ความรู้เกี่ยวกับเครื่องแก้ววัดปริมาตร

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562
image
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องแก้ววัดปริมาตร
ที่มา: หลักสูตรเทคนิคการใช้และการดูแลรักษาเครื่องแก้ววัดปริมาตร กรมวิทยาศาสตร์บริการ
 
เครื่องแก้ววัดปริมาตรเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่มีความจำเป็นในห้องปฏิบัติการ ผู้ใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตรต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้และการดูแลรักษา เพื่อให้ได้ผลการวัดปริมาตรที่ถูกต้อง
เครื่องแก้ววัดปริมาตรของเหลว
1. ขวดวัดปริมาตร (Volumetric Flask)
เป็นขวดที่มีฐานสามารถวางบนพื้นได้อย่างมั่นคง คอยาว มีขีดกำหนดปริมาตรบนคอขวด ใช้สำหรับเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นที่แน่นอน หรือถ่ายของเหลวที่ต้องการปริมาตรที่แน่นอนจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง เช่น สารละลายมาตรฐาน สารละลายตัวอย่าง
2. ปิเปต (pipette)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวมีลักษณะเป็นท่อตรง ปลายท่อมีขนาดเล็ก มีขีดกำหนดปริมาตร แบ่งย่อยหลายขีด ใช้ในการถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง แบ่งเป็น 3 แบบ ตามลักษณะของขีดกำหนดปริมาตร
3. ปิเปตชนิดมีขีดย่อยแบ่งปริมาตร (Graduated or Measuring Pipette)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวมีลักษณะเป็นท่อตรง ปลายท่อมีขนาดเล็ก มีขีดกำหนดปริมาตร แบ่งย่อยหลายขีด ใช้ในการถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง แบ่งเป็น 3 แบบ ตามลักษณะของขีดกำหนดปริมาตร
4. ปิเปตวัดปริมาณ (Volumetric or Transfer pipette)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวมีลักษณะเป็นท่อยาว ส่วนกลางเป็นกระเปาะ ด้านล่างและบนกระเปาะมีขนาดเล็ก มีขีดกำหนดปริมาตรขีดเดียวอยู่ด้านบนเหนือกระเปาะ สามารถบรรจุของเหลวได้ปริมาตรมาก ส่วนที่อ่านปริมาตรมีขนาดเล็ก ทำให้ความคลาดเคลื่อนจากการอ่านค่าปริมาตรต่ำ ใช้ในการถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง ในกรณีที่ต้องการความแม่นยำสูง
5. บิวเรต (burette)
เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวที่มีความแม่นสูง มีสต๊อปค๊อกสำหรับปิด-เปิด เพื่อควบคุมปริมาตรของเหลวให้ไหลออกทางปลายท่อตามต้องการ ใช้ในการไทเทรต (titration)
6. กระบอกตวง (Cylinder)
เป็นอุปกรณ์รูปทรงกะบอกมีฐานสำหรับวางบนพื้นได้ปากมีจะงอยเพื่อให้ถ่ายของเหลวได้สะดวก ใช้ในการถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง ในกรณีที่ไม่ต้องการความแม่นสูง เช่นของเหลวที่ได้จากการกลั่น

รายละเอียดที่กำหนดในข้อกำหนดคุณลักษณะ
1. หน่วยวัดใช้เป็นลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมิลลิลิตร
2. อุณหภูมิอ้างอิง (reference temperature)เป็น อุณหภูมิที่เครื่องแก้ววัดปริมาตรจะให้ปริมาตรตามกำหนด อาจใช้ที่ 20 องศาเซลเซียส หรือ 27 องศาเซลเซียส
3. สมบัติของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องแก้ว ต้องเป็นแก้วที่มีความคงทนต่อสารเคมีและความร้อน
4. ขีดจำกัดค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาตร
5. ความเสถียรและรูปทรงที่สมบูรณ์ของเครื่องแก้ว
6. คุณลักษณะของจุกปิด (stoppers) และสต๊อปค๊อก (stopcocks)
7. ลักษณะของขีดกำหนดปริมาตร (graduated line)และตัวเลขแสดงปริมาตร
8. รายละเอียดที่เขียนบนเครื่องแก้ว (inscription)
9. รหัสสี (color-coding band) หรือแถบฝ้า (Frosting Band)