วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE)
ที่มา: หลักสูตรความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
อุปกรณ์หรือสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานนำมาสวมใส่ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและเพื่อความปลอดภัยของตนเองอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันอันตรายตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ศีรษะ ใบหน้า ดวงตา หู ระบบทางเดินหายใจ ลำตัว มือ แขน ขา อื่นๆ
๑. การเลือกใช้ PPE
๑.๑ เลือกซื้อให้เหมาะสมกับอันตรายที่พบหรือที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงาน
๑.๒ อุปกรณ์ที่เลือกควรได้รับการตรวจสอบและรับรองตามมาตรฐาน
๑.๓ มีความทนทาน มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันอันตราย
๑.๔ มีน้ำหนักเบา สวมใส่สบาย ขนาดเหมาะสม และง่ายต่อการใช้
๑.๕ มีหลายแบบ หลายขนาดให้เลือกใช้เหมาะกับแต่ละคน
๑.๖ บำรุงรักษาง่าย ทำความสะอาดง่าย ราคาไม่สูงเกินไป
๑.๗ ผู้ผลิตหรือผู้ขาย ให้ความรู้เรื่องประโยชน์ วิธีการเลือกใช้ วิธีการสวมใส่ที่ถูกต้อง
๑.๘ อุปกรณ์มีเพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้งาน
๒. อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา
๒.๑ ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นมาจาก ฝุ่น ละออง ควัน ไอระเหย ละอองวัตถุ ประกายไฟ รังสี เลเซอร์ หลอมโลหะ ของแข็ง ของเหลว กระเด็นหรือปลิวเข้าใบหน้าและดวงตา
๒.๒ มาตรการป้องกัน เช่น อุปกรณ์ป้องกันตา แว่นตานิรภัย ครอบตานิรภัย กระบังหน้า หน้ากากเชื่อม ช่องระบาย แสงสว่างเพียงพอ ป้ายเตือน เครื่องล้างตา
๒.๓ มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน อุปกรณ์พอดีกับใบหน้า ไม่บดบังสายตา มีความสบายขณะสวมใส่ ทนทาน น้ำหนักเบา ไม่ก่อเกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง
๒.๔ ทำความสะอาดง่าย หมั่นตรวจสอบสภาพ เก็บรักษาในที่สะอาด
๓. อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ
๓.๑ ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจาก ไอระเหย ควัน ฝุ่นละออง ไอน้ำ ก๊าซ สเปรย์ กลิ่นเหม็น
๓.๒ Air purifying respirators กำจัดอนุภาคขนาดเล็ก ก๊าซ ควัน สารเคมีและช่วยกรองอากาศ
๓.๓ Supplied air respirators ท่อส่งอากาศช่วยหายใจ อุปกรณ์ช่วยหายใจฉุกเฉิน
๓.๔ เลือกใช้ให้เหมาะสม ตรวจสอบก่อนใช้งาน เช่น รอยฉีกขาด ความกระชับ ยางยืด ติดตามผลการใช้งาน ตรวจสอบความกระชับว่าแนบสนิทกับใบหน้า ตามวิธีที่ผู้ผลิตแนะนำ
๔. อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ
๔.๑ ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจาก การกระแทก ไฟฟ้าช็อต ถูกของเหลวกระเด็นหรือหยดใส่
๕. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียงดัง
๕.๑ ป้องกันอันตรายจากเสียงที่ดังเกินไปต่อเซลล์ประสาทหูชั้นใน
๕.๒ คุณสมบัติของอุปกรณ์ลดเสียง ได้แก่ ประสิทธิภาพในการลดเสียง ความสบายในการสวมใส่ ความง่ายและสะดวกในการใช้ ขนาดเหมาะสม ราคา ถูกสุขลักษณะ มีมาตรฐาน ไม่กีดขวางอุปกรณ์อื่น
๖. อุปกรณ์ป้องกันมือ
๖.๑ ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการทำงานซ้ำๆ บาดเจ็บจากเครื่องมืออุปกรณ์ เป็นแผล ติดเชื้อ
๖.๒ เลือกชนิดของถุงมือตามวัตถุประสงค์ที่ใช้งาน
๑. ถุงมือไวนิลและไนไตรต์ ป้องกันสารเคมีที่เป็นพิษ กรด ด่าง น้ำมันต่างๆ
๒. ถุงมือยาง ป้องกันสำหรับงานทางไฟฟ้า
๓. ถุงมือผ้า ป้องกันขอบคม สิ่งสกปรก การสั่นสะเทือน
๔. ถุงมือกันความร้อน ป้องกันความร้อนและเปลวไฟ
๕. ถุงมือลาเทกซ์ ป้องกันมือสำหรับงานทางจุลินทรีย์และแบคทีเรีย
๖. ถุงมือตะกั่ว ป้องกันจากแหล่งรังสี
๗. อุปกรณ์ป้องกันเท้า
๗.๑ ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการกระแทก ถูกกดทับ ลื่น ไถล สารเคมีกระเด็น กระแสไฟฟ้า
๗.๒ เลือกชนิดรองเท้าให้เหมาะสมกับงาน ขนาดพอเหมาะ มีการตรวจสอบก่อนใช้งาน หากพบชำรุดให้เปลี่ยนหรือซ่อมแซม ล้างทำความสะอาดหลังการใช้งาน เก็บในที่สะอาด แห้ง มีการระบายอากาศ
๑. รองเท้าเหล็ก ป้องกันการกระแทก วัตถุตกหล่น
๒. รองเท้ายาง/ลาเทกซ์ ป้องกันสารเคมี การลื่นไถล
๓. รองเท้าพีวีซี ป้องกันความชื้น
๔. ร้องเท้าไวนิล ป้องกันสารเคมี เช่น คีโตน อัลดีไฮล์ แอลกอฮอล์ กรด เกลือ อัลคาไลน์
๕. ร้องเท้าไนโตรด์ ป้องกันสัตว์ ไขมัน น้ำมัน สารเคมี
๖. ร้องเท้าป้องกันไฟฟ้า ป้องกันกระแสไฟฟ้าและการเผาไหม้
๘. เสื้อคลุมปฏิบัติการ
๘.๑ สวมทับชุดปกติขณะปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อน หรือสารเคมีกระเด็นใส่
๘.๒ ควรใช้ผ้าที่ทำจากผ้าฝ้าย หรือใยสังเคราะห์ประเภท Tyvek หรือ Nomex
๘.๓ ระวังการใช้วัสดุประเภท Rayon หรือ Polyester เนื่องจากเป็นวัสดุติดไฟได้ง่าย
๘.๔ ห้ามนำออกนอกห้องปฏิบัติและควรซักทำความสะอาดอยู่เสมอ ห้ามซักรวมกับเสื้อผ้าปกติ
ที่มา: หลักสูตรความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
อุปกรณ์หรือสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานนำมาสวมใส่ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและเพื่อความปลอดภัยของตนเองอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันอันตรายตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ศีรษะ ใบหน้า ดวงตา หู ระบบทางเดินหายใจ ลำตัว มือ แขน ขา อื่นๆ
๑. การเลือกใช้ PPE
๑.๑ เลือกซื้อให้เหมาะสมกับอันตรายที่พบหรือที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงาน
๑.๒ อุปกรณ์ที่เลือกควรได้รับการตรวจสอบและรับรองตามมาตรฐาน
๑.๓ มีความทนทาน มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันอันตราย
๑.๔ มีน้ำหนักเบา สวมใส่สบาย ขนาดเหมาะสม และง่ายต่อการใช้
๑.๕ มีหลายแบบ หลายขนาดให้เลือกใช้เหมาะกับแต่ละคน
๑.๖ บำรุงรักษาง่าย ทำความสะอาดง่าย ราคาไม่สูงเกินไป
๑.๗ ผู้ผลิตหรือผู้ขาย ให้ความรู้เรื่องประโยชน์ วิธีการเลือกใช้ วิธีการสวมใส่ที่ถูกต้อง
๑.๘ อุปกรณ์มีเพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้งาน
๒. อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา
๒.๑ ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นมาจาก ฝุ่น ละออง ควัน ไอระเหย ละอองวัตถุ ประกายไฟ รังสี เลเซอร์ หลอมโลหะ ของแข็ง ของเหลว กระเด็นหรือปลิวเข้าใบหน้าและดวงตา
๒.๒ มาตรการป้องกัน เช่น อุปกรณ์ป้องกันตา แว่นตานิรภัย ครอบตานิรภัย กระบังหน้า หน้ากากเชื่อม ช่องระบาย แสงสว่างเพียงพอ ป้ายเตือน เครื่องล้างตา
๒.๓ มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน อุปกรณ์พอดีกับใบหน้า ไม่บดบังสายตา มีความสบายขณะสวมใส่ ทนทาน น้ำหนักเบา ไม่ก่อเกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง
๒.๔ ทำความสะอาดง่าย หมั่นตรวจสอบสภาพ เก็บรักษาในที่สะอาด
๓. อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ
๓.๑ ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจาก ไอระเหย ควัน ฝุ่นละออง ไอน้ำ ก๊าซ สเปรย์ กลิ่นเหม็น
๓.๒ Air purifying respirators กำจัดอนุภาคขนาดเล็ก ก๊าซ ควัน สารเคมีและช่วยกรองอากาศ
๓.๓ Supplied air respirators ท่อส่งอากาศช่วยหายใจ อุปกรณ์ช่วยหายใจฉุกเฉิน
๓.๔ เลือกใช้ให้เหมาะสม ตรวจสอบก่อนใช้งาน เช่น รอยฉีกขาด ความกระชับ ยางยืด ติดตามผลการใช้งาน ตรวจสอบความกระชับว่าแนบสนิทกับใบหน้า ตามวิธีที่ผู้ผลิตแนะนำ
๔. อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ
๔.๑ ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจาก การกระแทก ไฟฟ้าช็อต ถูกของเหลวกระเด็นหรือหยดใส่
๕. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียงดัง
๕.๑ ป้องกันอันตรายจากเสียงที่ดังเกินไปต่อเซลล์ประสาทหูชั้นใน
๕.๒ คุณสมบัติของอุปกรณ์ลดเสียง ได้แก่ ประสิทธิภาพในการลดเสียง ความสบายในการสวมใส่ ความง่ายและสะดวกในการใช้ ขนาดเหมาะสม ราคา ถูกสุขลักษณะ มีมาตรฐาน ไม่กีดขวางอุปกรณ์อื่น
๖. อุปกรณ์ป้องกันมือ
๖.๑ ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการทำงานซ้ำๆ บาดเจ็บจากเครื่องมืออุปกรณ์ เป็นแผล ติดเชื้อ
๖.๒ เลือกชนิดของถุงมือตามวัตถุประสงค์ที่ใช้งาน
๑. ถุงมือไวนิลและไนไตรต์ ป้องกันสารเคมีที่เป็นพิษ กรด ด่าง น้ำมันต่างๆ
๒. ถุงมือยาง ป้องกันสำหรับงานทางไฟฟ้า
๓. ถุงมือผ้า ป้องกันขอบคม สิ่งสกปรก การสั่นสะเทือน
๔. ถุงมือกันความร้อน ป้องกันความร้อนและเปลวไฟ
๕. ถุงมือลาเทกซ์ ป้องกันมือสำหรับงานทางจุลินทรีย์และแบคทีเรีย
๖. ถุงมือตะกั่ว ป้องกันจากแหล่งรังสี
๗. อุปกรณ์ป้องกันเท้า
๗.๑ ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการกระแทก ถูกกดทับ ลื่น ไถล สารเคมีกระเด็น กระแสไฟฟ้า
๗.๒ เลือกชนิดรองเท้าให้เหมาะสมกับงาน ขนาดพอเหมาะ มีการตรวจสอบก่อนใช้งาน หากพบชำรุดให้เปลี่ยนหรือซ่อมแซม ล้างทำความสะอาดหลังการใช้งาน เก็บในที่สะอาด แห้ง มีการระบายอากาศ
๑. รองเท้าเหล็ก ป้องกันการกระแทก วัตถุตกหล่น
๒. รองเท้ายาง/ลาเทกซ์ ป้องกันสารเคมี การลื่นไถล
๓. รองเท้าพีวีซี ป้องกันความชื้น
๔. ร้องเท้าไวนิล ป้องกันสารเคมี เช่น คีโตน อัลดีไฮล์ แอลกอฮอล์ กรด เกลือ อัลคาไลน์
๕. ร้องเท้าไนโตรด์ ป้องกันสัตว์ ไขมัน น้ำมัน สารเคมี
๖. ร้องเท้าป้องกันไฟฟ้า ป้องกันกระแสไฟฟ้าและการเผาไหม้
๘. เสื้อคลุมปฏิบัติการ
๘.๑ สวมทับชุดปกติขณะปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อน หรือสารเคมีกระเด็นใส่
๘.๒ ควรใช้ผ้าที่ทำจากผ้าฝ้าย หรือใยสังเคราะห์ประเภท Tyvek หรือ Nomex
๘.๓ ระวังการใช้วัสดุประเภท Rayon หรือ Polyester เนื่องจากเป็นวัสดุติดไฟได้ง่าย
๘.๔ ห้ามนำออกนอกห้องปฏิบัติและควรซักทำความสะอาดอยู่เสมอ ห้ามซักรวมกับเสื้อผ้าปกติ