ความรู้เกี่ยวกับเชื้อจุลินทรีย์อ้างอิงมาตรฐาน

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2562
image
ความรู้เกี่ยวกับเชื้อจุลินทรีย์อ้างอิงมาตรฐาน
ที่มา: หลักสูตรการใช้และการควบคุมคุณภาพอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
เชื้อจุลินทรีย์อ้างอิงที่ใช้ทดสอบ
1. เป็นชนิดและสายพันธุ์มาตรฐาน เช่น ATCC (American type culture collection) ฯลฯ
2. เป็นสายพันธุ์ที่ได้จากการทดสอบความชำนาญของห้องปฏิบัติการ (PT) กับองค์กรของรัฐหรือองค์กรชำนาญการ
3. เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง (Wold strains) ที่ตรวจพบในห้องปฏิบัติการซึ่งได้รับการตรวจสอบยืนยันเกี่ยวกับคุณสมบัติและปฏิกิริยาต่างๆแล้ว
แหล่งของเชื้อจุลินทรีย์อ้างอิง
1. สถาบันเก็บเชื้อจุลินทรีย์ในประเทศ เช่น
- ศูนย์เก็บรักษาจุลินทรีย์ทางการแพทย์แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในคนประมาณ 10,000 สายพันธุ์
- ห้องปฏิบัติการการเก็บรักษาสายพันธ์จุลินทรีย์ ศูนย์พันธุวิศวกรรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) จะเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์ จำพวกราและยีสต์ เชื้อที่ใช้ในการวิจัยประมาณ 20,000 สายพันธุ์
- ศูนย์เก็บจุลินทรีย์โรคพืช สาขาจุลชีววิทยาและโรคพืช กรมวิชาการเกษตร จะเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่สำคัญทางการเกษตร ประมาณ 2,000 สายพันธุ์
- ศูนย์จุลินทรีย์กรุงเทพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จะเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่สำคัญด้านอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ประมาณ 5,000 สายพันธุ์
2. สถาบันเก็บเชื้อจุลินทรีย์ต่างประเทศ
    - American Type Culture Collection (ATCC)
    - Common Access to Biological Resources and Information (CABI)
    - Belgian Co-ordinated Collections of Microganisms
    - Institute for Fermentation, Osaka
    - Japan Collection of Microorganisms (JCM)
    - United Kingdom National Culture Collection (UKNCC)
    - World Data Centre for Microorganisms
3. องค์กรทำ PT ที่น่าเชื่อถือ
4. แยกได้จากตัวอย่าง (Wild type) และได้รับการยืนยันที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ
สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
1. ควรเป็นวิธีที่เชื้อมีการตายน้อยที่สุดในระหว่าง process และเก็บรักษา
2. คุณสมบัติเฉพาะของเชื้อต้องคงอยู่
3. เชื้อต้องบริสุทธิ์
4. ค่าใช้จ่ายเหมาะสม (staff, equipment, storage, space, power supplies etc.)
5. จำนวนเชื้อที่เก็บ
6. คุณค่าของเชื้อที่เก็บ
7. การบริการและการขนส่ง
8. ความถี่ของการใช้เชื้อ
ขั้นตอน
1. ทดสอบความบริสุทธิ์และคุณสมบัติเฉพาะ
2. เพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนเชื้อ
3. แบ่งใส่อุปกรณ์ (เชื้อที่แบ่งควรเป็นเชื้อในระยะ Stationary phase )
4. เก็บตามวิธีที่เหมาะสม 
วิธีการเก็บ
1. ถ่ายเชื้อลงในอาหารใหม่ (sub culturing)
2. เก็บในสภาพแห้ง (drying)
    - ทราย, ดิน, หรือ silica gel
    - paper strips หรือ disc
    - เก็บในสภาพแช่แข็ง (freezing)
    - เก็บในสภาพแห้ง แช่แข็ง (freeze-drying)