ผู้สูงอายุไทยมีอัตราป่วยตายจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) คิดเป็นร้อยละ 7.93

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563
image
     การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) จากฐานข้อมูลรายงาน COVID – 19 (Data.go.th/dataset/covid-19-daily) ณ วันที่ ๒มิถุนายน ๒๕๖๓ พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ (อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป) ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งสิ้น ๓๒๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๖๔ ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งเท่ากับ ๓,๐๘๓ ราย โดยจำแนกเป็นกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น จำนวน ๒๑๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๑๖ ผู้สูงอายุ  วัยกลาง จำนวน ๘๖ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๒๒ และผู้สูงอายุวัยปลาย จำนวน ๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๖๒ ปัจจัยเสี่ยงที่พบในกลุ่มผู้สูงอายุ ๓ ลำดับแรก ได้แก่ ๑) มาจากพิธีศาสนา จำนวน ๗๙ ราย ๒) เกี่ยวข้องกับสนามมวยและผู้สัมผัส ๗๘ ราย และ ๓) สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ๕๘ ราย และมีจำนวนผู้สูงอายุที่เสียชีวิตเท่ากับ ๒๖ ราย หรือ คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๖๑ ของผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในทุกช่วงวัย ซึ่งเท่ากับ ๕๘ ราย โดยสัดส่วนการเสียชีวิตในกลุ่มผู้สูงอายุระหว่างเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ ๒.๘๖ : ๑ คน และกลุ่มวัยสูงอายุมีอัตราป่วยตาย เท่ากับร้อยละ ๘.๒๓ ในขณะที่วัยทำงาน (อายุ ๑๕ - ๕๙ ปี) มีอัตราป่วยตายเพียงร้อยละ ๑.๒๒ และภาพรวมของประเทศไทยมีอัตราป่วยตายเพียงร้อยละ ๑.๘๘ เท่านั้น จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุมีโอกาสเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ จึงถือเป็นกลุ่มผู้เปราะบางที่ต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างใกล้ชิดในสถานการณ์ปัจจุบัน
 

เรียบเรียงโดย :
     นายศศิวัฒน์ บุญวงศ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์สาธารณสุข