#เขตคลองเตย ร่วมงาน POP PARK BKK เปิด 30 พื้นที่สวน 15 นาทีทั่วกรุง มาทดลองใช้ มาให้ความเห็น

วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
image

วันที่ 22 กรกฎาคม 2566 กรุงเทพมหานคร นำโดยนายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร นางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยการเขตคลองเตย​ ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตคลองเตย ร่วมงาน POP PARK BKK เปิด 30 พื้นที่สวน 15 นาทีทั่วกรุง มาทดลองใช้ มาให้ความเห็น โดยกลุ่ม we park โดยภายในงานมีการเสวนาถึงโครงการนี้ อีกทั้งยังมีการแสดงผลงานที่ทางกลุ่ม we park ได้เริ่มทดลองและพัฒนาตามเขตนำร่อง และร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัว ณ สวน 80 พรรษามหาราชินีฯ 100 ปี กระทรวงคมนาคม POP PARK BKK การพัฒนาเมืองแบบใหม่ผ่านพื้นที่สาธารณะสีเขียวหลากหลายรูปแบบและกระบวนการร่วมลงมือเรียนรู้ของแต่ละภาคส่วน จาก 6 ประเด็นสำคัญของเมือง ดังนี้ Community & Well-being, Mobility & Connectivity, Blue-green infrastructure, Biodiversity, Urban Agriculture และ Cultural and creative activity พื้นที่เขตคลองเตย ได้รับคัดเลือกเป็นพื้นที่นำร่องในการทดลองใช้เป็นพื้นที่ปลดล็อคศักยภาพของเมือง เกิดเป็นพื้นที่สาธารณะสร้างสุขภาวะที่ดี และสร้างพื้นที่กิจกรรมทางสังคมให้ผู้คน โดยพื้นที่ที่จะถูกนำมาทดลองในครั้งนี้คือพื้นที่ใต้ทางด่วนบริเวณชุมชนเกาะกลาง (ซอยสุขุมวิท 48/1) “สวน 80 พรรษามหาราชินีฯ 100 ปี กระทรวงคมนาคม” พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ความร่วมมือระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทยและสำนักงานเขตคลองเตย ที่ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีภาคเอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาด้วย และในครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งโอกาสที่ดี ที่พื้นที่บริเวณนี้จะถูกพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นโดยกลุ่ม we park ซึ่งทางกลุ่ม we park ได้จัดให้พื้นที่ตรงนี้อยู่ในกลุ่ม Blue-green infrastructure Blue-green infrastructure คือโครงข่ายคูคลองและพื้นที่สีเขียว เป็นพื้นที่สาธารณะที่มีศักยภาพในการทำหน้าที่หลากหลายให้กับเมือง คูคลองต่างๆ ล้วนมีคุณค่าทั้งทางระบบนิเวศ ทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่ พื้นที่สีเขียวสามารถสร้างประโยชน์ทั้งทางระบบนิเวศและ กิจกรรมของมนุษย์ การเชื่อมโยงระบบโครงข่ายน้ำและโครงข่ายพื้นที่สีเขียว จะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองได้ พื้นที่ในประเด็นนี้ จะเป็นการพัฒนาเชื่อมโยงโครงข่ายน้ำและพื้นที่สีเขียว เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตริมน้ำให้เหมาะสมกับบริบทในปัจจุบัน ควบคู่กับการแก้ปัญหามลภาวะและระบบนิเวศแหล่งน้ำ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนเมือง และเพื่อสร้างความตระหนักถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีเกษตร ที่เกิดจากระบบคูคลองและแม่น้ำ ให้ผู้คนได้ใช้งานพื้นที่ริมน้ำและพื้นที่คลองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น