มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่ ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุม ดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) (เดิม) ซึ่งปัจจุบันสำนักงานเขตคลองเตยเป็น 1 ใน 8 เขตนำร่องศูนย์บริการกรุงเทพมหานคร (Bangkok Service Center) การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

งานทะเบียนทั่วไป

การจดทะเบียนสมรส
 
1. บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ของคู่สมรส
2. หากผู้ร้องจดทะเบียนสมรสมาก่อน ต้องแสดงหลักฐานการหย่า หรือหลักฐานการตายของคู่สมรสเดิม
3. คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล (กรณีศาลสั่งให้จดทะเบียนสมรส)
4. หนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสจากสถานทูตพร้อมคำแปลเป็นไทย (กรณีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว)
5. คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอมด้วย
6. พยานบุคคลพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน 2 คน

การจดทะเบียนหย่า
 
1. บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ของคู่หย่า
2. ใบสำคัญการสมรสหรือสำเนาทะเบียนสมรส
3. หนังสือสัญญาหย่า (กรณีจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอม)
4. สำเนาคำพิพากษาถึงที่สุดและคำรับรองว่าถูกต้อง (กรณีจดทะเบียนหย่าตามคำพิพากษาศาล
5. พยานบุคคลพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน 2 คน

การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง และการจดทะเบียนชื่อสกุล  ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ  แห่งที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
1.  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ร้อง
2.  บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
3.  ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีผู้ร้องเป็นคนต่างด้าว) และหลักฐานคำขอแปลงสัญชาติ หรือขอกลับคืนสัญชาติไทย
 

งานทะเบียนราษฎร

การแจ้งการเกิด กรณีเกิดในโรงพยาบาล  ให้เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล แจ้งการเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเกิดที่งานทะเบียนราษฎรของสำนักงานเขตแห่งท้องที่ที่สถานพยาบาลตั้งอยู่

1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งการเกิด
2. หนังสือรับรองการเกิด (ทร.1/1) ที่สถานพยาบาลออกให้
3. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน หรือทะเบียนบ้านบิดามารดา

การแจ้งการตาย กรณีมีคนตายในสถานพยาบาล  ให้เจ้าบ้านของสถานพยาบาล หรือบุคคลที่เจ้าบ้านมอบหมายแจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย
 
1.  บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งการตายหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2.  บัตรประจำตัวประชาชนของคนตาย (ถ้ามี)
3.  หนังสือรับรองการตาย (ท.ร.4/1) ที่สถานพยาบาลออกให้
4. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ที่คนตายมีชื่อ (ถ้ามี)

การแจ้งย้ายที่อยู่
  • การแจ้งย้ายออก ให้เจ้าบ้านของบ้านที่มีคนย้ายออก แจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่คนย้ายออกจากบ้าน
1.  บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านและสำเนาถูกต้อง
2.  หนังสือมอบหมายของเจ้าบ้าน (กรณีไม่มาด้วยตนเอง) พร้อมบัตรตัวจริงเจ้าบ้าน
3.  บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะผู้รับมอบหมายและสำเนาถูกต้อง
4.  สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ที่คนย้ายออกมีชื่ออยู่
  • การแจ้งย้ายเข้า ให้เจ้าบ้านของบ้านที่มีคนย้ายเข้า แจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นเข้าอยู่ในบ้าน
1.  บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านและสำเนาถูกต้อง
2.  หนังสือมอบหมายของเจ้าบ้าน (กรณีไม่มาด้วยตนเอง) พร้อมบัตรตัวจริงเจ้าบ้าน
3.  ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร.6) ตอน 1 และตอน 2
4.  สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ที่จะย้ายชื่อเข้าไปอยู่
5.  หนังสือมอบหมายของเจ้าบ้าน (กรณีไม่มาด้วยตนเอง)

การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง  ยื่นเอกสารหลักฐานที่งานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้าแห่งเดียว โดยไม่ต้องกลับไปแจ้งการย้ายออก ณ สำนักทะเบียนที่บ้านเดิมตั้งอยู่

1.  บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย
2.  หนังสือแสดงความยินยอมให้ย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน (กรณีเจ้าบ้านไม่มาด้วยตนเอง)
3.  สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ที่ย้ายเข้าไปอยู่ใหม่
 
 

ฝ่ายทะเบียน

มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่ ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุม ดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) (เดิม) ซึ่งปัจจุบันสำนักงานเขตคลองเตยเป็น 1 ใน 8 เขตนำร่องศูนย์บริการกรุงเทพมหานคร (Bangkok Service Center) การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย 
 

งานทะเบียนทั่วไป

การจดทะเบียนสมรส
 
1. บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ของคู่สมรส
2. หากผู้ร้องจดทะเบียนสมรสมาก่อน ต้องแสดงหลักฐานการหย่า หรือหลักฐานการตายของคู่สมรสเดิม
3. คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล (กรณีศาลสั่งให้จดทะเบียนสมรส)
4. หนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสจากสถานทูตพร้อมคำแปลเป็นไทย (กรณีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว)
5. คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอมด้วย
6. พยานบุคคลพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน 2 คน

การจดทะเบียนหย่า
 
1. บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ของคู่หย่า
2. ใบสำคัญการสมรสหรือสำเนาทะเบียนสมรส
3. หนังสือสัญญาหย่า (กรณีจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอม)
4. สำเนาคำพิพากษาถึงที่สุดและคำรับรองว่าถูกต้อง (กรณีจดทะเบียนหย่าตามคำพิพากษาศาล
5. พยานบุคคลพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน 2 คน

การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง และการจดทะเบียนชื่อสกุล  ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ  แห่งที่ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
1.  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ร้อง
2.  บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
3.  ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีผู้ร้องเป็นคนต่างด้าว) และหลักฐานคำขอแปลงสัญชาติ หรือขอกลับคืนสัญชาติไทย
 

งานทะเบียนราษฎร

การแจ้งการเกิด กรณีเกิดในโรงพยาบาล  ให้เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล แจ้งการเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เด็กเกิดที่งานทะเบียนราษฎรของสำนักงานเขตแห่งท้องที่ที่สถานพยาบาลตั้งอยู่

1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งการเกิด
2. หนังสือรับรองการเกิด (ทร.1/1) ที่สถานพยาบาลออกให้
3. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน หรือทะเบียนบ้านบิดามารดา

การแจ้งการตาย กรณีมีคนตายในสถานพยาบาล  ให้เจ้าบ้านของสถานพยาบาล หรือบุคคลที่เจ้าบ้านมอบหมายแจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย
 
1.  บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งการตายหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2.  บัตรประจำตัวประชาชนของคนตาย (ถ้ามี)
3.  หนังสือรับรองการตาย (ท.ร.4/1) ที่สถานพยาบาลออกให้
4. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ที่คนตายมีชื่อ (ถ้ามี)

การแจ้งย้ายที่อยู่
  • การแจ้งย้ายออก ให้เจ้าบ้านของบ้านที่มีคนย้ายออก แจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่คนย้ายออกจากบ้าน
1.  บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านและสำเนาถูกต้อง
2.  หนังสือมอบหมายของเจ้าบ้าน (กรณีไม่มาด้วยตนเอง) พร้อมบัตรตัวจริงเจ้าบ้าน
3.  บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะผู้รับมอบหมายและสำเนาถูกต้อง
4.  สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ที่คนย้ายออกมีชื่ออยู่
  • การแจ้งย้ายเข้า ให้เจ้าบ้านของบ้านที่มีคนย้ายเข้า แจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นเข้าอยู่ในบ้าน
1.  บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านและสำเนาถูกต้อง
2.  หนังสือมอบหมายของเจ้าบ้าน (กรณีไม่มาด้วยตนเอง) พร้อมบัตรตัวจริงเจ้าบ้าน
3.  ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร.6) ตอน 1 และตอน 2
4.  สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ที่จะย้ายชื่อเข้าไปอยู่
5.  หนังสือมอบหมายของเจ้าบ้าน (กรณีไม่มาด้วยตนเอง)

การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง  ยื่นเอกสารหลักฐานที่งานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้าแห่งเดียว โดยไม่ต้องกลับไปแจ้งการย้ายออก ณ สำนักทะเบียนที่บ้านเดิมตั้งอยู่

1.  บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย
2.  หนังสือแสดงความยินยอมให้ย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน (กรณีเจ้าบ้านไม่มาด้วยตนเอง)
3.  สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ที่ย้ายเข้าไปอยู่ใหม่
 

งานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน

การทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก

หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
 
1. สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน
2. สูติบัตร หรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบสำคัญสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน ประกาศนียบัตร หนังสือเดินทาง เป็นต้น ที่แสดงได้ว่าเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
3. หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
4. กรณีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดามาแสดงด้วย หรือนำใบมรณบัตรของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถึงแก่กรรมไปแสดง
5. การขอมีบัตรครั้งแรกเมื่ออายุมาก หรือมีอายุเกิน 20 ปี หากไม่สามารถแสดงหลักฐานที่กำหนดตาม ข้อ 1 , 2 และ 4 ให้นำเจ้าบ้านและพยานบุคคลผู้น่าเชื่อถือไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนและให้การรับรอง

กรณีบัตรเดิมหมดอายุ

    เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ ให้นำบัตรใบเดิมมาทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับ และผู้ถือบัตรสามารถขอทำบัตรใหม่ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุก็ได้ โดยให้ยื่นคำขอภายใน 60 วัน ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ

กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย
 
1. สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน
2. เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ ใบสุทธิ บัตรประกันสังคม หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
3. หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
 
กรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุลแล้วต้องเปลี่ยนบัตร
   
1. สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน

2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ต้องการเปลี่ยน
3. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุลแล้วแต่กรณี

กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ
 
1. สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุด
3. เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่นใบอนุญาตขับขี่ ใบสุทธิ หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
4. หากไม่มีเอกสารตามข้อ 3 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
 

แบบฟอร์มต่างๆ

แบบหนังสือสัญญาการหย่า กลุ่มงานทะเบียนทั่วไป 

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบหนังสือยินยอมและมอบหมาย กลุ่มงานทะเบียนราษฏร 

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบคำร้องขอรับบริการข้อมูลทะเบียนประวัติราษฏร กลุ่มงานทะเบียนราษฏร 

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชน กรณีทั่วไป กลุ่มงานบัตรประจำตัวประชาชน 

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF

แบบบันทึกคำให้การของผู้ขอมีบัตรประชาชน กรณีบัตรหาย, บัตรหมดอายุเกิน 1 ปี, ขอเพิ่มชื่อ กลุ่มงานบัตรประจำตัวประชาชน 

•   เปิดอ่านเอกสาร PDF