การกำจัดของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
image

การกำจัดของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ

ที่มา: หลักสูตรการกำจัดของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

สารชีวภาพอันตราย

ระดับความปลอดภัย

ระดับอันตรายของจุลินทรีย์

Biosafety Level 1
- เป็นห้องปฏิบัติการมาตรฐาน
- มีอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ชนิดทั่วไปที่จำเป็น
- ผู้ใช้งานพึงปฏิบัติตัวตามกฎระเบียบของการทำงานกับจุลชีพทั่วไป

Class 1
- จุลินทรีย์ส่วยใหญ่เป็นพวกไม่ก่อโรค
- คนที่สุขภาพแข็งแรงมักไม่ได้รับอันตราย
- Bacillus megaterium, Lactococcus, Saccharomyces

Biosafety Level 2
- มาตรฐานการใช้ห้องเหมือน  Biosafety Level 1
- ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมเสื้อปฏิบัติการ ถุงมือ และควรทำงานในตู้
  ปลอดเชื้อ
- มีเครื่องหมาย Biohazard ติดในห้องปฏิบัติการ
- มีการจำกัดการเข้าห้อง เฉพาะผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น

Class 2
- จุลินทรีย์ก่อโรค ความรุนแรงปานกลาง
- สามารถติดต่อได้แม้ในคนสุขภาพดี
- Staphylococcus aureus, Salmonella spp.,
  Blastomyces, Cryptococcus

Biosafety Level 3
- มาตรฐานการใช้ห้องเหมือน  Biosafety Level 2
- บังคับให้ทำงานในตู้ปลอดเชื้อ
- มีการเก็บ กำจัดวัสดุอุปกรณ์หรือฆ่าเชื้อทุกอย่างก่อนนำออกจากห้องปฏิบัติการ
- ใส่เสื้อปฏิบัติการพิเศษของห้อง
- มีการติดตามหรือเฝ้าระวังผู้ปฏิบัติงาน เช่น การฉีดวัคซีน

Class 3
- จุลินทรีย์ก่อโรคระดับอันตรายสูง
- เสียชีวิตได้ถ้าสูดดม หรือเข้าสู่ร่างกาย
- Mycobacterium tuberculosis, Francisella
  tularensis
, Yersinia pestis, Brucella spp.,
  Coccidioides immitis, AIDS virus

Biosafety Level 4
- มาตรฐานการใช้ห้องเหมือน  Biosafety Level 3
- ไม่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน มีการฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อนและหลังปฏิบัติงาน
- ผู้ปฏิบัติงานต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทั้งก่อนและหลังปฏิบัติงานทุกครั้ง

Class 4
- เป็นจุลินทรีย์ก่อโรค ระดับอันตรายสูงสุด
- Lassa fever virus, Ebola หรือ Marburg Virus

 

การทำงานอย่างถูกต้องและปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
หลักการทำงานอย่างปลอดภัย
     - รู้ว่าปลอดภัยคืออะไร : ความหมายของคำว่าปลอดภัย
     - รู้ว่าอันตรายอยู่ที่ไหน เกิดผลกระทบต่อใคร : ค้นหาอันตรายและประเมินความเสี่ยงภัย
     - รู้ว่าป้องกัน/แก้ไขอันตรายได้อย่างไร : ประเมินความเสี่ยงภัย
     - รู้ว่าตรวจสอบเมื่อไหร่ : ตรวจสอบความปลอดภัย
     - รู้ว่าจัดการให้ปลอดภัยได้อย่างไร : จัดระบบการจัดการความปลอดภัย
การให้ความรู้พื้นฐานกับผู้ปฏิบัติงาน
     - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
     - ระบบการจัดการความปลอดภัย
     - ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการกับความปลอดภัย
     - ระบบการจัดการสารเคมี
     - ระบบการจัดการของเสีย
     - การประเมินความเสี่ยง
     - ระบบควบคุมภาวะฉุกเฉินและการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย
ขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการทำงานปลอดภัย
     - จัดทำนโยบายและระเบียบข้อบังคับด้านความปลอดภัย
     - จัดทำโครงสร้างขององค์กร และหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัย
     - จัดหา เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยประจำห้องปฏิบัติการ และเฉพาะบุคคล
     - จัดการสารเคมีเพื่อความปลอดภัย
     - ประเมินความเสี่ยงภัยในการทำงานกับสารเคมี
     - จัดการของเสียอันตราย
     - ฝึกอบรมเพื่อความปลอดภัย
     - จัดระบบควบคุมภาวะฉุกเฉินและการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย
หลักการในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน
     - รู้จักอันตรายและแหล่งอันตรายในสถานที่ทำงาน
     - รู้จักวิธีการประเมินระดับอันตรายและประเมินความเสี่ยงภัย
     - รู้จักวิธีการขจัดอันตรายและป้องกันอันตรายโดยใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยและการใช้ป้ายสัญลักษณ์
       เพื่อความปลอดภัย
     - เรียนรู้จากอุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้นจากรายงานการเกิดอุบัติเหตุ
     - ตรวจสอบติดตามและทบทวนอันตรายโดยการตรวจสอบความปลอดภัยเป็นระยะ


ระบบสากลการจำแนกประเภทและการติดฉลากสารเคมี GHS (Globally Harmonized System)
การจำแนกความเป็นอันตราย
  1. ทางกายภาพ
ประเภทความเป็นอันตราย ประเภทย่อย
1. วัตถุระเบิด วัตถุระเบิดไม่เสถียร 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6
2. ก๊าซไวไฟ 1 2    
3. ละอองลอยไวไฟ 1 2
4. ก๊าซออกซิไดซ์ 1  
5. ก๊าซอัดภายใต้ความดัน  
    ก๊าซอัด 1  
    ก๊าซเหลว 1
    ก๊าซเหลวอุณหภูมิต่ำ 1
    ก๊าซในสารละลาย 1
6. ของเหลวไวไฟ 1 2 3 4    
7. ของแข็งไวไฟ 1 2  
8. สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง ชนิด A ชนิด B ชนิด C ชนิด D ชนิด E ชนิด F ชนิด G
9. ของเหลวที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ 1    
10. ของแข็งที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ 1
11. สารที่เกิดความร้อนได้เอง 1 2  
12. สารที่สัมผัสน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ 1 2 3
13. ของเหลวออกซิไดซ์ 1 2 3
14. ของแข็งออกซิไดซ์ 1 2 3
15. สารเพอร์ออกไซด์ ชนิด A ชนิด B ชนิด C ชนิด D ชนิด E ชนิด F ชนิด G
16. สารกัดกร่อนโลหะ 1  
 
  1. ทางสุขภาพ
ประเภทความเป็นอันตราย ประเภทย่อย
1. ความเป็นพิษเฉียบพลัน, ทางปาก 1 2 3 4 5
    ความเป็นพิษเฉียบพลัน, ทางผิวหนัง 1 2 3 4 5
    ความเป็นพิษเฉียบพลัน, ทางการหายใจ 1 2 3 4 5
2. การกัดกร่อนและการระคายเคืองผิวหนัง 1A 1B 1C 2 3
3. การทำลายดวงตาอย่างรุนแรง และการระคายเคืองต่อดวงตา 1 2A 2B  
4. การทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง 1  
5. การก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์ 1A 1B 2  
6. การก่อมะเร็ง 1A 1B 2  
7. ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ 1A 1B 2 ผลต่อน้ำนมแม่  
8. ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจงจากการสัมผัส
    ครั้งเดียว
1 2 3  
9. ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจงจากการสัมผัสซ้ำ 1 2  
10. ความเป็นอันตรายจากการสำลัก 1 2  
 
  1. ทางสิ่งแวดล้อม
ประเภทความเป็นอันตราย ประเภทย่อย
1. ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำ (เฉียบพลัน) 1 2 3  
    ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำ (เรื้อรัง) 1 2 3 4  
 

ระบบการจัดการสารเคมี
การจัดการสารเคมี
  • แยกตามสถานะของสารเคมี โดยจำแนกสารเคมีออกเป็น ของแข็ง, ของเหลว, ก๊าซ
  • แยกตามสมบัติ อันตรายของสารเคมี : สารเคมีไวไฟ, สารเคมีทำปฏิกิริยา, สารเคมีกัดกร่อนและสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพ โดยใช้ระบบรหัสสี (Color code system)
  • ใช้ระดับอันตรายตามมาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association)
วิธีการจัดแยกประเภทสารเคมีและการจัดเก็บ
  • พิจารณาจากระดับความเป็นอันตรายที่แสดงระดับอันตรายสูงสุด
  • จัดทำฉลากรหัสสี เพื่อจัดแยกประเภทสารเคมี
  • ติดฉลากรหัสสีที่ขวดสารเคมี บริเวณด้านบน โดยฉลากไม่ทับตัวหนังสือ
  • นำขวดสารเคมีที่ติดฉลากรหัสสีจัดเก็บไว้บนชั้นวางสารเคมีตามกลุ่มรหัสสีที่ได้แยกประเภทสารเคมี
    ไว้แล้ว
สถานที่ที่ใช้ในการจัดเก็บสารเคมี ควรมีลักษณะดังนี้
  • มีการระบายอากาศเป็นอย่างดี
  • ไม่โดนแสงโดยตรงและไม่ร้อนเกินไป
  • แยกบริเวณการเก็บโดยใช้รหัสสี
  • ชั้นวางต้องติดตั้งหรือประกอบอย่างแน่นหนาและอยู่ชิดผนัง
  • ห้องจัดเก็บมีประตูปิดมิดชิด
  • ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิง/ป้องกันอยู่ใกล้ห้องเก็บสารเคมี
ข้อกำหนดเฉพาะในการเก็บสารเคมี
สารเคมีที่เป็นก๊าซ : ถังก๊าซที่อัดจากความดันสูง
  • ติดฉลากบอกชื่อ
  • ยึดถังก๊าซกับผนังด้วยสายหนังหรือโซ่คล้อง
  • กรณีใช้ชั่วคราว หลังใช้ให้ปิดวาล์ว ไล่ความดันและถอดตัวควบคุมความดันและปิดฝาครอบ
  • แยกถังก๊าซออกจากที่เก็บสารเคมีอื่น
  • จัดแยกตามประเภท
  • แยกถังเปล่าออก
  • ต้องทราบคุณสมบัติกายภาพ กลิ่น สี
การจัดการสารเคมีที่หกตกแตกหรือรั่วไหล
  • ในห้องปฏิบัติการควรต้องมี Spill kit เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการกับสารเคมีที่หกตกแตก
    หรือรั่วไหล
  • ต้องมีวิธีการขั้นตอนในการจัดการสารเคมีหกตกหล่นเพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
    ปลอดภัย
การจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
1. จัดระบบการทำงานเพื่อความปลอดภัย
  • จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัยในการทำงาน
  • จัดทำระเบียบข้อควรปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
  • จัดทำข้อกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการต้องเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรความปลอดภัยใน
    การทำงานตามระดับความรับผิดชอบ
  • จัดทำข้อกำหนดการทำงานห้องปฏิบัติการโดยใช้ Safety Card
  • ฝึกอบรมการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยและอุปกรณ์การแจ้งเหตุ/ระงับเหตุฉุกเฉิน
2. จัดหาอุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัย
    ประกอบด้วย 2 ส่วน
     1) เครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
            - ตู้ดูดควัน (Fume Hood)
            - ตู้ปลอดเชื้อ (Laminar Flow)
            - อ่างล้างตา (Eye Wash)
            - ฝักบัวนิรภัย (Emergency Shower)
     2) อุปกรณ์ป้องกันเฉพาะบุคคล
Lab Coats เสื้อกาวน์แขนยาวควรสวมตลอดเวลาที่ทำงานในห้องปฏิบัติการและถอดออก
ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการหรือเข้าไปในสำนักงาน/ห้องพัก/พื้นที่สะอาด
Gloves - ใช้ถุงมือในชนิดและรูปแบบที่ถูกต้องเหมาะสมกับชนิดของงานที่ทำ
- Neoprene : Chemical Resistance Glove
- Nitrite : Chemical Resistance Glove
- ป้องกันความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงาน
แว่นตาและที่ครอบตา ใช้ในการป้องกันใบหน้าและดวงตาจากสารเคมี/ไฟฟ้า
Mask ป้องกันอันตรายจากสารเคมีและสารชีวภาพ/เชื้อจุลชีพ
 
การประเมินความเสียงภัยและตรวจสอบความถูกต้อง
  • จัดฝึกอบรมการประเมินความเสี่ยงภัยและตรวจสอบความปลอดภัยให้กับผู้ควบคุมดูแลห้องปฏิบัติการ
  • จัดประเมินความเสี่ยงภัยในการทำงานทั้งในส่วนของสถานที่ทำงานและผู้ปฏิบัติงาน
  • ตรวจสอบความปลอดภัยในสถานที่ทำงานพร้อมจัดทำแผนงานเพื่อควบคุมอันตรายและความเสี่ยงภัย
    ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
  • จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงภัยและตรวจสอบความปลอดภัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
การเตรียมระบบระงับเหตุฉุกเฉิน
  • จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์เตือนภัยแจ้งเหตุ/ระงับเหตุฉุกเฉินและจัดระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน
           : Smoke Alarm, Heat Detector, SOS, Fire Alarm
  • จัดหาถังดับเพลิง/ระบบดับเพลิงพร้อมติดตั้งให้ถูกต้องและเหมาะสม
  • ฝึกอบรมดับเพลิงเบื้องต้น
  • เตรียมพื้นที่อพยพในอาคาร
  • จัดซ้อมอพยพหนีภัย/หนีไฟ
  • จัดหา Spill kit พร้อมวิธีปฏิบัติเมื่อสารเคมีหกตกหล่น
  • จัดหาอุปกรณ์ระงับเหตุฉุกเฉินจากสารเคมี
  • จัดหาป้ายแผนผังแสดงอุปกรณ์ระงับเหตุในอาคาร
หลักการจัดแยกชนิดของเสียอันตราย
จัดแยกของเสียโดยเปรียบเทียบความเข้มข้นของสารเคมีที่มีอยู่ในของเสียกับมาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรม
  • ต้องทราบปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในการทดลองวิเคราะห์
  • หาข้อมูลความเข้มข้น ปริมาณที่ใช้ ของสารเคมีทุกชนิด ที่ต้องใช้ในพารามิเตอร์ที่ต้องการวิเคราะห์
  • พิจารณาความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดที่เตรียมไว้แต่ละพารามิเตอร์ว่าเกินมาตรฐานน้ำทิ้ง
    อุตสาหกรรมหรือไม่ หากไม่เกินจะตัดออกและไม่นำมาพิจารณา
  • พิจารณาความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดว่า เมื่ออยู่ในสถานะของเสียแล้วมีความเข้มข้นเป็นเท่าใด
    นำความเข้มข้นนั้นมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานน้ำทิ้งอุสาหกรรม หากเกินมาตรฐานจำต้องนำมา
    พิจารณาการจัดแยกของเสีย
  • หากความเข้มข้นของสารเคมีทุกชนิดที่อยู่ในของเสียที่นำมาพิจารณาต่ำกว่ามาตรฐานน้ำทิ้งสามารถทิ้ง
    ลงท่อน้ำทิ้งในห้องปฏิบัติการได้
  • กรณีสารเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์ทดสอบไม่มีอยู่ในมาตรฐานน้ำทิ้ง ให้พิจารณาในการจัดแยกของเสีย
    ควบคู่กับการใช้ MSDS ประกอบการพิจารณาจัดแยก
 
มาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรม

 
ดัชนีคุณภาพน้ำ ค่ามาตรฐาน วิธีวิเคราะห์
1.ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH value) 5.5-9.0 pH Meter
2.ค่าทีดีเอส (TDS หรือ Total Dissolved Solids) ไม่เกิน 3,000 มก./ล. หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ละประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้งหรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม ที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 5,000 มก./ล. ระเหยแห้งที่อุณหภูมิ 103-105 °C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
น้ำทิ้งที่จะระบายลงแหล่งน้ำกร่อยที่มีค่าความเค็ม(Salinity) เกิน 2,000 มก./ล. หรือลงสู่ทะเล
ค่าทีดีเอสในน้ำทิ้งจะมีค่ามากกว่าค่าทีดีเอส ที่มีอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำทะเลได้ไม่เกิน 5,000 มก./ล.
3.สารแขวนลอย (Suspended Solids) ไม่เกิน 50 มก./ล. หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม หรือประเภทของระบบบำบัดน้ำเสีย
ตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 150 มก./ล.
กรองผ่านกระดาษกรองใยแก้ว (Glass Fiber Filter Disc)
4.อุณหภูมิ (Temperature) ไม่เกิน 40 °C เครื่องวัดอุณหภูมิ วัดขณะทำการเก็บตัวอย่างน้ำ
5.สีหรือกลิ่น ไม่เป็นที่พึงรังเกียจ ไม่ได้กำหนด
6.ซัลไฟด์ (Sulfide as H2S) ไม่เกิน 1.0 มก./ล. Titrate
7.ไซยาไนด์ (Cyanide as HCN) ไม่เกิน 0.2 มก./ล. กลั่นและตามด้วยวิธี Pyridine Barbituric Acid
8.น้ำมันและไขมัน (Fat, Oil and Grease) ไม่เกิน 5.0 มก./ล. หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 15 มก./ล. สกัดด้วยตัวทำละลาย แล้วแยกหาน้ำหนักของน้ำมันและไขมัน
9.ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ไม่เกิน 1.0 มก./ล. Spectrophotometry
10.สารประกอบฟีนอล (Phenols) ไม่เกิน 1.0 มก./ล. กลั่นและตามด้วยวิธี 4-Aminoantipyrine
11.คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) ไม่เกิน 1.0 มก./ล. Iodometric Method
12.สารที่ใช้ป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ (Pesticide) ต้องตรวจไม่พบตามวิธีตรวจสอบที่กำหนด Gas-Chromatography
13.ค่าบีโอดี (5 วันที่อุณหภูมิ 20 °C (Biochemical
     Oxygen Demand : BOD))
ไม่เกิน 20 มก./ล. หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 60 มก./ล. Azide Modification ที่อุณหภูมิ 20 °C เป็นเวลา
5 วัน
14.ค่าทีเคเอ็น (TKN หรือ Total Kjeldahl Nitrogen) ไม่เกิน 100 มก./ล. หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 200 มก./ล. Kjeldahl
15.ค่าซีโอดี (Chemical Oxygen Demand : COD) ไม่เกิน 120 มก./ล. หรืออาจแตกต่างแล้วแต่ประเภทของแหล่งรองรับน้ำทิ้ง หรือประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเห็นสมควรแต่ไม่เกิน 400 มก./ล. Potassium Dichromate Digestion
16.โลหะหนัก (Heavy Metal)    
     1)สังกะสี (Zn) ไม่เกิน 5.0 มก./ล. Atomic Absorption Spectro Photometry
ชนิด Direct Aspiration หรือวิธี Plasma Emission Spectroscopy ชนิด Inductively Coupled Plasma : ICP
     2)โครเมียมชนิดเฮกซาวาเล้นท์
        (Hexavalent Chromium)
ไม่เกิน 0.25 มก./ล.
     3)โครเมียมชนิดไตรวาเล้นท์
        (Trivalent Chromium)
ไม่เกิน 0.75 มก./ล.
     4)ทองแดง (Cu) ไม่เกิน 2.0 มก./ล.
     5)แคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.03 มก./ล.
     6)แบเรียม (Ba) ไม่เกิน 1.0 มก./ล.
     7)ตะกั่ว (Pb) ไม่เกิน 0.2 มก./ล.
     8)นิคเกิล (Ni) ไม่เกิน 1.0 มก./ล.
     9)แมงกานีส (Mn) ไม่เกิน 5.0 มก./ล.
   10)อาร์เซนิค (As) ไม่เกิน 0.25 มก./ล. Atomic Absorption Spectro Photometry
ชนิด Direct Aspiration หรือวิธี Plasma Emission Spectroscopy ชนิด Inductively Coupled Plasma : ICP
   11)เซเลเนียม (Se) ไม่เกิน 0.02 มก./ล.
   12)ปรอท (Hg) ไม่เกิน 0.005 มก./ล. Atomic Absorption Cold Vapour Technique
 
 
หลักการและแนวทางปฏิบัติในการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการ
  • จัดแยกประเภท/ชนิดของเสีย
  • จัดเก็บของเสียโดยวิธีมาตรฐาน
  • Reuse, Recycle, Waste Exchange
  • บำบัดของเสีย : บำบัดเอง/ส่งบำบัด
  • กำจัดของเสีย : ส่งกำจัด
สถานการณ์ปัญหาของของเสียอันตรายในปัจจุบัน
  • ห้องปฏิบัติการส่วนมากไม่มีระบบการจัดการของเสียอันตรายที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
  • ขาดข้อมูลสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบัน
  • ขาดกฎหมายควบคุมการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการบางประเภท
  • ขาดกระบวนการติดตาม ตรวจสอบการปล่อยทิ้งของเสียจากห้องปฏิบัติการ
  • ความยุ่งยากในการจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการ เนื่องจากความหลากหลายและปริมาณ
    ของของเสียที่เกิดขึ้น
  • ขาดผู้รับบำบัด กำจัด หรือตั้งอยู่ไกล หรือราคาสูงเกินไป
ผลกระทบของของเสียที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
  • ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง การสัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับของเสียที่เป็นอันตรายซึ่งประกอบด้วยสารพิษที่เป็นสารก่อมะเร็งอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งได้โดยเฉพาะเมื่อได้รับสารเหล่านั้นเป็นเวลาติดต่อกันนานๆ
  • ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น การที่ได้รับสารเคมีหรือสารโลหะหนักบางชนิดเข้าไปในร่างกาย อาจทำให้เจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆจนอาจถึงตายได้
  • ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ สารโลหะหนักหรือสารเคมีต่างๆที่เจือปนอยู่ในของเสียที่เป็นอันตราย นอกจากจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์แล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งพืชและสัตว์ ทำให้เจ็บป่วยและตายได้เช่นกัน หรือถ้าได้รับสารเหล่านั้นในปริมาณไม่มากพอที่จะทำให้เกิดอาการอย่างเฉียบพลัน ก็อาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างของโครโมโซมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม นอกจากนี้การสะสมของสารพิษไว้ในพืชหรือสัตว์แล้วถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหารในที่สุดเป็นอันตรายต่อมนุษย์ซึ่งนำพืชและสัตว์ดังกล่าวมาบริโภค
  • ทำให้เกิดผลเสียหายต่อทรัพย์สินและสังคม เช่น เกิดไฟไหม้ เกิดการกัดกร่อนเสียหายของวัสดุ เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลทางอ้อมทำให้เกิดปัญหาทางสังคมด้วย