วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559
ไข้ไวรัสซิก้า
ไวรัสไข้ซิก้า
ไวรัสซิกา หรือ ไข้ซิกา เป็นอีกหนึ่งโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ แม้จะยังไร้วัคซีนป้องกัน แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายใน 7 วัน ที่ต้องระวังคือเด็กทารกที่หากติดเชื้อแล้วอาจทำให้มีศีรษะเล็กกว่าปกติ
ถ้าว่ากันถึงภัยจากยุงลายที่เรารู้จักกันดีอย่างไข้เลือดออกแล้ว ยังมีอีกโรคหนึ่งชื่อ "ไวรัสซิกา" ที่เราควรรู้จักไว้ เพราะในช่วงปี 2558 โรคนี้ได้ระบาดหนักในแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศบราซิลที่การระบาดรุนแรงจนต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และสถานการณ์ยังรุนแรงไม่หยุด ทำให้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ
ถ้าว่ากันถึงภัยจากยุงลายที่เรารู้จักกันดีอย่างไข้เลือดออกแล้ว ยังมีอีกโรคหนึ่งชื่อ "ไวรัสซิกา" ที่เราควรรู้จักไว้ เพราะในช่วงปี 2558 โรคนี้ได้ระบาดหนักในแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศบราซิลที่การระบาดรุนแรงจนต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และสถานการณ์ยังรุนแรงไม่หยุด ทำให้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ
ขณะที่ประเทศไทยก็พบผู้ติดเชื้อในหลายจังหวัด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ ดังนั้นได้เวลาแล้วที่เราควรจะทำความรู้จักกับเจ้าเชื้อไวรัสซิกากันแบบจริงจัง แม้จะยังไม่ใช่เรื่องใกล้ตัว แต่ก็ไม่ควรละเลยด้วยประการทั้งปวงค่ะ
ไวรัสซิก้าคืออะไร
ไวรัสซิกา หรือไข้ซิกา เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก รวมทั้งไวรัสเวสต์ไนล์ที่เป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ และเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบเจอีซึ่งทั้งหมดล้วนมียุงลายเป็นพาหะ เชื้อไวรัสซิกาถูกค้นพบครั้งแรกจากในน้ำเหลืองของลิงวอก ที่ถูกนำมายังป่าซิกาในประเทศยูกันดา เพื่อศึกษาไข้เหลือง เมื่อปี พ.ศ. 2490 และพบในคนเมื่อปี พ.ศ. 2511 ในประเทศไนจีเรีย เชื่อไวรัสซิกาพบได้ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก
ไวรัสซิก้ากลุ่มเสี่ยงคือไคร
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ป่วยที่มีไข้ออกผื่น กลุ่มเด็กทารกที่มีศีรษะลีบ และผู้ป่วยที่มีอาการปลายประสาทอักเสบ ก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้
ไวรัสซิก้าติดต่อได้อย่างไร
ไวรัสซิกาเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นการติดต่อจึงมาจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด นอกจากนี้ยังอาจติดต่อได้ทางเลือด หรือแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามในตอนแรกยังไม่มีรายงานว่าพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน กระทั่งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ยืนยันว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับมาจากประเทศที่ไวรัสชนิดนี้ระบาด นั่นแสดงว่าโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์
ไวรัสซิก้า ป้องกันอย่างไร
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดของโรคไวรัสซิกา หรือไข้ซิกาก็คือพยายามอย่าให้ยุงกัด อีกทั้งยังควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้สิ้นซาก เพื่อเป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์และป้องกันโรคที่อาจมากับยุงลายนอกเหนือไวรัสซิกาได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง โรคไข้เวสต์ไนล์ และโรคชิคุนกุนยา นอกจากนี้ถ้าอยากทราบวิธีป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยวิธีธรรมชาติละก็ลองตามไปอ่านที่นี่ได้เลย 12 วิธีป้องกันยุงกัดส่งตรงจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี
ไวรัสซิกา หรือไข้ซิกา เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก รวมทั้งไวรัสเวสต์ไนล์ที่เป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ และเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบเจอีซึ่งทั้งหมดล้วนมียุงลายเป็นพาหะ เชื้อไวรัสซิกาถูกค้นพบครั้งแรกจากในน้ำเหลืองของลิงวอก ที่ถูกนำมายังป่าซิกาในประเทศยูกันดา เพื่อศึกษาไข้เหลือง เมื่อปี พ.ศ. 2490 และพบในคนเมื่อปี พ.ศ. 2511 ในประเทศไนจีเรีย เชื่อไวรัสซิกาพบได้ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก
ไวรัสซิก้ากลุ่มเสี่ยงคือไคร
กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซิกามากที่สุดคือ กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งหากติดเชื้อแล้วจะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายด้วย คือจะทำให้เด็กมีศีรษะเล็กกว่าปกติ ดังนั้นจึงมีคำเตือนหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดของโลก หรือหากเป็นประชากรในประเทศที่มีการระบาดก็ขอให้ชะลอการตั้งครรภ์ออกไปก่อน แต่หากหญิงตั้งครรภ์มีอาการไข้ ผื่นขึ้น ตาแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อทำการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อ
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ป่วยที่มีไข้ออกผื่น กลุ่มเด็กทารกที่มีศีรษะลีบ และผู้ป่วยที่มีอาการปลายประสาทอักเสบ ก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้
ไวรัสซิกาเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นการติดต่อจึงมาจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด นอกจากนี้ยังอาจติดต่อได้ทางเลือด หรือแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามในตอนแรกยังไม่มีรายงานว่าพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน กระทั่งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ยืนยันว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับมาจากประเทศที่ไวรัสชนิดนี้ระบาด นั่นแสดงว่าโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์
ไวรัสซิก้า ป้องกันอย่างไร
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดของโรคไวรัสซิกา หรือไข้ซิกาก็คือพยายามอย่าให้ยุงกัด อีกทั้งยังควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้สิ้นซาก เพื่อเป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์และป้องกันโรคที่อาจมากับยุงลายนอกเหนือไวรัสซิกาได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง โรคไข้เวสต์ไนล์ และโรคชิคุนกุนยา นอกจากนี้ถ้าอยากทราบวิธีป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยวิธีธรรมชาติละก็ลองตามไปอ่านที่นี่ได้เลย 12 วิธีป้องกันยุงกัดส่งตรงจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี