มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง  การซ่อมแซม  และการปรับปรุงโรงเรียน  ถนน  ตรอก  ซอย  ทางเท้า  ผิวจราจร  สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม  การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า  การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่างๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค  การจัดหาและการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นโดยวิธีตกลงซื้อขาย การขออุทิศและการจัดซื้อโดยวิธีปรองดองตามมติคณะรัฐมนตรี  การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน  การบำรุงดูแลรักษา คู  คลอง  ทางหรือท่อระบายน้ำ  สะพานข้ามคลอง  การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่างๆ  การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย  การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ  การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน  การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต ประสานสำนักจราจรและขนส่งในการจัดทำ ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาด ป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง  การทาสีขอบคันหิน  การทาสี ตีเส้น  รวมถึงเส้นทแยงเหลือง  การจัดทำคันชะลอความเร็ว  การติดตั้ง guard-rail  อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน และรวมถึงการสำรวจ ออกแบบ หรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ  การบริหารงบประมาณ  การจัดหาพัสดุ  การควบคุมการก่อสร้าง  ซ่อมแซม  ปรับปรุง  หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย  และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
 
 
 การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

     1. สร้างอาคารขึ้นใหม่
     2. ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้วดังนี้
          2.1 เปลี่ยนโครงสร้างของอาคารคอนกรีตและเสริมเหล็กคอนกรีตอัดแรง หรือเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นวัสดุอื่น โดยเปลี่ยนวัสดุ ขนาด จำนวน หรือชนิดของเดิม
          2.2 เปลี่ยนแปลงส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมน้ำหนักให้โครงสร้างของอาคารเกินร้อยละ 10
          2.3 ลดหรือขยายเนื้อที่ของชั้นหนึ่งชั้นใดหรือหลังคาเกินกว่า 5 ตารางเมตร
          2.4 เพิ่มหรือลดจำนวนเสา หรือคาน
     3. ก่อสร้างดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
          3.1 ระยะที่ตั้งของอาคารถึงขอบเขตที่สาธารณะผิดไปจากแผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตเกินร้อยละ 20 หรือเปลี่ยนแปลงผังบริเวณ
          3.2 สัดส่วนของโครงสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเกินร้อยละ 5
     4. รื้อถอนเคลื่อนย้ายอาคาร
     5. ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารที่เข้าข่ายควบคุมการใช้
     6. ดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกรถ ตามมาตรา 8 (9) เพื่อการอื่น
 

สถานที่ติดต่อขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงรื้อถอนเคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร  
   
   การยื่นขออนุญาตดำเนินการเกี่ยวกับอาคารในกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นขอได้ที่

          2.1 ฝ่ายโยธาเขตท้องที่จะดำเนินการเกี่ยวกับอาคาร ซึ่งเป็นอาคารที่พักอาศัย ตึกแถว หอพัก แฟลต อาคารชุด สำนักงาน ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม ห้องแสดงสินค้า โกดังเก็บของที่ช่วง เสาช่องหนึ่งกว้างไม่เกิน 10 เมตร และอาคารพาณิชย์ ทั้งนี้เฉพาะที่สูงไม่เกิน 4 ชั้น และความสูงไม่เกิน 15.00 เมตร ห้องแถวที่สูงไม่เกิน 2 ชั้น อาคารสัตว์เลี้ยง อาคารชั่วคราว สะพานไม้
          2.2 กองควบคุมอาคาร สำนักโยธา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) กรณีเป็นอาคารตึกสูงเกิน 4 ชั้น อาคารสาธารณะ อาคารพิษ หรืออาคารอื่นใด นอกจากอาคารตามชื่อ และการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร รวมทั้งขอใบรับรอง ฯลฯ

เอกสารประกอบการขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลงรื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร 

     1. แบบคำขออนุญาต
          1.1 ก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร ใช้แบบ ข.1
          1.2 เคลื่อนย้ายอาคาร ใช้แบบ ข.2
          1.3 เปลี่ยนการใช้อาคาร ใช้แบบ ข.3
          1.4 ดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถเพื่อการอื่น ใช้แบบ ข.4
          1.5 ต่ออายุใบอนุญาต ตาม 1.1, 1.2, 1.4 ใช้แบบ ข.5
          1.6 แบบคำขอใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ใช้แบบ ข.6
          1.7 แบบคำขอใบแทนอนุญาต หรือใบรับรอง ใช้แบบ ข.7
          1.8 แบบคำขอใบอนุญาต ตาม 1.1, 1.2, 1.3 ใช้แบบ ข.8
     *อนึ่งเอกสารประกอบจะต้องจัดให้มีตามกำหนดในแบบคำขออนุญาตนั้นๆ
     2. แผนผังแบบก่อสร้างและรายการประกอบแบบ
          2.1 ยื่นขออนุญาตตามข้อ 1.1, 1.2, 1.3, 1.4 ยื่นแผนผังแบบก่อสร้าง และรายการประกอบแบบอย่างละ 5 ชุด
          2.2 ยื่นขอตามข้อ 1.5, 1.6, 1.7, 1.8 ยื่นแผนผังแบบก่อสร้าง และรายการประกอบแบบที่ได้อนุญาตจากกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ชุด
     3. ในกรณีที่ผู้มาติดต่อดำเนินการในการยื่นขออนุญาตไม่ใช้เจ้าของอาคาร ต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจจากเจ้าของอาคารตามฟอร์มของกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย (ติดอากรแสตมป์ 30 บาท)
 

การขอติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะ 

หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง

          1. บัตรประจำตัวประชาชน
          2. สำเนาโฉนดที่ดินหรือหลักฐานการยกให้และทางการได้รับไว้แล้ว
          3. ผังบริเวณหรือแผนที่สังเขปหากตรวจสอบแล้ว พบว่าเป็นที่สาธารณะทางเขตฯ จะต้องทำหนังสือถึงการไฟฟ้านครหลวงตรวจสอบพิจารณาประมาณค่าใช้จ่ายแล้วจึงนำรายละเอียดและราคาจากการไฟฟ้าฯ มาตั้งงบประมาณรวมไว้ในปีต่อไป 
 

การขอให้ซ่อมแซมถนน ตรอก ซอย ทางเท้า สะพาน ป้ายชื่อ 

หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง

      1. บัตรประจำตัวประชาชน
      2. ผังบริเวณหรือแผนที่สังเขปการขออนุญาตติดตั้งป้ายโฆษณาที่ไม่เป็นอาคารตามกฎหมายหลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
          2.1 บัตรประจำตัวประชาชน
          2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
          2.3 คำขออนุญาตตามแบบ แผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน เช่น ให้แจ้งใจความ หรือภาพโฆษณาโดยละเอียดชัดเจน จำนวน 2 ชุด
          2.4 ใบยินยอมของเจ้าของที่ดิน กรณีที่ขอใบอนุญาตอยู่ในที่ดินของผู้อื่น
          2.5 สำเนาโฉนดที่ดินทุกแผ่นลงนามรับรองโดยเจ้าของที่ดิน
 

การขออนุญาตตัดคันหินทางเท้าฯ
 

เอกสารที่ใช้ประกอบการขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า  ลดระดับคันหินทางเท้าและทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ พ.ศ. 2531

     1. คำร้องการขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า ลดระดับคันหินทางเท้าและทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ 
     2. แผนที่สังเขปบริเวณสถานที่ขออนุญาตที่ชัดเจนสามารถหาพบได้ (แสดงรายละเอียด)
     3. แผนผังบริเวณที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร จากกรุงเทพมหานคร
     4. สำเนาโฉนดที่ดินแปลงที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร และแปลงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
     5. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร จากกรุงเทพมหานครหรือแผนผังการจัดสรรที่ดินได้รับอนุญาต หรือเป็นมติคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
     6. กรณีที่ผู้ขออนุญาตกับเจ้าของที่ดินมิใช่บุคคลเดียวกันให้แนบหลักฐานการยินยอมด้วย
     7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
     8. สำเนาทะเบียนบ้าน
     9. สำเนาเอกสารทุกแผ่นจะต้องรับรองสำเนา 

ในกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนจะต้องมีเอกสารประกอบ

     1. หนังสือมอบอำนาจ (ต้องติดอากรแสตมป์ จำนวน 30 บาท)
     2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบอำนาจ
     3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจ
     4. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มอบอำนาจ
     5. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้รับมอบอำนาจ 

ในกรณีเป็นนิติบุคคล 

     1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
     2. รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตรา และลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจบนเอกสารทุกฉบับ 

เอกสารที่ใช้ประกอบการขออนุญาตปรับปรุงทางเท้า 

     1. คำร้องการขออนุญาตปรับปรุงทางเท้า
     2. แผนที่สังเขปบริเวณที่ขออนุญาตปรับปรุง
     3. แบบ รายละเอียดการปรับปรุงทางเท้า
     4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน 
** แบบที่ประกอบการขออนุญาต ใช้อย่างละ 3 ชุด
 

แบบฟอร์มต่างๆ

แบบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (แบบข.1)

•  เปิดอ่านเอกสาร PDF

•  เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบ ผมร.1 

•  เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบหนังสือมอบอำนาจผู้ขออนุญาต 

•  เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบหนังสือรับรองให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน 

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบหนังสือรับรองให้ก่อสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน 

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบหนังสือรับรองสถาปัตยกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม 

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน ตามมาตรา 29 (แบบ น.4) 

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบหนังสือแจ้งบอกเลิกผู้ควบคุมงานของผู้ได้รับใบอนุญาต ตามาตรา 30 วรรคหนึ่ง (แบบ น.5)

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบคำขอต่อใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร เคลื่อนย้ายอาคาร ดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถและทางเข้าออกของรถเพื่อการอื่น(แบบ ข.5) 

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบคำขอโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร เคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร (แบบ ข.8) 

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบสำหรับผู้รับโอนใบอนุญาต 

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบลำดับเอกสารในการพิจารณาอนุญาต 

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF