วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
คำแนะนำ ในการป้องกันไข้หวัดใหญ่สำหรับกิจกรรมการรวมตัวของคนหมู่มาก
คำแนะนำ ในการป้องกันไข้หวัดใหญ่สำหรับกิจกรรมการรวมตัวของคนหมู่มาก
หากจะมีการรวมตัวกันของคนหมู่มากภายในพื้นที่อันจำกัด เช่น การแสดงมหรสพ การประชุมขนาดใหญ่ การแข่งขันกีฬา งานนิทรรศการ งานแต่ง งานบุญ หรือกิจกรรมอื่นๆ ในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ กิจกรรมดังกล่าวมีโอกาสที่จะเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค และผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเสี่ยงที่จะติดโรคไม่ว่าจะเป็นที่กลางแจ้งหรือในร่ม ควรมีการปฏิบัติเช่นเดียวกัน ดังนี้
คำแนะนำสำหรับผู้จัดงานหรือเจ้าภาพงาน
คำแนะนำสำหรับผู้จัดงานหรือเจ้าภาพงาน
- ผู้จัดงานหรือกิจกรรมรวมตัวของคนหมู่มาก ควรให้ข้อมูลคำแนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคแก่กลุ่มเป้าหมายที่จะมาร่วมงานหรือกิจกรรมล่วงหน้า โดยใช้ช่องทางต่างๆ เช่น การส่งจดหมายแจ้งข่าว
- ผู้จัดงานควรอำนวยความสะดวกในการป้องกันการแพร่กระจ่ายเชื้อโรคแก่ผู้ร่วมงาน เช่น
- ทำป้ายแนะนำ หรือหน่วยบริการให้คำแนะนำผู้ที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่บริเวณทางเข้างาน
- จัดอ่างล้างมือพร้อมสบู่ กระดาษทิชชู ในห้องน้ำให้พอเพียง
- จัดให้ผู้ทำความสะอาดอุปกรณ์ และบริเวณที่มีผู้สัมผัสปริมาณมาก หรือน้ำยาทำความสะอาดทั่วไปอย่างสม่ำเสมอและบ่อยกว่าในภาวะปกติ(หากเป็นประตูที่สามารถใช้ส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ให้ด้านหลังของลำตัวผลักประติดได้จะช่วยลดโอกาสการสัมผัสเชื้อโรค)
- จัดหาหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ที่มีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกิจกรรม
- จัดจุดปฐมพยาบาลให้การดูแลรักษาเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ โดยแยกผู้ป่วยออกจากกิจกรรมการรวมตัวนั้น รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการส่งกลับไปรักษาตัวที่บ้านหรือโรงพยาบาล
- ควรพยายามลดความแออัดของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น เพิ่มจำนวนที่นำประชาชนเข้างานกระจายมุมจำหน่ายอาหาร
- จัดบริการทางเลือกทดแทนการมาร่วมงาน เช่น ให้ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ หรือการถ่ายทองทางสื่อมวลชน
คำแนะนำสำหรับผู้มาร่วมกิจกรรม
- ผู้ที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีน้ำมูก แม้จะมีอาการไม่มาก ควรหยุดพักผ่อนรักษาตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลา ๗ วันนับจากวันเริ่มป่วย หรือหลังจากหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย ๑ วัน และไม่ควรเข้าร่วมงานหรือกิจกรรมกับคนหมู่มาก แต่หากจำเป็นต้องเข้าร่วมงานให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และล้างมือบ่อยๆ
- ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่หากป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรง ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุมากกว่า ๖๕ ปี เด็กอายุต่ำกว่า ๒ ปี ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ และผู้มีโรคอ้วน ควรหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่มีการรวมตัวกันของคนหมู่มาก เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ โดยเฉพาะพื้นที่ที่กำลังมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่
- ประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรม ควรปฏิบัติตามหลักสุขอนามัย เช่น ล้างมือด้วยน้ำ และสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลบ่อยๆ หากมีอาการไอ จาม ให้ใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าปิดปากปิดจมูก หากไม่มีหรือหยิบไม่ทันควรใช้มือป้องจมูกปาก เพราะเชื้อจะติดอยู่มือ แล้วจะไปเปรอะเปื้อนตามสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ให้ไอจามใส่แขนเสื้อแทนซึ่งช่วยลดการกระจายเชื้อได้ดี
กองควบคุมโรคติดต่อสำนักอนามัย