ฝ่ายปกครอง : แนวคำตอบการให้บริการประชาชน กระบวนงานสอบสวนรับรอง
การให้บริการประชาชน กระบวนงานสอบสวนรับรอง  แบ่งเป็น
1.รับรองลายมือชื่อยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศ
2.รับรองบุคคลคนเดียวกัน
3.รับรองสถานภาพการสมรส
4.รับรองสถานที่เกิด
5.รับรองการตาย
6.รับรองการอุปการะเลี้ยงดูบุตรฝ่ายเดียว
7.รับรองความประพฤติ เพื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือการอุปสมบท
8.รับรองการลงลายมือชื่อการมอบอำนาจ
9.รับรองการได้รับค่าเลี้ยงดูเพื่อนำไปหักลดหย่อนภาษี
10.รับรองผู้ประสบสาธารณภัย
11.รับรองลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาผู้กู้ยืมเงินกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
12.รับรองรายการบริจาคทรัพย์สินเพื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
13.สอบสวนทายาทเพื่อขอรับบำเหน็จตกทอด
14.สอบสวนประกอบการพิจารณาพักการลงโทษ
15.สอบสวนเพื่อประกอบการขอโอนรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์
16.รับรองการมีชีวิต
เอกสารที่ใช้
1.ผู้ร้อง เขียนคำร้อง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว –ชื่อสกุล (ถ้ามี)และใบ สำคัญการสมรส(ถ้ามี)
2.พยานบุคคล *จำนวน 2 คน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน (ยกเว้นรายการที่1,9,10,11และ16)
3.พยานเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
 
สถานที่ติดต่อ
ผู้ร้องต้องยื่นคำร้อง ณ สำนักงานเขตหรืออำเภอที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้าน *พยานบุคคลทุกกรณี ต้องอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

 
ฝ่ายปกครอง : แนวคำตอบบริการประชาชน กระบวนงานทะเบียนพาณิชย์
สำนักงานเขตรับจดทะเบียนเฉพาะกรณีบุคคลธรรมดา คณะบุคคล และห้างหุ้นส่วนสามัญ (นิติบุคคล  เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัท ต้องไปขอจดทะเบียนที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์)
1.จดทะเบียนจัดตั้งใหม่  ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เริ่มประกอบพาณิชยกิจ 
    เอกสารที่ใช้
    1.แบบ ทพ.2 ที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นผู้ลงนาม
    2.สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
    3.หนังสือหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคล (กรณีขอจดเป็น หสม. หรือคณะบุคคล)
    4.สำเนาทะเบียนบ้านที่ประกอบพาณิชยกิจ
    5.กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจมิได้เป็นเจ้าบ้านต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม
   (1) หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
   (2) สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอม เป็นเจ้าบ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือ เอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม                                         
   (3) แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจ และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง
    6.หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ
    7.กรณีประกอบพาณิชยกิจการขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึกวีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง ให้ส่งสำเนาหนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองให้เป็นผู้จำหน่ายหรือให้เช่าสินค้าดังกล่าวจากเจ้าของลิขสิทธิ์ของสินค้าที่ขายหรือให้เช่าหรือสำเนาใบเสร็จรับเงินตามประมวลรัษฎากร หรือหลักฐานการซื้อขายจากต่างประเทศ
    8.กรณีประกอบพาณิชยกิจการค้าอัญมณี หรือเครื่องประดับด้วยอัญมณี ต้องเรียกหลักฐานแสดงจำนวนเงินทุน (Statement บัญชีธนาคาร)
ค่าธรรมเนียม 50 บาท
 
2.จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง  ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามรายการ ดังนี้
    2.1 เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ
    2.2 เลิกประกอบพาณิชยกิจบางส่วน หรือเพิ่มใหม่
    2.3 เพิ่มหรือลดต้นทุน
    2.4 ย้ายสำนักงานใหญ่
    2.5 เปลี่ยนผู้จัดการ
    2.6 เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนที่อยู่
    2.7 ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือตัวแทนค้าต่าง
    2.8 แก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน (หุ้นส่วนเข้า/อกก) เงินลงหุ้นจำนวนเงินลงทุนของห้าง
    2.9 รายการอื่นๆ เช่น แก้ไขชื่อเว็บไซด์ ชื่ออักษรโรมัน ฯลฯ
 
เอกสารที่ใช้
    1.แบบ ทพ.2 ที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นผู้ลงนาม
    2.สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
    3.ใบทะเบียนพาณิชย์ฉบับเดิม (ถ้าสูญหายต้องมีใบแจ้งความแนบ)
    4.สำเนาหลักฐานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ (ใช้ในกรณีแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่) ได้แก่
    (1) หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
    (2) สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้านหรือผู้ขอเลขที่บ้านหรือสำเนาสัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือ เอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
    (3) แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโยสังเขป
    5.หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ  
ค่าธรรมเนียม 20 บาท
 
สถานที่ติดต่อ
    ยื่นคำขอได้ ณ สำนักงานเขตที่ตั้งของสถานที่ประกอบพาณิชยกิจ หรือสำนักงานเศรษฐกิจการคลังศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 ชั้น 2 (ยื่นได้ทุกเขต)
 
 
ฝ่ายปกครอง : แนวคำตอบบริการประชาชน กระบวนงานทะเบียนพินัยกรรม
แบ่งเป็น
1.พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
2.พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
3.พินัยกรรมด้วยวาจา
4.การตัดทายาทโดยธรรม
5.ถอนการตัดทายาทโดยธรรม
6.สละมรดก

เอกสารที่ใช้
1.ผู้ร้อง อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน  สำเนาใบรับรองแพทย์(ถ้ามี)
2.หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ (กรณีขอทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ )
3.พินัยกรรมที่ปิดผนึกใส่ซองแล้ว (กรณีทำพินัยกรรมแบบเอกสารลับ)
4.พยานอย่างน้อย 2 คนที่ไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน  

ค่าธรรมเนียม
1.พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
- กรณีทำที่สำนักงานเขต ฉบับละ 50 บาท คู่ฉบับๆละ 10 บาท
- กรณีทำนอกสำนักงานเขต ฉบับละ 100 บาท คู่ฉบับๆละ 20 บาท
2.พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ฉบับละ 20 บาท
3.หนังสือตัดทายาทโดยธรรม การถอนตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก การสละมรดก
- ค่าจัดทำหนังสือ ฉบับ ละ 20 บาท
- ในการเก็บเอกสาร ฉบับ ละ 20 บาท

สถานที่ติดต่อ
ยื่นคำขอได้ทุกสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง
ฝ่ายปกครอง : แนวคำตอบบริการประชาชน กระบวนงานทะเบียนสมาคม
1.การจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมขึ้นใหม่ ยื่นคำขอ ณ สำนักงานเขตที่สถานที่ตั้งของสำนักงานสมาคมตั้งอยู่
เอกสารที่ใช้ เอกสารทุกอย่าง 3 ชุด ดังนี้
1.คำขอ ส.ค.1
2.รายงานการประชุมก่อตั้งสมาคม
3.ข้อบังคับของสมาคม
4.รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกสมาคม ไม่น้อยกว่าสิบคน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และสำเนาทะเบียนบ้าน
5.รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมพร้อมพร้อมสำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และสำเนาทะเบียนบ้าน
6.บันทึกคำให้การของผู้จะเป็นกรรมการ
7.แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคม
8.หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม หรือสัญญาเช่าสถานที่ หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์
9.สำเนา ว.ธ.2 กรณีสมาคมมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับงานสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
10.เอกสารอื่น (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ  5 บาท
ค่าธรรมเนียมค่าจัดตั้งสมาคม 2,000บาท

2.การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคม ต้องยื่นคำขอภายใน 14 วันนับแต่วันที่มีมติที่ประชุม
เอกสารที่ใช้เอกสารทุกอย่าง 3 ชุดดังนี้
1.คำขอ ส.ค.2
2.รายงานการประชุมแก้ไขข้อบังคับ
3.ข้อบังคับของสมาคมฉบับเดิม และฉบับใหม่
4.ตารางเปรียบเทียบข้อบังคับที่ขอแก้ไข
5.หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของสมาคม หรือสัญญาเช่าสถานที่ หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ (กรณีเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสมาคม)
6.แผนผังที่ตั้งสังเขปของสมาคม (กรณีขอเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของสมาคม)
7.สำเนา ส.ค.4 (ใบสำคัญแสดงการจัดตั้งสมาคม) หรือ ส.ค.5 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับ)หรือส.ค.6 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการฯ)
8.เอกสารอื่น (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ  5 บาท
ค่าธรรมเนียมการแก้ไขข้อบังคับ 200  บาท

3.การจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมต้องยื่นคำขอภายใน30วันนับแต่วันที่มีมติที่ประชุม 
เอกสารที่ใช้เอกสารทุกอย่าง 3 ชุด ดังนี้
1.คำขอ ส.ค.3
2.รายงานการประชุมแต่งตั้งกรรมการหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการ
3.สำเนาหนังสือขอลาออกจากรรมการ กรณีกรรมการยังไม่ครบวาระดำรงตำแหน่ง
4.สำเนาข้อบังคับของสมาคม
5.รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และสำเนาทะเบียนบ้าน
6.บันทึกคำให้การของผู้จะเป็นกรรมการ
7.สำเนาส.ค.4 (ใบสำคัญแสดงการจัดตั้งสมาคม) หรือ ส.ค.5 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับ) หรือ ส.ค.6 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการฯ)
8.เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ  5 บาท
ค่าธรรมเนียมการแต่งตั้งกรรมการใหม่หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการ 200  บาท

4.การจดทะเบียนเลิกสมาคม  ต้องยื่นคำขอภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีมติที่ประชุม
เอกสารที่ใช้เอกสารทุกอย่าง 3 ชุด ดังนี้
1.คำขอเลิกสมาคม
2.ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม (ส.ค.4) ฉบับจริง
3.ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการฯซึ่งเป็นกรรมการที่อยู่ในตำแหน่งขณะที่มีการเลิกสมาคม (ส.ค.6) ฉบับจริง
4.ข้อบังคับของสมาคม
5.เอกสารการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
6.รายงานการประชุมของสมาคมที่มีมติให้เลิกสมาคม
7.เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
ฝ่ายปกครอง : แนวคำตอบการให้บริการประชาชน กระบวนงานทะเบียนมูลนิธิ
1.การจดทะเบียนจัดตั้งข้อมูลนิธิขึ้นใหม่  ยื่นคำขอ ณ สำนักงานเขตที่สถานที่ตั้งของสำนักงาสนมูลนิธิตั้งอยู่
เอกสารที่ใช้เอกสารทุกอย่าง 3 ชุด ดังนี้
1.คำขอ ม.น. 1
2.รายงานการประชุมก่อตั้งมูลนิธิ
3.ข้อบังคับของมูลนิธิ
4.รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และสำเนาทะเบียนบ้าน
5.บันทึกคำให้การของผู้จะเป็นกรรมการ
6.แผนผังที่ตั้งสังเขปของมูลนิธิ
7.หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของมูลนิธิ หรือสัญญาเช่าสถานที่หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์
8.รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สิน ที่จัดสรรสำหรับมูลนิธิ
9. หนังสือคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิ
10.สำเนาพินัยกรรม กรณีการจัดตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม
11.เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ  10 บาท
ค่าธรรมเนียมจัดตั้งมูลนิธิ  200  บาท

2.การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับมูลนิธิ ต้องยื่นคำขอภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีมติที่ประชุม
เอกสารที่ใช้ เอกสารทุกอย่าง 3 ชุด ดังนี้
1.คำขอ ม.น. 2
2.รายงานการประชุมแก้ไขข้อบังคับ
3.ข้อบังคับของมูลนิธิฉบับเดิมและฉบับใหม่
4.ตารางเปรียบเทียบข้อบังคับที่ขอแก้ไข
5.หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ของมูลนิธิ หรือสัญญาเช่าสถานที่หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์(กรณีขอเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของมูลนิธิ)
6.แผนผังที่ตั้งสังเขปของมูลนิธิ (กรณีขอเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของมูลนิธิ)
7.สำเนาม.น.3 (ใบสำคัญการจัดตั้งมูลนิธิ)
8.หรือ ม.น.5 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับ)
9.หรือ ม.น.4 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งคณะกรรมการฯ)
10.เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ  5 บาท

3.การจดทะเบียนแต่งตั้งคณะกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการมูลนิธิต้องยื่นคำขอภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมติที่ประชุม
เอกสารที่ใช้ เอกสารทุกอย่าง 3 ชุด ดังนี้
1.คำขอ ม.น. 2
2.รายงานการประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการ
3.สำเนาหนังสือขอลาออกจากกรรมการ กรณีกรรมการยังไม่ครบวาระดำรงตำแหน่ง
4.สำเนาข้อบังคับมูลนิธิ
5.รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ และสำเนาทะเบียนบ้าน
6.บันทึกคำให้การของผู้จะเป็นกรรมการ
7.สำเนา ม.น.3 (ใบสำคัญการจัดตั้งมูลนิธิ) หรือ ม.น.5 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับ)หรือ ม.น.4 (ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งคณะกรรมการฯ)
8.เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ  5 บาท
ค่าธรรมเนียมการแต่งตั้งกรรมการใหม่หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการ 50 บาท

4.การจดทะเบียนเลิกมูลนิธิ  ต้องยื่นคำขอภายใน 14 วันนับแต่วันที่มีมติที่ประชุม
เอกสารที่ใช้
1.คำขอ ม.น. 5
2.ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ (ม.น.3) ฉบับจริง
3.ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการฯซึ่งเป็นกรรมการที่อยู่ในตำแหน่ง
4.ขณะที่มีการเลิกมูลนิธิ (ม.น.4) ฉบับจริง
5.ข้อบังคับของมูลนิธิ
6.เอกสารการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
7.รายงานการประชุมของมูลนิธิที่มีมติให้เลิกมูลนิธิ
8.เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียมค่าคำขอ  5 บาท
    *กรณีกรรมการมูลนิธิเป็นชาวต่างชาติ จะต้องมีหนังสือรับรองประวัติจากสถานทูตประเทศที่ถือสัญชาติด้วย
ฝ่ายทะเบียน : ขอย้ายเข้าคอนโดที่ซื้อใหม่ ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ใช้เอกสารดังนี้
1.สัญญาซื้อขาย
2.โฉนดที่ดิน
3.เล่มทะเบียนบ้าน
4.บัตรประชาชน
5.กรณีซื้อร่วมเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมมาให้ความยินยอมหรือทำหนังสือให้ความยินยอมให้ย้ายเข้า
ฝ่ายทะเบียน : การเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านกรณีเกิดต่างประเทศใช้เอกสารอะไรบ้าง
กรณีเกิดต่างประเทศแจ้งเกิดก่อน เดือนพฤษภาคม 2562 ใช้เอกสารดังนี้
1.สูติบัตรที่เจ้งเกิดที่สถานเอกอัคราชทูต หรือ สถานกงสุลในต่างประเทศ
2.หนังสือเดินทางที่ใช้เดินทางเข้ามายังประเทศไทย
3.ทะเบียนบ้านที่ต้องการเพิ่มชื่อ
4.บัตรประชาชน มารดา หรือบิดา
5.ทะเบียนสมรส กรณีมีบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย
6.เจ้าบ้าน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
7.พยาน 1 คน พร้อมบัตรประชาชน
ฝ่ายทะเบียน : การเพิ่มชื่อชาวต่างชาติเข้าในทะเบียนบ้าน กรณี ชาวต่างชาติมีหนังสืออนุญาตให้ทำงาน
การเพิ่มชื่อชาวต่างชาติเข้าในทะเบียนบ้าน กรณี ชาวต่างชาติมีหนังสืออนุญาตให้ทำงานใช้
เอกสารดังนี้
1.หนังสือเดินทางแปลเป็นภายาไทย และรับรองโดยกรมการกงสุล
2.ใบอนุญาตทำงาน
3.ทะเบียนบ้านที่ต้องการเพิ่มชื่อ
4.เจ้าบ้าน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
5.พยาน 1 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
6.เอกสารเพิ่มเติม สอบถามที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 240 2482
ฝ่ายทะเบียน : การเพิ่มชื่อชาวต่างชาติเข้าในทะเบียนบ้าน กรณีมีใบถิ่นที่อยู่
การเพิ่มชื่อชาวต่างชาติเข้าในทะเบียนบ้าน กรณีมีใบถิ่นที่อยู่ ใช้เอกสารดังนี้
1.ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว, ใบสำคัญถิ่นที่อยู่
2.หนังสือเดินทาง
3.ใบอนุญาตทำงาน
4.ทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะเพิ่มชื่อ
5.เจ้าบ้าน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน
6.พยาน 1 คน พร้อมบัตรประชาชน
7.เอกสารเพิ่มเติม  สอบถามที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 240 2482
ฝ่ายทะเบียน : เจ้าของกรรมสิทธิ์ขอเเจ้งย้ายเข้าเป็นเจ้าบ้าน ซึ่งบ้านหลังดังกล่าว มีบุกคลที่สถานภาพเจ้าบ้านอยู่จะต้องดำเนินการอย่างไร
กรณี ดังกล่าว หากเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่สามารถติดต่อผู้มีสถานะเจ้าบ้านได้ จะทำหนังสือเชิญมาให้ข้อเท็จจริง 2 ครั้ง (ตามระเบียบฯ) หากไม่มาภายในกำหนดจะดำเนินการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ต่อไป
ฝ่ายทะเบียน : การย้ายเข้าเพื่อเป็นเจ้าบ้านไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่เป็นฉบับจริง มีแต่สำเนาจะสามารถย้ายเข้าได้หรือไม่

สามารถดำเนินการได้โดยให้เจ้าของกรรมสิทธิ์รับรองว่าได้ถ่ายสำเนาจากต้นฉบับจริง แถะลงลายมือชื่อรับรอง
ฝ่ายทะเบียน : ขอเพิ่มรายการเลขประจำตัวประชาชนบิดาในทะเบียนบ้านรายการของบุตรต้องใช้เอกสารใดบ้าง
1.สูติบัตร
2.ทะเบียนบ้าน ,บัตรประจำตัวประชาชน
3.พยาน 2 คน พร้อมบัตรประชาชน
4.สอบ ปค. 14 หากไม่สามรถพิสูจน์ได้จำเป็นต้องส่งตรวจ DNA
5.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเสขโทรศัพท์ 02 240 2482
ฝ่ายทะเบียน : การแต่งตั้งเจ้าบ้านแทนเจ้าบ้านเดิมที่เสียชีวิตต้องดำเนินการอย่างไร
กรณีบ้านไม่มีเอกตารสิทธิ์ให้ทายาททุกคน (สามี หรือกรรยา และบุตร หรือพี่น้องร่วมบิดา,มารดา) ให้ความยินยอมให้บุคคลหนึ่งคนใดเป็นเจ้าบ้านแทนเจ้าบ้านเดิมที่เสียชีวิต
ฝ่ายทะเบียน : การแจ้งย้ายเข้าเพื่อเป็นเจ้าบ้านกรณีเจ้าบ้านเดิมได้แจ้งย้ายออกไปโดยไม่ได้แต่งตั้งบุคคลใดเป็นเจ้าบ้านแทน ต้องใช้เอกสารใดบ้าง
ใช้เอกสารดังนี้
1.ต้องให้เจ้าบ้านเดิมเป็นผู้มาให้ความยินยอมให้ฐานะเจ้าบ้านคนล่าสุดให้ความยินยอมและเเต่งตั้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นเจ้าบ้านแทน
2.บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้านเดิม
3.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
ฝ่ายทะเบียน : คุณสมบัติของผู้ที่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนมีอะไรบ้าง
1.มีสัญชาติไทย
2.ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔)
3.มีอายุตั้งแต่ 7 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี
สำหรับผู้มีอายุเกิน 70 ปี และผู้ได้รับการยกเว้น จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้
ฝ่ายทะเบียน : เด็กทำบัตรประชาชนครั้งแรกอายุเท่าใด
7  ปีบริบูรณ์
ฝ่ายทะเบียน : ทำบัตรครั้งแรกใช้อะไรบ้าง
1.สูติบัตร หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง เป็นต้น เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
2.หากเด็กเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องนำใบสำคัญมาแสดงด้วยและหากบิดา มารดาของเด็กเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสุกล ต้องนำใบสำคัญมาแสดงด้วย
3.หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
4.กรณีบิดา มารดา เป็นคนต่างด้าวให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา มารดามาแสดงด้วย หรือนำใบมรณบัตรของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถึงแก่กรรมไปแสดง
5.การขอมีบัตรครั้งแรกเมื่ออายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ต้องนำเอกสารหลักฐานที่กำหนดตามข้อ 1,2,3,4 และให้นำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถืออย่างน้อย 2 คน ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนและให้การรับรอง
* บุคคลน่าเชื่อถือ หมายถึง "บุคคลใดๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอนมีอาชีพมั่นคงและมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดีอาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้"
ฝ่ายทะเบียน : ถ้าบัตรประชาชนหมดอายุใช้เอกสารอะไรบ้าง ?
บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
ฝ่ายทะเบียน : ถ้าบัตรประชาชนหมดอายุสามารถทำ ก่อน - หลังได้กี่วัน
สามารถทำก่อน/หรือหลัง หมดอายุ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ
ฝ่ายทะเบียน : เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนหายหรือถูกทำลายต้องทำยังไง
เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนหาย หรือถูกทำลายให้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต เทศบาลหรือเมืองพัทยา แล้วแต่กรณี และขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหาย
หรือถูกทำลายหากพ้นกำหนดจะต้อง เสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
ฝ่ายทะเบียน : เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนหายหรือถูกทำลายต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ ใบสุทธิ วุฒิการศึกษา บัตรนักเรียน/นักศึกษา บัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ หรือ หนังสือเดินทางเป็นต้น
ฝ่ายทะเบียน : หากไม่มีเอกสาร เช่น ใบอนุญาตขับขี่ ใบสุทธิ วุฒิการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง ต้องทำยังไง
ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ มาให้การรับรอง (บุคคลผู้น่าเชื่อถือ หมายถึง บุคคลใดๆซึ่งมีภูมิสำเนาที่อยู่แน่นอนมีอาชีพมั่นคงและมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดีอาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้
ฝ่ายทะเบียน : ถ้าบัตรประชาชนหายแต่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดทำบัตรใน กทม. ได้หรือไม่
ทำได้ เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ ใบสุทธิ วุฒิการศึกษา บัตรนักเรียน/นักศึกษา บัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ หรือ หนังสือเดินทางเป็นต้น
ฝ่ายทะเบียน : อายุเท่าไหรถึงจะได้บัตรประชาชนตลอดชีพ
เริ่มตั้งแต่อายุ 62 ปีบริบูรณ์
ฝ่ายทะเบียน : ทำบัตรประชาชนกรณีเปลี่ยนที่อยู่ต้องเปลี่ยนบัตรฯ ใหม่หรือไม่
เปลี่ยน หรือ ไม่เปลี่ยนก็ได้หากไม่ขอเปลี่ยนบัตรก็ยังสามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนนั้นได้จนกว่าบัตรจะหมดอายุ
เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
ฝ่ายทะเบียน : เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลแล้วต้องเปลี่ยนบัตรไหม
เมื่อผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัว/ชื่อสกุล ต้องเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุลใน ทะเบียนบ้านหากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
หลักฐาน
1.บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ต้องการเปลี่ยน
2.หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล แล้วแต่กรณี
เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
ฝ่ายทะเบียน : กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ บัตรถูกทำลาย ต้องทำยังไง
เมื่อบัตรชำรุดในสาระสำคัญ เช่น ไฟไหม้บางส่วน ถูกน้ำ เลอะเลือน ให้ขอเปลี่ยนบัตรโดยยื่นคำขอเปลี่ยนบัดร ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
หลักฐานเอกตารที่ต้องนำไปแสดง
1.บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุดแต่หากบัตรนั้นชำรุดไม่สามารถพิสูจน์บุคคลหรือรายการในบัตรก็ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้นำาเชื่อถือไปรับรอง
2.ถ้าผู้ขอมีบัตรมีหลักฐานเอกสารมีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ ใบสุทธิ วุฒิการศึกษา บัตรนักเรียน/นักศึกษา บัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ หรือ หนังสือเดินทาง เป็นต้น มาแสดงให้งดเว้นไม่ต้องนำ
เจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมารับรอง
การเปลี่ยนบัตรกรณีบัตรเดิมชำรุด ต้องเสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
ฝ่ายทะเบียน : พระภิกษุ สามเณร ฯลฯ จะขอทำบัตรประจำตัวประชาชนทำยังไง
กรณีบุคคลที่ได้รับการยกเว้นการมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น พระภิกษุ สามณร ฯลฯ จะขอทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้
หลักฐาน
1.กรณีพระภิกษุ หรือสามเณร ต้องย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านของวัดก่อน แล้วแก้ไขคำนำหน้านามในทะเบียนบ้าน                  
เป็นพระ สามเณร หรือ สมณศักดิ์ก่อนจึงจะขอมีบัตรได้
2.หนังสือสุทธิ
ฝ่ายทะเบียน : การขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ทำยังไง
บุคคลที่มีสิทธิขอคัดหรือคัด และรับรองข้อมูลรายการเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย ได้แก่
เจ้าของรายการหรือบุคคล ที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของรายการ และผู้มีส่วนได้เสียตามกำหนดในกฎหมาย
เสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ 100 บาท
ฝ่ายทะเบียน : การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
หนังสือรับรองความเป็นโสด และหนังสือเดินทางของชาวต่างชาติแปลเป็นไทยรับรองนิติกรณ์จากกรมกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
ฝ่ายทะเบียน : การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมมีอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์
กรณีจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมมีอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ให้ติดต่อศูนย์อำนวยการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน เมื่อผ่านศูนย์ฯ แล้วจึงมาขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้
ฝ่ายทะเบียน : การจดทะเบียนรับรองบุตร กรณีบุตรมีอายุ 2 ปี จะต้องทำอย่างไร
กรณีบุตรผู้เยาว์อายุเพียง 2 ปี ยังไม่สามารถให้ความยินยอมได้ให้บิดาไปร้องขอต่อศาลเยาวชนและครอบครัวเพื่อนำคำสั่งศาลมาขอจดทะเบียนรับรองบุตร
ฝ่ายทะเบียน : การจดทะเบียนรับรองบุตร กรณีไม่สามารถติดต่อมารดาเด็กได้จะทำอย่างไร
กรณีมารดาไม่มาให้ความยินยอม หรือไม่สามารถติดต่อมารดาได้ให้บิดาร้องขอต่อศาลเยาวชนและครอบครัวเพื่อนำคำสั่งศาลมาขอจดทะเบียนรับรองบุตร
ฝ่ายทะเบียน : ต้องการเปลี่ยนชื่อตัวต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชน
ฝ่ายทะเบียน : จะตั้งชื่อสกุลใหม่ใช้เอกสารอะไรบ้าง
ทะเบียนบ้าน,บัตรประจำตัวประชาชน,สูติบัตรใบเปลี่ยนชื่อตัว และชื่อสกุลเติม (ถ้ามี) ชื่อสกุลที่ตั้ง ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลของบุคคลอื่นไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายพระปรมาภิไธยหรือพระนามของพระราชินีและมีพยัญชนะไม่เกิน 10 ตัว
ฝ่ายทะเบียน : จะเปลี่ยนไปใช้ชื่อสกุลตามมารดา ตอนนี้ใช้สกุลบิดาอยู่ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
ทะเบียนบ้าน,บัตรประจำตัวประชาชน,สูติบัตร,ใบเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุลเดิม (ถ้ามี)
ฝ่ายทะเบียน : ต้องการบันทึกฐานะแห่งครอบครัว กรณีจดสมรสไว้ที่ต่างประเทศต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง,หนังสือเดินทางของคู่สมรส,เอกสารสมรสที่จดที่ต่างประเทศแปลเป็นไทยพร้อมรับรองนิติกรณ์ที่กรมการกงสุล,พยานบุคคล 2 คน อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ฝ่ายทะเบียน : ต้องการเปลี่ยนชื่อตัว มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอบางบัวทอง สามารถมาดำเนินการที่สำนักงานเขตคลองเตย ได้หรือไม่
การเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อสกุล ต้องทำตามภูมิลำเนาที่มีชื่ออยู่
ฝ่ายทะเบียน : อยากจดทะเบียนรับรองบุตร ปัจจุบันบุตรมีอายุ 7 ปี ต้องพาบุตรไปที่เขตด้วยหรือไม่
การจดทะเบียนรับรองบุตรจะต้องมาทั้งบิดา,มารดา และบุตร พร้อมพยาน 2 คน อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ฝ่ายทะเบียน : จะไปจดทะเบียนหย่า ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
บัตรประจำตัวประชาชน,ใบสำคัญการสมรส พร้อมพยาน 2 คน อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ฝ่ายการคลัง : การจ่ายชำระเงินภาษี ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาต ค่าบริการ และค่าปรับ สามารถชำระ ด้วยอะไรได้บ้าง
สามารถจ่ายชำระได้ดังนี้
1.เงินสด
2.เช็คหรือแคชเชียร์เช็ค เฉพาะธนาคารที่มีสำนักงานหรือสาขาในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น
3.โดยเช็คลงวันที่นั้นหรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 30 วัน พร้อมขีดคร่อมจ่ายให้แก่ “กรุงเทพมหานคร”
กับขีดฆ่าคำว่า “ผู้ ถือ” และหรือ “ตามคำสั่ง”
4.บัตรเครดิต (มีค่าธรรมเนียมบัตร 1% ของยอดที่จ่ายชำระ)
ฝ่ายการคลัง : การวางค้ำประกันสัญญาสามารถค้ำประกันด้วยอะไรได้บ้าง
สามารถค้ำประกันได้ดังนี้
1.เงินสด
2.เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ลงวันที่ที่ใช้เช็คหรือดราฟท์นั้นชำระต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่ทำสัญญา หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3วันทำการ
3.หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ ตามตัวอย่างที่คระกรรมการนโยบายกำหนด
4.ดังระบุในข้อ1.4(2)หรือจะเป็นหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
5.หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ทราบ โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด ดังในระบุข้อ1.4(2)
6.พันธบัตรรัฐบาลไทย
ฝ่ายการคลัง : การมารับเช็ค ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานประกอบอะไรบ้าง
มีเอกสารหรือหลักฐานประกอบดังนี้
1.ใบเสร็จรับเงินของบริษัท/ห้าง/ร้าน กรณีที่เจ้าของบริษัท/ห้าง/ร้านไม่สามารถมารับเช็คด้วยตนเองได้  ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และเอกสารแสดงชื่อผู้มีอำนาจในการลงนามของบริษัท/ห้าง/ร้าน
2.บัตรประชาชนตัวจริงของผู้มารับเช็ค เพื่อยืนยันตัวตน
ฝ่ายการคลัง : การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจ
1.กรณีมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำครั้งเดียว ปิดอากรแสตมป์ จำนวน 10 บาท
2.กรณีมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ปิดอากรแสตมป์ จำนวน 30 บาท
3.กรณีมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการ
ฝ่ายการคลัง : การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี รายการค่าครุภัณฑ์ ต้องตั้งชื่อรายการ และตั้งค่างบประมาณอย่างไร
1.กรณีรายการครุภัณฑ์มีมาตรฐาน ให้ตั้งตามชื่อรายการและราคาตามมาตรฐานของราชการ ได้แก่ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี และกรุงเทพมหานคร
2.กรณีรายการครุภัณฑ์ไม่มีมาตรฐาน ให้ใช้ชื่อและคุณลักษณะของครุภัณฑ์ภาษาไทยและใบเสนอราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด จำนวน 3 ราย
ฝ่ายการคลัง : การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี รายการค่าครุภัณฑ์ ต้องจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะของครุภัณฑ์นั้นๆหรือไม่
จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ เฉพาะครุภัณฑ์ที่ไม่มีมาตรฐาน
ฝ่ายการคลัง : ถ้าจัดซื้อจัดจ้างรายการที่มีวงเงินเล็กน้อยจะต้องทำเป็นสัญญาหรือไม่
ไม่ต้องทำเป็นสัญญาก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานในการจัดซื้อจัดจ้าง
ฝ่ายการคลัง : คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ต้องมีจำนวนอย่างน้อยกี่คน
อย่างน้อย 3 คน ประกอบด้วย ประธานกรรการ 1 คนและกรรมการอย่างน้อย 2 คน
ฝ่ายการคลัง : บริษัท/ห้าง/ร้านที่หน่วยงานทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง จะถูกหักภาษีที่จ่าย (1%) เมื่อมียอดการจัดซื้อจัดจ้างจำนวนเงินเท่าใด
1.กรณีเป็นบุคคลธรรมดา/ร้าน/ห้างหุ้นส่วนสามัญ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อมียอดการจัดซื้อจัดจ้างจำนวน 10,000  บาทขึ้นไป
2.กรณีเป็น/ห้างหุ้นส่วนจำกัด/บริษัท ถูกหักภาษีที่จ่ายเมื่อมียอดการจัดซื้อจัดจ้างจำนวน 500 บาทขึ้นไป
ฝ่ายการคลัง : การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง มีวงเงินเกิน 500,000 บาท ต้องมีการเผยแพร่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการหรือไม่
1.กรณีการซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง มีวงเงินเกิน 500,000 บาทแต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท จะเผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการหรือไม่ก็ได้ อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าหน่วยงาน
2.กรณีการซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง มีวงเงินเกิน 50,00,000 บาท ต้องเผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม : การขอยื่นเอกสารเกี่ยวกับผู้สูงอายุ สามารถดำเนินการได้ทุกเขต หรือไม่
ต้องยื่นตามทะเบียนบ้านที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่เท่านั้น
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม : การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะได้รับคนละเท่าไหร่
ได้รับตามช่วงอายุเป็นขั้นบันได
   60 - 69 ปี ได้รับ   600   บาท        
   70 - 79 ปี ได้รับ   700   บาท
   80 - 89 ปี ได้รับ   800   บาท        
   90 ปีขึ้นไปได้ 1,000  บาท
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม : การยื่นคำขอลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สามารถทำได้เมื่อไร
การยื่นคือช่วง ม.ค.- ก.ย. ของทุกปี และช่วงเดือน ต.ค.- ก.ย. ของทุกปี (ในกรณีย้ายแล้วลงทะเบียนใหม่)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม : ผู้สูงอายุอยู่บ้านพักคนชรา มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพหรือไม่
กรณีถ้ายังอยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐบาล จะไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม : ถ้าผู้สูงอายุ และมีสภาพป่วยติดเตียง จะทำอย่างไร
แนะนำให้ไปทำบัตรคนพิการก่อน และประสานเจ้าหน้าที่ (พยาบาลในพื้นที่) ลงเยี่ยมบ้าน
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม : ทำบัตรคนพิการได้ที่ไหน
ทุกโรงพยาบาลของรัฐบาล (ฟรี)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม : คนพิการ รักษาโรงพยาบาลที่ไหนได้บ้าง
ทุกโรงพยาบาลของรัฐบาล (ฟรี)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม : เด็กอายุเท่าไร ที่สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดได้
เด็กเกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม : สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ได้ทุกเขตหรือไม่
ยื่นตามที่อยู่ปัจจุบันที่เลี้ยงดูเด็ก (กทม.ลงทะเบียนที่สำนักงานเขต)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม : เมื่อลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดแล้ว จะทราบผลเมื่อใด
ไม่สามารถบอกระยะเวลาได้แน่นอน เนื่องจากกรมกิจการเด็ก กระทรวงพัฒนาสังคมฯ เป็นผู้พิจารณาผล
ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ : การขออนุญาตขุดล้อมย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะเพื่อเปิดทางเข้าออกอาคารและสถานที่
1.การตรวจสอบเอกสาร
ผู้ขอใช้บริการยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารประกอบ
- สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ
- หนังสือหรือใบคำร้องแจ้งความประสงค์ 1 ฉบับ
- ภาพถ่ายของต้นไม้ที่ขออนุมัติขุดล้อมย้าย 1 ฉบับ
- แผนที่แสดงตำแหน่งของสถานที่ดำเนินการตามคำขออนุมัติขุดล้อมย้ายต้นไม้ 1 ฉบับ
- หนังสือขออนุญาตเปิดทางเท้าและคันหินจากสำนักการโยธา หรือฝ่ายโยธาสำนักงานเขตฯ 1 ฉบับ

2.การพิจารณา
เจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบ ณ สถานที่ที่ผู้ขอแจ้งความประสงค์
เจ้าหน้าที่พิจารณาคิดค่าบริการ พร้อมจัดทำรายงานและเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ
เจ้าหน้าที่ทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
ติดต่อขอรับหนังสืออนุญาต และชำระค่าบริการ
ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ : การให้บริการตัดและขุดต้นไม้
1.การตรวจสอบเอกสาร
ผู้ขอใช้บริการยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ
- หนังสือหรือใบคำร้องแจ้งความประสงค์ 1 ฉบับ
- หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของต้นไม้กรณีที่เจ้าของต้นไม้ไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง หรือหนังสือ
มอบอำนาจจากนิติบุคคลโดยลงนามรับรองสำเนาโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตรานิติบุคคล หรือลงนามจริงด้วยลายมือเท่านั้น 1 ฉบับ

2.การพิจารณา
- เจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบ ณ สถานที่ที่ผู้ขอใช้บริการพร้อมแจ้งอัตราค่าบริการ
- นัดหมายการให้บริการและชำระค่าบริการ
ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ : ความถี่ในการเข้าจัดเก็บขยะมูลฝอย คอนโด โรงแรม อาคารสถานประกอบการต่าง ๆ กี่วันต่อครั้ง
รถเก็บขนมูลฝอยจะเข้าจัดเก็บขยะมูลฝอยพื้นที่ดังกล่าวความถี่ 2 วันต่อครั้ง เนื่องจากตามระเบียบ
กรุงเทพมหานคร  อาคารสถานประกอบการจะต้องจัดให้มีสถานที่รองรับมูลฝอย โดยต้องแบ่งเป็นห้องขยะเปียก
ขยะแห้ง  ขยะอันตราย  ที่สามารถรองรับมูลฝอยได้ 2 - 3 วัน
ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ : ทำไมรถเก็บขนมูลฝอยที่ออกปฏิบัติงานในเวลากลางคืนจึงไม่สามารถเก็บขนขยะประเภทเศษไม้ ขยะชิ้นใหญ่และวัดสุก่อสร้างได้
รถเก็บขนมูลฝอยที่ออกปฏิบัติงานในเวลากลางคืนจะเป็นรถเก็บขนมูลฝอยแบบอัดไฮโดรลิคจัดเก็บได้ เฉพาะขยะทั่วไปประเภทเศษผ้า ถุง พลาสติก และโฟม ไม่สามารถอัดหรือจัดเก็บเศษไม้ขยะชิ้นใหญ่ และประเภทวัสดุก่อสร้างได้  เพราะอาจทำให้เครื่องอัดไฮโดรลิคแตกหักเกิดความเสียหาย ทั้งนี้ การจัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ จะมีกำหนดการเข้าจัดเก็บทุกวันอาทิตย์ กรณีขยะประเภทเศษวัสดุก่อสร้างจะต้องแจ้งให้ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ทราบเพื่อเข้าจัดเก็บให้โดยมีค่าธรรมเนียมตามระเบียบของทางราชการ
ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ : กรณีประชาชนได้ทิ้งสิ่งของหรือเอกสารที่สำคัญลงในถังขยะ และมีรถขยะมาเก็บไปแล้ว ถ้าจะติดต่อสอบถามเพื่อขอคืนสิ่งของจะติดต่อได้ที่ไหน อย่างไร
1.ให้สอบถามพนักงานรถเก็บขยะที่เข้าจัดเก็บบริเวณดังกล่าวเป็นประจำเพราะอาจมีการคัดแยกขยะและจัดเก็บไว้ให้
2.โทรสอบถามมาที่ฝ้ายรักษาความสะอาดฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประสานกับพนักงานที่เข้าจัดเก็บขยะในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว
3.ติดตามสิ่งของหรือเอกสารด้วยตัวเองที่ศูนย์ขนถ่ายมูลฝอยอ่อนนุช 86 (ประเวศ)
ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ : ค่าใช้จ่ายหรืออัตราค่าธรรมเนียมในการสูบสิ่งปฏิกูลเท่าไร
อัตราค่าธรรมเนียมในการสูบสิ่งปฏิกูล 1 ลบ.ม. เท่ากับ 250 บาท โดยเจ้าหน้าที่จะเข้าไปดูสถานที่ และคำนวณค่าธรรมเนียมในการให้บริการและแจ้งให้ทราบทันที
ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ : วันหยุด และวันนักชัตฤกษ์ ให้บริการสูบสิ่งปฏิกูลหรือไม่
ในวันหยุด หรือวันนักขัตฤกษ์จะมีรถออกให้บริการสูบสิ่งปฏิกูลเพียง 1 คัน แต่จะมีเจ้าหน้าที่รับแจ้งการขอรับบริการทุกวันโดยไม่มีวันหยุด และในเวลาราชการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งจะทำการนัดหมายวัน เวลา การเข้าดำเนินการให้ผู้ขอรับบริการทราบ
ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ : การชำระเงินค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอยสามารถชำระโดยวิธีใดบ้าง
1.ชำระเงินให้กับพนักงานเก็บเงินค่าธรรมเนียมฯ โดยเจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จรับเงินของกรุงเทพมหานครให้ท่านไว้เป็นหลักฐาน
2.ชำระได้โดยตรงที่ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตคลองเตย ในวันและเวลาราชการ
3.ชำระทางธนาณัติสั่งจ่าย ปณ. กล้วยน้ำไท ถึง หัวหน้าฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตคลองเตย เลขที่ 599  แขวงคลองเตย   เขตคลองเตย   กรุงเทพมหานคร 10110 โดยต้องระบุบ้านเลขที่หลังที่ประสงค์จะชำระค่าธรรมเนียมฯ
4.กรณีชำระเป็นเช็คต้องสั่งจ่ายในนามของ "กรุงเทพมหานคร"
ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ : อัตราค่าธรรมเนียมเก็บขยะมูลฝอยคิดอย่างไร
อัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอยทั่วไปคิดในอัตราประจำเดือน
- วันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร เดือนละ 20 บาท
- วันหนึ่งเกิน 20 ลิตร แต่ไม่เกิน 500 ลิตร ค่าเก็บและขนทุกๆ 20 ลิตร หรือเศษของแต่ละ 20 ลิตร เดือนละ 40 บาท
- วันหนึ่งเกิน 500 ลิตร แต่ไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร เดือนละ 2,000 บาท
- วันหนึ่งเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ค่าเก็บและขนทุก ๆ ลูกบาศก์เมตร หรือเศษลูกบาศก์เมตร เดือนละ 2,000 บาท
ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ : การเก็บอัตราค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอยในอัตราใหม่จะเริ่มเมื่อไร
จะเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป โดยอัตราค่าธรรมเนียมจะมีการคิดค่าเก็บและขนรวมกับมีค่ากำจัดด้วย
ฝ่ายรายได้ : เมื่อยกเลิกภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นภาษีดินและสิ่งปลูกสร้าง ถ้ากรณียังไม่เคยยื่นเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเลย ยังต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือไม่
การยกเลิกภาษีโรงเรือนและที่ดินจะเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563 ผู้ใดครอบครองทรัพย์สิน ตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 2563 มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 2563 แต่หากค่าโรงเรือนนั้นๆ มีการใช้ประโยชน์มาก่อนนี้   ก็ยังต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยมีผลย้อนหลังไปถึงการเริ่มกิจการ แต่ไม่เกิน 10 ปี ตัวอย่าง เช่น ดำเนินกิจการ ตั้งแต่ เดือน มี.ค. 2549 ก็ย้อนหลังไป 10 ปี และถ้าในปี พ.ศ. 2563 มายื่นแบบจะต้องโอนหลังภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2562 ส่วนปี พ.ศ. 2563 ก็เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ฝ่ายรายได้ : กรณีเป็นเจ้าของที่ดินแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน กรณี (มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน) ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือไม่
เจ้าของที่ดินจะไม่ได้ยกเว้นภาษี เพราะไม่ได้เป็นเจ้าของ (เจ้าของกรรมสิทธิ์บ้าน) เนื่องจาก พ.ร.บ. ภาษีดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ให้ยกเว้นให้เฉพาะเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านเท่านั้น
ฝ่ายรายได้ : ซื้อที่ดินและปลูกสร้างอาคารเป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง มีการค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ในบ้านของตนเองทำไมต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน และยังมีภาษีอะไรบ้างที่ต้องเสียอีกที่จะต้องยื่นกับฝ่ายรายได้
การทำการค้าในอาคารบ้านเรือนที่ปลูกสร้างเอง ไม่ได้รับการยกวันภาษีโรงเรือนและที่ดินการได้รับการยกเว้นให้เฉพาะ การที่เจ้าที่ของอาคารใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเองเท่านั้น ภาษีอื่นที่  อาจจะเสียเพิ่ม ถ้าท่านประกอบการค้าแล้วมีป้ายชื่อประกอบกิจการค้าท่านต้องยื่นเสียภาษีป้าย ภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งป้าย
ฝ่ายรายได้ : เคยเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่ อยากทราบว่าเมื่อมีการใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว ราคาประเมินจะเสียภาษีอย่างใดเท่าใด มากกว่าหรือจะน้อยกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน
การประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นการคำนวณจากราคาที่ดินบวกกับราคาสิ่งปลูกสร้างซึ่งอัตราราคาทั้งที่ดินและทรัพย์สินต้องได้ราคาประเมินจากกรมธนารักษ์ซึ่งเป็นผู้กำหนดราคาประเมินก่อน ทั้งนี้การประเมินจักต้องรอราคาดังกล่าวก่อน
ฝ่ายรายได้ : มีบ้านหลายหลัง มีอาคารชุดหลายห้อง ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกห้องหรือไม่ คือยังไง
เสียทุกหลัง ยกเว้นหลังที่ใช้อยู่อาศัยเอง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังนั้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน บ้านหลังแรก ไม่เกิน 50 ล้านบาท กรณีเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารไม่เกิน 10 ล้านบาท กรณีเป็นเจ้าของเฉพาะบ้าน ทั้งนี้ต้องรอราคาประเมินจากกรมธนารักษ์
ฝ่ายรายได้ : กรณีมีป้ายสติ๊กเกอร์ติดกระจกหน้าร้าน เสียภาษีป้ายหรือไม่
กรณีที่เป็น สติ๊กเกอร์เชิงพาณิชย์ ต้องเสีย ถึงแม้จะอยู่ในเขตตัวบ้าน วัตถุประสงค์ หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือภาษีป้าย ประกอบกิจการ อื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดง หรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ฝ่ายรายได้ : ติดป้ายแบบไหนต้องเสียภาษีป้าย
ภาษีป้าย คือ ภาษีที่เก็บจากการแสดงป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือโลโก้บนวัตถุใด ๆ ด้วยตัวอักษรภาพ ไม่ว่าจะเป็นบนป้ายทั่วไป ป้ายบิลบอร์ดตามตึกตามทางด่วน ป้ายผ้าใบ หรือป้ายไฟ ที่ใช้เพื่อหารายได้หรือการโฆษณา ล้วนต้องเสียภาษีป้ายทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าเราเปิดร้านกาแฟที่ตึกแถวชื่อร้านว่า "Incquity Coffee" ที่มีป้ายร้านเป็นแผ่นไม้หน้าร้านหนึ่งอัน และเป็นในรูปแบบผ้าใบอันใหญ่อีกหนึ่งอันก็ต้องเสียภาษีทั้งหมด 2 ป้าย ด้วยอัตราภาษีที่ขึ้นอยู่กับรูปแบบและขนาดที่กำหนด
ฝ่ายรายได้ : สวัสดีค่ะพี่ พอดีหนูมีเรื่องภาษีอยากสอบถามค่ะ คือ ทางบริษัทจะจัดทำประมาณการการจ่ายภาษีโรงเรือนและที่ดิน แต่ได้ข่าวว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการเสียภาษี ก็เลยอยากทราบว่าหนูต้องทำอย่างไรคะ แล้วประมาณการที่จะต้องแจ้งผู้บริหาร หนูต้องคิดอย่างไรคะ ช่วย
ใช่ค่ะ ใน 2563 จะมีการจัดเก็บภาษีตัวใหม่ ชื่อว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งจะประเมินตามการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างค่ะ ซึ่งการถือครองที่ดินนั้นใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์จากกรมธนารักษ์ค่ะ ว่าเรามีที่ดินมากน้อยอิงราคาตามนั้นค่ะ ส่วนสิ่งปลูกสร้าง ก็จะเก็บตามอัตราประเมินทุนทรัพย์คิดตามลักษณะสิ่งปลูกสร้าง และในการคำนวณคร่าวก็คือ เอาจำนวนที่ดินที่ถือครองมาคิดเป็นตารางวาก่อนแล้วนำมาคูณกับราคาประเมินทุนทรัพย์ของกรมธนารักษ์ว่ากำหนดไว้ตารางวาละเท่าใดสามารถเช็คทางอินเตอร์เน็ตได้ค่ะ  โดยเข้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ค่ะ แล้วก็ คีย์เลขโฉนดเข้าไปหรือเลขที่ดินค่ะ แต่ของคุณเป็นสำนักงาน ก็จะคิดลักษณะการใช้ประโยชน์เป็น สำนักงาน ก็จะคิด กว้าง x ยาว แล้วก็ x จำนวนชั้น จะได้พื้นที่เพื่อนำมา X กับอัตราต่อตารางเมตร ของสิ่งปลูกสร้างค่ะ แต่ก็ต้องมาดูว่าตึกของคุณกี่ชั้นเพราะว่าเขากำหนดไว้ว่าไม่เกิน 5 และเกิน 5 ชั้น อัตราการคิดจะไม่เท่ากันค่ะ
ฝ่ายรายได้ : ถ้ามีค่าเช่าและค่าบริการจะต้องเอามาคิดด้วยไหมคะ
ไม่ต้องค่ะ เพราะภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ได้คิดตามจากค่าเช่าหรือค่าบริการแต่เราคิดจากราคาประเมินทรัพย์และพื้นที่ของสิ่งปลูกสร้างมีลักษณะการใช้ประโยชน์แบบใด
ฝ่ายรายได้ : พอดีได้ข่าวว่าจะมีการชำระภาษีแบบใหม่ เป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างผมต้องทำอย่างไรครับ
ค่ะ ใช่ค่ะ จะมีกรจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใน 2563 ค่ะ ในระหว่างนี้ยังไม่ต้องทำอะไรค่ะทางสำนักงานเขตจะมีการทำหนังสือไปหองค่ะ เพื่อให้เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตรวจสอบ ความถูกต้องและจะออกการแจ้งประเมินในเดือน มกราคม 2563 และเริ่มชำระภาษีได้ตั้งแต่ เดือนเมษายน 2563 ค่ะ
ฝ่ายรายได้ : การยื่นคำร้องขอแก้ไขแบบบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องมาด้วยตนเองหรือไม่
ไม่จำเป็นต้องมาด้วยตนเอง สามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาแจ้งแทน หรือส่งทางไปรษณีย์ หรือวิธีการอื่นที่ อปท. กำหนด
ฝ่ายรายได้ : บุคคลทั่วไปสามารถมีบ้านหรือห้องชุด เพื่ออยู่อาศัยได้กี่หลัง
สามารถมีบ้านหรือห้องชุดได้หลายหลัง แต่เจ้าของบ้านหรือห้องชุดนั้นจะได้รับยกเว้นต้อง พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.เป็นเจ้าของที่ดินและเป็นเจ้าของบ้าน มีชื่อในทะเบียน จะได้รับยกเว้นหากมีมูลค่าที่ดินและรวมกัน ไม่เกิน 50 ล้านบาท
2. เป็นเจ้าของบ้าน มีชื่อในทะเบียน แต่ไม่ใช่เจ้าที่ดินจะได้รับยกเว้นภาษีหากมีมูลค่าของบ้าน ไม่เกิน 10 ล้านบาท
ฝ่ายรายได้ : กรณีบ้านหรือห้องชุดที่ซื้อไว้เพื่ออยู่อาศัยเองหรือให้คนในครอบครัวอยู่อาศัยแต่ยังไม่ได้เข้าอยู่อาศัยหรืออยู่อาศัยไม่ตลอดทั้งปี จะต้องเสียภาษีหรือไม่ ในอัตราใด
ต้องเสียภาษีแต่เสียในอัตราอยู่อาศัย โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.หากเป็นเจ้าของบ้านหรือห้องชุด มีชื่อในทะเบียนบ้านได้รับยกเว้นภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท
2.หากเป็นเจ้าของบ้านหรือห้องชุดไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ต้องเสียภาษีประเภทอยู่อาศัย เริ่มต้นอัตราร้อยละ 0.02
ฝ่ายรายได้ : กรณีคอนโดมิเนียม (ห้องชุด) ถ้ามีสองห้องติดกันและเปิดหากันได้ แต่ได้รับหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในห้องชุด 2 ฉบับ จะถือว่าได้รับยกเว้นทั้งสองหลังหรือไม่
ห้องชุดพิจารณาแยกตามหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ของห้องชุดแต่ละห้อง เมื่อมีหนังสือได้ 2 หลัง แม้จะเปิดทะลุหากันได้ ก็ไม่สามารถรวมพื้นที่เพื่อยกวนมูลค่าฐานภาษีได้ ดังนั้น หลังที่สอง จะเป็นหลังอื่นทันที ต้องเสียภาษีประเภทอยู่อาศัย เริ่มต้นอัตราร้อยละ 0.02
ฝ่ายรายได้ : ชาวต่างชาติมีชื่อในทะเบียน (ทร.13) ซื้อห้องชุดไว้ 2 ห้องในท้องที่กัน ต้องเสียภาษีหรือไม่ ถ้าเสียจะเสียภาษีอย่างไร
ต้องเสียภาษีเหมือนคนไทยทั่วไป โดยได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท เพียงห้องเดียว ส่วนอีกห้องจะถือเป็นหลังอื่น หากใช้เพื่ออยู่อาศัยก็ต้องเสียภาษีประเภทอยู่อาศัย เริ่มต้นอัตราร้อยละ 0.02
ฝ่ายรายได้ : อาคารที่สร้างไว้แต่ได้อยู่อาศัย ไม่ได้ค้าขาย ปล่อยทิ้งว่าง จะทำอย่างไร
สิ่งปลูกสร้างหรืออาคารที่ปล่อยทิ้งไว้ว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพตลอดปีที่ผ่านมาจะถูกเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ร้อยละ 0.3 ตามมูลค่าของฐานภาษีตั้งแต่ปีภาษี 2563 เป็นต้นไป และหากไม่ทำประโยชน์อีก จะต้องเสียภาษีเพิ่มภาษีเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.3 ทุก 3 ปี
ฝ่ายรายได้ : ปลูกสร้างบ้านในที่ดินของบิดามารดาหรือบุคคลอื่นโดยไม่เสียค่าเช่า และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้รับยกเว้นภาษี 10 ล้านบาท เจ้าของที่ดินเสียภาษีอย่างไร ในอัตราที่อยู่หรืออัตราอื่นๆ
บ้านได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีได้ไม่เกิน 10 ล้านบาท แต่ที่ดินของบิดามารดาต้องเสียภาษี เมื่อที่ดินใช้เพื่ออาศัย ต้องเสียภาษีประเภทอยู่อาศัย เริ่มต้นอัตราร้อยละ 0.02
ฝ่ายรายได้ : กรณีโรงงานมีทรัพย์สินหลายประเภท เช่น สำนักงาน ห้องน้ำ และโกดัง จะคิดภาษีอย่างไร
สำนักงาน ห้องน้ำ และโกดัง เป็นสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้ในการประกอบกิจการ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบกิจการ ดังนั้น จึงต้องเสียภาษีในอัตราอื่นๆ
ฝ่ายรายได้ : บริษัทเป็นผู้สร้างบ้านและให้พนักงานหรือคนงานอยู่อาศัยโดยไม่มีชื่อผู้อาศัยในทะเบียนจะต้องเสียภาษีในประเภทที่อยู่อาศัยหรืออื่นๆ
บ้านของบริษัทที่สร้างเพื่อให้พนักงานหรือคนงานอยู่อาศัยต้องเสียภาษีประเภทอยู่อาศัย เริ่มต้นอัตราร้อยละ 0.02
ฝ่ายรายได้ : บ้านที่ยังสร้างไม่เสร็จ อยู่ในระหว่างการก่อสร้างบ้านพักอาศัย จะถือเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษีหรือไม่
บ้านยังสร้างไม่เสร็จ ไม่ถือเป็นสิ่งปลูกสร้าง จึงเสียภาษีเฉพาะที่ดินประเภทอยู่อาศัย เริ่มต้นอัตราร้อยละ 0.02
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล : สำนักงานเขต ควรมีบริการตู้กดเงินสด (ATM) เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินของประชาชนในการติดต่อราชการ
เนื่องจากทางธนาคารแจ้งว่ายอดการให้บริการไม่เพียงพอต่อการติดตั้งบริการ
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล : สำนักงานเขต ควรมีบริการร้านจำหน่ายอาหารหรือโรงอาหาร หรือร้านกาแฟ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนระหว่างรอรับบริการ
เนื่องจากสำนักงานเขตคลองเตยไม่มีพื้นที่อำนวยความสะดวกในส่วนนี้  ประกอบกับพื้นที่โดยรอบสำนักงานเขต มีประชาชนจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มจำนวนมาก จึงถือเป็นการส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล : การยื่นขอรับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ต้องใช้เอกสารหลักฐานอะไรบ้าง
เอกสารหลักฐานในการยื่นขอรับใบอนุญาต ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านผู้ขอ (กรณีบุคคลธรรมดา)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียน
- บ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีนิติบุคคล)
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ
- เอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในการใช้อาคารสถานประกอบการ
- เอกสารหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
- หนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้รับการรับรองตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่
- แผนที่แสดงสถานที่ตั้งสถานประกอบการ
- ใบอนุญาตหรือเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล : สำนักงานเขตคลองเตย มีบริการจัดสุนัขจรจัดและแมวจรจัดหรือไม่
ไม่มีบริการจัดสุนัขจรจัดและแมวจรจัด เนื่องจากนโยบายของกรุงเทพมหานคร ปัญหาด้านสุนัขจรจัดและแมวจรจัดต้องเข้าร่วมพิจารณาจากคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสุนัขจรกรุงเทพมหานครทางเขตไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องมีมติจาดคณะกรรมการดังกล่าวสั่งการมาก่อน
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล : การจำหน่ายสุราและบุหรี่ ต้องยื่นขอใบอนุญาตที่หน่วยงานไหน
ใบอนุญาตจำหน่ายสุรา และบุหรี่ ยื่นขอใบอนุญาตที่กรมสรรพสามิต
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล : กิจการร้านนวดเพื่อสุขภาพ ต้องดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตที่หน่วยงานไหน
กิจการสปา นวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย (สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ) ยื่นขอใบอนุญาตที่กรมสนับสนุนบริการเพื่อสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล : การอบรมสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหาร สามารถเข้ารับอบรมได้ที่ไหนบ้าง
การอบรมสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหาร สามารถข้ารับการอบรมได้กับหน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หรือสามารถเข้าดูได้ที่ http://foodsan.anamai.moph.go.th
ฝ่ายเทศกิจ : การขึ้นทะเบียนรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะจะเปิดรับลงทะเบียนอีกเมื่อใด
ฝ่ายเทศกิจเป็นเพียงเลขานุการของคณะอนุกรรมการประจำท้องที่ ไม่มีอำนาจกำหนดให้มีการเปิดรับ ลงทะเบียนผู้ขับรายใหม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ที่จะเปิดให้มีการลงทะเบียน และหากมีการประกาศจะได้ประชาสัมพันธ์ให้ทุกวินทราบต่อไป
ฝ่ายเทศกิจ : การร้องเรียนเหตุความเดือดร้อนรำคาญ และการกระทำผิดกฎหมาย เช่น เรื่องร้องเรียนการตั้งวางสิ่งของในที่สาธารณะ การจอดรถจักรยานยนต์และรถยนต์บนทางเท้า รถบรรทุกดินที่ดินตกหล่น การทิ้งกองซากรถยนต์ การจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ฯลฯ
เจ้าหน้าที่ผู้รับโทรศัพท์จะดำเนินการรับเรื่อง พร้อมอธิบายขั้นตอนการดำเนินการแก้ไขที่กฎหมายกำหนด แล้วบันทึกข้อความในเอกสารรับเรื่องร้องทุกข์ และแจ้งผู้รับผิดชอบดำเนินการตรวจสอบแก้ไขทันที
ฝ่ายเทศกิจ : การร้องเรียนเหตุความเดือดร้อนรำคาญ และการระทำผิดกฎหมาย เช่น การกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการขุดดินถมดิน
เจ้าหน้าที่ผู้รับเรื่องจะอธิบายแนวทางการดำเนินการพร้อมบันทึกข้อมูลในเอกสารนำเรียนผู้อำนวยการเขตคลองเตย พิจารณาสั่งการฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
ฝ่ายเทศกิจ : การร้องเรียนเหตุความเดือดร้อนรำคาญ และการกระทำผิดกฎหมาย เรื่องอื่นๆ
เจ้าหน้าที่ผู้รับเรื่องจะให้คำแนะนำไปร้องทุกข์ที่หน่วยงานอื่น หรือหากเรื่องร้องทุกข์มีมาเป็นหนังสือจะมีหนังสือประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ฝ่ายโยธา : อัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคาร เป็นเท่าใด
1.ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
- ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20.00 บาท
- ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10.00 บาท
- ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10.00 บาท
2.ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบ
- อาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้นหรือสูงไม่เกิน 12 มตร ตารางเมตรละ 0.50 บาท
- อาคารสูงเกิน 2 ชั้น แต่ไม่เกิน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 12 เมตร แต่ไม่เกิน 15 เมตร ตารางเมตรละ 2.00 บาท
- อาคารสูงเกิน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 15 เมตร
- อาคารประเภทซึ่งต้อนรับน้ำหนักบรรทุกชั้นใดชั้นหนึ่งเกิน 500 กก./ตร.ม. ตารางเมตรละ 4.00 บาท
- ที่จอดรถ ที่กลับรถและทางเข้าออกของรถ ภายนอกอาคาร ตารางเมตรละ 0.50 บาท
- ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย ตารางเมตรละ 4.00 บาท
- อาคารประเภทซึ่งต้องวัดความยาว เช่น ทางหรือท่อระบายน้ำ รั้วหรือกำแพง ตารางเมตรละ 1.00 บาท
ฝ่ายโยธา : การขออนุญาตก่อสร้าง ตัดแปลง รื้อถอนอาคาร (แบบ ข.1) ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการกี่วัน
ภายในระยะเวลา 45 วัน
ฝ่ายโยธา : อาคารประเภทใดบ้างที่เข้าข่ายต้องยื่นขออนุญาตรื้อถอนอาคาร
มาตรา 22 ผู้ใดจะรื้อถอนอาคารดังต่อไปนี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตาม มาตรา 39 ทวิ
1.อาคารที่มีส่วนสูงเกินสิบห้าเมตร ซึ่งอยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือ ที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของอาคาร
2.อาคารที่อยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่าสองเมตร"
ฝ่ายโยธา : อาคารอยู่อาศัยรวม ลักษณะใดที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
อาคารที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ต้องแต่ 4,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
ฝ่ายโยธา : ใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคาร มีอายุการใช้งานเท่าใด
ภายในระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาต
ฝ่ายการศึกษา : ทำไมต้องแจ้งเด็กเข้าเรียน
การแจ้งเด็กเข้าเรียนเป็นกฎหมายใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ เหตุที่ต้องแจ้งเพราะรัฐต้องการทราบประชากรเด็กได้รับการศึกษากี่คนในภาคบังคับ  เพื่อที่จะวางแผนในการจัดสรรงบประมาณ
ฝ่ายการศึกษา : ถ้าผู้ปกครองไม่แจ้งเด็กเข้าเรียนมีความผิดหรือไม่
ผิด  แต่อนุโลมเพราะเป็นความผิดที่ไม่เป็นคดีอาญา 
ฝ่ายการศึกษา : เด็กไปเรียนนอกเขตแจ้งได้หรือไม่
ต้องแจ้ง
ฝ่ายการศึกษา : เด็กเกิดปีที่ระบุแต่เข้าเรียนไปแล้วต้องแจ้งหรือไม่
ต้องแจ้ง
ฝ่ายการศึกษา : แจ้งเด็กเข้าเรียนต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
สำเนาสูติบัตรและทะเบียนบ้านทีมีชื่อเด็ก, สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านพ่อ หรือแม่ หรือผู้ปกครอง
ฝ่ายการศึกษา : ถ้าพ่อ หรือแม่ ไม่สามารถมาด้วยตนเอง มอบให้คนอื่นมาได้หรือไม่
ได้  โดยแนบเอกสารสำเนาสูติบัตรและทะเบียนบ้านที่มีชื่อเด็ก, สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านพ่อ หรือแม่หรือผู้ปกครอง และสำเนาบัตรประชาชนผู้แจ้งด้วย
ฝ่ายการศึกษา : โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในเขตคลองเตยมีกี่โรงเรียน
มีจำนวน 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดสะพาน, โรงเรียนวัดคลองเตย, โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ และโรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
ฝ่ายการศึกษา : โรงเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นของรัฐในพื้นที่เขตคลองเตยมีกี่โรงเรียน
มีจำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนขุมชนหมู่บ้านพัฒนา,โรงเรียนปทุมคงคา,โรงเรียนสายน้ำผึ้ง
ฝ่ายการศึกษา : โรงเรียนที่เปิดสอนมัธยมศึกษาตอนปลายในพื้นที่เขตคลองเตยมีกี่โรงเรียน
มีจำนวน 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนปทุมคงคา และโรงเรียนสายน้ำผึ้ง
ฝ่ายการศึกษา : เด็กต่างด้าวสามารถเข้าโรงเรียนได้หรือไม่
ได้ แต่พ่อแม่ต้องมีเอกสารแสดงตนว่าเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย
Page 1 of 1