาร ไม่ดื่มกินอาหารในห้อง
- มีภาชนะสำหรับทิ้งของมีคมอย่างถูกต้อง มีระเบียบการทิ้งของมีคม ทำลายเชื้อ
- กำหนดจุดรับตัวอย่างชัดเจน นำส่งตัวอย่างในภาชนะที่ถูกต้องปลอดภัย
- มีการแยกประเภทขยะมูลฝอย ของเสีย กำจัดขยะตามระบบของโรงพยาบาล
- ตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องนึ่ง ตู้ปลอดเชื้อ
- มีอุปกรณ์ดับเพลิงและระบบสัญญาณเตือนภัย
- มีป้ายบอกทางหนีไฟ ทางออกฉุกเฉิน สามารถใช้งานได้จริง
- มีไฟฟ้าสำรองสำหรับเครื่องมือสำคัญ ไม่วางเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ใกล้แหล่งน้ำ
 
3. การปฏิบัติตนปลอดภัย
- สวมเสื้อกาวน์เมื่อปฏิบัติงานตรวจวิเคราะห์และเก็บตัวอย่างคนไข้
- ถอดเสื้อกาวน์เมื่อออกนอกห้องปฏิบัติการ เก็บเสื้อกาวน์ที่ใช้แล้วแยกจากเสื้อกาวน์สะอาด
- ทำความสะอาดเสื้อกาวน์อย่างถูกวิธีก่อนนำมาใช้ซ้ำ
- ใส่ถุงมือเมื่อสัมผัสตัวอย่าง เจาะเลือด ถอดถุงมือเมื่อจะจับโทรศัพท์ เปิดปิดประตู
- ล้างมือหลังถอดถุงมือทุกครั้ง
- มีการตรวจสุขภาพบุคลากรสม่ำเสมอ บริการวัคซีนที่จำเป็นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
 
4. การปฏิบัติงานปลอดภัย
- ทำความสะอาดพื้นที่ปฏิบัติงานทุกครั้งเมื่อเสร็จงาน
- ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพเช็คทำความสะอาดโต๊ะ
- มีป้ายสัญลักษณ์ติดชี้บ่ง Biohazard/ สารเคมีอันตราย/ สารกัมมันตรังสี
- การเจาะเลือด ไม่หักงอเข็มหรือสวมกลับเข้าปลอก
- มีภาชนะสำหรับทิ้งของมีคมติดเชื้อ ติดป้าย Biohazard
- กำจัดขยะติดเชื้อด้วยการ autoclave หรือเผาด้วยความร้อนสูง
- มีระเบียบปฏิบัติ แบบฟอร์มและการบันทึกเกี่ยวกับการเกิดอุบัติการณ์
- มีชุดทำความสะอาด Spill kit
- ปฏิบัติงานในตู้ปลอดเชื้อเมื่อมี aerosol
- เก็บสารเคมีได้อย่างถูกต้องตามหลัก
- มีชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น First aid kit
- มีหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อหน่วยงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
 
5. การบริหารจัดการความเสี่ยง
- มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงของความปลอดภัยอย่างน้อยปีละครั้ง
- นำผลจากการตรวจติดตามมาใช้ประโยชน์ในการบริหารความเสี่ยง
- ผู้ปฏิบัติงานทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี